Group Blog
 
 
กันยายน 2558
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
8 กันยายน 2558
 
All Blogs
 

ศีลจุ่ม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สันติ ฉันทวิลาสวงศ์


ศีลจุ่ม
-
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีประเพณี “ต้อนรับน้องใหม่” หรือ “รับน้อง” ซึ่งแบ่งเป็นสองระดับเป็นการรับน้องรวมของมหาวิทยาลัย และระดับย่อยเป็นการรับน้องของแต่ละคณะซึ่งขึ้นอยู่กับคณะจะจัดดำเนินการกันเอาเองสำหรับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มีประเพณีต้อนรับน้องใหม่ที่มีชื่อเรียกเฉพาะว่า “ศีลจุ่ม” ซึ่งคำนี้เป็นศัพท์ในพิธีกรรมของคริสต์ศาสนา คือ “พิธีจุ่ม” หรือ “พิธีศีลจุ่ม” (baptismal ceremony) เป็นประเพณีที่คริสต์ศาสนิก(ชน)จะนำบุตรหลานไปรับศีลล้างบาป โดยพระผู้ประกอบพิธีจะทำการจุ่มหัว หรือตัวของเด็ก(บุคคล)นั้นลงในน้ำหรือใช้น้ำเสกพรมที่ใช้น้ำเพราะน้ำเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์สะอาด เมื่อบุคคลมีความหมดจดดีแล้วจึงพร้อมที่จะรับเข้าสู่จารีตแห่งความเป็นคริสต์ศาสนิกได้ จากนั้นพระหรือบาทหลวงจะประทานนามตามประเพณีนิยมเพื่อใช้เรียกขาน เป็นที่รับรู้กันว่าบัดนี้เป็นต้นไป บุคคลผู้ผ่านพิธีฯได้เป็นชาวคริสต์โดยสมบูรณ์แล้ว


-
ความใกล้ชิดระหว่างศาสนจักรกับสถาบันการศึกษาไม่ใช่เรื่องแปลกสถานศึกษาอันเก่าแก่หลายแห่งในโลก(ตะวันตก) เมื่อสืบค้นไปยังต้นเหง้าแล้วย่อมพบได้เสมอว่าเคยเป็นศาสนจักรมาก่อนการศาสนาและการศึกษาจึงเชื่อมโยงสืบเนื่องไปด้วยกันในมิติทางประวัติศาสตร์แม้ในประเทศไทยตั้งแต่โรงเรียนประถมไปจนถึงมหาวิทยาลัยชื่อสถานศึกษาหลายแห่งย่อมฟ้องอยู่ในตัวว่ามีกำเนิดมาแต่ศาสนจักรในเมื่อการอุดมศึกษาไทยรับแบบอย่างมาจากชาติตะวันตกและโดยที่การศาสนากับการศึกษามีวิวัฒนาการไปด้วยกันศาสนพิธีบางประการจึงถูกปรับตามเข้ามาอยู่ในสถานศึกษาของไทยด้วย และ “ศีลจุ่ม” คือตัวอย่างหนึ่งของพิธีกรรมที่พัฒนามาสู่ความเป็นประเพณีในสถานศึกษาโดยที่ไม่ได้มีการบอกเล่าหรือบันทึกให้กระจ่างชัดมาแต่ต้นนานๆไปนิสิตสถาปัตยกรรมศาสตร์รุ่นหลังต่อมาจึงเกิดเข้าใจผิดคิดว่าเป็น “ศิลป์จุ่ม” ซึ่งโดยรูปการณ์มีแนวโน้มเอียงที่ทำให้น่าจะเข้าใจเป็นเช่นนั้นได้มากทีเดียว


-
ว่าไปแล้วประเพณี “ศีลจุ่ม” เป็นเพียงส่วนเดียวของประเพณี “รับน้อง” ทั้งหมดของนิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ประเพณีนี้มักกำหนดให้จัดขึ้นในวันเสาร์ของเดือนกรกฎาคมของทุกปีโดยเริ่มงานในเวลาบ่ายบนลานกว้างอันเป็นพื้นที่ภายในคณะฯ


-
ที่บริเวณกลางลานกว้างนั้นพี่ปัจจุบันมักจะช่วยกันสร้างจุดสนใจเพื่อดึงความสนใจจากสายตาทุกคู่ให้จดจ่ออยู่กับลานนั้นให้จงได้โดยจะมีขดเชือกขนาดใหญ่วางเป็นองค์ประกอบร่วมอยู่ด้วยเสมอพอได้เวลาเมื่อพี่เก่ามากันได้พอประมาณแล้วเสียงกลองและเสียงเพลงร้องจะประโคมดังขึ้นพร้อมๆกับการปรากฏตัวของ “นิสิตใหม่” หรือ “น้องใหม่” ที่กลางลานโดยมีพี่ปัจจุบันและพี่เก่านั่งบ้างยืนบ้างล้อมปิดลานเอาไว้เป็นที่น่าระทึกใจยิ่งเพลงที่ใช้คือ ทอม-ทอม (Totem Tom Tom) มีสำเนียงและจังหวะแบบชนเผ่าอินเดียนแดงในอเมริกาซึ่งหากได้เปิดหนังสือรับน้องฉบับเก่าๆดูจะเห็นว่ามีการแต่งกายเลียนแบบชนเผ่าอย่างชัดเจนทีเดียวแต่ละปีการกำหนดรูปแบบการแต่งตัวของน้องใหม่อาจต่างกันไปได้สำหรับนิสิตหญิงย่อมปกปิดมากกว่านิสิตชายซึ่งกำหนดให้เผยเนื้อตัวมาก


-
ฝ่ายพี่เก่าจะรู้กันเองว่าใครสมควรเป็นประธานณ ลานประเพณีนั้น ประธานย่อมมีความสามารถชวนพี่ๆด้วยกันและน้องๆพูดคุยร่วมทำกิจกรรมได้อย่างสนุกสนานข่าวเด่นประเด็นร้อนของบ้านเมืองในช่วงเวลานั้นๆย่อมถูกยกขึ้นเพื่อให้ทุกๆท่านจักได้ร่วมเข้าใจและตามมุขต่างๆได้ทันท่านประธานฯจึงต้องเป็นผู้คร่ำด้วยประสบการณ์และมีพรสวรรค์ด้านบันเทิงจริงๆ พี่หวย(ธานี แก้วสีปลาด)เป็นตัวอย่างหนึ่งของผู้ที่หาญกล้าลุกขึ้นทำหน้าที่ประธานมานานหลายปีรวมทั้งพี่เหลน พี่จุ๊ก และพี่ๆอีกหลายท่านก็พร้อมเป็นตัวแทนหรือประธานร่วมได้เสมอ


-
เมื่อโหมโรงไปจนพอได้บรรยากาศดีแล้วน้องใหม่จะถูกเบิกตัวเป็นรายๆให้ไปยังแผงพี่เก่าซึ่งคล้ายกองหนุนหรือ wallpaper อยู่ด้านหลังท่านประธานช่วงเวลานี้นี่เองที่เรียกว่า “ศีลจุ่ม” พี่เก่าเท่านั้นจะใช้พู่กันหรือแปรงจุ่มสีซึ่งมักเป็นสีหลักอันสดสว่างทาไปบนแขนขา ใบหน้า ลำคอ จนถึงเท้าถึงตีน บางครั้งอาจเลยเถิดทาไปบนผ้าและผมเผ้าก็มีเปรียบได้กับเด็กที่ถูกเสกพรม หรือ จุ่มด้วยน้ำพิธีทางศาสนาแต่นี่คือประเพณีเฉพาะสำหรับน้องนิสิตใหม่ในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเท่านั้นสีสันอันมีนัยยะทางศิลปะจึงปรากฏอยู่บนตัวน้องใหม่จนบางท่านคิดเป็นอื่นไปได้ว่านี่คือ“ศิลป์จุ่ม”


-
ประเพณีศีลจุ่มมองในมิติของศิลปะนับว่าเป็นกิจกรรมที่มีสีสันชวนดูชวนตื่นตาทีเดียวซึ่งในแต่ละปีจะดึงดูดผู้ชมที่ไม่ใช่ชาวสถาฯ(ถาปัด) ได้ไม่น้อยเมื่อพี่ๆได้บรรจงทาสีระบายศิลป์ไปบนตัวน้องๆจนสวยสมใจแล้วย่อมได้เวลาที่พึงอวดให้ชาวจุฬาฯตามคณะต่างๆในพื้นที่อื่นได้ชมกันบ้างจากศีลจุ่มจึงนำไปสู่พิธีแห่เชือกขดเชือกที่วางไว้กลางลานแต่แรกนั้นน้องใหม่จะช่วยกันคลี่ดึงออกเป็นเส้นยาวแล้วช่วยกันแบกขึ้นไหล่โดยหัวขบวนจะนำออกจากคณะฯมุ่งไปทางคณะอักษรศาสตร์เป็นแห่งแรกแล้วตามด้วยพื้นที่อื่นๆต่อไปจนครบรอบวนกลับมาถึงหน้าคณะฯอีกครั้งหนึ่ง


-
แต่ก่อนเคยมีสระน้ำขนาดกว้างและลึกพอเหมาะอยู่หน้าตึกข้างสระน้ำใหญ่พอขบวนแห่เชือกมาถึงสระน้ำนี้น้องๆจะต้องเดินลุยน้ำข้ามไปยังฝั่งหน้าคณะฯโดยยกเชือกสูงให้เปียกน้ำได้เฉพาะแต่ตัวการกระทำนี้เพื่อล้างสีที่ตัวน้องใหม่ในเบื้องต้น แล้วไปล้างตัวอีกทีที่ในคณะฯโดยพี่ๆจะช่วยกันเทน้ำ สาดน้ำให้น้องๆที่เหนื่อยอ่อนได้สดชื่นคืนมาสระน้ำหน้าคณะฯที่กล่าวถึงนั้น บัดนี้ถูกถมกลบปิดกลายเป็นสนามหญ้าเขียวขจีไปแล้วการลุยข้ามน้ำจึงเปลี่ยนไปเป็นการอาบน้ำจากฝนเทียมโดยนำรถดับเพลิงมาจอดข้างตึกแล้วฉีดน้ำคล้ายสายฝนให้อาบตัวล้างสีแทนจากนั้นน้องใหม่ต้องไปแต่งตัวด้วยชุดนิสิตอันน่าภาคภูมิใจเพื่อพิธีการยามค่ำต่อไปมีการประกวดโคม แห่โคมและอื่นๆการแห่โคมมีเส้นทางคล้ายการแห่เชือกแต่เป็นการไปเจริญไมตรีกับเพื่อนต่างคณะระหว่างน้องใหม่กับน้องใหม่ทั้งเป็นการอวดโคมไฟพร้อมขับร้องเพลง “แห่โคม” ..แสงโคมแว่มแว้ม.. อันเป็นบทเพลงที่มีสาระกินใจไปตลอดทางระหว่างที่แห่โคมออกไปนั้นพี่ๆส่วนที่อยู่หน้าคณะฯจะเตรียมตัวรับน้องด้วยภาพอันน่าประทับใจเมื่อเห็นว่าน้องๆเดินแห่กลับเข้ามาถึงระยะที่พอสมควรแล้วพี่ๆจะจุดพลุจุดไฟตะไลฯให้สว่างขับกับความมืด เป็นรูปเป็นตัวอักษรตามแต่จะออกแบบกันไป


-
บทสรุปสำคัญของพิธีการตอนค่ำนี้คือการประชุมพลรวมกันที่โถงบันไดหรืออาจเป็นลานศีลจุ่มในบางปีโดยพี่ๆจะล้อมและร้องเพลงกระหึ่มเป็นการต้อนรับน้องใหม่อีกครั้งหนึ่งเชื่อได้ว่าน้องๆแม้นจะเหนื่อยอ่อนสักเพียงใดก็ตามย่อมจะซึ้งและติดตรึงประทับใจด้วยดีได้ตลอดไป


-
ประเพณีศีลจุ่มเท่าที่บันทึกไว้นี้เป็นเพียงเฉพาะกิจกรรมที่ปรากฏเด่นชัดเท่านั้นยังไม่ได้บรรยายลงไปในรายละเอียดที่เป็นเรื่องปลีกย่อยที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะไม่ใช่ความประสงค์ของบทความนี้และอีกประการหนึ่งนั้นเพราะต้องการให้น้องใหม่มีประสบการณ์โดยตรงกับประเพณีด้วยตนเองในความมีเสน่ห์ของความปลีกย่อยนั้นซึ่งน่าจะดีกว่าการรับรู้แต่ต้นโดยการอ่านและรู้ไปจนหมดจรดในทุกประเด็นส่วนพี่ๆที่ได้เคยผ่านงานศีลจุ่มไปแล้วย่อมรับรู้ทั้งหมดแล้วและอาจมีความจำที่แตกต่างกันไปได้ซึ่ง“ศีลจุ่ม” ไม่จำเป็นต้องมีแบบแผนตายตัวในทุกเรื่องทุกปีไป


-
ประเพณีการต้อนรับน้องใหม่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปัจจุบันได้ถูกกำหนดให้กะทัดรัดทั้งลดความเข้มข้นลงไปมากแล้วโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และของมึนเมาทั้งหลายต้องละเว้นเพื่อจะได้ไม่นำไปสู่ความเสียใจในภายหลังแม้นว่าสาระของประเพณีส่วนที่ดีจะมีอยู่ไม่น้อยแต่นิสิตใหม่ที่ไม่ประสงค์เข้าร่วมในงานประเพณีก็มีอยู่บ้างเสมอเพราะมหาวิทยาลัยกำหนดว่าให้เป็นไปด้วยความสมัครใจไม่ใช่การบังคับ




 

Create Date : 08 กันยายน 2558
0 comments
Last Update : 8 กันยายน 2558 10:17:33 น.
Counter : 5365 Pageviews.


vodca
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 16 คน [?]




Friends' blogs
[Add vodca's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.