bloggang.com mainmenu search


ไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogen)เป็นสารประกอบเคมีธรรมชาติที่พบได้ในพืช (phytonutreint)พบมากกว่า 300 ชนิด มีโครงสร้างและการออกฤทธิ์คล้ายคลึงฮอร์โมน เอสตราไดออล(estradiol)ที่ผลิตตามธรรมชาติในร่างกายมนุษย์


ไฟโตเอสโตรเจนไม่ใช่สารอาหาร เนื่องจากไม่ให้พลังงานและไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย แต่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ (functional food) เนื่องจากมีโครงสร้างและการออกฤทธิ์ที่คล้ายคลึงฮอร์โมนเพศหญิง คือ เอสโตรเจน(estrogen)โดยออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง และกระตุ้นการเจริญของอวัยวะสืบพันธุ์



ไฟโตเอสโตรเจนออกฤทธิ์ได้ต่ำกว่าฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายมนุษย์ 100-1000เท่า สามารถแย่งที่กับเอสโตรเจนในการจับกับตัวรับเอสโตรเจน(estrogen receptor)ที่มีอยู่ในทุกเซลล์ของร่างกาย และชักนำให้เกิดการตอบสนองเฉพาะต่อเอสโตรเจนเท่านั้น


การบริโภคไฟโตเอสโตรเจน จึงอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมได้ รวมถึงการป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงโรคกระดูกพรุนที่พบมากในสตรีวัยทอง


ไฟโตเอสโตรเจน(Phytoestrogen)แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ


1. Isoflavone(ไอโซฟลาโวน)สารกลุ่มนี้จะออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศหญิงมาก เนื่องจากมีสูตรโครงสร้างคล้ายฮอร์โมนเพศ และสามารถจับกับตัวรับเอสโตรเจนในเซลล์(estrogen receptor)ได้ มีดังนี้


genistein พบในถั่วเหลือง ถั่วเขียว alfalfa

daidzein พบในถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วดำ alfalfa


Miroestrol พบในกวาวเครือ

Chandalone และ osajin พบในเถาวัลย์เปรียง

Formononetin พบในชะเอมเทศ


2.Coumestans(คูเมสแตน) มีสารที่เรียกว่า coumestrol มีฤทธิ์เป็น estrogenic activity(มีคุณสมบัติคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน) ได้แก่ สารในกลุ่ม coumestans เช่น alfalfa,split peas,pinto bean,lima bean,clover sprouts

3. lignan(ลิกแนน)มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศคือ enterolactone และ Enterodiol จะพบมากในเส้นใยของพืช ดังนั้นสตรีวัยใกล้หมดประจำเดือน จึงถูกแนะนำให้รับประทานผักหรือพืชที่มีเส้นใยมาก เนื่องจากมีสารดังกล่าวที่แสดงฤทธิ์เป็น estrogenic effect นั่นเอง


มีประโยชน์อย่างไร

1.ปรับสมดุลฮอร์โมนโดยเฉพาะสตรีวัยก่อนหมดประจำเดือนและสตรีวัยทอง

2.ลดภาวะคอเลสเตอรอลในเส้นเลือดสูง เนื่องจากระดับคอเลสเตอรอลในเลือด มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด


สตรีที่มีภาวะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน มีโอกาสเสี่ยงต่อคอเลสเตอรอลในเลือดสูง เพราะคอเลสเตอรอลเป็นสารตั้งต้นตัวหนึ่งในการสร้างฮอร์โมนเพศ เมื่อรังไข่หยุดสร้างฮอร์โมน จะทำให้คอเลสเตอรอลเหลือในกระแสเลือด จึงส่งผลให้มีระดับคอเลสเตอรอลสูงได้


ไม่น่าแปลกใจในข้อนี้ เพราะแป้งเห็นผู้หญิงวัยทองหลายคน ตอนสาวๆสุขภาพปกติ พอถึงวัยหมดประจำเดือนเท่านั้นแหละ คอเลสเตอรอลพุ่งสูงปรี๊ด นับเป็นของขวัญวันแรกรับวัยทอง ที่ไม่มีใครต้องการเลย


3.เจนีสทีน(Genistein) เป็นสารสำคัญที่พบมากในถั่วเหลือง มีผลต่อการลดของคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี(LDL) และการเพิ่มขึ้นของคอเลสเตอรอลชนิดดี(HDL) ช่วยป้องกันภาวะหลอดเลือดแข็งตัว และลดการจับตัวของเกล็ดเลือด ที่เป็นสาเหตุให้เกิดภาวะการอุดตันของหลอดเลือด


4.ลดโอกาสเกิดภาวะกระดูกพรุน เมื่อขาดเอสโตรเจน จะไม่มีตัวไปช่วยยับยั้งกระบวนการสลายกระดูก ทำให้อัตราการสลายตัวของเนื้อกระดูกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะช่วง5ปีแรกของการหมดประจำเดือน


ในต่างประเทศที่มีอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี ไม่ค่อยมีแสงแดด (แสงแดดมีวิตามินดี ซึ่งช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและสะสมเกลือแร่ในกระดูก)สตรีวัยทองจะประสบภาวะกระดูกพรุน เป็นอันดับต้นๆ แต่บ้านเราแดดดีเหลือเกิน ทำให้สาวๆพากันหลบแดดเสียเป็นส่วนใหญ่ ลองออกมารับแดดช่วง8โมงเช้าก็ดีนะคะ


5.ลดภาวะผมร่วง ผมบาง มีงานวิจัยแสดงให้เห็นว่า

ไอโซฟลาโวน(isoflavones) ช่วยยับยั้ง DHT(dihydrotestosterone) ที่เป็นสาเหตุให้ต่อมรากผมหดตัว จนเกิดอาการผมร่วงศรีษะล้านที่มักพบในเพศชาย (พบบ้างในผู้หญิง) ทั้งยังช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนเพศชาย (testosterone) ได้อย่างมีนัยสำคัญ


6.ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมน เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก


 7.ลดโอกาสเกิดโรคความดันโลหิตสูง เมื่อขาดเอสโตรเจน จะทำให้หลอดเลือดแดงแข็งตัวได้ง่าย จึงทำให้เกิดความดันโลหิตสูงได้ในวัยทอง ซึ่งพบบ่อยมาก พอหมดประจำเดือน กลับได้โรคความดันโลหิตสูงมาเป็นของแถมที่เราไม่ต้องการเสียนี่

 8.ลดอาการร้อนวูบวาบ(hot flash) มีเหงื่อออกในเวลากลางคืน เกิดจากศูนย์ควบคุมอุณหภูมิในร่างกายทำงานบกพร่อง ส่งผลให้หลอดเลือดตามผิวหนังขยายตัว จึงเกิดอาการร้อนวูบวาบ ปวดศีรษะ

6.ลดภาวะซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย โดยเฉพาะอาการซึมเศร้าไม่อยากอยู่บนโลกใบนี้ บางคนคิดอยากหนีไปอยู่บนดวงจันทร์ อาการแบบนี้ไม่ได้เป็นโรคจิตโรคประสาทแต่อย่างใด เกิดจากระดับฮอร์โมนเพศเอสโตรเจนที่หมดไปจากร่างกาย

7.ลดอาการช่องคลอดแห้ง ผิวหนังแห้งกร้าน บางคนจนถึงกับคันทั่วร่างกาย


ประชากรในภูมิภาคเอเชียและยุโรปตะวันออก พบการเกิดมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งรังไข่ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งต่อมลูกหมาก รวมถึงโรคหลอดเลือดหัวใจน้อยกว่าทางประเทศแถบตะวันตกมาก


ทางระบาดวิทยาพบว่า ไฟโตรเอสโตรเจนมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการป้องกันภาวะเหล่านี้ในคนเอเชีย โดยเฉพาะการบริโภคถั่วเหลือง รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากถั่วเหลืองเป็นประจำ ซึ่งเป็นแหล่งสำคัญหลักของไอโซฟลาโวน(isoflavones)


มีงานวิจัยจาก Molecular Nutrition & Food Research ปีพ.ศ 2554 ที่ค้นพบว่า ไอโซฟลาโวนจากถั่วเหลือง มีคุณสมบัติป้องกันและต้านทานเซลล์มะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งเต้านมและมะเร็งต่อมลูกหมาก


คนญี่ปุ่นรับประทานอาหารประเภทนี้เป็นประจำ จึงพบอุบัติการณ์ของมะเร็งที่สัมพันธ์กับฮอร์โมนเพศน้อยที่สุด ในขณะที่คนญี่ปุ่น ซึ่งอพยพออกจากประเทศแล้ว ดำเนินวิถีชีวิตแบบชาวตะวันตก พบว่ามีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น


จากการศึกษาวิจัยพบว่า ไฟโตรเอสโตรเจนสามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งของมะเร็งเต้านมได้ 18-20%

มะเร็งลำไส้ใหญ่15-30 %


จะเห็นได้ว่า ไฟโตเอสโตรเจน สามารถป้องกันการเติบโตของเซลล์ที่ถูกกระตุ้นด้วยเอสโตรเจนได้ อาจช่วยลดหรือยับยั้งการออกฤทธิ์ของเอสโตรเจนที่มีต่อเซลล์หรือเนื้อเยื่อที่ตอบสนองต่อเอสโตรเจนได้ เช่น เนื้อเยื่อเต้านม เป็นต้น


Blog หน้าพบกับสุดยอดไฟโตเอสโตรเจนสองชนิดผสานเป็นหนึ่งเดียว ที่ช่วยเพิ่มความกระชับของเต้านม เพิ่มความอวบอิ่ม เต่งตึงดุจวัยแรกสาวค่ะ



























ที่มา

www.foodnetworksolution.com/...phytoestrogen-ไฟโตเอสโตรเจน

Share.psu.ac.th/file/sudarat.k

Kylenorton.healthblogs.org/2012/02/10/phytochemicals-in-foods-10-health-benefits-of-coumestans/

www.agro.cmu.ac.thdata