bloggang.com mainmenu search
พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคมและรองประธาน กสทช. มีหน้าที่โดยตรงกับการจัดประมูลคลื่นความถี่ เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2559 เวลา 16.30 น.บริษัทแจส โมบาย บรอดแบรนด์จำกัดไม่ได้นำเงินมาจ่ายค่าประมูล 4G คลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์งวดแรกเป็นเงิน 8,040 ล้านบาทและนำใบค้ำประกันจากธนาคาร (แบงก์การันตี) อีก 75,654 ล้านบาทมาจ่ายให้ กสทช. จึงเกิดปัญหาตามมา อย่างไรก็ตามดร.เศรษฐพงค์นำการประมูลคลื่นความถี่ของประเทศต่างๆมาให้ศึกษากัน ดังนี้......

 

สาธารณรัฐเช็ก - องค์กรกำกับดูแลของสาธารณรัฐเช็ก ตัดสินใจยกเลิกการประมูล เนื่องจากราคาประมูลพุ่งสูงถึง1,030 ล้านเหรียญสหรัฐ จากที่คาดว่าจะมีรายได้จากการประมูลเพียง 377 ล้านเหรียญสหรัฐ 

ประเทศอินเดีย - ในเดือนพฤศจิกายน 2012 ได้มีการจัดสรรคลื่นความถี่ 2G แต่เนื่องจากมีการตั้งราคาตั้งต้นการประมูลสูงเกินไป โดยเฉพาะคลื่น 1800 MHz ในบางบล็อคความถี่ ไม่มีผู้เข้าร่วมประมูล และรายได้จากการประมูลต่ำกว่าที่คาดไว้มาก และในปี 2013 ถึงแม้จะมีการลดราคาเริ่มต้นการประมูลลงจากปี 2012 โดยคลื่น 1800MHz มีการลดราคาลง 30% และคลื่น 800 MHz ลดราคาลง 50% ซึ่งถึงแม้จะมีการลดราคาลงแต่คลื่น 1800MHz บางบล๊อคก็ยังไม่มีผู้เข้าร่วมประมูล ส่วนคลื่น 800MHz มีผู้สนใจเข้าร่วมการประมูลเพียงรายเดียวเท่านั้น

ออสเตรเลีย - การประมูลคลื่นความถี่ 4G ย่าน 700 MHz ในเดือนเมษายน 2013 โดยก่อนเริ่มต้นการประมูลVodafone ผู้ให้บริการอันดับสาม ประท้วงไม่เข้าร่วมการประมูล เนื่องจากไม่เห็นด้วยกับราคาตั้งต้นการประมูล ส่วนOptus ผู้ให้บริการอันดับสองเข้ามาขอรับการจัดสรรความถี่เพียงครึ่งเดียวของ Telstra ผู้ให้บริการอันดันหนึ่ง เนื่องจากไม่เห็นด้วยกับการตั้งราคาตั้งต้นการประมูลที่สูงเกินไป ทำให้คลื่นความถี่เหลือหนึ่งในสาม (2x15 MHz) ที่ไม่สามารถจัดสรรออกไปได้

สิงคโปร์ - พยายามหาผู้ประมูลรายที่ 4 เข้าตลาด แต่ไม่สำเร็จ ดังนั้น IDA จึงได้ยกเลิกการประมูลและให้ผู้ประกอบการทั้ง 3 ราย ได้แก่ Singtel, M1 และ Starhub ได้รับการจัดสรรในราคาขั้นต่ำในการอนุญาตใช้คลื่นความถี่ (Reserve Price) ที่มูลค่า 20 ล้านเหรียญสิงคโปร์ (ประมาณ 500 ล้านบาท)

เกาหลีใต้ - ในปี 2011 มีการตั้งกำแพงไม่ให้ผู้ให้บริการรายหลักสองรายเข้ามาประมูลในคลื่น 2100 MHz เพื่อให้เกิดความน่าสนใจสำหรับผู้ให้บริการรายใหม่ ดังนั้น LG Uplus เป็นเพียงรายเดียวที่เข้าร่วมประมูลคลื่น 2100 MHz และชนะการประมูลในราคาขั้นต่ำที่ทาง KCC ได้ตั้งไว้ที่ 4.45 แสนล้านวอน

ประเทศนอร์เวย์ - มีการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2.1GHz เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 โดยมีผู้เข้าร่วมประมูลสามราย โดยหนึ่งในสามรายเป็นผู้ได้รับการจัดสรรความถี่ไว้แล้ว 15MHz ในอดีต โดยการประมูลกำหนดให้แต่ละรายจะมีความถี่ในครอบครองได้ไม่เกิน 20MHz ซึ่งการประมูลได้จบลงในรอบเดียวและทุกรายได้รับการจัดสรรความถี่ตามที่ต้องการในราคาขั้นต่ำในการอนุญาตใช้คลื่นความถี่ หรือ 5 ล้านโครนเนอร์นอร์เวย์ ต่อ 1 บล็อกความถี่

บังกลาเทศ - จัดประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz ทั้งหมด 50 MHz โดยมีการจัดสรรให้ผู้ประกอบการของรัฐ 10 MHz อีก40MHz จัดสรรให้แก่ผู้ประกอบการเอกชน แต่ประมูลออกไปได้เพียงเพียง 25 MHz คงเหลือคลื่นความถี่อีก 15 MHzโดยไม่มีผู้สนใจจะประมูลต่อ โดยบริษัท CityCell ผู้ประกอบการรายที่เก่าแก่ที่สุด ไม่ได้เข้าประมูล เนื่องจากไม่สามารถจัดหาเงินลงทุนได้ 

บาห์เรน – ยกเลิกการประมูลคลื่นความถี่ LTE โดยใช้วิธีจัดสรรคลื่นความถี่ให้กับผู้ให้บริการรายเดิมในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมทั้ง 3 รายแทน (Bahrain Telecommunications Co. (Batelco), Kuwait's Zain และ Viva Bahrain)

จาเมกา - จัดประมูลคลื่นความถี่ย่าน 700MHz เมื่อเดือนตุลาคม 2013 แต่การประมูลคลื่นความถี่ได้ถูกล้มเลิกไป เนื่องจากไม่มีผู้เสนอราคาแม้แต่รายเดียว ซึ่งถือเป็นความล้มเหลวของการประมูล 

เดนมาร์ก - ประมูลคลื่นความถี่ย่าน 800MHz ผู้ชนะประมูลมีเพียง 2 รายเท่านั้น จากผู้เข้าประมูลทั้งสิ้น 3 ราย โดยบริษัท Hi2G นั้นแพ้การประมูล

โรมาเนีย - ประมูลคลื่นความถี่ย่าน 800MHz ได้ผู้ชนะการประมูล 3 ราย โดยเหลือคลื่นความถี่อีกจำนวน 2x5MHz ที่ไม่สามารถประมูลออกไปได้

ที่มา thaitribune

Create Date :23 มีนาคม 2559 Last Update :23 มีนาคม 2559 9:34:41 น. Counter : 280 Pageviews. Comments :0