"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728 
 
27 กุมภาพันธ์ 2554
 
All Blogs
 
ธงชาติญี่ปุ่น






ธงฮิโนะมะรุ ใช้เป็นธงชาติและธงราชการ
อัตราส่วน: 2:3 ตามแบบที่กำหนดไว้
ในพระบรมราชโองการเลขที่ 127
ว่าด้วยเพลงชาติและธงชาติ
ลงวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2542





ธงพระจักรพรรดิญี่ปุ่น





ธงจักรพรรดินาวีญี่ปุ่น
(กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลในปัจจุบัน)
เป็นธงญี่ปุ่นที่รู้จักกันดีมากในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
สัดส่วน 2:3





ธงประจำกองทัพบกในสมเด็จพระจักรพรรดิ
(กองกำลังป้องกันตนเองทางภาคพื้นดินของญี่ปุ่นในปัจจุบัน)
สัดส่วน 8:9





ธงชาติญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 日本の国旗 Nipponnokokki ?) หรือรู้จักในชื่อ นิชโชกิ (ญี่ปุ่น: 日章旗 Nisshōki ธงพระอาทิตย์ ?) หรือชื่อ ฮิโนะมะรุ (ญี่ปุ่น: 日の丸 Hinomaru วงกลมดวงอาทิตย์ ?) เป็นธงประจำชาติของประเทศญี่ปุ่น

มีลักษณะเป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีขาว กึ่งกลางธงเป็นรูปวงกลมสีแดง หมายถึง พระอาทิตย์


ประวัติธงฮิโนะมะรุ

มีตำนานเล่าว่าธงฮิโนะมะรุ ถือกำเนิดขึ้นในระยะที่มองโกลรุกรานญี่ปุ่นช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 โดยพระภิกษุในพระพุทธศาสนารูปหนึ่ง ชื่อนิชิเร็น ได้คิดแบบธงพระอาทิตย์นึ้ขึ้นถวายสมเด็จพระจักรพรรดิญี่ปุ่น

ซึ่งเป็นที่นับถือจากชาวญี่ปุ่นว่า ทรงสืบเชื้อสายมาจากสุริยเทวีอามาเทราสุ

ในความจริงแล้ว เป็นที่รู้กันว่าสัญลักษณ์รูปพระอาทิตย์ มีอยู่ในพัดญี่ปุ่นของพวกซามูไรช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 และใช้กันทั่วไปในธงรบของซามูไร ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 - 21 ซึ่งเป็นยุครณรัฐ (ยุคเซงโงะกุุ)

เมื่อประเทศญี่ปุ่นเปิดประเทศค้าขาย กับชาติตะวันตกในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2397 ธงฮิโนะมะรุ จึงเริ่มมีฐานะเป็นธงราชการที่ใช้ชักบนเรือญี่ปุ่นทั้งหมด

ต่อมาใน พ.ศ. 2411 ตรงกับรัชสมัยเมจิ ธงฮิโนะมะรุก็ได้รับการพิจารณาให้ใช้เป็นธงชาติในเชิงปฏิบัติ (de facto national flag) และมีการรับรองให้ใช้เป็นธงสำหรับเรือค้าขายของเอกชน (civil ensign) ตามพระบรมราชโองการเลขที่ 57 ลงวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2413

อย่างไรก็ตาม ธงนี้ก็ยังมิได้มีการรับรอง เป็นธงชาติอย่างเป็นทางการ ตราบจนวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2542 จึงได้มีพระบรมราชโองการเลขที่ 127 รับรองให้ใช้ธงฮิโนะมะรุเป็นธงชาติตามกฎหมาย

และกำหนดสัดส่วนธงไว้ว่า เป็นธงรูปสีเหลี่ยมผืนผ้า พื้นสีขาว กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ตรงกลางเป็นรูปวงกลมสีแดง มีเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 3 ใน 5 ส่วน ตามความกว้างของธง


ธงพระอิสริยยศ

ธงพระจักรพรรดิญี่ปุ่นสร้างขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2412 เพื่อถวายพระเกียรติแด่สมเด็จพระจักรพรรดิ พระจักรพรรดินี และสมาชิกอื่นๆ ในพระราชวงศ์ตามธรรมเนียมสากล

ธงพระจักรพรรดิญี่ปุ่นแบบปัจจุบัน มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีแดง กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน กลางเป็นตราพระราชลัญจกรดอกเบญจมาศสีทอง 16 กลีบ

ธงสำหรับพระจักรพรรดินีนั้น มีลักษณะคล้ายธงพระจักรพรรดิ หากแต่ที่ด้านปลายธงนั้นตัดชายเป็นรูปหางนกแซงแซว

ส่วนธงสำหรับมกุฎราชกุมารและพระวรชายา ใช้ธงแบบเดียวกับธงพระจักรพรรดิและธงพระจักรพรรดินีตามลำดับ

แต่ขนาดของดอกเบญจมาศ จะเล็กกว่าและจะมีกรอบสีขาวล้อมรอบรูปดอกเบญจมาศด้วย


ธงทหารที่สำคัญ

ธงทหารที่สำคัญของญี่ปุ่น และเป็นธงญี่ปุ่นที่รู้จักกันดีทั่วโลกในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้แก่ ธงจักรพรรดินาวีญี่ปุ่น ลักษณะคล้ายธงชาติ แต่ดวงกลมพระอาทิตย์นั้นค่อนมาทางต้นธง และเปล่งรัศมีสีแดง 16 แฉก ปลายรัศมีนั้นจดปลายธงทุกด้าน

ธงนี้ออกใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2432 และใช้มาจนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ภายหลังได้นำกลับมาใช้อีกครั้งในฐานะธงของกองกำลังป้องกันตนเองทางน้ำ เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2497

สำหรับคนที่อยู่นอกประเทศญี่ปุ่นแล้ว ล้วนมีความรู้สึกกับธงนี้ในแง่ลบ จากความรุนแรงที่กองทัพญี่ปุ่นก่อขึ้น ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่เคยต่อสู้ หรือถูกทารุณกรรมโดยทหารญี่ปุ่น และประเทศที่เคยถูกญี่ปุ่นยึดครอง

ธงอีกอย่างหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายกันกับธงจักรพรรดินาวีญี่ปุ่น คือ ธงของกองกำลังป้องกันตนเองทางบก (Japan Ground Self-Defense Force) ธงนี้มีชื่อในภาษาญี่ปุ่นว่า "ธงฮะจิโจเคียวคุจิซึกิ" (Hachijō-Kyokujitsuki - 八条旭日旗) ลักษณะเป็นธงพื้นสีขาว มีรูปพระอาทิตย์เปล่งรัศมี 8 แฉกอยู่กลาง ขอบธงเป็นสีทอง


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สิริสวัสดิ์อาทิตยวาร สิริมานปรีดิ์ภิรมย์นะคะ



Create Date : 27 กุมภาพันธ์ 2554
Last Update : 27 กุมภาพันธ์ 2554 13:17:12 น. 0 comments
Counter : 28071 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.