bloggang.com mainmenu search


อุปกรณ์ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network Equipment)

ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์พื้นฐานนอกจากคอมพิวเตอร์ 2 ตัวขึ้นไป แล้วยังต้องประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้


เน็ตเวิร์คการ์ด (Network Card)

การ์ดเน็ตเวิร์ก หมายถึง แผงวงจรสำหรับใช้ในการเชื่อมต่อสายสัญญาณของเครือข่าย จะติดตั้งไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องแม่ข่าย และเครื่องที่เป็นลูกข่าย หน้าที่ของการ์ด คือ แปลงสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ส่งผ่านไปตามสายสัญญาณ ทำให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้
NIC (Network Interface Card) การ์ดเน็ตเวิร์ก หรือการ์ดแลนด์ มีการนำมาใช้งานบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ IBM PC นานร่วม 15 ปี มีหน้าที่ติดต่อสื่อสารและรับ-ส่งข้อมูลระหว่างเครื่องเมนเฟรม และ เครื่องไมโคคอมพิวเตอร์ ในอดีตการ์ดเน็ตเวิร์กจะเป็นแบบบัส ISA ซึ่งใช้เสียบลงไปบนสลอต ISA บนเครื่องคอมพิวเตอร์และต้องมานั่งเซตจั๊มเปอร์ของ IRQ. Address เพื่อไม่ให้ไปชนกับอุปกรณ์อื่น ๆ อีกด้วย



บัส ISA ซึ่งปัจจุบันไม่นิยมใช้งานแล้ว จะเห็นว่าที่ด้านหลังมีขั้วเชื่อมต่อแบบ RJ-4,BNC และ Au ขั้วเชื่อมต่อแบบ RJ-4 จะต้องทำงานร่วมกับกล่องฮับ ส่วนขั้วเชื่อมต่อ แบบ BNC ไม่ต้องใช้ฮับร่วมทำงาน เพราะใช้ T-Connector และ Terminator (ตัวปิดหัวท้าย) แทน การ์ดเน็ตเวิร์กจะมีหลายแบบด้วยกัน ขึ้นอยู่กับสลอตบนเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น ISA, PCI, PCMCIA USB Port หรือ Compact Flash



PCI (Peripheral Component Interconnect) เป็นระบบบัสที่ได้รับความนิยมสูงมาก ซึ่งได้เข้า มาแทนบัสแบบ ISA PCI บัสมีอัตราการส่งผ่านข้อมูลสูงถึง 133 เมกกะไบต์ต่อวินาที นอกจากนี้ยังสามารถ กำหนดค่า IRQ,DMA, Memory Address ให้อุปกรณ์และการ์อินเทอร์เฟซอัตโนมัติ เมื่อเสียบการ์ดเน็ตเวิร์ก แบบ PCI ลงไปบนเครื่องแล้ว ส่วนมากจะมองเห็นและใช้งานได้ทันที



PCMCIA (Personal Computer Memory Card International Association) เป็นการ์ดเสียบขนาดเล็ก เท่ากับบัตรเครดิต เป็นอุปกรณ์ขยายระบบให้คอมพิวเตอร์ Notebook เช่น การ์ดหน่วยความจำ แฟกซ์ โมเด็ม การ์ดเน็ตเวิร์ก หรือ ฮาร์ดดิสก์ขนาดเล็ก



USB Port (Universal Serial Bus) เป็นพอร์ตเชื่อมต่อแบบใหม่ที่สามารถจะนำอุปกรณ์เข้ามาเชื่อมต่อได้ จำนวนมากถึง 100 กว่าตัว




โมเด็ม (Modem)


โมเด็ม ( Modem : Modulator Demodulator) หมายถึง อุปกรณ์สำหรับการแปลงสัญญาณดิจิตอล (Digital) จากคอมพิวเตอร์ด้านผู้ส่ง เพื่อส่งไปตามสายสัญญาณข้อมูลแบบอนาลอก(Analog) เมื่อถึงคอมพิวเตอร์ด้านผู้รับ โมเด็มก็จะทำหน้าที่แปลงสัญญาณอนาลอก ให้เป็นดิจิตอลนำเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อทำการประมวลผล โดยปกติจะใช้โมเด็มกับระบบเครือข่ายระยะไกล โดยการใชสายโทรศัพท์เป็นสื่อกลาง เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
Modem มี 3 ชนิดคือ
1. Internal Modem เป็น Card Adapter ที่เสียบเข้าไปใน slot ของคอมพิวเตอร์ โดยมีวงจรพอร์ต อนุกรมของตัวเอง(COM3,COM4) และใช้พลังงานร่วมกับคอมพิวเตอร์


2. External Modem เป็นกล่องที่บรรจุวงจร modem มีแหล่งพลังงานของตัวเอง และจะต่อกับพอร์ต อนุกรม(COM1,COM2)ของคอมพิวเตอร์

3. wireless modemหรือโมเด็มไร้สาย มีลักษณะคล้ายกับโมเด็มภายนอก โดยโมเด็มภายนอกจะเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ทาง serial port โดยใช้สายทางโทรศัพท์ ในขณะที่โมเด็มไร้สายจะไม่ใช้สายโทรศัพท์เพื่อเชื่อมต่อ แต่จะสื่อสารโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสื่อ



ฮับ (Hub)




ฮับ หรือตัวย้ำสัญญาณ เป็นอุปกรณ์ง่ายๆ ที่เชื่อมกลุ่มผู้ใช้ไว้ด้วยกัน ฮับจะส่งต่อทุกๆ ข้อมูลไม่ว่าจะเป็นอีเมล์ เอกสาร รูปภาพ คำสั่งพิมพ์งานจากผู้ใช้ที่ส่งมาไปยังผู้ใช้อื่นๆ ทุกคนที่ต่อร่วมกันบนฮับเดียวกัน ผู้ใช้ที่ต่ออยู่บนฮับตัวเดียว หรือต่อเชื่อมต่อผ่านฮับหลายตัวก็ตาม จะแบ่งกันใช้ความจุของสายร่วมกัน นั่นหมายถึง ยิ่งมีผู้ใช้เชื่อมต่อเพิ่มมากขึ้นเท่าไร ก็ต้องแบ่งความจุ ของสายในการรับส่งข้อมูลมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้แต่ละคนจะส่งได้ช้าลง เมื่อมีผู้ใช้เพิ่มในฮับมากขึ้น



เพื่อให้เข้าใจชัดเจนขึ้นว่า ฮับช่วยระบบเครือข่าย ทางธุรกิจคุณได้อย่างไร ให้คุณนึกถึงโรงเรียน ที่มีสายโทรศัพท์เพียงสายเดียว สำหรับห้องพักครูทุกห้อง เมื่อครูในห้องพักครู ต้องการโทรไปยังอีกห้องพักครูหนึ่ง โทรศัพท์จะดังไปทุกๆ ห้อง ครูที่พักอยู่ในแต่ละห้องทุกห้อง ต้องรับโทรศัพท์แล้วฟังว่าเป็นสายของใคร และในขณะที่มีคนใช้โทรศัพท์อยู่ คนอื่นๆ จะไม่สามารถใช้โทรศัพท์ได้ในเวลานั้น ถ้าครูมาพักน้อย การวางระบบเช่นนี้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ในช่วงเวลาที่มีการใช้โทรศัพท์บ่อย การติดต่อก็จะทำให้ยาก เพราะโทรศัพท์สายไม่ว่างตลอด


บริดจ์ (ฺBridge)



เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อระบบ LAN เข้าด้วยกัน โดยออกแบบมาเพื่อใช้ติดต่อระหว่างเครือข่ายท้องถิ่น LAN จำนวน 2 เครือข่าย ที่มีโปรโตคอลเหมือนกันหรือต่างกัน เพื่อให้สามารถขยายขอบเขตของ LAN ออกไปได้ โดยประสิทธิภาพในทางรวมลดลงไม่มาก เนื่องจากการติดต่อของเครื่องอยู่ในเซกเมนด์เดียวกัน จะไม่มีการส่งผ่านต่างเซกเมนด์ (Segment)



สวิตช์ (Switch)


สวิตช์เป็นอุปกรณ์ที่ฉลาดกว่าฮับ และทำให้ได้ความจุ ในการรับส่งข้อมูลแก่ผู้ใช้แต่ละคน ได้มากกว่าฮับ สวิตช์จะส่งต่อข้อมูลไปยังเป้าหมายที่เหมาะสม ที่สามารถไปต่อยังผู้รับได้โดยตรง โดยตัดสินใจส่งจากส่วนหัว (Header) ของข้อมูล (Packet) โดยสร้างการเชื่อมต่อแบบชั่วคราว ระหว่างต้นทางและปลายทาง และปิดการเชื่อมต่อชั่วคราวนั้นทิ้ง เมื่อการติดต่อได้เสร็จสิ้นลง

สวิตช์เปรียบได้กับโทรศัพท์ ของโรงเรียนที่มีโอเปอเรเตอร์คอยต่อสายให้ เมื่อครูสมชาย ต้องการโทรไปหาครูสมบัติ อีกห้องหนึ่ง โอเปอเรเตอร์รับคำสั่งจากครูสมชาย แล้วต่อสายไปยังครูสมบัติโดยตรง การต่อแบบนี้ทำให้ใช้โทรศัพท์ จากห้องหนึ่งไปอีกห้องหนึ่งได้มากกว่า 1 สาย


เราท์เตอร์ (Router)


เปรียบเทียบระหว่างฮับ และสวิตช์แล้ว เราเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ฉลาดกว่า เราเตอร์ใช้เพื่อ การส่งต่อข้อมูลที่จุดหมายซับซ้อนกว่ามาก โดยตัดสินใจส่งต่อข้อมูลจาก "ตารางสำหรับการเราต์" อุปกรณ์เราเตอร์ จะทำให้การส่งต่อข้อมูลไปตามเส้นทาง ที่มีประสิทธิภาพที่สุด ไม่ว่าจะส่งต่อจากเราเตอร์ ไปยังเครื่องต่างๆ หรือส่งจากเราเตอร์ ไปยังเราเตอร์อีกตัว และถ้าการเชื่อมระหว่างเราเตอร์ 2 ตัวที่จะส่งไปขาด มันยังสามารถตัดสินใจ เปลี่ยนเส้นทางที่เหมาะสมเอง ได้อีกด้วย เพื่อให้การสื่อสารเป็นไปอย่างราบรื่น และไม่ขาดตอน

เราเตอร์อาจใช้เพื่อเชื่อมเข้ากับ ระบบเครือข่ายอื่นๆ ที่มีวิธีในการรับส่งข้อมูล ที่ต่างไปจากระบบเครือข่ายที่เราใช้งานอยู่ได้ โดยแต่ละระบบเครือข่าย อาจพูดต่างภาษากัน หรือในศัพท์ทางคอมพิวเตอร์คือ แต่ละระบบเครือข่ายใช่ต่าง "โพรโตคอล (Protocol)" ตัวอย่างของโพรโตคอล เช่น อินเทอร์เน็ตโพรโตคอล (ไอพี), อินเทอร์เน็ตแพ็กเก็ตเอ็กซ์เชนจ์ (ไอพีเอ็กซ์) หรือแอปเปิลทอล์ก นอกจากนั้น เราเตอร์ยังไม่ใช่ เพียงสามารถเชื่อมต่อระบบเครือข่ายต่างๆ ในอาคารไว้ด้วยกันเท่านั้น แต่มีจุดเชื่อมต่อไปยังภายนอก (หรือเรียกว่า ซ็อกเก็ต (Socket) เชื่อมออกไปสู่บริการแบบ ระบบเครือข่ายพื้นที่กว้าง (Wide area Network-WAN) ได้อีกด้วย บริการแวนจะทำให้คุณสามารถ ติดต่อสื่อสารกระจายออกไปสู่ระบบเครือข่ายอื่นๆ ทั่วโลกได้


เพื่อเข้าใจความหมายการทำงานของเราเตอร์ (เรียกว่า เราติง) ให้เปรียบไปถึงโรงเรียน A และโรงเรียนอื่นๆ ทั้งหมดที่ได้ฝึกโอเปอเรเตอร์ ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อครูที่ชื่อสมชายโทรศัพท์จากโรงเรียน A โทรไปครูชื่อสมบัติที่สอนอยู่อีกโรงเรียนที่ชื่อ B โอเปอเรเตอร์ที่โรงเรียน A จะรู้ทันทีว่าจะต้องต่อสายไปอย่างไรถึงดีที่สุด โดยต่อสายไปยังโอเปอเรเตอร์ชื่อสมศรีที่ทำงานอยู่ที่โรงเรียน B เพื่อให้สมศรีโอนสายไปครูสมบัติ และหากเกิดปัญหาในการต่อสายไปยังสมศรี โอเปอเรเตอร์ที่โรงเรียน A จะสามารถเลือกเส้นทางอื่น เช่น ต่อไปยังโอเปอเรเตอร์คนอื่นที่ประจำอยู่ที่โรงเรียน B เพื่อให้การติดต่อครั้งนี้สำเร็จ



เกตเวย์ (Gateway)

เป็นอุปกรณ์ที่ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2 เครือข่ายหรือมากกว่า ที่มีลักษณะไม่เหมือนกันสามารถติดต่อกันได้เหมือนเป็นเครือข่ายเดียวกัน เปรียบเสมือนเป็นประตูทางผ่านในการสื่อสารข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ต่างชนิดกัน เช่น ระหว่างเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ทั่ว ๆ ไปกับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ หรือเมนเฟรม ซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เป็นต้น อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็น Gateway นั้นอาจจะใช้คอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งทำหน้าที่ก็ได้




แบบฝึกหัด
4.1. HUB , BRIDGE , ROUTER , GATEWAY ต่างกันอย่างไร
Create Date :10 มิถุนายน 2552 Last Update :12 มิถุนายน 2552 10:22:13 น. Counter : Pageviews. Comments :117