bloggang.com mainmenu search
ครั้งแรกในชีวิตกับ MRI ที่ AIMC รพ.รามาธิบดี
ผลออกมาว่า ไขสันหลังบริเวณ T2-T5 ถูกทำลายไปบางส่วน จนถึงปัจจุบันนี้ยังหาสายเหตุที่ไขสันหลังถูกทำลายไม่ได้เลยครับ
ครั้งที่ 1 09/12/2553
ครั้งที่ 2 12/12/2553


การตรวจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)Magnetic Resonance Imaging หรือ MRI คือเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า
ใช้ในการตรวจวินิจฉัยรอยโรคของผู้ป่วย เพื่อนำมาใช้ในการรักษาและติดตามผลการรักษาอาศัยคุณสมบัติความเป็นแม่เหล็กของไฮโดรเจนอะตอม (Hydrogen, H)
ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักที่อยู่ภายในร่างกายมนุษย์ เช่น โมเลกุลของน้ำ (H2O) เป็นต้น เมื่อผู้รับการตรวจเข้าไปอยู่ภายใต้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าเครื่องจะส่งสัญญาณ
คลื่นวิทยุที่มีความถี่จำเพาะ (Radiofrequency) เข้าไปกระตุ้นระบบอวัยวะที่จะตรวจ เมื่ออวัยวะนั้นๆ ถูกกระตุ้นจะมีการเปลี่ยนแปลงระดับพลังงานตามขบวนการทางฟิสิกส์
ที่เรียกว่า การกำทอน (Resonance) หลังจากหยุดกระตุ้นไฮโดรเจนอะตอมภายในร่างกายมีการคายพลังงาน จะมีอุปกรณ์รับสัญญาณที่ได้ออกมา จากนั้นแปลงเป็นสัญญาณภาพบนจอภาพ
เครื่อง MRI จะเป็นเทคโนโลยีทันสมัยและมีราคาแพง ในปัจจุบันมีการนำมาใช้อย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นการตรวจวินิจฉัยที่ให้ความถูกต้องและแม่นยำสูง
เนื่องจากให้ความแตกต่างของเนื้อเยื่อได้ดี ทำได้หลายระนาบ สามารถใช้ตรวจได้ทุกระบบของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของระบบสมองและกระดูกสันหลัง
การตรวจ MRI จะดีกว่าเมื่อเทียบกับการตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed Tomography, CT) อีกทั้งมีเทคนิคการตรวจพิเศษหลายแบบ
เช่น การตรวจสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะสมองขาดเลือดแบบเฉียบพลัน การตรวจหาระดับชีวเคมี เพื่อแยกชนิดของก้อนเนื้อ และการตรวจหลอดเลือดทั่วร่างกาย เป็นต้น
MRI ยังมีประโยชน์มากในการตรวจผู้ป่วยเด็ก เนื่องจากไม่มีอันตรายจากรังสี ที่เกิดจากการใช้เอกซเรย์

ลักษณะการใช้งานกับผู้ป่วย / ใช้กับอวัยะส่วนใดได้บ้าง
ในการตรวจด้วยเครื่อง MRI ผู้ป่วยต้องเข้าไปนอนในเครื่อง ลักษณะคล้ายอุโมงค์ ซึ่งจะมีความกว้างประมาณ 60 เซนติเมตร และจะมีการใส่อุปกรณ์รับสัญญาณภาพ
โดยจะมีลักษณะที่แตกต่างไป ขึ้นกับระบบอวัยวะที่ต้องการตรวจ เช่นการตรวจระบบสมอง จะมีอุปกรณ์รับสัญญาณภาพครอบอยู่บริเวณศีรษะ กรณีตรวจกระดูกสันหลัง
อุปกรณ์รับภาพจะวางอยู่ด้านหลังผู้ป่วย เป็นต้น ผู้ป่วยต้องนอนในอุโมงค์อย่างน้อย 30 นาที ถึงชั่วโมง ขึ้นกับระบบอวัยวะที่ต้องการตรวจ การตรวจจะแบ่งเป็นชุดๆ
ในแต่ละชุดใช้เวลานาน 3-5 นาที โดยประมาณ ในบางการตรวจ เช่น
ระบบหัวใจและช่องท้อง ผู้ป่วยจะต้องมีการกลั้นหายใจ ในแต่ละชุดประมาณ 15-20 วินาที
และจะต้องมีการเตรียมตัวเฉพาะและการงดรับประทานยาประจำบางชนิด ก่อนเข้ารับการตรวจ โดยเจ้าหน้าที่จะแจ้งขั้นตอนในวันที่มานัดตรวจ

การ ตรวจ MRI สามารถใช้ตรวจได้เกือบทุกระบบอวัยวะของร่างกาย ได้แก่ ระบบสมอง ระบบช่องท้องทั้งหมด
ระบบกระดูก กล้ามเนื้อและข้อ เป็นต้น แต่จะมีข้อด้อยโดยเฉพาะการตรวจอวัยวะปอดและลำไส้

* ประโยชน์ของการตรวจ MRI ที่มีต่อแพทย์ การ ตรวจ MRI จะเป็นการตรวจที่ให้ความแม่นยำและถูกต้องสูง
มีประโยชน์มากสำหรับแพทย์ ในการวินิจฉัยโรค เพื่อนำมาใช้การรักษาและติดตามผลการรักษา

* การตรวจ MRI หนึ่งครั้ง ทำให้ทราบความผิดปกติของร่างกายทั้งหมดหรือไม่ ไม่ใช่ การตรวจ MRI หนึ่งครั้ง จะเป็นการตรวจระบบอวัยวะหนึ่งระบบ เช่นการตรวจสมอง
จะแสดงภาพของเนื้อเยื่อสมอง และอวัยวะอื่นๆ บริเวณสมอง จะไม่สามารถเห็นอวัยวะบริเวณช่องอกหรือช่องท้องได้ ดังนั้นการตรวจแต่ละครั้ง จะต้องได้รับ
การตรวจจากแพทย์ที่ทำการรักษาก่อนเข้ารับการตรวจ MRI โดยแพทย์จะเขียนใบส่งตรวจให้ว่าต้องการตรวจอวัยวะส่วนใด พร้อมแจ้งประวัติการตรวจร่างกาย
และการรักษาของผู้ป่วย ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับรังสีแพทย์ ในการแปลผลภาพ MRI ใช้ประกอบ

การเตรียมตัวสำหรับผู้ป่วยที่มารับการตรวจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
1. เนื่องจากเป็นการตรวจที่ไม่เจ็บปวด ท่านเพียงแต่ทำ ใจให้สงบ นอนให้สบาย ไม่ต้องกลัว
2. ในขณะที่เครื่องทำ งานจะมีเสียงดัง กรุณาอย่าตกใจ!
3. ในขณะที่ท่านทำ การตรวจอยู่ในเครื่อง จะมีเจ้าหน้าที่ดูแลท่านอยู่ตลอดเวลา ถ้ามีปัญหาขัดข้องอะไร ท่าสามารถบอกได้โดยผ่านไมโครโฟนที่อยู่ภายในเครื่อง
4. เนื่องจากเป็นการตรวจที่ละเอียด จึงใช้เวลาค่อนข้างนาน ในการตรวจแต่ละชุดท่านต้องนอนให้นิ่งที่สุด
ไม่เช่นนั้นจะทำให้ภาพไหวและไม่ชัดเจน อาจทำ ให้การวินิจฉัยไม่แม่นยำ
5. เจ้าหน้าที่จะทำ การอธิบายอีกครั้งก่อนเข้ารับการตรวจหากมีข้อสงสัยให้สอบถามเจ้าหน้าที่ได้
6. ถ้าท่านเกิดการกังวลใจหรือกลัวที่จะอยู่คนเดียวในห้องหรือกลัวที่แคบโปรด แจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนเข้ารับการตรวจ ซึ่งอาจให้ญาตินั่งเป็นเพื่อนได้โดยไม่มีอันตรายใดๆ
7. หลีกเลี่ยงการแต่งหน้า เนื่องจากเครื่องสำอางบางชนิดทำ ให้เกิดภาพบิดเบี้ยวไป (distortion)

หมายเหตุ : กรณีที่ท่านต้องการฟังดนตรี กรุณาแจ้งเจ้าหน้าที่ทำ การตรวจข้อควรระมัดระวังก่อนเข้ารับการตรวจ MRI ตรวจดูว่าในร่างกาย มีสิ่งต้องห้ามอะไรดังต่อไปนี้บ้าง
* เครื่องช่วยกระตุ้นหัวใจ (pacemaker) * ผู้ป่วยที่เคยได้รับการผ่าตัดใส่ clips หรือโลหะต่างๆ * ผู้ป่วยที่มีสิ่งแปลกปลอมที่เป็นโลหะอยู่ในร่างกาย เช่นผู้ป่วยที่เคยถูกยิงมีกระสุนค้างอยู่ตามร่างกาย

*** ถ้ามีให้แจ้งเจ้าหน้าที่ ***
* เครื่องประดับต่างๆ เช่น นาฬิกา สร้อย ต่างหู กิ๊บ เข็มกลัดติดเสื้อ เป็นต้น * ฟันปลอม เครื่องช่วยหูฟัง * บัตรเครดิต บัตรเอทีเอ็ม * สิ่งของที่เป็นโลหะ เช่นกุญแจ คลิป ปากกา เป็นต้น * วิทยุติดตามตัว โทรศัพท์มือถือ

***หากมีสิ่งของเหล่านี้ ให้ฝากญาติหรือใส่ตู้เก็บของ
การปฏิบัติตัวหลังการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

1. ดื่มน้ำสะอาดทันทีหลังการตรวจหรือเร็วที่สุด อย่างน้อยวันละ 2 ลิตรเป็นเวลา 2 วัน(ยกเว้นในรายที่แพทย์จำกัดปริมาณน้ำดื่ม)

2. ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่รับประทานยาMetforminหรือGlucophageให้งดยาต่ออีก 2 วัน ระหว่างงดยาเบาหวานต้องควบคุมอาหารอย่างเคร่งครัด

3. รับประทานอาหารได้ตามปกติ(ยกเว้นในรายที่แพทย์สั่งงดอาหาร)

อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังการได้รับสารทึบรังสีหรือสารกาโดลิเนี่ยมในการตรวจด้วยเครื่องสนามแม่เหล็ก
1. อาการ ไม่พึงประสงค์ชนิดเกิดล่าช้า(Delayed Allergy) มีรายงานอาการหลายชนิดแต่อาจไม่สัมพันธ์กับสารทึบรังสีหรือสารกาโดลิเนี่ยม เช่นอาเจียน ปวดศีรษะ
ปวดกล้ามเนื้อ/กระดูก อาการทางผิวหนังเหมือนกับผื่นแพ้ยาอื่นๆ มักจะอาการไม่รุนแรงและหายได้เอง แต่ถ้ามีอาการรุนแรงให้ติดต่อกลับที่ไอแมคหรือพบแพทย์ที่ใกล้บ้าน
2. ใน ผู้ป่วยตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่มีการทำงานของไตเริ่มพร่อง ควรสังเกตอาการต่อไปนี้ ปริมาณปัสสาวะต่อวันน้อยกว่า 400 ซีซี ปัสสาวะเป็นเลือด
ปัสสาวะขุ่น เป็นฟอง เมื่อไตวายเป็นมากขึ้น ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการที่เรียกว่า “กลุ่มอาการยูรีเมีย” เกิดจากการที่มีของเสียสะสมในร่างกาย ทำให้เกิดอาการผิดปกติ
ของการทำงานของอวัยวะต่างๆ เช่น ผิวซีด เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อ่อนเพลีย คันไปทั่วตัว บวมที่หน้าและขา ปัสสาวะบ่อยครั้งในเวลากลางคืนและเกิดหัวใจล้มเหลว
3. ผู้ป่วยที่รับประทานน้ำแดงก่อนการตรวจ และได้รับการสวนยาทางทวารหนักในการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หลังตรวจอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน
เป็นอาการปกติจะหายไปใน 2 – 3 วัน

ที่มา : AIMC , รพ.รามาธิบดี






ขอคุณที่แวะมาเยี่ยมและติชมครับ
Create Date :06 กุมภาพันธ์ 2555 Last Update :27 สิงหาคม 2555 11:47:59 น. Counter : Pageviews. Comments :4