"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2552
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
26 ตุลาคม 2552
 
All Blogs
 
ประวัติศาสตร์สเปน (2)


ยุคทอง

โตเลโด โดยเอลเกรโกยุคทองของสเปน ("ซีโกลเดลโอโร" ในภาษาสเปน) เป็นช่วงเวลาแห่งความเจริญรุ่งเรืองทางศิลปะและอักษรศาสตร์ในจักรวรรดิสเปน (ปัจจุบันคือประเทศสเปนและประเทศที่ใช้ภาษาสเปนเป็นภาษาทางการในภูมิภาคลาตินอเมริกา)

ร่วมสมัยกับการเสื่อมถอยทางการเมืองของสเปนในรัชสมัยพระเจ้าฟิลิปที่ 3 พระเจ้าฟิลิปที่ 4 และพระเจ้าชาลส์ที่ 2 นักเขียนที่ยิ่งใหญ่คนสุดท้ายของยุค คือ คัวนา อีเนส เด ลา กรุซ ถึงแก่กรรมในนิวสเปนเมื่อปี ค.ศ. 1695

ราชวงศ์ฮับส์บูร์กทั้งในสเปนและออสเตรียต่างก็เป็นผู้อุปถัมภ์ศิลปะที่ยิ่งใหญ่ในประเทศของตน เอลเอสโกเรียล อารามหลวงที่พระเจ้าฟิลิปที่ 2 ทรงสั่งให้สร้างขึ้นนั้นได้ดึงดูดความสนใจจากสถาปนิกและจิตรกรผู้ยิ่งใหญ่ของยุโรปจำนวนหนึ่ง

เดียโก เบลัซเกซ จิตรกรที่มีอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ยุโรปได้สร้างไมตรีกับพระเจ้าฟิลิปที่ 4 และอัครมหาเสนาบดีในพระองค์ (เคานต์-ดุ๊กแห่งโอลีบาเรส) เบลัซเกซวาดรูปคนเหมือน (portrait) อันแสดงให้เห็นถึงรูปแบบและทักษะของเขาไว้ให้เราได้ศึกษา

ส่วนเอลเกรโก ศิลปินสเปนซึ่งเป็นที่นับถืออีกคนหนึ่งก็เป็นผู้ที่นำรูปแบบศิลปะเรอเนซองซ์แบบอิตาลีเข้ามาผสมผสานกับศิลปะสเปน และช่วยสร้างสรรค์รูปแบบจิตรกรรมสเปนให้เป็นเอกลักษณ์โดดเด่น

ผลงานดนตรีชิ้นเยี่ยมของสเปนจำนวนหนึ่งคาดว่าได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นในยุคนี้

นักประพันธ์เพลง เช่น โตมัส ลุยส์ เด บิกโตเรีย, ลุยส์ เด มีลัน และอาลอนโซ โลโบ ได้ช่วยทำให้ดนตรีเรอเนซองซ์เป็นรูปเป็นร่างขึ้น และอิทธิพลของพวกเขายังส่งผลมาถึงในสมัยบาโรก

วงการวรรณกรรมของสเปนก็เฟื่องฟูในยุคนี้เช่นกัน ตัวอย่างได้แก่ ผลงานที่มีชื่อเสียงของมีเกล เด เซร์บันเตส ผู้ประพันธ์ ดอนกิโฆเต้แห่งลามันช่า หรือโลเป เด เบกา ซึ่งเป็นนักเขียนบทละครที่มีผลงานมากที่สุดของสเปน

เขียนบทละครมากถึงประมาณ 1,000 เรื่องในช่วงชีวิตของเขา และมากกว่า 400 เรื่องในจำนวนนั้นยังคงตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน

ยุคภูมิธรรม : สเปนภายใต้ราชวงศ์บูร์บง (คริสต์ศตวรรษที่ 18)
พระเจ้าฟิลิปที่ 5 กษัตริย์พระองค์แรกแห่งราชวงศ์บูร์บงซึ่งมีต้นกำเนิดในฝรั่งเศสได้ทรงออกพระราชกฤษฎีกานวยบาปลันตา (Nueva Planta decrees; Decretos de Nueva Planta)

ในปี ค.ศ. 1715 พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ได้ล้มล้างสิทธิและเอกสิทธิ์ส่วนใหญ่ที่มีมาแต่เดิมของแต่ละอาณาจักรที่ประกอบกันเป็นสเปน โดยรวบอำนาจบริหารของอาณาจักรเหล่านั้นเข้าสู่ศูนย์กลางภายใต้กฎหมายของคาสตีล

นอกจากนี้ สเปนยังกลายเป็นบริวารทางวัฒนธรรมและการเมืองของฝรั่งเศสซึ่งเป็นประเทศสมบูรณาญาสิทธิราชย์อีกด้วย อำนาจการปกครองสเปนของราชวงศ์บูร์บงยังคงดำเนินต่อไปภายใต้การปกครองของพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 6 และพระเจ้าชาลส์ที่ 3


คาบสมุทรไอบีเรียในคริสต์ศตวรรษที่ 18ภายใต้การปกครองของพระเจ้าชาลส์ที่ 3 และอัครมหาเสนาบดีในพระองค์ คือ เลโอปอลโด เด เกรโกรีโอ มาร์ควิสแห่งเอสกีลาเช และโคเซ โมนีโญ เคานต์แห่งโฟลรีดาบลังกา สเปนก็ได้เข้าสู่ยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ภูมิธรรม (enlightened despotism)

ซึ่งนำพาสเปนไปสู่ความมั่งคั่งครั้งใหม่ในตอนกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 และหลังจากเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ร่วมกับฝรั่งเศสต่ออังกฤษในสงครามเจ็ดปี (ค.ศ. 1756-1763) สเปนก็ได้ดินแดนที่เคยสูญเสียไปคืนมาเกือบทั้งหมดเมื่อสิ้นสุดสงครามปฏิวัติอเมริกัน (ค.ศ. 1775-1783)

จิตวิญญาณนักปฏิรูปของพระเจ้าชาลส์ที่ 3 ดับสูญลงเมื่อพระราชโอรสองค์โตในพระองค์ คือ พระเจ้าชาลส์ที่ 4 เสด็จขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงปล่อยให้มานวยล์ เด โกโดย คนสนิทของพระมเหสีมีอำนาจในการบริหารประเทศเหนือพระองค์

และพระองค์ก็ทรงออกนโยบายซึ่งหักล้างกับแนวทางการปฏิรูปในรัชสมัยของพระราชบิดาอีกด้วย หลังจากที่ได้ต่อต้านฝรั่งเศสสมัยการปฏิวัติ (ช่วงสงครามปฏิวัติฝรั่งเศส) ในระยะเวลาสั้น ๆ ไม่นานนักสเปนก็กลับไปเป็นพันธมิตรกับเพื่อนบ้านทางเหนือแห่งนี้อีกครั้ง

และประกาศสงครามกับอังกฤษ ทำให้สเปนถูกอังกฤษเข้าปิดล้อมทางทะเลเป็นการตอบโต้ การเสียพันธะทางการค้าและการเมืองกับอาณานิคมของตนรวมทั้งการถูกกองทัพนโปเลียนยึดครองในเวลาต่อมานั้น ได้นำไปสู่การเรียกร้องเอกราชของดินแดนเกือบทั้งหมด ในโลกใหม่ของจักรวรรดิสเปน

การไร้จุดยืนของพระเจ้าชาลส์ที่ 4 ในฐานะพันธมิตรของฝรั่งเศสเป็นตัวชักนำจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 (นโปเลียน โบนาปาร์ต) แห่งฝรั่งเศสให้ยกทัพเข้ารุกรานสเปนในปี ค.ศ. 1808

ในช่วงเวลาเกือบตลอดทั้งคริสต์ศตวรรษที่ 18 สเปนประสบความก้าวหน้ามากขึ้นหลังจากเข้าสู่สมัยแห่งความตกต่ำในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 แต่ก็ยังคงล้าหลังในการพัฒนาด้านภูมิธรรมและด้านการค้าซึ่งได้เปลี่ยนแปลงส่วนอื่น ๆ ของยุโรปไปแล้ว

เช่น สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส กลุ่มประเทศต่ำ และบางส่วนของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ความยุ่งเหยิงวุ่นวายอันเป็นผลจากการแทรกแซงของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 นั้นจะยิ่งทำให้ระยะห่างนี้กว้างยิ่งขึ้น

สงครามนโปเลียนและสงครามประกาศเอกราชสเปน (ค.ศ. 1808-1814)

วันที่ 3 ของเดือนพฤษภาคม 1808 โดยฟรันซิสโก โกยา แสดงทหารฝรั่งเศสกำลังกราดกระสุนใส่กลุ่มผู้ต่อต้านชาวสเปนในช่วงแรกของสงครามนโปเลียน (Napoleonic Wars; Guerras Napoleónicas ค.ศ. 1803-1815) สเปนอยู่ฝ่ายต่อต้านฝรั่งเศสสมัยการปฏิวัติ

ความพ่ายแพ้ของกองทัพในช่วงต้น ๆ ของสงครามได้ทำให้พระเจ้าชาลส์ที่ 4 ทรงตัดสินพระทัยอย่างจริงจังที่จะไปเข้าข้างฝ่ายฝรั่งเศส แต่เมื่อกองทัพเรือผสมฝรั่งเศส-สเปนถูกกองทัพเรืออังกฤษทำลายอย่างย่อยยับในยุทธการที่แหลมตราฟัลการ์ (ค.ศ. 1805)

พระองค์ก็ทรงกลับไปทบทวนการเข้าข้างฝรั่งเศสใหม่โดยทันที สเปนถอนตัวจากระบบภาคพื้นทวีป (Continental System) และแม้จะกลับไปเข้าร่วมอีกครั้งในปี ค.ศ. 1807 แต่ก็ทำให้จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ไม่ทรงพอพระทัยอย่างมาก

อนึ่ง การที่สเปนถูกอังกฤษปิดล้อมทางทะเลเนื่องจากไปเข้าข้างฝรั่งเศสนั้น ทำให้อาณานิคมในอเมริกาถูกตัดขาดจากผู้ปกครองของตนเป็นครั้งแรกและเริ่มต้นทำการค้าขายกับอังกฤษได้อย่างอิสระ

ความพ่ายแพ้ของอังกฤษซึ่งเข้าไปรุกรานแม่น้ำเพลต (ค.ศ. 1806-1807 ส่วนหนึ่งของสงครามนโปเลียน) ในอเมริกาใต้ยังช่วยเพิ่มความกล้าหาญให้กับผู้ต้องการเป็นเอกราชในอาณานิคมอเมริกาของสเปนมากขึ้น

นอกจากนี้ ในสเปนเองโดยเฉพาะที่กรุงมาดริดก็เกิดจลาจลต่อต้านรัฐมนตรีโกโดยขึ้นทั่วไป เนื่องจากความโลเลไม่แน่นอนของเขาในการดำเนินนโยบายด้านการต่างประเทศกับฝรั่งเศส

ปี ค.ศ. 1808 พระเจ้าชาลส์ที่ 4 ต้องทรงสละราชสมบัติให้พระราชโอรส คือ เจ้าชายเฟอร์ดินานด์ ขึ้นครองราชย์และเฉลิมพระนาม "พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 7"

แต่จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 (ซึ่งไม่ทรงไว้วางพระทัยราชสำนักสเปนอีกต่อไป) ทรงส่งกองทัพเข้ารุกรานสเปนและบีบบังคับให้พระองค์ทรงสละราชสมบัติแก่โจเซฟ โบนาปาร์ต (พระเชษฐาของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1) ให้เป็นกษัตริย์ของสเปนแทน อย่างไรก็ตาม ชาวสเปนและทหารสเปนก็ได้ต่อต้านอย่างแข็งขัน

โดยประกาศตนอยู่ฝ่ายเดียวกับพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 7 การต่อสู้ครั้งนี้มีชื่อเรียกว่า สงครามคาบสมุทร (Peninsular War ค.ศ. 1808-1814) หรือที่ชาวสเปนเรียกว่า "สงครามประกาศเอกราชสเปน" (Guerra de la Independencia Española)

ขณะที่สภาเมืองบัวโนสไอเรสและสภาเมืองการากัสในอเมริกาใต้ได้ประกาศเอกราชจากรัฐบาลโบนาปาร์ตในสเปนเมื่อปี ค.ศ. 1810 และ ค.ศ. 1811 ตามลำดับ

"สภา" (juntas) ตามเมืองต่าง ๆ ถูกจัดตั้งขึ้นทั่วทุกภูมิภาคในสเปน นอกจากเพราะต้องการต่อต้านฝรั่งเศสแล้ว ก็ยังคาดหวังสิทธิ์ในการปกครองตนเองมากขึ้นจากกรุงมาดริดภายใต้รัฐธรรมนูญเสรีนิยมซึ่งสภาแต่ละแห่งได้ร่างไว้ด้วย

รัฐสภาสเปนได้ลี้ภัยจากกรุงมาดริดมายังเมืองเซบียาทางภาคใต้ แต่ถูกพวกฝรั่งเศสผลักดันไปยังเมืองกาดิซ

และในปี ค.ศ. 1812 สภากาดิซ (ชื่อเรียกรัฐสภาขณะลี้ภัยอยู่ที่เมืองนี้) ได้ตรารัฐธรรมนูญขึ้น นับเป็นรัฐธรรมนูญสมัยใหม่ฉบับแรกของสเปน มีชื่อเล่นว่า "ลาเปปา" (La Pepa) ฝรั่งเศสจึงตอบโต้การตรารัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวโดยผนวกแคว้นคาเทโลเนียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของตน

ขณะเดียวกัน กองทัพโปรตุเกสร่วมกับกองทัพอังกฤษนำโดยอาร์เทอร์ เวลส์ลีย์ ดุ๊กแห่งเวลลิงตัน ได้เข้าสู้รบกับกองทัพฝรั่งเศสของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 สงครามอันโหดร้ายครั้งนี้เป็นหนึ่งในสงครามครั้งแรก ๆ ของประวัติศาสตร์ตะวันตกสมัยใหม่ที่ใช้วิธีการรบแบบกองโจร

เส้นทางขนส่งเสบียงของฝรั่งเศส (ในสเปน) ถูกชาวสเปนซุ่มโจมตีหลายต่อหลายครั้ง อีกทั้งผลการรบในคาบสมุทรไอบีเรียก็ยังผันผวนไปมา ดุ๊กแห่งเวลลิงตันใช้เวลาหลายปีอยู่ในป้อมปราการที่โปรตุเกสและส่งกองทัพเข้าไปรบในเขตสเปนเมื่อมีโอกาสอันเหมาะสม

ในที่สุดฝรั่งเศสก็พ่ายแพ้อย่างสิ้นเชิงในยุทธการที่เมืองบีโตเรียทางภาคเหนือของสเปนในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1813 และในปีถัดมา และพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 7 ก็ทรงขึ้นครองราชย์เป็นประมุขแห่งสเปนอีกครั้ง

สเปนในคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ค.ศ. 1814-1868)
แม้ว่าสภาต่าง ๆ ที่มีส่วนในการผลักดันฝรั่งเศสออกไปจากสเปนจะให้สัตยาบันรับรองรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1812 แล้วก็ตาม แต่พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 7 กลับทรงเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้มีความเป็นเสรีมากเกินไปสำหรับประเทศ (ระบุให้กษัตริย์ทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ)

พระองค์จึงทรงปฏิเสธที่จะให้การรับรองและดำเนินการปกครองประเทศในรูปแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ตามอย่างกษัตริย์พระองค์ก่อน ๆ พวกเสรีนิยมในสเปนจึงรู้สึกเหมือนถูกหักหลังจากกษัตริย์ที่ตนเองเคยสนับสนุน ส่วนสภาตามท้องถิ่นที่เคยต่อต้านโจเซฟ โบนาปาร์ตต่างก็สูญเสียความเชื่อมั่นในการปกครองของกษัตริย์ของตน

แม้ว่าในสเปนยังพอจะยอมรับการปฏิเสธรัฐธรรมนูญดังกล่าวได้ แต่นโยบายนี้ก็ได้รับเสียงต่อต้านจากอาณานิคมของสเปนในโลกใหม่ การปฏิวัติเพื่อเรียกร้องเอกราชยังคงดำเนินต่อไป กองทัพสเปนไปถึงอเมริกาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1814 และมีชัยชนะในการรบในดินแดนต่าง ๆ ในช่วงแรก

แต่อาร์เจนตินาก็ประกาศเอกราชในปี ค.ศ. 1816 (เป็นอิสระโดยปริยายตั้งแต่ปี ค.ศ. 1807 ที่สามารถต่อต้านการรุกรานของอังกฤษได้สำเร็จ) ส่วนชิลีนั้นสเปนยึดกลับมาได้ในปี ค.ศ. 1814 แต่ก็เสียไปอย่างถาวรในปี ค.ศ. 1818

เมื่อกองทหารของโฮเซ เด ซาน มาร์ติน (หนึ่งในนักปฏิวัติเพื่อเอกราชของอเมริกาใต้) เดินทางจากอาร์เจนตินาข้ามเทือกเขาแอนดีสเข้ามาสมทบและเอาชนะทหารสเปนได้ และต่อมาสเปนก็เสียโคลอมเบียไปอีกในปี ค.ศ. 1819


ราฟาเอล เดล เรียโกเมื่อถึงปี ค.ศ. 1820 เม็กซิโก เปรู เอกวาดอร์ และอเมริกากลางยังคงอยู่ภายใต้การควบคุมจากสเปน และพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 7 ก็ทรงตัดสินพระทัยจะยึดอาณานิคมที่เสียไปกลับคืนมา แต่สเปนก็ไม่สามารถจ่ายเงินเดือน รวมทั้งแบ่งสรรอาหารและจัดหาที่พักสภาพดีให้กับทหารได้

เพราะแทบจะล้มละลายหลังจากการทำสงครามกับฝรั่งเศสและการฟื้นฟูประเทศขึ้นใหม่ ในปีเดียวกัน กองทหารที่กำลังจะถูกส่งไปปฏิบัติการในอเมริกาได้ก่อกบฎขึ้นที่เมืองกาดิซ (มีราฟาเอล เดล เรียโกเป็นผู้นำ) และเรียกร้องให้นำรัฐธรรมนูญฉบับ ค.ศ. 1812 กลับมาใช้อีกครั้ง

ซึ่งกองทัพทั่วประเทศก็ประกาศเข้าข้างผู้ก่อการครั้งนี้ พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 7 จึงทรงยินยอมและยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว ต่อมาพวกปฏิวัติได้ล้อมพระราชวังไว้และกักบริเวณพระองค์ไว้

การลุกฮือเกิดขึ้นอีกในกองทหารที่กรุงมาดริดและสงครามกลางเมืองก็ปะทุขึ้นในเมืองโตเลโด แคว้นคาสตีล และแคว้นอันดาลูเซีย

การปกครองของรัฐบาลเสรีนิยม "หัวก้าวหน้า" และสงครามกลางเมืองที่เกิดขึ้นร่วมกันนั้นจะเป็นตัวอย่างของการเมืองสเปนในศตวรรษถัดมา รัฐบุรุษชาติอื่น ๆ ของยุโรปต่างเห็นว่า รัฐบาลเสรีนิยมชุดนี้มีความคล้ายคลึงกับรัฐบาลฝรั่งเศสสมัยการปฏิวัติเป็นอย่างมาก

ในการประชุมใหญ่แห่งเวโรนา (ค.ศ. 1822) ฝรั่งเศสก็ได้รับการอนุมัติให้ใช้กำลังเข้าแทรกแซงสเปนและสามารถยึดกรุงมาดริดไว้ได้ กองกำลังปฏิวัติจนมุมและพ่ายแพ้ในปี ค.ศ. 1823 เรียโกถูกตัดสินประหารชีวิต พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 7 ก็ทรงกลับมาปกครองประเทศในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ต่อไป

อย่างไรก็ตาม สเปนก็เสียอาณานิคมเกือบทั้งหมดไปอย่างสมบูรณ์เมื่อปี ค.ศ. 1824 กองทัพสเปนกองทัพสุดท้ายบนแผ่นดินใหญ่ของทวีปอเมริกาได้ปราชัยต่อกองกำลังของนักปฏิวัติอันโตเนียว โฮเซ เด ซูเกรในยุทธการที่แคว้นไออากูโช ทางภาคใต้ของเปรู


สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลลาที่ 2สมัยแห่งความวุ่นวายยังคงดำเนินต่อมาอีกทศวรรษ เนื่องจากพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 7 ไม่ทรงมีพระราชโอรสที่จะสืบทอดราชสมบัติ (แต่ทรงมีพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวคือเจ้าหญิงอิซาเบลลา)

ดังนั้นกษัตริย์พระองค์ต่อมาตามกฎซาลิก (ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติเดิม) จึงควรเป็นพระอนุชาในพระองค์ คือ เจ้าชายการ์โลส

พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 7 จึงทรงขัดขวางความต้องการของพระอนุชาโดยทรงยกเลิกการใช้กฎซาลิก และพระราชทานสิทธิ์แห่งการสืบราชสมบัติให้แก่พระราชธิดาในพระองค์แทน

เจ้าชายการ์โลสไม่ทรงยอมรับรองสิทธิดังกล่าวและเสด็จหนีไปยังโปรตุเกส

การเสด็จสวรรคตของพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 7 ในปี ค.ศ. 1833 และการขึ้นครองราชย์ของเจ้าหญิงอิซาเบลลา (ซึ่งมีพระชนมายุเพียง 3 ชันษาในขณะนั้น) ในฐานะสมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลลาที่ 2 แห่งสเปน เป็นตัวจุดชนวนให้เกิดสงครามการ์ลิสต์ครั้งที่ 1 (First Carlist War; Primera Guerra Carlista ค.ศ. 1833-1839)

เจ้าชายการ์โลสทรงบุกสเปนและได้รับการสนับสนุนจากทั้งพวกปฏิกิริยาและพวกอนุรักษนิยมในประเทศ (ที่พวกอนุรักษนิยมหรือพวกนิยมสมบูรณาญาสิทธิราชย์อยู่ฝ่ายเจ้าชายการ์โลสนั้น

เป็นเพราะทราบว่าต่อไปสมเด็จพระราชินีนาถจะทรงปฏิรูปบ้านเมืองให้เป็นไปในทางเสรีนิยม กลุ่มผู้สนับสนุนเจ้าชายเรียกว่า "พวกการ์ลิสต์")

ส่วนพระราชชนนีของสมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลลา คือ สมเด็จพระราชินีนาถมาเรีย-คริสตินาแห่งบูร์บง-ซิซิลีทั้งสอง ทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินจนกว่าพระราชธิดาจะทรงบรรลุนิติภาวะ


เจ้าชายการ์โลส ดุ๊กแห่งโมลีนาการก่อการกบฏดูเหมือนจะถูกกำราบในปลายปีเดียวกันนั้นเอง โดยกองทัพ (พวกเสรีนิยม) ของสมเด็จพระราชินีนาถมาเรีย-คริสตินาซึ่งเรียกว่า "กองกำลังกริสตีโนส" หรือ "กองกำลังอีซาเบลีโนส" สามารถขับไล่กองทัพการ์ลิสต์จากพื้นที่ส่วนใหญ่ของแคว้นบาสก์ได้

เจ้าชายการ์โลสจึงทรงแต่งตั้งพลเอกโตมัส เด ซูมาลาการ์เรกี นายทหารชาวบาสก์เป็นผู้บัญชาการทหารในพระองค์ ซูมาลาการ์เรกีรวบรวมและฟื้นฟูพวกการ์ลิสต์ขึ้นมาใหม่

และเมื่อถึงปี ค.ศ. 1835 ได้ผลักดันให้กองกำลังกริสตีโนถอยร่นกลับไปยังแม่น้ำเอโบร และเปลี่ยนแปลงกองทัพที่กำลังเสียขวัญของพวกการ์ลิสต์ให้เป็นกองทัพที่แข็งแกร่งเหนือกว่ากองกำลังของรัฐบาลแม้มีกำลังทหารเพียง 3 หมื่นคน

แต่การเสียชีวิตของซูมาลาการ์เรกีจากการรบในปี ค.ศ. 1835 ก็เปลี่ยนแปลงอนาคตของพวกการ์ลิสต์อีกครั้ง นอกจากนี้พวกกริสตีโนสยังได้นายพลผู้มีความสามารถ คือ บัลโดเมโร เอสปาร์เตโร เข้ามาบัญชาการ

ชัยชนะของเขาในยุทธการที่เขตลูชานา (ค.ศ. 1836) เป็นจุดเปลี่ยนของสงคราม และในปี ค.ศ. 1839 การประชุมใหญ่แห่งเบร์การาก็ได้ประกาศยุติการก่อกบฏของพวกการ์ลิสต์ลง

เอสปาร์เตโรเริ่มได้รับความนิยมในฐานะวีรบุรุษจากสงครามด้วยสมญานาม "ผู้สร้างสันติของสเปน" เขาร้องขอให้มีการปฏิรูปแบบเสรีนิยมจากสมเด็จพระราชินีนาถมาเรีย-คริสตินา

แต่พระองค์ซึ่งไม่ทรงสนับสนุนแนวคิดใด ๆ ก็ทรงลาออกและให้เอสปาร์เตโรขึ้นมาเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

ต่อมาการปฏิรูปแบบเสรีนิยมของเอสปาร์เตโรถูกต่อต้านโดยพวกสายกลาง นอกจากนี้ ความไร้ประสบการณ์ทางการเมืองและความแข็งกระด้างของเขายังได้ก่อให้เกิดการลุกฮือขึ้นเป็นระยะ ๆ ในพื้นที่ส่วนต่าง ๆ ทั่วประเทศซึ่งทั้งหมดถูกปราบปราบลงอย่างรุนแรง

เมื่อปี ค.ศ. 1846 พวกการ์ลิสต์ก่อการจลาจลขึ้นอีกและเกิดสงครามของผู้ตื่นเช้า (War of the Matiners; Guerra de los Matiners) ในแคว้นคาเทโลเนีย แต่คราวนี้พวกการ์ลิสต์จัดการกองทัพได้ไม่ดี จึงเป็นสาเหตุให้ถูกปราบลงได้เมื่อปี ค.ศ. 1849


เลโอปอลโด โอดอนเนลล์รัฐสภาสเปนไม่พอใจกับการปฏิวัติรัฐประหารที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในประเทศ จึงตัดสินใจที่จะไม่แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อีก และประกาศให้เจ้าหญิงอิซาเบลลาซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุ 13 พรรษาขึ้นครองราชย์และเฉลิมพระนามสมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลลาที่ 2

จากนั้นพระองค์ก็ทรงเข้าไปมีบทบาทมากขึ้นในรัฐบาลหลังจากทรงบรรลุนิติภาวะ แต่ตลอดรัชสมัยของพระองค์ก็ทรงไม่ได้รับความนิยมเท่าใดนัก พระองค์ทรงถูกมองว่าไม่ทรงเอาพระทัยใส่ประชาชนชาวสเปน

ปี ค.ศ. 1856 พระองค์ทรงจัดตั้งรัฐบาลผสมระหว่างพวกสายกลางกับพวกหัวก้าวหน้า คือ สหภาพเสรีนิยม (Unión Liberal) ภายใต้การนำของนายพลเลโอปอลโด โอดอนเนลล์

แต่แผนการของสมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลลาที่ 2 ล้มเหลวและทำให้พระองค์ทรงสูญเสียเกียรติภูมิและความนิยมจากประชาชนยิ่งขึ้นไปอีก

ปี ค.ศ. 1860 สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลลาที่ 2 ทรงประกาศทำสงครามกับโมร็อกโก โดยมีนายพลโอดอนเนลล์และควน ปริมเป็นผู้บัญชาการ การได้รับชัยชนะในสงครามครั้งนี้ทำให้พระองค์ทรงสามารถรักษาความนิยมในสเปนไว้ได้

ในการรบเพื่อยึดเปรูและชิลีกลับคืนมาในช่วงสงครามหมู่เกาะชินชาในมหาสมุทรแปซิฟิกนั้นก็สร้างความเสียหายอย่างหนักและสเปนต้องปราชัยให้กับทหารอเมริกาใต้ และในปี ค.ศ. 1866 การก่อการกำเริบที่นำโดยควน ปริม ถูกปราบปรามลงได้

แต่ก็เป็นที่ชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ ว่าประชาชนสเปนก็ไม่พอใจกับความพยายามเข้ามายุ่งเกี่ยวด้านการปกครองของสมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลลาที่ 2

"6 ปีแห่งประชาธิปไตย" (ค.ศ. 1868-1874)

กลุ่มนายพลหัวก้าวหน้า ได้แก่ ฟรันซิสโก เซร์ราโน และควน ปริมได้ร่วมมือกันทำรัฐประหาร และเอาชนะกองทหารสายกลางของพระองค์ได้สำเร็จในยุทธการที่เมืองอัลโกเลอา สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลลาที่ 2 ต้องเสด็จลี้ภัยอยู่ในกรุงปารีส

การปฏิวัติและอนาธิปไตยยังเกิดขึ้นในสเปนเป็นเวลาอีก 2 ปีนับจากนั้น จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1870 รัฐสภาออกประกาศว่าสเปนจะมีกษัตริย์อีกครั้งหนึ่ง การตัดสินใจนี้มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ยุโรปเมื่อเจ้าชายเลโอโปลด์แห่งราชวงศ์โฮเฮนซอลเลิร์นจากปรัสเซียได้รับการเสนอให้มีสิทธิได้รับเลือกเป็นกษัตริย์สเปน

การต่อต้านของฝรั่งเศสเนื่องจากเกรงว่าปรัสเซียจะแผ่ขยายอำนาจลงมาทางใต้นั้นเป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซียขึ้นในเวลาต่อมา อย่างไรก็ตามในปลายปีเดียวกัน

เจ้าชายอะมาเดโอแห่งซาวอยก็ได้รับการคัดเลือกและทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นกษัตริย์แห่งสเปน เฉลิมพระนาม "พระเจ้าอะมาเดโอที่ 1 แห่งสเปน" ในช่วงเวลาเดียวกับที่นายพลควน ปริม ผู้สนับสนุนพระองค์ถูกลอบสังหาร

พระเจ้าอะมาเดโอที่ 1 ทรงรับรองรัฐธรรมนูญเสรีนิยมที่รัฐสภาสเปนได้ประกาศไว้ แต่พระองค์ต้องทรงเผชิญภาระหนักโดยทันทีในการนำอุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกันของสเปนมาอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ในสเปนยังคงมีความขัดแย้งถกเถียงกัน

ไม่เพียงแต่ในหมู่ชาวสเปนเองเท่านั้น แต่ยังรวมถึงระหว่างนักการเมืองของพรรคต่าง ๆ ด้วย ซึ่งแม้ว่ารัฐสภาจะเป็นผู้เลือกพระองค์ขึ้นมาดำรงตำแหน่งกษัตริย์ ก็กลับมองว่าพระองค์ทรงเป็นคนนอก ยิ่งไปกว่านั้น ในรัชสมัยของพระองค์ พวกการ์ลิสต์ได้ก่อสงครามขึ้นอีกเป็นครั้งที่ 3 และกระแสเรียกร้องเอกราชในคิวบาก็รุนแรงขึ้นอีกด้วย

สาธารณรัฐสเปนที่ 1 (ค.ศ. 1873-1874)

พระเจ้าอะมาเดโอที่ 1 ทรงปกครองประเทศโดยไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างแท้จริงจากทั้งภาคการเมืองและภาคประชาชน ต่อมาในปี ค.ศ. 1873 รัฐบาลหัวรุนแรงได้ร้องขอให้พระองค์ออกพระราชกฤษฎีกา ยุบกองทหารปืนใหญ่

ทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างพระองค์กับนายกรัฐมนตรี พระองค์จึงทรงสละราชบัลลังก์สเปนทันทีโดยทรงประกาศว่าชาวสเปน "ปกครองไม่ได้"[ จากนั้นจึงเสด็จออกไปจากประเทศเพื่อกลับไปอิตาลี ในวันรุ่งขึ้น (11 กุมภาพันธ์)

เสียงส่วนใหญ่ของรัฐสภาซึ่งประกอบด้วยพวกหัวรุนแรง พวกสาธารณรัฐ และพวกประชาธิปไตยได้ประกาศให้สเปนเป็นประเทศสาธารณรัฐ

สเปนถูกรุมเร้าจากปัญหาที่ยังเรื้อรังจากช่วงเวลาที่ผ่านมา พวกการ์ลิสต์เป็นภัยคุกคามที่สำคัญที่สุดของประเทศและก่อกบฏที่ใช้ความรุนแรงมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1872 นอกจากนี้ยังมีการบ่อนทำลายในกองทัพ ความพยายามกระทำรัฐประหาร เสียงเรียกร้องให้มีการปฏิวัติในแบบสังคมนิยม

การลุกขึ้นต่อต้านรัฐบาลและความก่อความไม่สงบในแคว้นนาวาร์และคาเทโลเนีย รวมทั้งแรงกดดันจากคริสตจักรนิกายโรมันคาทอลิกต่อสาธารณรัฐเกิดใหม่แห่งนี้ด้วย

การฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บง (ค.ศ. 1874-1931)

พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 12 สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลลาที่ 2 ทรงสละสิทธิ์ในราชบัลลังก์สเปนให้แก่พระราชโอรส คือ เจ้าชายอัลฟอนโซแห่งอัสตูเรียสตั้งแต่ปี ค.ศ. 1870 และหลังจากเกิดความวุ่นวายไม่สิ้นสุดในสาธารณรัฐสเปนที่ 1

ชาวสเปนส่วนใหญ่ก็ตกลงใจที่ยอมรับการกลับไปสู่ความมีเสถียรภาพของประเทศภายใต้การปกครองของราชวงศ์บูร์บงอีกครั้ง กองกำลังสาธารณรัฐนิยมในสเปนนำโดยพลจัตวามาร์ตีเนซ กัมโปสที่กำลังปราบปรามการก่อการกบฏของพวกการ์ลิสต์อยู่นั้น ได้ประกาศสวามิภักดิ์ต่อเจ้าชายอัลฟอนโซในฤดูหนาวของปี ค.ศ. 1874-1875

ต่อมาสาธารณรัฐสเปนก็สลายตัวไปเมื่อเจ้าชายอัลฟอนโซทรงขึ้นครองราชย์และเฉลิมพระนามพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 12 แห่งสเปน ส่วนอันโตเนียว กาโนบัส เดล กัสตีโย ที่ปรึกษาในพระองค์ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีในวันสิ้นปี ค.ศ. 1874

พวกการ์ลิสต์ถูกปราบลงอย่างราบคาบโดยกษัตริย์พระองค์ใหม่ซึ่งทรงเข้าไปมีบทบาทในสงครามและทรงได้รับการสนับสนุนจากพสกนิกรส่วนใหญ่ของพระองค์อย่างรวดเร็ว

ระบบหมุนเวียนทางการเมืองหรือ ตูร์โน (turno) ระหว่างพรรคเสรีนิยม (ซึ่งมีปรักเซเดส มาเตโอ ซากัสตาเป็นผู้นำ) กับพรรคอนุรักษนิยม (ซึ่งมีกาโนบัส เดล กัสตีโยเป็นผู้นำ) ได้รับการจัดตั้งขึ้นโดยผลัดกันมีอำนาจในรัฐบาล

ความมั่นคงและความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของสเปนก็ได้รับการฟื้นฟูในรัชสมัยของพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 12 นี้เอง แต่การเสด็จสวรรคตของพระองค์เมื่อปี ค.ศ. 1885 ตามด้วยการลอบสังหารกาโนบัส เดล กัสตีโยเมื่อปี ค.ศ. 1897 ทำให้ความมั่นคงของรัฐบาลที่จะเข้ามาบริหารประเทศในเวลาต่อมาเริ่มสั่นคลอน


ซากเรือรบเมนส่วนที่อเมริกา คิวบาได้ก่อความไม่สงบต่อต้านสเปนในสงครามสิบปีมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1868 ส่งผลให้เกิดการเลิกทาสในดินแดนอาณานิคมโลกใหม่ของสเปน

ผลประโยชน์ของสหรัฐอเมริกาที่มีในเกาะแห่งนี้ประกอบกับความพยายามของขบวนการเรียกร้องเอกราชในคิวบาทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศนี้แย่ลง

การระเบิดเรือรบเมนที่ฐานทัพเรือฮาวานาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1898 เป็นชนวนให้เกิดสงครามสเปน-สหรัฐอเมริกา เนื่องจากสเปนตกเป็นผู้ต้องสงสัยว่าอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ครั้งนี้ สเปนจึงต้องประสบกับหายนะร้ายแรงอีกครั้งหนึ่ง คิวบาได้รับเอกราชในที่สุด

สเปนยอมถอนกำลังทหารออกไปและยังสียอาณานิคมแห่งอื่นที่เหลืออยู่ในโลกใหม่ คือ เปอร์โตริโก รวมทั้งกวมและฟิลิปปินส์ให้กับสหรัฐอเมริกาด้วย

และในปี ค.ศ. 1899 สเปนก็ขายหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกที่ยังอยู่ในความครอบครองของตน (ได้แก่ หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา หมู่เกาะแคโรไลน์ และปาเลา) ให้กับเยอรมนี

ทำให้สเปนมีดินแดนอาณานิคมเหลือเพียงสแปนิชโมร็อกโก สแปนิชสะฮารา และสแปนิชกินี ซึ่งทั้งหมดอยู่ในแอฟริกา

"หายนะ" ในปี ค.ศ. 1898 ได้ก่อให้เกิดกลุ่ม 98 (Generation of '98; Generación del 98) ซึ่งเป็นกลุ่มของรัฐบุรุษและปัญญาชนที่เรียกร้องการเปลี่ยนแปลงจากรัฐบาลชุดใหม่ขึ้น นอกจากนี้ ขบวนการอนาธิปไตยและฟาสซิสต์เริ่มก่อตัวขึ้นในสเปนในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20

ในปลายเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1909 รัฐบาลเรียกเกณฑ์กำลังสำรองอย่างไม่เป็นธรรมเพื่อส่งไปรบและรักษาดินแดนอาณานิคมในโมร็อกโก ทำให้ชนชั้นแรงงานในเมืองบาร์เซโลนาและเมืองอื่น ๆ ของแคว้นคาเทโลเนียไม่พอใจอย่างมาก

จึงนัดหยุดงานประท้วงและก่อการจลาจลโดยได้รับการสนับสนุนจากพวกอนาธิปไตย พวกต่อต้านทหาร และพวกสังคมนิยม นำไปสู่การเผชิญหน้าระหว่างกองกำลังของรัฐบาลกับชนชั้นแรงงานซึ่งเรียกกันว่า

สัปดาห์แห่งโศกนาฏกรรม (Tragic Week; Semana Trágica) ผลคือฝ่ายหลังถูกปราบปรามอย่างรุนแรงและเสียชีวิตไปมากกว่าร้อยคน

การที่สเปนรักษาความเป็นกลางระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 ไว้ได้และเป็นผู้จัดหาวัตถุดิบและเสบียงให้กับประเทศคู่สงครามทั้ง 2 ฝ่ายนั้นส่งผลดีอย่างมากกับประเทศ กล่าวคือ เศรษฐกิจเฟื่องฟูขึ้นทันที เกิดการพัฒนาทั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรม

ทั้งคนรวยและคนจนต่างก็มีรายได้เพิ่มขึ้น แต่การแพร่ระบาดของไข้หวัดสเปนทั้งในประเทศและที่อื่น ๆ ในโลก รวมทั้งสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำหลังสงครามโลกก็สร้างความเสียหายให้กับสเปนอีก โดยต้องตกอยู่ในสภาวะเป็นหนี้ การนัดหยุดงานของผู้ใช้แรงงานถูกปราบปรามในปี ค.ศ. 1919

การปฏิบัติต่อชาวมัวร์อย่างไม่เป็นธรรมในดินแดนสแปนิชโมร็อกโกนำไปสู่การลุกฮือของประชาชนและการเสียดินแดนในแอฟริกาเหนือแห่งนี้ไป (เหลือเพียงเมืองเซวตาและเมลียา) ในปี ค.ศ. 1921 พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 13 ทรงตัดสินพระทัยสนับสนุนจอมพลมีเกล ปรีโม เด รีเบราให้ปกครองประเทศในระบอบเผด็จการ

เพื่อหลีกเลี่ยงภาระรับผิดชอบต่อการสูญเสียทั้งทหารและงบประมาณจากการพ่ายแพ้สงครามครั้งนั้น อย่างไรก็ตาม การร่วมรบกับฝรั่งเศสเพื่อต่อต้านชนพื้นเมืองในโมร็อกโก (ค.ศ. 1925-1927) ก็ทำให้สเปนได้ดินแดนบางส่วนกลับคืนมาบ้าง

ต่อมาสภาวะล้มละลายในปี ค.ศ. 1930 และการต่อต้านอย่างกว้างขวางจากประชาชนทำให้พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 13 ไม่ทรงมีทางเลือกอื่นนอกจากการบังคับให้นายพลปรีโม เด รีเบราลาออกจากตำแหน่ง พลเอกดามาโซ เบเรงเกร์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้ารัฐบาลชุดใหม่

แต่ประชาชนก็เสื่อมศรัทธากับกษัตริย์ที่ทรงเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดตั้งรัฐบาลเผด็จการไปแล้ว โดยตำหนิว่าพระองค์ทรงพยายามจะปกครองประเทศตามแบบเบนีโต มุสโสลีนี จึงมีเสียงเรียกร้องให้มีการสถาปนาประเทศเป็นสาธารณรัฐเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

ในปีต่อมา (ค.ศ. 1931) เบเรงเกร์ประกาศลาออก มีการจัดการเลือกตั้งระดับเทศบาลเมื่อเดือนเมษายน ปีเดียวกัน ซึ่งประชาชนในเขตเมืองพากันลงคะแนนเสียงให้กับกลุ่มสาธารณรัฐนิยม

ทำให้พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 13 ต้องทรงลี้ภัยออกจากประเทศ และแม้พระองค์จะไม่ได้ทรงประกาศสละราชบัลลังก์อย่างเป็นทางการ แต่สาธารณรัฐสเปนก็ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นครั้งที่ 2

สาธารณรัฐสเปนที่ 2 (ค.ศ. 1931-1939)

ในสมัยสาธารณรัฐที่ 2 ได้มีการใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งประกาศให้สเปนเป็น "สาธารณรัฐประชาธิปไตยของแรงงานทุกชนชั้น" ไม่มีศาสนาทางการ และแยกบทบาทของรัฐและศาสนจักรออกจากกันอย่างชัดเจน

นอกจากนี้ ยังให้สิทธิออกเสียงในการเลือกตั้งทั่วไปแก่ผู้หญิงชาวสเปนเป็นครั้งแรก รัฐบาลกลางก็มีแนวโน้มที่จะให้สิทธิในการปกครองตนเองแก่แคว้นคาเทโลเนียเพิ่มขึ้น

รัฐบาลชุดแรก ๆ ของสาธารณรัฐเป็นฝ่ายกลาง-ซ้ายที่มีนีเซโต อัลกาลา-ซาโมราและมานวยล์ อาซาญาเป็นผู้นำ ปัญหาเศรษฐกิจและการเป็นหนี้ที่สืบเนื่องมาจากสมัยการบริหารของปรีโม เด รีเบรา

รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงในรัฐบาลผสมอย่างรวดเร็ว ทั้งหมดนำไปสู่การก่อความไม่สงบทางการเมืองอย่างรุนแรงของกลุ่มชาวนาในแคว้นเอกซ์เตรมาดูราและแคว้นอันดาลูเซียทางภาคใต้

ต่อมาในปี ค.ศ. 1933 สมาพันธ์สิทธิปกครองตนเองสเปนหรือเซดา (CEDA) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองฝ่ายขวาได้รับเลือกตั้งจากเสียงข้างมากให้เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล แต่ก็ยังทำผลงานไม่เป็นที่น่าพอใจ จนกระทั่งเดือนตุลาคม ค.ศ. 1934 กลุ่มแรงงานเหมืองถ่านหินที่แคว้นอัสตูเรียสได้นัดหยุดงานและก่อการจลาจลขึ้น

โดยใช้อาวุธ รัฐบาลจึงส่งกำลังทหารเข้าปราบปรามอย่างรุนแรง ส่งผลให้ทั้งสองฝ่ายมีผู้เสียชีวิตรวม 1,335 คน และบาดเจ็บ 2,051 คน

สงครามสองสเปน (ค.ศ. 1936-1939)

ในคริสต์ทศวรรษ 1930 การเมืองสเปนแตกแยกออกเป็น 2 ขั้วอำนาจคือฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวา ฝ่ายซ้ายได้แก่พรรคการเมืองฝ่ายสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ซึ่งต้องการให้มีการต่อสู้ระหว่างชนชั้น การปฏิรูปที่ดิน การปกครองตนเองของแต่ละแคว้น รวมทั้งการลดอำนาจศาสนจักรและกษัตริย์ลง

ส่วนฝ่ายขวาซึ่งกลุ่มใหญ่ที่สุดคือพรรคเซดาและกลุ่มคาทอลิกมีความเห็นคัดค้านกับประเด็นดังกล่าว ในปี ค.ศ. 1936 พรรคฝ่ายซ้ายทั้งหมดรวมกลุ่มกันเป็นพรรคแนวหน้าประชาชน (Popular Front; Frente Popular) และได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งจากคะแนนเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนโดยเฉพาะในเขตเมืองและย่านอุตสาหกรรม

รัฐบาลผสมซึ่งเป็นฝ่ายกลาง-ซ้ายชุดนี้ก็ยังถูกบ่อนทำลายจากกลุ่มที่ต้องการการปฏิวัติ เช่น สมาพันธ์แรงงานแห่งชาติ (CNT) และสหพันธ์อนาธิปไตยไอบีเรีย (FAI) และจากกลุ่มขวาจัดที่ต่อต้านประชาธิปไตย เช่น พวกฟาลังเคและพวกการ์ลิสต์

ความรุนแรงทางการเมืองอย่างที่เคยเกิดในปีที่ผ่านมาเริ่มกลับมาอีกครั้ง ทั้งในเมืองหลวงและท้องที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศมีการต่อสู้กันด้วยอาวุธปืนในการประท้วงหยุดงาน ชาวนาที่ไม่มีที่ทำกินเริ่มเข้ายึดที่ดินจากนายทุนเจ้าของที่

บุคคลทางศาสนาถูกสังหาร โบสถ์และคอนแวนต์ถูกเผาทำลายไปหลายแห่ง กองทหารอาสาสมัครฝ่ายขวา (เช่น ฟาลังเค) และมือปืนที่ถูกว่าจ้างมาได้ลอบสังหารนักปฏิบัติการหัวรุนแรงฝ่ายซ้าย รัฐบาลไม่สามารถจัดการกับเหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รวมทั้งไม่ได้สร้างความสมานฉันท์หรือความเชื่อใจกันระหว่างกลุ่มการเมืองทั้งหลายอันเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการเกิดสันติภาพ พวกฝ่ายขวาและบุคคลระดับสูงในกองทัพเริ่มวางแผนก่อการยึดอำนาจ

และเมื่อโคเซ กัลโบ-โซเตโล ผู้นำนักการเมืองฝ่ายขวาถูกตำรวจของสาธารณรัฐยิงเสียชีวิต ฝ่ายผู้ก่อการ (เรียกว่า "ฝ่ายชาตินิยม") จึงถือเอาเหตุการณ์นี้เป็นข้ออ้างในการปฏิวัติเพื่อล้มรัฐบาล เป็นผลให้ความขัดแย้งภายในชาติกลายสภาพเป็นสงครามกลางเมืองในที่สุด


เครื่องบินฝ่ายชาตินิยมทิ้งระเบิดใส่กรุงมาดริดในปลายเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1936ในวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1936 พลเอกฟรันซิสโก ฟรังโกนำกองทัพอาณานิคมในโมร็อกโกจากเมืองเมลียาและบุกเข้าโจมตีแผ่นดินใหญ่จากภาคใต้

ในขณะที่กำลังอีกด้านหนึ่งภายใต้การนำของพลเอกซังคูร์โคก็เคลื่อนพลจากแคว้นนาวาร์ทางภาคเหนือลงมาทางใต้ มีการระดมพลขึ้นทุกแห่งโดยมีจุดประสงค์เพื่อเข้ายึดหน่วยงานต่าง ๆ ของฝ่ายรัฐบาล (หรือ "ฝ่ายสาธารณรัฐนิยม")

ในตอนแรกการบุกเข้าโจมตีของฟรังโกนั้นมีเป้าหมายว่าจะยึดอำนาจให้ได้ในทันที แต่การต้านกำลังฝ่ายตรงข้ามของฝ่ายสาธารณรัฐนิยมในเมืองใหญ่เช่น มาดริด บาร์เซโลนา บาเลนเซีย และบิลบาโอ ก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี

จึงส่อเค้าให้เห็นว่าสเปนจะต้องผจญกับสงครามกลางเมืองอันยืดเยื้อต่อไป ในไม่ช้า พื้นที่ส่วนใหญ่ทางภาคตะวันตกและภาคใต้ของประเทศก็ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของฝ่ายชาตินิยมซึ่งมีกองทหารประจำการในแอฟริกาเป็นกำลังรบที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในช่วงนั้น

ทั้งสองฝ่ายยังได้รับความช่วยเหลือทางการทหารจากต่างชาติอีกด้วย กล่าวคือ ฝ่ายชาตินิยมได้รับความช่วยเหลือจากเยอรมนีนาซี อิตาลีฟาสซิสต์ และโปรตุเกส ส่วนฝ่ายรัฐบาล (สาธารณรัฐนิยม)

ได้รับความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียตและกองกำลังอาสาคอมมิวนิสต์ซึ่งรวมตัวกันในชื่อว่า กองพลน้อยนานาชาติ (International Brigades)


ฟรังโกประกาศการยุติสงครามที่เมืองบูร์โกสเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1939การล้อมป้อมอัลกาซาร์ที่เมืองโตเลโดในช่วงต้นถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญจุดหนึ่งของสงคราม ฝ่ายชาตินิยมได้รับชัยชนะหลังจากล้อมอยู่เป็นเวลานาน

ส่วนฝ่ายสาธารณรัฐนิยมยังสามารถยึดกรุงมาดริดเป็นฐานที่มั่นไว้ได้แม้ฝ่ายชาตินิยมจะเข้าโจมตีในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1936

นอกจากนี้ยังสามารถยืนหยัดต้านการรุกเข้าเมืองหลวงไว้ได้ที่ริมแม่น้ำคารามา และเมืองกวาดาลาคารา เมื่อปี ค.ศ. 1937 แต่หลังจากนั้นฝ่ายชาตินิยมเริ่มขยายดินแดนในความควบคุมของตนได้และรุกเข้าไปทางภาคตะวันออกเพื่อตัดขาดกรุงมาดริดออกจากเมืองอื่น ๆ

ส่วนภาคเหนือรวมทั้งแคว้นบาสก์ถูกยึดครองได้ในปลายปี ค.ศ. 1937 และแนวรบทางแคว้นอารากอนก็ถูกตีแตกหลังจากนั้นไม่นานนัก เป็นไปได้ว่าการทิ้งระเบิดที่เมืองเกร์นีกา (Bombing of Guernica) ในแคว้นบาสก์โดยกองทัพอากาศของเยอรมนี (ลุฟท์วัฟเฟอ) จะเป็นเหตุการณ์ที่อื้อฉาวที่สุดของสงคราม

และเป็นแรงบันดาลใจให้กับภาพเขียนของปีกัสโซ ยุทธการที่แม่น้ำเอโบรระหว่างเดือนกรกฎาคม-พฤศจิกายน ค.ศ. 1938 เป็นความพยายามครั้งสุดท้ายของฝ่ายสาธารณรัฐนิยมที่จะพลิกโฉมหน้าของสงคราม

เมื่อประสบความพ่ายแพ้ในการรบครั้งนี้และเมืองบาร์เซโลนาซึ่งเป็นที่มั่นสำคัญของตนยังถูกฝ่ายชาตินิยมยึดได้อีกเมื่อต้นปี ค.ศ. 1939

ก็เป็นที่ชัดเจนว่าสงครามใกล้จะสิ้นสุดแล้ว แนวรบที่เหลือของฝ่ายสาธารณรัฐนิยมทยอยแตกลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งทางกรุงมาดริดประกาศยอมแพ้เมื่อวันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 1939

สงครามซึ่งคร่าชีวิตผู้คนเป็นจำนวนระหว่าง 500,000-1,000,000 คน ครั้งนี้สิ้นสุดลงด้วยการล้มล้างสาธารณรัฐสเปนและการขึ้นสู่อำนาจของฟรังโกในฐานะผู้เผด็จการของชาติ

เมื่อสงครามสิ้นสุด ฟรังโกได้ควบรวมพรรคการเมืองฝ่ายขวาทั้งหมดเข้าเป็นพรรคเดียวคือพรรคฟาลังเค รวมทั้งจัดโครงสร้างภายในพรรคใหม่ ให้ยุบเลิกพรรคการเมืองฝ่ายซ้าย (หรือฝ่ายสาธารณรัฐนิยม)

และสหภาพการค้าทั้งหมดลง นอกจากนี้ ฝ่ายสาธารณรัฐนิยมถูกสั่งจำคุกเป็นแสนคน และอย่างน้อยประมาณ 30,000-35,000 คน ถูกประหารชีวิตในช่วงปี ค.ศ. 1939-1953

ที่เหลือถูกบังคับให้ทำงานสาธารณประโยชน์ หรือไม่ก็ถูกเนรเทศไปอยู่ต่างประเทศตลอดสมัยของฟรังโก

สมัยเผด็จการของนายพลฟรังโก (ค.ศ. 1936-1975)

นายพลฟรันซิสโก ฟรังโกแม้สเปนจะวางตัวเป็นกลางทั้งในสงครามโลกครั้งที่ 1 และสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ก็ต้องเผชิญกับสงครามกลางเมือง (ค.ศ. 1936-1939) ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างหนักให้กับประเทศดังกล่าวไปแล้ว หลังจากประกาศยุติการสู้รบอย่างเป็นทางการ

นายพลฟรันซิสโก ฟรังโกได้ประกาศเปลี่ยนชื่อสาธารณรัฐสเปนเป็น "รัฐสเปน" (Spanish State; Estado Español) ซึ่งเป็นความต้องการที่จะแยกความแตกต่างของระบอบการปกครองใหม่ออกจากทั้งระบอบราชาธิปไตยและระบอบสาธารณรัฐที่มีมาแต่เดิม

นายพลฟรังโกกุมอำนาจปกครองประเทศในระบอบเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จนิยมซึ่งเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพประชาชนในทุก ๆ ด้าน สเปนจึงถูกโดดเดี่ยวทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกเป็นส่วนใหญ่

แต่สำหรับด้านเศรษฐกิจนั้นก็เริ่มจะตามทันประเทศเพื่อนบ้านของตนในยุโรปอยู่บ้าง ต่อมาในปี ค.ศ. 1947 รัฐสเปนได้รับการประกาศให้เป็นประเทศราชาธิปไตย แต่ก็ยังไม่มีการระบุให้ผู้ใดขึ้นครองราชย์ ซึ่งนายพลฟรังโกได้สงวนสิทธิ์ในการเลือกประมุขไว้เอง

ในสมัยนี้ สเปนยังพยายามเรียกร้องเอาดินแดนยิบรอลตาร์คืนจากสหราชอาณาจักรอย่างแข็งขัน และได้รับเสียงสนับสนุนเพิ่มขึ้นในองค์การสหประชาชาติซึ่งสเปนเพิ่งเข้าเป็นสมาชิกเมื่อปี ค.ศ. 1955 หลังจากถูกนานาชาติกีดกันในช่วงแรก ๆ

ต่อมาในคริสต์ทศวรรษ 1960 สเปนได้ใช้มาตรการจำกัดเขตแดนกับยิบรอลตาร์ ซึ่งในที่สุดก็ลงเอยด้วยการปิดพรมแดนในปี ค.ศ. 1969 และไม่มีการเปิดใช้อย่างสมบูรณ์จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1985

ส่วนในแอฟริกา การปกครองของสเปนในโมร็อกโกสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1956 แม้จะได้รับชัยชนะทางการทหารในสงครามการรุกรานแอฟริกาตะวันตกของสเปนจากโมร็อกโก (ค.ศ. 1957-1958)

แต่สเปนก็ค่อย ๆ ถอนตัวออกไปจากอาณานิคมในแอฟริกาที่ยังเหลืออยู่เนื่องจากถูกสหประชาชาติกดดัน สแปนิชกินีได้รับเอกราชเป็นประเทศอิเควทอเรียลกินีในปี ค.ศ. 1968 และจังหวัดอิฟนีกลายเป็นส่วนหนึ่งของโมร็อกโกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1969


ธงชาติสเปนสมัยนายพลฟรังโกช่วงหลัง ๆ ของสมัยการปกครองของนายพลฟรังโก มีการเปิดเสรีและการพัฒนาทางเศรษฐกิจและการเมืองในสเปนมากขึ้น

ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศด้วย ต่อมาสเปนก็ได้กลายเป็นประเทศอุตสาหกรรม

เดือนตุลาคม ค.ศ. 1969 นายพลฟรังโกออกประกาศว่าตนเองได้เลือกเจ้าชายควน การ์โลสแห่งราชวงศ์บูร์บง (สายสเปน) ให้สืบทอดตำแหน่งประมุขแห่งรัฐต่อจากเขา ในปี ค.ศ. 1975 สแปนิชสะฮาราซึ่งเป็นอาณานิคมแห่งสุดท้ายของสเปนก็หลุดมือไปอยู่กับโมร็อกโก (แต่ยังมีปัญหาการเรียกร้องเอกราชในดินแดนดังกล่าวอยู่จนถึงทุกวันนี้)

ไม่นานนักนายพลฟรังโกก็ถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 20 พฤศจิกายน และอีกสองวันถัดมา (22 พฤศจิกายน) เจ้าชายควน การ์โลสก็เสด็จขึ้นครองราชย์และเฉลิมพระนามว่า

"สมเด็จพระราชาธิบดีควน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปน" ดังนั้น ชื่อประเทศอย่างเป็นทางการจึงถูกเปลี่ยนจากรัฐสเปนเป็น "ราชอาณาจักรสเปน" (Kingdom of Spain; Reino de España) นับแต่นั้น

ตั้งแต่ ค.ศ. 1975 "การเปลี่ยนผ่านสู่ระบอบประชาธิปไตย" หรือ "การฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บงครั้งใหม่" เป็นยุคที่ประเทศสเปนกำลังปรับเปลี่ยนจากความเป็นรัฐเผด็จการไปสู่ความเป็นรัฐเสรีประชาธิปไตย

โดยทั่วไปถือว่าการเปลี่ยนผ่านนี้เกิดขึ้นหลังจากนายพลฟรังโกถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1975

ส่วนการสิ้นสุดกระบวนการอย่างสมบูรณ์ก็ถือเอาชัยชนะในการเลือกตั้งของพรรคแรงงานสังคมนิยมสเปน (PSOE) เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 1982 เป็นสัญญาณบ่งบอก

ระหว่างปี ค.ศ. 1978-1982 สเปนมีสหภาพศูนย์กลางประชาธิปไตย (ซึ่งในช่วงแรกเป็นรัฐบาลผสมและต่อมาเป็นพรรคการเมือง) เป็นฝ่ายบริหารของประเทศ มีนายอาดอลโฟ ซัวเรซเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกที่มาจากการเลือกตั้งหลังจากสิ้นสุดสมัยเผด็จการ

ในปี ค.ศ. 1981 เกิดความพยายามก่อรัฐประหารขึ้นเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ โดยพันโทอันโตเนียว เตเคโรร่วมกับสมาชิกจำนวนหนึ่งในกองตำรวจภูธร (Guardia Civil) บุกยึดสภาผู้แทนราษฎรและประกาศระงับสมัยประชุมที่นายเลโอปอลโด กัลโบ โซเตโลกำลังจะได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี

แต่การทำรัฐประหารก็ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากสมเด็จพระราชาธิบดีควน การ์โลสที่ 1 ทรงออกแถลงการณ์ยับยั้งไว้ ในปีต่อมา (ค.ศ. 1982) สเปนเข้าเป็นสมาชิกองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ก่อนที่นายกัลโบ-โซเตโลจะพ้นจากตำแหน่ง

นอกจากเหนือจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองแล้ว ยังเกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในสังคมสเปนด้วย ในอดีต (ภายใต้การปกครองของนายพลฟรังโก) สังคมสเปนมีความเป็นอนุรักษนิยมอย่างสุดโต่ง

แต่เมื่อมีการเปลี่ยนผ่านสู่ระบอบประชาธิปไตยแล้ว ชาวสเปนมีโอกาสติดต่อกับโลกภายนอกและรับวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามามากขึ้น สมาชิกในสังคมจึงเริ่มเปิดเสรีทางค่านิยมและจารีตประเพณีมากขึ้นเป็นลำดับ

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมดังกล่าวก็ก่อให้เกิดปัญหาต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันด้วย เช่น ปัญหาโสเภณี การทำแท้ง อัตราการหย่าร้างที่สูงขึ้น เป็นต้น

สเปนในปัจจุบัน
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1982-1996 พรรคแรงงานสังคมนิยมสเปนได้รับการเลือกตั้งเข้ามาบริหารประเทศโดยมีนายเฟลีเป กอนซาเลซเป็นนายกรัฐมนตรี ในปี ค.ศ. 1986 สเปนได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (ปัจจุบันคือสหภาพยุโรป)

รวมทั้งได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนที่เมืองบาร์เซโลนา และจัดงานแสดงสินค้าโลก (เอกซ์โป) ที่เมืองเซบียาในปี ค.ศ. 1992

เมื่อปี ค.ศ. 1996 พรรคประชาชน (Partido Popular) ซึ่งเป็นพรรคกลาง-ขวาก้าวขึ้นมามีอำนาจในรัฐบาล มีนายโคเซ มารีอา อัซนาร์เป็นผู้นำ

และในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1999 สเปนยกเลิกหน่วยเงินเปเซตาและหันไปใช้หน่วยเงินยูโรร่วมกับประเทศอื่น ๆ ในสหภาพยุโรปแทน


ซาปาเตโร นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของสเปนเมื่อปี ค.ศ. 2004 ได้เกิดเหตุลอบวางระเบิดรถไฟ 4 ขบวนที่กรุงมาดริดในช่วงเวลาเร่งด่วนของเช้าวันที่ 11 มีนาคม ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 191 คน และบาดเจ็บอีก 1,755 คน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกล่าวหาขบวนการแบ่งแยกดินแดนแคว้นบาสก์ (เอตา) โดยทันทีว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังของเหตุการณ์

แต่หลังจากนั้นไม่นานก็ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าการก่อวินาศกรรมครั้งนี้เป็นฝีมือของกลุ่มชาวมุสลิมหัวรุนแรงที่ได้รับ "แรงบันดาลใจ" ในการก่อเหตุจากขบวนการอัลกออิดะห์

เนื่องจากไม่พอใจที่รัฐบาลให้การสนับสนุนสหรัฐอเมริกาในการทำสงครามโจมตีอิรัก ซึ่งชาวสเปนส่วนใหญ่ก็ไม่เห็นด้วยกับนโยบายนี้อยู่แล้ว

ความผิดพลาดต่าง ๆ ของรัฐบาลพรรคประชาชนมีอิทธิพลโดยตรงต่อผลการเลือกตั้งทั่วไปซึ่งจะมีขึ้นในอีก 3 วันถัดมา แม้ว่าการหยั่งเสียงในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้งจะแสดงให้เห็นว่าความนิยมในพรรคใหญ่ 2 พรรคนี้ใกล้เคียงกันมากเกินกว่าจะทำนายผลได้อย่างแม่นยำก็ตาม

กล่าวคือ ในการเลือกตั้งทั่วไปซึ่งมีขึ้นเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พรรคแรงงานสังคมนิยมสเปนก็ได้รับชัยชนะไป นายโคเซ ลุยส์ โรดรีเกซ ซาปาเตโร หัวหน้าพรรคจึงเข้ามาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อจากนายอัซนาร์

และหลังจากครบวาระการดำรงตำแหน่งเมื่อปี ค.ศ. 2008 นายซาปาเตโรก็ได้รับคะแนนเสียงส่วนใหญ่ให้เข้ามาทำหน้าที่บริหารประเทศอีกเป็นสมัยที่ 2 จากการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 9 มีนาคม เอาชนะนายมาเรียโน ราโคยซึ่งเป็นผู้นำพรรคประชาชนและผู้นำฝ่ายค้านคนใหม่ได้สำเร็จ

ทุกวันนี้สเปนเป็นประเทศหนึ่งที่มีการปกครองในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และประกอบด้วยแคว้นปกครองตนเอง 17 แห่ง (ได้แก่ อันดาลูเซีย อารากอน อัสตูเรียส หมู่เกาะแบลีแอริก หมู่เกาะคะเนรี กันตาเบรีย คาสตีลและเลออน คาสตีล-ลามันชา คาเทโลเนีย เอกซ์เตรมาดูรา กาลิเซีย ลารีโอคา มาดริด มูร์เซีย บาสก์ บาเลนเซีย และนาวาร์)

กับนครปกครองตนเองซึ่งตั้งอยู่ในทวีปแอฟริกาอีก 2 แห่ง (ได้แก่ เซวตาและเมลียา)


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


ภุมวารสิริสวัสดิ์ - มัยมนัสวัฒนสิริ ที่มาอ่านค่ะ


Create Date : 26 ตุลาคม 2552
Last Update : 27 ตุลาคม 2552 17:54:14 น. 0 comments
Counter : 1670 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.