bloggang.com mainmenu search


นิทรรศการเผยแพร่องค์ความรู้ผลงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดย สานักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม
2022 Acquisitions
Office of Contemporary Art and Culture
จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23 พฤศจิกายน – 25 ธันวาคม 2565
เวลา 10.00-18.00 น.
ณ ห้องนิทรรศการ 4 ชั้น 1 อาคารหอศิลป์แห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์หอศิลป์ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย
โทร. 0 2209 3757
เป็นงานศิลปะที่อุ้มสีขอบอกว่า "ชอบจริงจริงเจ้าเอ๋ย" ชอบแบบนี้มากค่ะ ต้องมาชม











ยย











































เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 23 ธันวาคม 2565 ณ ห้องนิทรรศการ 4 ชั้น 1 อาคารหอศิลป์แห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม
นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
มาเป็นประธานในพิธี
เปิดงานนิทรรศการเผยแพร่องค์ความรู้ผลงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
โดยสานักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย
2022 Acquisitions
Office of Contemporary Art and Culture
ระหว่างวันที่23 พฤศจิกายน – 25 ธันวาคม 2565







นับเป็นครั้งแรกของการจัดแสดงนิทรรศการผลงานสะสมประจำปี
“Acquisitions Exhibition”
ซึ่งกระทรวงวัฒนธรรม โดยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย
ได้รวบรวมผลงานศิลปะร่วมสมัยอันทรงคุณค่า
จากศิลปินชาวไทยผู้มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลาย
ทั้งในวงการศิลปะระดับประเทศและระดับนานาชาติ
จำนวน 16 ท่าน
จากผลงานสร้างสรรค์ 20 ผลงาน 79 ชิ้นงาน
ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นการบันทึกเรื่องราวที่น่าสนใจ
ผ่านผลงานศิลปะร่วมสมัย
อีกทั้งยังเป็นการสะท้อนมุมมองของศิลปินต่อปรากฏการณ์
ที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบัน



รายชื่อศิลปินในนิทรรศการฯ มีดังนี้จักรพันธ์ วิลาสินีกุล / ดุษฎี ฮันตระกูล / ตะวัน วัตุยา
ทัศนัย เศรษฐเสรี / ประทีป สุธาทองไทย / แพร พู่พิทยาสถาพร
มิตร ใจอินทร์ / มิติ เรืองกฤตยา / ฤทัยรัตน์ คาศรีจันทร์
เล็ก เกียรติศิริขจร / สาครินทร์ เครืออ่อน / อธิษว์ ศรสงคราม
อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล / อริญชย์ รุ่งแจ้ง / อาพรรณี สะเตาะ / อิ่มหทัย สุวัฒนศิลป



นายอิทธิพล คุณปลื้ม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
เปิดเผยว่า
นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 จนถึง ปัจจุบัน
สานักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม
ในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจในการส่งเสริม
สนับสนุนและเผยแพร่การสร้างสรรค์งานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย
เพื่อเป็นทุนและพลังขับเคลื่อนในการพัฒนา สังคม เศรษฐกิจ
และคุณภาพชีวิต
ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย พ.ศ. 2551
และยุทธศาสตร์ส่งเสริม ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย
ได้ทำหน้าที่เก็บรวบรวมองค์ความรู้อันทรงคุณค่า
ด้านศิลปะร่วมสมัย


จากผลงานศิลปกรรมที่สร้างสรรค์โดยศิลปินชาวไทยผู้มีชื่อเสียง
อันเป็นที่ประจักษ์ในแวดวงศิลปะร่วมสมัยทั้งในประเทศ
และระดับสากลในทุกมิติเอาไว้
เพื่อเป็นสมบัติของชาติ มากกว่า 500 ชิ้นงาน
สำหรับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
สานักงานฯ ร่วมกับคณะกรรมการสรรหาและคณะกรรมการ
พิจารณาคัดเลือกผลงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย
ได้คัดสรรผลงานศิลปะอันทรงคุณค่า และควรแก่การเก็บรักษา
เพื่อเป็นสมบัติ ของชาติเพิ่มเติมอีกจานวน 79 ชิ้นงาน
(จาก 20 ชุดผลงาน)
ประกอบด้วยผลงานศิลปะภาพถ่าย ศิลปะจัดวาง
ภาพเคลื่อนไหว สื่อผสม จิตรกรรม และประติมากรรม
โดยส่วนใหญ่เป็นผลงานที่สร้างสรรค์ ขึ้น
ในช่วงปี ค.ศ. 2011 – 2022
ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มและพัฒนาการ
ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วม สมัยของศิลปินไทยในยุคปัจจุบัน
จะเห็นได้ว่านิทรรศการเผยแพร่องค์ความรู้
ของผลงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยที่จัดขึ้นในครั้งนี้
จะเป็นองค์ความรู้ที่สาคัญให้แก่เยาวชนและผู้สนใจในงานศิลปะ
ได้เรียนรู้ถึงแนวความคิด เทคนิควิธีการสร้างสรรค์
ตลอดจนสุนทรียศาสตร์ กระบวนทัศน์
และประวัติศาสตร์ของสังคมร่วมสมัย
รวมทั้งยังมีส่วนช่วยในการสนับสนุน และพัฒนาแวดวงวิชาชีพศิลปิน
ตลอดจนกระบวนการสร้างสรรค์และส่งต่อคุณค่า
ในงานศิลปะแพร่หลายสู่สังคมได้อย่างต่อเนื่องต่อไป







นายมิติ เรืองกฤตยา ศิลปิน เล่าถึงที่มาของทั้ง 6 ภาพ
ให้แก่นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
โดยเขาเผยว่า
เป็นภาพที่ผมถ่ายมาจากช่วงน้ำท่วมตอนกลางคืนในปี 2011
ผมใช้ขาตั้งกล้องให้ดูเหมือนฉากที่เป็นเสมือนฝันดีหรือฝันร้าย
แล้วช่วงที่ถ่ายงานผมขับรถผ่านไปแถวรังสิต
ไปเจอกองวัสดุก่อสร้างของทางด่วนแล้วมีคนมาใช้เป็นที่พักอาศัย
เพราะบ้านเขาเกิดน้ำท่วม
ที่อยู่ใกล้ๆ เขาจึงมาขอเป็นที่พักอาศัยชั่วคราวระหว่างรอน้ำลด
ผมเห็นถึงความ surreal ความแปลก
ทำให้ผมมองว่านี่คือกึ่งๆ อนาคต
ที่เป็นสัญญาณเตือนให้เราได้ตระหนัก
ภาพของผมจึงเป็นช่วงกลางคืน
ผมอยากให้ภาพผมหลุดจากภาพทั่วไป ภาพปกติในตอนกลางวันจะเห็นได้อย่างชัดเจน
แต่ภาพในเวลากลางคืนจะมีมิติ แสง สี ที่โดนเร่งขึ้น
ทำให้ภาพดูเหมือนหนังการ์ตูน หรือหนัง Sci-fi
คือ ผมอยากให้คนมองที่ภาพของผมสวย แปลกตา
แต่จริงๆ แล้วผมซ่อนให้รู้สึกเห็นภาพแล้วอยากไปค้นหา
และผลงานผมชื่อ "พื้นที่ที่ถูกเปลี่ยนแปลง"
ซึ่งปกติงานของผมก็จะถ่ายเกี่ยวกับ Landscape ของเมืองตลอด
เป็น Landscape ที่ถูก "คน" พลิกแพลงหรือเปลี่ยนไป
ไม่ว่าจะเป็นตึก บ้านเรือน หรือที่ดิน
ติดตามผลงานผมได้ที่ Bangkok City.City Gallery ถนนสาทร
และมี IG ที่ 11 CBangkok







ศิลปิน : นายมิติ เรืองกฤตยา
ผลงานผมชื่อ : "พื้นที่ที่ถูกเปลี่ยนแปลง"









ศิลปิน : นายตะวัน วัตุยา
นายตะวัน วัตุยา ศิลปินวัย 49ปี เกิดปี 2516 เป็นคนกรุงเทพมหานคร
จบปริญญาตรีจากคณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
เปิดเผยว่า
ผลงานชุดนี้มี 16 ภาพ
ผมสร้างขึ้นเพื่อนำมาจัดแสดงที่มหาวิทยาลัยศิลปากร หน้าพระลาน
โดยเป็นส่วนหนึ่งของ set ในนิทรรศการ "Keep in the dark"
ผลงานโดย ตะวัน วัตุยา (Tawan Wattuya)
จัดแสดงระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม - 27 พฤศจิกายน 2564
แต่ชุดนี้เป็น set ย่อยที่อยู่ในโชว์นั้น
เป็นใบหน้าของบุคคลที่สูญหายโดยกรณีการเมือง
ด้วยความที่ผมจัดการแสดงในห้องลับในห้องมืด เหมือนห้องเก็บของ
ซึ่งตอนนั้นผมคิดว่าจะสอดคล้องกับใบหน้าของบุคคล
ที่เรายังหาเขาไม่เจอ
ติดตามผลงานได้ทั้งเฟชบุ๊คและไอจี Tawan Wattuya



ผลงาน Missing Person
จึงเป็นการถ่ายทอดเรื่องราวผ่านภาพจิตรกรรมสีนํ้า
ที่อาศัยความฉับพลันในการบันทึกภาพใบหน้าบุคคล
อันแสดงออกถึงอารมณ์ ความรู้สึก
และลักษณะเฉพาะตัว
ของผู้เป็นแบบได้อย่างเป็นเอกลักษณ์และน่าสนใจ

โดยศิลปินใช้สีทองฉาบบนสีนํ้าเงินของสีนํ้า
ซึ่งจะปรากฏให้เห็นเมื่อต้องแสงไฟ
ราวกับสะท้อนอุดมการณ์และความหวังของบุคคลเหล่านั้น
ผลงานชุดนี้เป็นการรวบรวมความเป็นไปทางสังคมการเมือง
ที่มีมิติความซับซ้อน ทั้งด้านจารีตประเพณี วัฒนธรรม จริยธรรม
ศีลธรรม สามัญสํานึก คุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
สิทธิและเสรีภาพ ความยุติธรรม
ปริมณฑลชายขอบทางพื้นที่
และความคิด การหลบซ่อน การต่อสู้ การปิดกัน การกดทับ
รวมไปถึงการประนีประนอม
และยังสอดรับกับการประกาศใช้
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทําให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565
เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565
ภาพบุคคลชุดนี้จึงเปรียบเสมือนจดหมายเหตุบันทึกสถานการณ์
สําคัญที่เกิดขึ้นในพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ของไทย และสะท้อนเรื่องราวต่าง ๆ ที่รอให้ผู้ชมมาสืบเสาะค้นหาร่วมกันอีกทางหนึ่งด้วย



ผลงานชุด "ชอบ เงิน สด (Holy Production)"
ศิลปิน : ประทีป สุธาทองไทย

Holy Production เป็นที่ศิลปินสะท้อนการผลิตวัตถุมงคล
ซึ่วสร้างขึ้นจากแนวคิดของศิลปินที่มีต่อการผลิตซํ้าวัตถุมงคลในสังคมไทย
จากความความนิยมในการครอบครองและสะสมวัตถุมงคลประเภทต่างๆ
ทําให้สถานะของวัตถุมงคลเป็นสินค้าที่มีมูลค่า
และมีตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยนบนเว็บไซต์ต่างๆ
ภาพถ่ายวัตถุมงคลจึงเป็นข้อมูลที่ถูกเผยแพร่
และผลิตซํ้าในโลกดิจิทัลเป็นจํานวนมาก
เขานํามาสู่กระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน
ด้วยเทคนิคภาพถ่ายต่อประกอบหรือ photo collage
เป็นการรวบรวมภาพถ่ายวัตถุมงคลประเภทล็อกเก็ต
ของเกจิอาจารย์และบุคคลสําคัญที่ศิลปินสะสมจากเว็บไซต์ต่างๆ
เพื่อสะท้อนกระบวนการผลิตซํ้าสิ่งศักดิ์สิทธิ์
และการเปลี่ยนผ่านความหมายของการสร้าง “ล็อกเก็ต”
จากวัฒนธรรมตะวันตกสู่การเป็นวัตถุมงคลประเภทหนึ่งในสังคมไทย





ศิลปิน : ประทีป สุธาทองไทย ศิลปินสร้างสรรค์ผลงาน
ที่ตั้งคําถามกับความจริง ภาพจํา ความฝัน และประวัติศาสตร์
จากการวาดภาพเหมือนจริง
ศิลปินเปลี่ยนมาใช้เทคนิคภาพถ่าย
แต่ยังอาศัยวิธีและมุมมองการทํางานแบบจิตรกรรม
กล่าวคือ การถ่ายภาพที่ใช้ฟิล์มบันทึกภาพวัตถุเดียวกันต่อเนื่องหลาย เฟรม
เมื่อนํามาวางต่อกัน
จะได้ผลงานภาพถ่ายหนึ่งชิ้นที่เล่าเรื่องราวได้หลากหลาย
เสมือนจิ๊กซอว์
อันเกิดจากการประกอบขึ้นของแต่ละองค์ประกอบย่อย
แต่ทว่าไม่ได้นําเสนอภาพรวมอันสมบูรณ์
ชี้ชวนให้ผู้ชมตั้งคําถามเชิงปรัชญาว่แท้ที่จริงแล้วความจริงคือสิ่งใด
ภายใต้สังคมปัจจุบันที่เต็มไปด้วยภาพแห่งความผิวเผิน (society of spectacles)









ผลงานประติมากรรม : Reflection of Three Men (ภาพสะท้อนของชายสามคน)
ศิลปิน : จักรพันธ์

ในช่วงปีที่ผ่านมาจักรพันธ์มุ่งความสนใจไปที่งานประติมากรรมจากแก้วประเด็นเรื่องความแตกต่าง
ของมนุษย์ถูกสะท้อนผ่านผลงานประติมากรรม Reflection of Three Men (ภาพสะท้อนของชายสามคน)
จักรพันธ์สร้างประติมากรรมแก้วรูปคนสามคน
แสดงเฉพาะส่วนศีรษะถึงส่วนอกโดยใช้เทคนิคที่แตกต่างกัน
ในแต่ละส่วน
กล่าวคือ ส่วนอกทําจากแก้วทึบตันประทับร่องรอยเล็กๆ จนทั่วพื้นผิว
ด้วยสิ่งของสามชนิด ได้แก่
เครื่องมือช่างขนาดเล็ก ใบไม้ และตัวอักษร
เมื่อผลงานต้องแสงไฟ ร่องรอยต่างๆ จึงปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัด



ผลงาน : Reflection of Three Men, 2021
จากความโปร่งใสของแก้ว
รูปลักษณ์ทั้งสามเปรียบเสมือนสัญลักษณ์แทนมนุษย์
ที่มีความคิดและโลกทัศน์
ที่แตกต่างกันส่วนศีรษะของชายทั้งสาม
ซึ่งมีลักษณะคล้ายฟันมากกว่าศีรษะมนุษย์
สร้างขึ้นจากแก้วเป่าเคลือบ
ด้วยปฏิกิริยาเคมีซิลเวอร์ไนเตรต
ส่งผลให้พืนผิวมีความมันวาวดุจกระจกเงา
เพื่อให้ตัวชินงานสามารถสะท้อน บริบทสิ่งแวดล้อมภายนอก
โดยเฉพาะภาพสะท้อนของผู้ชมที่จะปรากฏซ้อนทับลงบนหน้าตัดบิดเบี้ยว
เกิดเป็นปฏิสัมพันธ์โต้ตอบระหว่างผู้ชมและผลงาน
และเสริมความหมายให้กับสิ่งที่ศิลปินต้องการสื่อสาร

Reflection of Three Men, 2021
หล่อแก้วและเคลือบเงินบนแก้วด้วยปฏิกิริยาเคมีซิลเวอร์ไนเตรตในแก้วเป่า
Glass casting and silver nitrate mirroring on mount blown glass
40 x 20 x 35 cm





ผลงานประติมากรรมจัดวางชุด แสงสุดท้าย
หรือ A Trail at the End of the World
ศิลปิน : ดุษฎี ฮันตระกูล

ชีวิตส่วนตัว ประเด็นด้านสังคม มานุษยวิทยา โบราณคดี
ตลอดจนประวัติศาสตร์ เป็นสิ่งที่ "ศิลปินดุษฎี ฮันตระกูล" มักใช้เป็นจุดตั้งต้น
ในการสร้างสรรค์งานศิลปะในหลากหลายสื่อและเทคนิค
ทั้งงานประติมากรรม ภาพลายเส้น และเซรามิก
ที่อยู่บนจุดตัดระหว่างทัศนศิลป์ โบราณคดี นิเวศวิทยา และวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ





ผลงานประติมากรรมจัดวางชุด แสงสุดท้าย
หรือ A Trail at the End of the World
ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก
หนังสือ The Mushroom at the End of the World:
On the Possibility of Life in Capitalist Ruins
โดย แอนนา โลเว่นฮาวป์ ซิง (Anna Lowenhaupt Tsing)
ซึ่งกล่าวถึงหน้าที่และความสัมพันธ์ของเห็ดหายากชนิดหนึ่ง
ที่ช่วยคํ้าจุนสรรพชีวิตในโลกอันเปราะบางท่ามกลางภาวะทุนนิยม
สิ่งนี้พ้องกับสภาพความเป็นจริงของโลกปัจจุบัน

เมื่อมีการระบาดของโควิด-19
ได้เปลี่ยนวิถีชีวิตและความเป็นไปของโลกจากหน้ามือเป็นหลังมือ
บังคับให้มนุษย์ต้องหยุดนิ่งและคิดใคร่ครวญ
ถึงการเปลีายนผ่านเชิงโครงสร้างทางการเมืองการปกครอง
ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และหายนะทางระบบนิเวศ
ที่เกิดขึ้นในช่วงไม่กี่ทศวรรษทีาผ่านมา ผลงานชุดนี้สร้างขึ้น

ในฐานะอนุสาวรีย์ท่ามกลางช่วงเวลาที่ปั่นป่วนที่สุดช่วงหนี่ง
ในประวัติศาสตร์สังคมร่วมสมัย
"ศิลปินดุษฎี" พาผู้ชมเดินทางผ่านจินตนาการตามแสงในป่าฝนไปสู่ลมหายใจสุดท้าย
ด้วยการสดุดีแด่เหล่ามารดร
การฟื้นฟูระบบ แรงงานระบบเกษตรกรรมที่ให้และไม่ทําลายชีวิต
การจัดการของเสียและการบริโภค
ตลอดจนความหลากหลายทางชีวภาพ อนุสาวรีย์ที่นอบน้อมเหล่า
นี้จึงเปรียบเสมือนแสงแห่งความหวังต่ออนาคตที่ดีกว่าของมวลมนุษย์ และโลกใบนี้
และยังชี้ชวนให้ขบคิดถึงความซ้อนทับและพร่าเลือนของการเป็นอนุสาวรีย์
โบราณวัตถุ และงาน ประติมากรรมร่วมสมัย









ผลงาน : Yellow Simple No.1
ศิลปิน : สาครินทร์ เครืออ่อน

กลิ่นอายของศิลปะไทยประเพณี การวิพากษ์ความเชื่อแบบไทยๆ
ที่ถูกเชื่อมโยงกับความเป็นสากล
ผ่านภาษาและการแสดงออกแบบศิลปะร่วมสมัย
ปรากฏในผลงานของสาครินทร์ เครืออ่อน
ทั้งงานประติมากรรม ศิลปะจัดวาง จนถึงศิลปะภาพเคลื่อนไหวหรือวีดิโออาร์ต
ที่เชื้อเชิญให้ผู้ชมเข้าไปมีส่วนร่วม ดังเช่นผลงาน Yellow Simple No.1
เป็นงานประติมากรรม สื่อผสมรูปศีรษะมนุษย์ขนาดใหญ่
ที่มีลักษณะแบบพุทธศิลป์
ภายในกลวง และมีกลิ่นอ่อนๆ จากผงขมิ้น



ผลงาน Yellow Simple No.1
จัดแสดงแบบศิลปะจัดวางเฉพาะที่ (site specific installation)
ในนิทรรศการเดี่ยวครั้งแรกของสาครินทร์
ภายใต้ชื่อ “Yellow Simple” เมื่อ พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001)
ณ Open Art Space กรุงเทพมหานคร
ในพื้นที่แกลลอรี่ที่เป็นส่วนหนึ่งของ ห้างสรรพสินค้าวัตถุโบราณของไทย
และวัตถุที่แทนความเชื่อทางศาสนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ในช่วงเวลาดังกล่าว ประเทศไทยเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้ง ใหญ่



ศีรษะมนุษย์นี้สะท้อนความโกลาหลของภาวะสังคม
จากท่าทางที่คลุมเครือทับซ้อนระหว่างการนอนนิ่งอย่างสงบ
กับการนอนอย่างครุ่นคิด
แสดงถึงบุคลิกภาพของผู้คนในสังคมไทย
ที่มีอุปนิสัยและความเชื่อแบบสังคมพุทธ
กล่าวคือ ความสงบนิ่งและการปล่อยสภาวะภายใน
ให้ว่างแม้ตกอยู่ท่ามกลางปัญหา
นําไปสู่การขบคิดถึงความเหมือนที่แตกต่าง
ระหว่างความเพิกเฉยปล่อยวางกับการรู้เท่าทันสภาวะที่เป็นอยู่
รวมถึงการคิดและการแก้ปัญหาด้วยความรู้และมีสติ
ท่ามกลางวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคม
ที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตและสภาพจิตใจของผู้คนทั้งในระดับประเทศ
ภูมิภาค และโลก







ผลงานคอลลาจ : “What You Don’t See Will Hurt You”
ศิลปิน : ทัศนัย เศรษฐเสรี

ซึ่งด้วยบทบาทในฐานะศิลปิน อาจารย์ และนักเคลื่อนไหว
ศิลปินทัศนัย เศรษฐเสรี
ศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรมของไทย
ผนวกกับปรัชญาศิลปะ ทฤษฎีสุนทรียศาสตร์ มีเดีย และสังคมวิทยา
เพื่อการตีความใหม่
ผลงานของ "ศิลปินทัศนัย" จึงมีทั้งภาพและเนื้อหาที่ซ้อนทับและซับซ้อน
ซึ่งสะท้อนวัสดุและวิธีการสร้างงานศิลปะแบบภาพปะติดหรือคอลลาจ
เปรียบเสมือนกระบวนการเล่นแร่แปรธาตุ
ผ่านการเชื่อมโยงกันของสิ่งหลายสิ่ง
วัสดุหลายประเภท และวัตถุหลายสถานะ
เกิดเป็นความเลื่อนไหลของมิติ ความรับรู้เกี่ยวกับเวลาและสถานที่



Untitled เป็นผลงานคอลลาจ
ในชุด “What You Don’t See Will Hurt You”
ซึ่งได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมการเฉลิมฉลองพื้นถิ่นของชาวล้านนาในภาคเหนือของไทย
ที่ซึ่งศิลปินพํานักและทํางานอยู่
ศิลปินทัศนัยใช้เทคนิคการแปะทับรูปภาพเหตุการณ์สําคัญทางประวัติศาสตร์
ในยุค จอมพล ป. พิบูลย์สงคราม
อันสะท้อนแนวคิดสังคมการเมืองในสมัยนั้น
โดยเฉพาะการสร้างชาติเพื่อคานอํานาจ
ในยุคล่าอาณานิคม

ด้วยขนาดที่ใหญ่ของผลงาน
เชื้อเชิญให้ผู้ชมเผชิญหน้าแบบกลืนตัวเองเข้าไปในงานศิลปะ
โดยมีประติมากรรมทองแดงเป็นสื่อร่วม
ที่อ้างอิงถึงการติดอยู่กับภาวะอันไม่นิรันดร์
รวมไปถึงการเวียนว่ายหรือการรีไซเคิลของวัสดุ
ที่กลายเป็นขยะจากเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม

ผลงานชิ้นนี้ยังอยู่ในชุดเดียวกับผลงาน Untitled
(Hua Lamphong), 2016
ที่ได้รับรางวัล Jurors’ Choice Awards
จาก Singapore Art Prize
ที่จัดขึ้นโดย Singapore Art Museum ประเทศสิงคโปร์
เม่ือปี ค.ศ. 2018













นิทรรศการ“2022 Acquisitions Office of Contemporary Art and Culture”
เปิดให้เข้าชมทุกวัน (ยกเว้นวันจันทร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์) โดยไม่มีค่าเข้าชม
เริ่มตั้งแต่วันนี้วันที่ 23 พฤศจิกายน – 25 ธันวาคม 2565
เวลา 10:00 – 18:00 น.
ณ ห้องนิทรรศการ 4 ชั้น 1 อาคารหอศิลป์แห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์หอศิลป์ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย
โทร. 0 2209 3757





ขอขอบคุณ
เพลง : ชอบที่เธอเป็นเธอ วงแทมมาลีน
BG : คุณลักกี้ / กล่องเขียนคอมเม้นท์ : คุณ lozocat
ของแต่ง BLOG : ป้ามด-ดอกหญ้าเมืองเลย-ชมพร-ญามี่-เนยสีฟ้า
 
Create Date :23 พฤศจิกายน 2565 Last Update :12 ธันวาคม 2565 3:40:26 น. Counter : 1542 Pageviews. Comments :15