Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2550
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
14 กรกฏาคม 2550
 
All Blogs
 
ทุกข์ทำไม - ไม่ต้องรอให้มีปัญหา ก็รู้ "ทุกข์" ได้

ทุกข์ทำไม
-ชยสาโรภิกขุ-






ทุกข์ มีความหมายที่กว้างขวางกว่าและลึกซึ้งกว่าในภาษาไทย มีสองแง่หลัก คือ

หนึ่ง ความทุกข์ที่เป็นอาการหรือเป็นลักษณะของสิ่งทั้งปวง (ทุกข์ในไตรลักษณ์) และ สอง ความทุกข์ที่เกี่ยวกับหรือเป็นเรื่องของมนุษย์โดยเฉพาะ (ทุกข์ในอริยสัจ)

ขอเปรียบเทียบกับคำว่า ร้อน ความร้อนที่เป็นอาการของธรรมชาติก็อย่างหนึ่ง ความร้อนในใจที่ไม่สบายก็อย่างหนึ่ง ข้อแรกกว้างกว่า และไม่ต้องขึ้นอยู่กับคน

พระองค์ตรัสว่า "สัพเพ สังขารา ทุกขา" สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์ เราอาจจะสงสัย เอ...ต้นไม้เป็นทุกข์ได้หรือ? ก้อนหินเป็นทุกข์ได้หรือ? แก้วน้ำเป็นทุกข์ได้หรือ?....ได้ แต่เป็นทุกข์ในความหมายแรก คือ มันทนอยู่ในสภาพเดิมของมันไม่ได้ มีอะไรบีบให้เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาหรือว่าพูดอีกนัยหนึ่งว่า สิ่งทั้งหลาย "ขาดเสถียรภาพ"

เพราะฉะนั้น การกล่าวว่า สิ่งที่ไม่มีชีวิตเป็นทุกข์หมายถึงการขาดเสถียรภาพของมัน ท่านให้เราพิจารณาเห็นว่า สิ่งทั้งหลายเป็นหน่วยรวมของเหตุปัจจัยและส่วนประกอบ เช่น ต้นไม้มีราก แก่น เปลือก กิ่งก้าน ดอกผล เป็นส่วนประกอบ มีดิน แดด ฝนเป็นต้น เป็นปัจจัยภาพนอก แมลงกินผลก็กระทบต่อต้นไม้นั้นทั้งต้น ฝนไม่ตกต้นไม้อาจเหี่ยว ลมพัดแรงๆ ต้นไม้นั้นอาจจะล้ม

เมื่อเหตุปัจจัยล้วนแต่เป็นของไม่เที่ยง สิ่งที่เป็นหน่วยรวมของสิ่งที่ไม่เที่ยงหลายๆ อย่างนั้นก็พลอยไม่เที่ยงไปด้วย และ ภาวะที่ขาดความมั่นคงหรือเสถียรภาพ ท่านเรียกว่า "ทุกข์"

แกงกระหรี่เป็นทุกข์ เพราะพอตักใส่จานแล้วมันพร้อมที่จะเสื่อมสิ่งแรกที่เสื่อมคือความร้อนของมัน ทิ้งไว้ชั่วโมงหนึ่งก็เย็นไม่ค่อยน่าทานเสียแล้ว ถ้าทิ้งไว้สองวันมันจะบูด ต้องทิ้ง

ความร้อน ความหอม ฯลฯ ซึ่งเป็นส่วนประกอบไม่คงทน ทำให้ตัวแกงไม่คงทน ท่านเรียกความจริงนี้ว่า ทุกข์ พระตถาคต จะบังเกิดขึ้นในโลกก็ตาม จะไม่บังเกิดขึ้นในโลกก็ตาม สิ่งทั้งหลาย ทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มันเป็นธรรมดา เป็นธรรมชาติยังไม่เป็นปัญหา หากทุกข์ในอริยสัจคือ ความทุกข์ของมนุษย์โดยเฉพาะ ไม่เหมือนทุกข์ในไตรลักษณ์ แต่สืบต่อจากความทุกข์นั้น คือขันธ์ห้าของมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ต้องเป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ แต่มนุษย์เราแปลกตรงที่ว่ามีสิ่งที่เรียกว่า อวิชชา ห่อหุ้มจิตไว้ ทำให้เกิดความผิดปกติที่ท่านให้ชื่อว่า ทุกข์ เหมือนกัน แต่เป็น ทุกขอริยสัจ

ท่านแยกความทุกข์นี้ออกมาต่างหาก เพราะมีเหตุที่ระงับได้และมีจุดจบซึ่งพระองค์ให้ชื่อว่า นิโรธ ทุกข์ในอริยสัจหมดแล้วมีแต่ทุกข์ในไตรลักษณ์สำหรับชีวิตที่ยังเหลืออยู่ คือ ทุกขเวทนา ทางกาย ความแก่ ความเจ็บ และความตาย สำหรับผู้ที่เข้าถึงธรรมแล้ว สิ่งเหล่านี้เป็นทุกข์แต่ไม่เป็นปัญหา เป็นแค่รสชาติของไตรลักษณ์ที่ทุกคนในโลกรวมทั้งพระอรหันต์ต้องเสวย

การภาวนาเราก็คอยคิดอย่างนี้เรื่อย (คิดหาข้อบกพร่องในสิ่งที่ชวนให้หลงใหล) แต่บางทีเวลาไม่ควรคิด ก็ฝืนคิดวกวน บางทีควรคิดกลับไม่อยากคิด ในกรณีนี้จงพยายามคิด เช่น เรื่องอาหารเป็นต้น เราก็ไม่ค่อยคิดว่า เมื่อทานลงไปแล้วอาหารมันจะเป็นอะไร ไม่อยากจะคิด แค่ใส่ลงไปในปากเคี้ยวสองสามครั้งแล้วก็เอาออกมาดู...แหยะ ! ยิ่งกว่านี้อีกไม่กี่ชั่วโมงอาหารโอชารสนี้มันจะกลายเป็นอะไร

การทบทวนเรื่องนี้มันก็จะช่วยลดความอยากในเรื่องอาหารลงได้ แต่ก่อนเราเห็นอาหาร ก็ อันนั้นน่าอร่อยจัง ไขมันเยอะก็จริง หมอห้าม แต่ชิ้นเดียวคงไม่เป็นไร มาตอนนี้หยุดแล้วบอกว่า นี่นะ ! ขี้ TO BE……ไม่นาน เห็นน้ำ เห็นน้ำก็ อื่ม....น้ำนี่ดีนะ เดี๋ยว ๆ ก็เป็น...น้ำเยี่ยว จะช่วยแก้ความรู้สึกหลงใหลเหล่านี้

มันก็ทำให้จิตใจมันคิดอีกแง่หนึ่ง แทนที่จะมองแต่สิ่งที่มันดีมันงามมันสวย มาคิดกลับกันก็เพื่อให้จิตใจกลับมาสู่ทางสายกลาง หยุดคิดหยุดปรุงแต่งมันจะได้เกิดอะไรอย่างนี้ขึ้นมา มองไม่เหมือนคนอื่นเขามอง กำหนดรู้ความทุกข์ ละความคิดผิด เพื่อทำนิพพานคือการปลอดทุกข์ให้แจ้งด้วยการเจริญมรรค ด้วยการปฏิบัติตามหลักศีล สมาธิ ปัญญา

โดยสรุปแล้วว่า อริยสัจสี่ มี ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค หน้าที่ ก็คือกำหนดรู้ความทุกข์ ละสมุทัยคือความคิดผิด ทำนิพพาน ความหลุดพ้นให้แจ้ง คือให้เข้าถึง โดยการเจริญมรรคคือการปฏิบัติตามหลักอริยมรรคมีองค์แปดตามหลักไตรสิกขานั่นเอง


~"ทุกข์ทำไม" จากหนังสือ ทำไม โดย พระอาจารย์ ชยสาโรภิกขุ



Create Date : 14 กรกฎาคม 2550
Last Update : 14 กรกฎาคม 2550 7:30:17 น. 5 comments
Counter : 1716 Pageviews.

 
ติดสุข จึงมีทุกข์



โดย: เฉลียงหน้าบ้าน วันที่: 14 กรกฎาคม 2550 เวลา:0:37:23 น.  

 


โดย: เพลงเสือโคร่ง วันที่: 14 กรกฎาคม 2550 เวลา:9:14:40 น.  

 
ส่ง จม ไปได้รับยัง


โดย: เพลงเสือโคร่ง วันที่: 14 กรกฎาคม 2550 เวลา:9:15:05 น.  

 
สาธุ ค่ะ

การกำหนดรู้ความรู้ ด้วยใจนิ่งนั้น
ช่างยากเย็น .....

ยิ่งโดยเฉพาะ รู้ แต่ ละวาง
ไม่รับเข้ามาอิงอาศัย ในหัวใจ


โดย: ประกายดาว วันที่: 14 กรกฎาคม 2550 เวลา:10:07:37 น.  

 
เป็นข้อคิดธรรมะที่ดีมาก ๆ เฮ้อ แล้วเราจะทุกข์ทำไมนะ
ปล่อยวางซะแบบนี้สบายใจกว่าเยอะเลย ขอบคุณที่นำ
ข้อคิดดี ๆ มาให้อ่านจ้า

ขอให้คุณหวูดมีความสุขมาก ๆ เด้อค่ะ


โดย: เสียงซึง วันที่: 14 กรกฎาคม 2550 เวลา:10:11:22 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

woodchippath
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add woodchippath's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.