bloggang.com mainmenu search




เลขเด็ดงวดนี้ พบพระพุทธรูปโบราณสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 7 อายุไม่ต่ำกว่าพันปี นักโบราณคดีหวังคนซื้อก่อนหน้าคืนเก็บไว้เป็นสมบัติศึกษาข้อมูลประวัติศาสตร์

พระพุทธรูปโบราณ
ฮือฮา! พระพุทธรูปโบราณอายุพันปีโผล่กลางไร่มัน

        เมื่อวันที่ 22 พ.ค. ผู้สื่อข่าวรับแจ้งจากนายคำดี เหล่าสิงห์ ผู้ใหญ่บ้าน บ้านหนองแวงใหญ่ หมู่ 2 ต.ตลาดไทร อ.ชุมพวง จ.นครราชสีมา ว่ามีชาวบ้านพบพระพุทธรูปโบราณกลางไร่มันสำปะหลังกว่า 18 ชิ้น พร้อมภาชนะที่ใส่องค์พระพุทธรูป ต่อมานายวงเทพ เขมวิรัตน์ นายอำเภอชุมพวง พร้อมเจ้าหน้าที่อำเภอ ทราบข่าวจึงเดินทางไปตรวจสอบ พร้อมนายสมเดช ลีลามโนธรรม หัวหน้ากลุ่มงาน โบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 12 อ.พิมาย จ.นครราชสีมา เบื้องต้นหลังจากเข้าตรวจสอบบริเวณโดยรอบห่างจากหมู่บ้านประมาณ 2 กิโลเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่ไร่มันสำปะหลังที่เก็บผลผลิตไปแล้วของนางจี ยางนอก อายุ 59 ปี บ้านเลขที่ 70/1 โดยขณะที่เจ้าหน้าที่ทางอำเภอและสำนักศิลปากรที่ 12 กำลังตรวจสอบได้มีชาวบ้านที่ทราบต่างเดินทางมามุงดูบริเวณที่พบพระพุทธรูปโบราณเป็นจำนวนมาก




ฮือฮา! พระพุทธรูปโบราณอายุพันปีโผล่กลางไร่มัน

        นางจี กล่าวว่า ช่วงบ่ายวันที่ 19 พ.ค. ที่ผ่านมา ขณะที่รถไถได้ไถพรวนดินทำร่องไร่มันสำปะหลัง เพื่อทำนาหว่าน กระทั่งหลานสาว 2 คนลงไปเดินเล่นในบริเวณที่ไถ และได้เอาพระพุทธรูปมาโยน เล่น 3 องค์ ทีแรกเห็นนึกว่าหลานโยนหัวก๊อกน้ำประปา แต่พอเข้ามาดู และจับจึงได้รู้ว่าเป็นองค์พระพุทธรูป ก่อนจะถามหลานว่า หยิบมาจากตรงไหน จากนั้นแม่ของหลานสาว คือ นางปิยดา เฉย ไธสง เดินดูบริเวณที่พบ ก็ได้สำรวจดูรอบ ๆ และได้พบพระพุทธรูปเพิ่มอีก 15 องค์ จนกระทั้งตกเย็นจึงกลับเข้าหมู่บ้านพอตื่นเช้ามาก็ได้เอามาให้เพื่อนบ้านดู และได้มีเซียนพระที่ทราบข่าวก็มาซื้อไป องค์ละ 2-3 หมื่นบาท และก็เหลืออยู่อีก 2 องค์ที่ได้นำเอามาให้ทางเจ้าหน้าที่ดู

พระพุทธรูปโบราณ
ฮือฮา! พระพุทธรูปโบราณอายุพันปีโผล่กลางไร่มัน

  ด้านนายสมเดช กล่าวว่า จากที่ได้ดูสถานที่โดยรอบบริเวณที่พบนั้น สันนิษฐานว่าพื้นที่บริเวณนี้อาจเป็นชุมชนหมู่บ้านเก่า ส่วนองค์พระพุทธรูปดูจากขนาดองค์พระพุทธรูป องค์แรกเป็นแบบนาคปรก และองค์ที่ 2 เป็นองค์เทวะ ฐานหน้ากว้าง 5 ซม. สูง 10 ซม. เนื้อองค์พระพุทธรูปเป็นเนื้อสำฤทธิ์ คาดว่า น่าจะป็นพระพุทธรูปในพุทธศาสนาประมาณ 900 ปี ถึง 1,000 ปี อยู่ในสมัยพระเจ้าสุริยวร มันที่ 7 (พ.ศ.1724-1761) และถ้วยที่เป็นภาชนะที่ใส่องค์พระพุทธรูปเป็นเนื้อเดียวกันกับที่เคยพบใน จ.บุรีรัมย์

      สำหรับองค์พระพุทธรูปที่เจ้าของที่พบและได้จำหน่ายไปแล้วนั้น ก็คงไม่สามารถ ติดตามคืนได้ แต่จะเอาจำนวนที่เหลืออยู่ไปตรวจสอบตามขั้นตอนที่สำนักศิลปกรที่ 12 นครราชสีมา เพื่อตรวจสอบให้แน่ชัดอีกครั้ง สำหรับองค์พระพุทธรูปที่มีผู้มาซื้อไปอีก 16 องค์นั้น ก็ขึ้นอยู่ว่าผู้ที่ซื้อไปจะนำมาให้ทางหน่วยงานหรือเปล่า หากเป็นสิ่งที่ดีก็หวังว่าจะนำมาคืนเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการหาความรู้จากวัตถุโบราณ และเป็นข้อมูลทางการศึกษาต่อไป


ที่มา.. dailynews
Create Date :24 พฤษภาคม 2557 Last Update :24 พฤษภาคม 2557 22:21:19 น. Counter : 2989 Pageviews. Comments :0