"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
เมษายน 2554
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
22 เมษายน 2554
 
All Blogs
 
เมื่อชาวอีสานเข้าใจโลกกว้าง รู้จักชนชั้นสูง-คนชั้นล่าง






เวียงรัฐ เนติโพธิ์


: เมื่อชาวอีสานเข้าใจโลกกว้าง รู้จักชนชั้นสูง-คนชั้นล่าง และมีจุดยืนทางการเมือง

(ที่มา สนทนากับเวียงรัฐ เนติโพธิ์ : ชนบทที่เปลี่ยนไป ในงานศึกษาทางมานุษยวิทยา เว็บไซต์ประชาธรรม
//www.prachatham.com)


ผศ.เวียงรัฐ เนติโพธิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ได้สนทนากับ อ.จักรกริช สังขมณี ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา จุฬาฯ ในรายการ "รัฐศาสตร์สู่สังคม" ทางสถานีวิทยุจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย FM 101.5 MHz

เมื่อวันที่ 9 เมษายนที่ผ่านมา ถึงการเปลี่ยนแปลงแนวทางในการศึกษา ทำความเข้าใจโครงสร้างทางการเมือง และวัฒนธรรมทางการเมืองไทย โดยชี้ให้เห็นว่าการศึกษาทางมานุษยวิทยามีคุณูปการต่อการทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในปัจจุบันอย่างไร

ข้อเสนอครั้งนี้สะท้อนจากการประชุมวิชาการนานาชาติด้านเอเชียศึกษา ที่มลรัฐฮาวายอิ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งจัดโดย Association for Asian Studies (AAS) และ International Convention of Asia Scholars (ICAS)


ทีมงานของเว็บไซต์ข่าวประชาธรรมได้ถอดเทปการสนทนาดังกล่าวมานำเสนอ ดังต่อไปนี้

อ.จักรกริช : จากที่ได้ไปประชุม เอเชียศึกษา AAS ที่มหาวิทยาลัยฮาวายอิ บรรยากาศโดยทั่วไปเป็นอย่างไรบ้าง

อ.เวียงรัฐ : การประชุมเกี่ยวกับเอเชียศึกษาจะพูด ถึง Area base (พื้นฐานทางด้านอาณาบริเวณ) มากกว่าสาขาวิชา ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมมีทั้งนักเศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ นักมานุษยวิทยา ฯลฯ มารวมกันเพื่อพูดถึงภูมิภาคเอเชีย ซึ่งในเอเชียก็จะแบ่งเป็นภูมิภาค

ซึ่งประเทศเราอยู่ใน เอเชียตะวันออกฉียงใต้ (เอเชียอาคเนย์ศึกษา) ก็จะมีนักวิชาการจากทั่วโลก เช่นจากยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น จีน ที่ศึกษาเรื่องเอเชีย รวมทั้งนักวิชาการจากเอเชีอาคเนย์ด้วย มีหลายรุ่น ทั้งหน้าเก่า หน้าใหม่ ทำให้มีการโต้แย้ง ถกเถียงในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับเอเชีย

อ.จักรกริช : คนที่อยู่นอกวงของไทยศึกษามักจะตั้งคำถามว่า คนต่างชาติที่มาศึกษาประวัติศาตร์ ระบบสังคมและวัฒนธรรมของไทย คนเหล่านี้จะรู้เท่าคนไทยได้อย่างไร

อ.เวียงรัฐ : คนต่างชาติเวลามองสังคมไทยไม่ได้มองเหมือนเป็นเรื่องประจำวัน ซึ่งเวลาเขาเห็นประเด็นบางอย่างเขาจะมีคำถามที่น่าสนใจ เช่น ทำไมคนถึงออกมาประท้วงรัฐบาล

ทำไมรัฐบาลถึงตัดสินใจใช้นโยบายนี้ ทำไมคนจนพูดแบบนี้ ทำไมคนรวยพูดแบบนี้ เป็นต้น ซึ่งคำถามเหล่านี้เรารู้สึกคุ้นเคยและมองว่า คนรวยมันก็พูดอย่างนี้อยู่ตลอด

ประเด็นต่อมา คือ คนที่ศึกษารัฐศาสตร์มาก็จะถูกสอนให้มองอะไรที่เป็นสถาบัน เป็นโครงสร้าง เมื่อเรามองแบบนั้นเราต้องมีพื้นที่ตัวอย่างเพื่อที่จะอธิบายทฤษฎี หรือคนที่ศึกษามานุษยวิทยาก็จะเน้นทฤษฎีโดยใช้พื้นที่ (Area) เป็นตัวศึกษา

แต่ถ้าไม่มีพื้นที่ในการศึกษามันก็ไม่สามารถที่จะไปเกื้อกูลกันได้ แต่พื้นที่ที่เราศึกษามันไม่มีอะไรดีไปกว่าพื้นที่ใหม่ ๆ นักวิชาการต่างชาติบางคนสนใจพื้นที่แถวบ้านเรามากกว่าคนไทยด้วยซ้ำไป อย่างนักมานุษยวิทยาบางคน เข้าไปศึกษาหมู่บ้านซ้ำแล้ว ซ้ำอีก จนเข้าใจความเปลี่ยนแปลงตลอด 20-30 ปี ซึ่งหาคนไทยที่จะทำอะไรแบบนั้นได้ยากมาก

ซึ่งอาจจะมีคนโจมตี AAS ว่าถูกตั้งขึ้นด้วยมุมมองของฝรั่ง แต่ในทศวรรษที่ผ่านมาก็มีการดึงคนเอเชียมาอธิบายมากขึ้น เช่น คนอาหรับก็อธิบายเรื่องอาหรับ คนจีนอธิบายเรื่องจีนมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งแต่เดิมจะอธิบายโดยคนอเมริกัน


อ.จักรกริช : มันไม่มีพรมแดนที่ชัดเจนระหว่างการมองของคนนอกกับคนใน เพราะที่จริงแล้วฝรั่งที่มาศึกษาเรื่องของไทยก็พูดและอ่านภาษาไทยได้ ฉะนั้นควรข้ามพ้นตรรกะหยาบๆ ที่ว่า ฝรั่งที่มาศึกษาเรื่องเมืองไทยไม่มีทางที่จะเข้าใจคนไทย เพราะเป็นความคิดที่คับแคบมาก

อ.เวียงรัฐ : ใช่..อีกประเด็นหนึ่ง คือ Area study (อาณาบริเวณศึกษา) ใครที่ไม่รู้เรื่องจริงๆ แทบจะมีปมด้อยเลย ถ้าเข้ามานั่งในนี้ ซึ่งเขารู้ไปหมด กระทั่งชื่อนักการเมืองที่บางครั้งดิฉันยังนึกชื่อไม่ได้ ถ้าคนที่ศึกษาหมู่บ้าน ชนเผ่าอยู่ไหน ใช้ภาษาอะไร ก็จะรู้หมด รู้ไปจนถึงรากศัพท์ แต่ถ้ากลุ่มพวก political science (รัฐศาสตร์) ก็จะรู้จักโครงสร้างการเมืองมากกว่า Area (ซึ่งรู้จักบางพื้นที่เพื่อเป็นกรณีศึกษา)

อ.จักรกริช : ที่ประชุมมีวงเสวนาหรือประเด็นอะไรที่อ.เวียงรัฐคิดว่า น่าสนใจและวันนี้อยากมาคุยแลกเปลี่ยนกับเรา

อ.เวียงรัฐ : ภาพรวมของ Thai study (ไทยศึกษา) ที่ค่อนข้างแข็ง และมีประเด็นที่น่าสนใจในครั้งนี้ น่าจะอยู่ที่การพยายามอธิบายความเปลี่ยนแปลงในภาคชนบทของไทย พระเอกของงานนี้ก็มีตั้งแต่รุ่นใหญ่-รุ่นกลาง-รุ่นเล็ก

อย่าง แอนดรูว์ วอกเกอร์ (Andrew Walker) จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย เป็นนักมานุษยวิทยาที่อธิบายเรื่องการเปลี่ยนแปลงในชนบท และเวทีสำคัญที่อธิบายเรื่องนี้คือเวทีที่ชื่อว่า "การอธิบายอีสานภายใต้กระบวนการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง"

อ.จักรกริช : ทำไมนักวิชาการไทยหรือนักวิชาการต่างประเทศที่ศึกษาเรื่องไทยจึงมาสนใจเรื่องชนบทมากขึ้นกว่าหลายปีที่ผ่าน ทั้งที่จริงแล้ว การศึกษาชนบทในเรื่องของสังคมเกษตรกรรม สังคมชาวนา อาจะบูมเมื่อ 20-30 ปีที่แล้ว แต่เมื่อ 10 กว่าปีที่ผ่านมา (สมัยผมศึกษาอยู่ปริญญาตรี) ชนบทศึกษาไม่ได้รับความสนใจมากนัก

อ.เวียงรัฐ : คำถามนี้เป็นคำถามที่สำคัญที่สุด ก็เพราะว่า เขาไม่ได้ต้องการอธิบายชนบทเพื่อชนบท แต่เขาตั้งใจอธิบายการเมืองไทยซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ ปัญหาหลัก ที่ค่อนข้างจะเป็นวิกฤตของบ้านเราในรอบ 4-5 ปีที่ผ่านมา การเมืองไม่ได้เป็นเรื่องเฉพาะโครงสร้าง การเลือกตั้ง หรือการพูดถึงเฉพาะอำนาจเท่านั้น

แต่การเมืองมันเกี่ยวข้องกับหลายๆอย่าง ครั้งนี้ดิฉันจึงเห็นนักมานุษยวิทยา นักประวัติศาสตร์ นักเศรษฐศาสตร์มารวมหัวกัน เพื่อที่จะอธิบายการเมืองไทยในมุมมองของตัวเอง และประเด็นที่สำคัญที่สุดของการเมืองไทยปัจจุบันก็คือเรื่องชนบท

เรื่องคนในชนบท หรือคนในเมืองที่เกี่ยวโยงหรือ Identify อัตลักษณ์ตัวเองเกี่ยวกับชนบท ซึ่งอ.ท่านหนึ่งได้เปิดสไลด์การบรรยายของเขาด้วยรูปการ์ตูนที่ลงในหนังสือพิมพ์บ้านเรา เป็นรูปควายที่มาเดินประท้วงเต็มถนนในกรุงเทพ

แล้วก็บอกว่าการประท้วงของประชาชนบนท้องถนนในกรุงเทพก็คือควาย ควายสะท้อนถึงความโง่ ความจน ล้าหลัง และการบรรยายของอ. ชาร์ลส์ คายส์ (Charles Keyes) เพื่อที่จะตอบว่า พวกเขาไม่ใช่ควาย ทำไมถึงไม่ใช่ควาย ซึ่งประเด็นนี้มันจึงเป็นการอธิบายชนบทเพื่ออธิบายการเมืองไทย ไม่ใช่อธิบายเพื่อเข้าใจชนบท


ในเวทีที่พูดถึงคนอีสานอันหนึ่งที่ประทับใจมากคือ อ.ชาร์ลส์ คายส์ (Charles Keyes) (ซึ่งอายุเลยวัยเกษียณแล้วแต่ยังสอนอยู่) กลับไปที่หมู่บ้านแถบภาคอีสานที่ท่านเคยศึกษาอยู่ทุกปี สไลด์ที่ท่านฉายให้ดูจะมีภาพตั้งแต่ทศวรรษ 2510-ปัจจุบัน

ภาพในอดีตจะเห็นถนนลูกรัง เด็กผู้ชายไม่ใส่เสื้อ เด็กผู้หญิงใส่ผ้าถุง ผมรุงรัง พวกพ่อแม่ไปทำนา มีแต่เด็กวิ่งเล่น บ้านก็จะเป็นหลังคามุ่งจาก ทำด้วยไม้ไผ่บางๆ วัดที่เป็นศูนย์รวมของหมู่บ้านก็จะยกพื้นสูง เป็นเรือนไม้

ส่วนรูปปัจจุบันที่ท่านเพิ่งถ่ายเมื่อปีที่แล้ว ก็จะเป็นภาพของเด็กขี่จักรยานคันสวยมาก(ซึ่งดิฉันเห็นแล้วอยากได้) เป็นโครงการจากสมัยรัฐบาลทักษิณ ที่ให้นักเรียนยืมจักรยาน หรือให้จักรยานฟรีไปโรงเรียน ส่วนตัวเด็กใส่เสื้อ รองเท้า ถุงเท้า ใหม่สีสดใส อาจจะไม่ได้เป็นของแบรนด์เนมแต่เด็กมีเสื้อผ้าใหม่ ผมหวีเรียบ ตัดสั้น

แต่จำนวนเด็กในหมู่บ้านน้อยลง แต่มีคนแก่มากขึ้น ซึ่งในภาพก็จะเห็นความเปลี่ยนแปลงของประชากร ความเปลี่ยนแปลงของวัตถุ และเด็กทุกคนไปโรงเรียนหมด และแกก็ให้ดูสไลด์ว่าสมัยก่อนเด็กกี่เปอร์เซ็นต์ไปโรงเรียน

เมืองไทยถ้าเทียบกับโลกที่สามด้วยกันมีอัตราคนเรียนหนังสือเยอะพอสมควร เพราะตอนที่ท่านมาใหม่ๆ ผู้ใหญ่ (อายุ 20กว่าขึ้นไป) ในหมู่บ้านจบป.4 ทุกคน แต่ปัจจุบันประชากร 80 เปอร์เซ็นต์ ผ่าน ม.6 หรือเทียบเท่า เพราะฉะนั้นการศึกษามันก็เปลี่ยนไปเยอะมาก


บทสรุปของอ.คายส์ ก็น่าสนใจ ท่านใช้คำว่า "cosmopolitan villagers" "ชาวบ้านที่มีความเป็นพลเมืองโลก" (หรืออาจแปลตามอนุสรณ์ อุณโณว่า "ชาวบ้านที่มีโลกกว้างไกล" ซึ่งหมายถึงผู้คนที่ยังมีความผูกพันกับหมู่บ้านและสังคมวัฒนธรรมชนบท แต่ก็มีความเข้าใจในเศรษฐกิจโลกและประเทศที่เขาอาศัยและทำงานอยู่---ผู้ถอดเทปและเรียบเรียง)


คือท่านพบว่า คนอีสานมีพาสปอร์ตมากกว่าคนกรุงเทพถ้าเทียบเป็นสัดส่วน และคนอีสานก็เดินทางเยอะ ช่วงที่เขาไปซาอุดีอาระเบีย คนอีสานก็เดินทางไปขายแรงงาน ช่วงที่ไต้หวันบูมคนอีสานก็ไปขายแรงงานที่ไต้หวัน แต่คนอีสานจำนวนมากก็มาอยู่กรุงเทพ พวกคนขับแท็กซี่คุยกับคนที่จนที่สุดถึงรวยที่สุด

เคยคุยแลกเปลี่ยนกับคนจากภาคอื่นๆ เห็นคนกรุงเทพแต่งตัวยังไง เห็นวัยรุ่นแต่งตัวยังไง โทรศัพท์รุ่นล่าสุดก็ต้องเคยเห็น แต่ที่น่าสนใจ คือ คนเหล่านี้ยังมีอัตลักษณ์ของความเป็นคนหมู่บ้าน กล่าวคือ คนอีสานที่กรุงเทพกลับอีสานทุกปี

เขาจะไม่อ้างว่าเป็นคนอีสาน แต่จะมีสำนึกของความเป็นอีสาน พวกเขาคงไม่คิดจะกลับอีสานแต่พยายามสอนลูกหลานว่าเป็นคนอีสาน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือพวกเขาเปลี่ยนเป็นคนอีกชนชั้นหนึ่ง หากมองจากเงินในกระเป๋า

แต่อัตลักษณ์ของพวกเขาไม่เปลี่ยน การไปวัด หรือการทำบุญ เขาก็ทำแบบคนอีสาน หรือคนที่อีสานที่เป็นเมียฝรั่ง ซึ่งก็ต้องแต่งตัวแบบเมียฝรั่ง กินอาหารแบบเมียฝรั่ง แต่เขาก็มีอัตลักษณ์เป็นคนอีสาน ยังกลับมาเยี่ยมบ้าน

ส่วนคนรุ่นใหม่ที่คุ้นเคยกับอินเตอร์เน็ตเมื่อกลับมาในหมู่บ้าน ไม่มีอินเตอร์เน็ตก็ติดอินเตอร์เน็ต ฉะนั้นภาพหมู่บ้านชนบทในอีสานจึงเป็นภาพแบบฉบับที่เราเห็นว่าจน แต่ปรากฎว่าเขามีความรู้สูง มีการเดินทางมาก

มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล เข้าใจไลฟ์สไตล์ของชนชั้นสูง เข้าใจคนชั้นล่าง และเข้าใจอัตลักษณ์ของตัวเอง เพราะฉะนั้นเมื่อเขามีจุดยืนทางการเมือง เขาจะรู้ว่าเขาต้องการอะไร ใครเสียเปรียบ ใครได้เปรียบ


อ.คายส์ก็เลยอธิบายว่า การเข้าร่วมของคนเสื้อแดงที่มาจากภาคอีสานจำนวนมาก รับเอาวัฒนธรรมซึ่งคนกรุงเทพ เห็นแล้วรับไม่ได้ เช่น ร้องเพลงเต้นกันบนกลางถนน ซึ่งเป็นวัฒนธรรมแบบงานวัด

แต่วิธีคิดและการอธิบายว่าประชาธิปไตยคืออะไรของพวกเขา ค่อนข้างที่จะ Liberal (เป็นเสรีนิยม) ซึ่งฝรั่งฟังแล้วเข้าใจ ในขณะที่คนกรุงเทพอาจรู้สึกว่า เป็นคนบ้านนอกมาพูดอะไรในภาษาแบบนี้


อ.จักรกริช : ฟังที่อ.เวียงรัฐเล่างานของอ.คายส์แล้วทำให้เราเข้าใจอย่างหนึ่งว่า คนชั้นกลางส่วนใหญ่มักจะคิดว่า คนบ้านนอกเป็นคนที่อยู่ติดที่ ติดทาง อยู่กับไร่กับนาอยู่เสมอ และรอความช่วยเหลือจากผู้อื่น แต่ภาพที่เราเห็นไม่ได้เป็นแบบนั้นเลย

เขามีความทะเยอยาน ออกเดินทางเพื่อแสวงหาโอกาสทางเศรษฐกิจ มีความเป็นพลเมืองโลกที่รับเอาวัฒนธรรมต่างๆ เข้ามามากมาย มีรายได้ที่ไม่แตกต่างจากคนเมืองด้วยซ้ำไป เพราะฉะนั้นเวลาเราพูดถึงคนบ้านนอก คนอีสาน คนต่างจังหวัด

บางทีเราหาเกณฑ์มาตัดสินได้ยากมากว่าพวกเขาเป็นคนล้าหลังกว่าคนในเมืองรึเปล่า ถูกซื้อสิทธิ์ ซื้อเสียงหรือเปล่า การที่คิดแบบนี้ผมเห็นว่าตื้นเขินไปหน่อย


อ.เวียงรัฐ : ก็คือถ้าไม่ได้อาศัยนักวิชาการพวกนี้ที่ทำงานหนัก ลงพื้นที่ ก็คงจะไม่เข้าใจว่าคนอีสานเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ซึ่งในเวทีนี้ก็มีสิ่งที่น่าสนใจ คือ มีคนรุ่นใหม่ 2 คน คนแรก เอลี่ เอลินอฟ (Eli A. Elinoff) จาก University of California

อีกคนหนึ่งก็คือ คลาวดิโอ (Claudio Sopranzetti) เป็นนักศึกษาป.เอกที่ม.ฮาวเวิร์ด และก็มาทำเรื่องมอเตอร์ไซค์รับจ้างในกรุงเทพ สองคนนี้อธิบายอะไรคล้ายๆ กัน ก็คือว่า อย่างเอลี่ อธิบายว่า การที่คนชนบทอีสานต้องต่อสู้กับอำนาจของรัฐ เพื่อให้มาซึ่งการดำรงชีวิต หรือนโยบายต่างๆ

ทำให้พวกเขาไวต่อการเปลี่ยนแปลงของนโยบายรัฐ เขาต้องการที่จะเปลี่ยนบ้านตัวเองให้มีฐานะดีขึ้น ต้องการให้ลูกเข้าโรงเรียนที่ดี ต้องการให้แม่ได้รับการรักษาพยาบาลที่ดี พวกเขาจึงไวต่อการเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค

หรือนโยบายเรียนฟรี 6 ปี ในขณะที่ชนชั้นกลางอาจจะไม่สนใจสิ่งเหล่านี้เพราะมีความมั่นคงทางชีวิตพอสมควร แต่จะสนใจว่าโรงพยาบาลไหนรักษาดี โรงเรียนไหนสอนดี


ขณะที่ คลาวดิโอ (Claudio Sopranzetti) ก็พูดถึงมอเตอร์ไซต์รับจ้างในกรุงเทพ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนอีสาน และก็มีวัฒนธรรมการรวมกลุ่ม การทำบุญ การพูดตลกโปกฮา ฟังเพลงกันแบบคนอีสาน และยังคงมีอัตลักษณ์แบบชาวบ้าน และกลับบ้านในทุกโอกาสที่เป็นไปได้ แต่ก็อยู่บ้านนานไม่ได้เพราะติดใจอยู่กับชีวิตเมือง

คลาวดิโอ เล่าให้ฟังว่าเขาตามไปดูมอเตอร์ไซต์รับจ้างคนหนึ่ง ที่รับจ้างส่งโทรศัพท์มือถือไอโฟน เครื่องละสองหมื่นกว่าบาท โดยเจ้าของร้านก็อธิบายให้เขาฟังว่าไอโฟนมันทำงานยังไง แล้วเขาก็นำไปส่งให้ออฟฟิศหรูๆ ส่งวัยรุ่นที่มีแฟชั่น ส่งนิสิตจุฬา ส่งที่ร้านขายปลีกก็มี เขาก็เข้าใจว่าไอโฟนคืออะไร เล่นอะไรได้บ้าง

ใครบ้างที่ใช้ไอโฟน ซึ่งตัวเขาเองไม่มีปัญญาที่จะใช้ไอโฟนราคาเท่านี้ ดังนั้นเขาจึงสัมผัสได้กับความไม่เท่าเทียมกันภายในสังคมได้อย่างชัดเจนที่สุด เพราะว่ามันอยู่ในมือเขา มันอยู่ในท้ายรถมอไซต์เขา มันอยู่หน้าปากซอยบ้านเขา


เขาอยู่หน้าปากซอยสุขุมวิท เขาก็รู้จักว่าบ้านคนรวยเป็นอย่างไร เวลาบ้านคนรวยน้ำไม่ไหล ไฟดับ มีหนู งู แมว ก็จะเรียกคนพวกนี้ไปจับ ฉะนั้นคนพวกนี้เป็นกลุ่มคนที่เข้าถึงพื้นที่ของคนรวย ขณะเดียวกันก็อยู่ในพื้นที่ของคนจน คนบ้านนอก จึงเห็นความแตกต่างได้มากกว่าคนที่มีตำแหน่งแห่งที่ที่ตายตัว


อ.จักรกริช : มุมมองที่เขาเห็นเหล่านี้เชื่อมโยงกับความคิดทางการเมืองอย่างไร


อ.เวียงรัฐ : ก็ไม่น่าแปลกใจอะไรที่คนเหล่านี้เข้าร่วมกับขบวนการเสื้อแดง เพราะคนเสื้อแดงต่อสู้เรื่องประชาธิปไตย วันแมน วันโหวต คนมีสิทธิเท่ากัน มันเหมือนกับว่ามันกินใจตรงที่ว่าเขาเห็นความแตกต่างทางฐานะของชนชั้น

เขาไม่ได้ออกไปต่อต้านรัฐบาลเพื่อเรียกร้องให้ปฏิรูปเศรฐกิจเพื่อให้เขามีฐานะดีขึ้น เพราะเขาก็เข้าใจว่าฐานะทางเศรษฐกิจมันไม่ได้เปลี่ยนแปลงได้อย่างเร็ววัน มันเป็นเรื่องยาก แต่การเมืองที่ให้วันแมน วันโหวต มันเป็นเรื่องที่เห็นได้ชัดๆ ทุกคนมีสิทธิมีเสียงเท่ากัน และเขาก็ไวต่อนโยบายรัฐบาลที่เอื้อให้กับคนในชนบท


อ.จักรกริช : เราสามารถสรุปคร่าวๆได้ไหมว่าคนที่มีโอกาสทางเศรษฐกิจหรือทางสังคม น้อยกว่าคนอื่น มักจะเป็นผู้กระตือรือร้นทางการเมือง

อ.เวียงรัฐ : อาจจะสรุปว่า ถ้าคนที่มีโอกาสเศรษฐกิจน้อยกว่าคนอื่นแต่ไม่ได้อยู่ใน "โลกของความเป็นพลเมืองโลก" หรือ cosmopolitan ไม่ได้อยู่ในการปฏิสัมพันธ์กับอำนาจรัฐก็อาจจะไม่ได้มีความตื่นตัวทางการเมือง เช่น ถ้าเขายังอยู่ในชุมชนที่มีวัดเป็นศูนย์กลางและการเลือกตั้งไม่ได้ส่งผลอะไรต่อพวกเขา

เขาก็ยินดีที่จะรับเงินดีกว่าไม่ได้อะไรเลย แต่ถ้าพรรค ก ข ค ให้เงินด้วยมีนโยบายด้วยเขาก็พร้อมที่จะรับทั้งสองอย่าง หรือถ้าจ่ายเงินให้เขาพันหนึ่ง แต่ถ้านโยบายเอื้อประโยชน์ให้เขาเป็นหมื่นอย่างนโยบายกองทุนหมู่บ้าน

เขาก็จะยินดีเลือกพรรคที่ถึงแม้จะจ่ายเงินน้อยกว่าแต่มีนโยบายกองทุนหมู่บ้าน ฉะนั้นมันจึงขึ้นอยู่กับว่าคนจนปฏิสัมพันธ์กับภายนอกมากน้อยแค่ไหน

งานวิจัยทั้งสามชิ้น ชี้ให้เห็นว่า เป็นคนจนแต่มีปฏิสัมพันธ์ภายนอก ผ่านทางอาชีพ ผ่านรูปแบบไลฟ์สไตล์ การทำงาน รวมถึงการปฏิสัมพันธ์กับอำนาจรัฐ เพื่อต่อรองผลประโยชน์ที่ตนเองจะได้มา

อ.จักรกริช : นอกจากงานด้านมานุษยวิทยาแล้ว อ.เวียงรัฐ คิดว่ายังมีงานด้านไหนที่น่าสนใจ

อ.เวียงรัฐ : งานที่อยากจะพูดถึงอีกงานหนึ่งคืองานของ แอนดรูว์ วอล์คเกอร์ (Andrew Walker) ซึ่งท่านเข้าไปศึกษาหมู่บ้านในภาคเหนือ ท่านบอกว่าท่านศึกษางานด้านวัฒนธรรมมาเยอะ คราวนี้การอธิบายเรื่องทางการเมือง

อยากจะให้เห็นตัวเลขทางเศรษฐกิจด้วย ท่านก็ไล่มาตั้งแต่ก่อนยุคทักษิณว่า รัฐบาลทุ่มเงินจำนวนมากพอสมควรที่จะช่วยเรื่องภาคเกษตรกรรม จนทำให้ยกระดับชนบท

และการที่ทักษิณมาทำ ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด เป็นเรื่องที่ต่อเนื่องมา แต่ว่ามีรูปแบบการลงทุนให้ภาคเกษตรกรรม หรือภาคชนบทให้มันโดนใจมากขึ้น เรียกว่า Rebranding ให้มันดูดีมากขึ้น

เช่น เอากองทุนหมู่บ้าน ไปโยนให้แทนที่จะตัดสินใจจากส่วนกลาง เอาเงินไปลงที่หมู่บ้าน ให้หมู่บ้านตัดสินใจเอง ประชาชนในหมู่บ้านก็จะรู้สึกว่า เขาเข้าถึงทรัพยากรอำนาจโดยตรง

หรือเรื่องการรักษาพยาบาลก็เป็นเรื่องที่อยู่ในความกังวลของคนในชนบท มันก็ทำให้เกิดภาพพจน์ว่า โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค เป็นโครงการที่มีประโยชน์


อ.เปิดตัวมาด้วยประโยคของ เจมส์ สก๊อต ที่บอกว่า ชาวนาก็เปรียบเสมือนว่ามีน้ำท่วมอยู่ที่จมูก คือปริ่มน้ำ ถ้าน้ำท่วมอีกนิดเดียวก็จมน้ำตาย หรือถ้ายืนไม่มั่นคง ล้มลง ถึงน้ำไม่ได้เพิ่มขึ้นก็ตายเหมือนกัน ซึ่งมันง่ายมากที่จะจมน้ำตาย

อ.แอนดรูว์ วอร์กเกอร์ (Andrew Walker) ชี้ให้เห็นตัวเลขทางเศรษฐกิจ รายรับ ระบบการศึกษา หรือว่าการบริโภคต่างๆ เพื่อชี้ให้เห็นว่า คนไทยไม่มีการปริ่มน้ำอีกแล้ว แต่เขาก็ยังคงอัตลักษณ์เป็นชาวนา เป็นชาวบ้านในหมู่บ้านเต็มไปหมดในภาคเหนือ ภาคอีสาน

ซึ่งแกตั้งชื่อเป็นหนังสือใหม่ ซึ่งจะออกเร็วๆนี้ว่า "Middle income peasants" (ชาวนาที่มีรายได้ปานกลาง) และนั้นก็คือเหตุผลที่จะอธิบายว่าทำไม เขาถึงไวต่อการเปลี่ยนแปลงทางนโยบาย เขาคิดว่านโยบายที่ผ่านมาของรัฐเป็นนโยบายที่สนับสนุนภาคเกษตรกรรม ทำให้ชีวิตเขาเปลี่ยนไป

ฉะนั้นการเปลี่ยนแปลงของนโยบายรัฐมันจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเขาโดยตรง ซึ่งคนในเมืองอาจจะไม่ได้สนใจ แต่ว่าคนชนบทมองว่าเป็นผลประโยชน์ของเขาโดยตรง (ซึ่งจะพูดว่าโง่ก็ไม่ได้) เพราะเขาได้เข้าไปอยู่ในระบบทุนนิยมอย่างเต็มตัว และก็ไม่ได้ปริ่มน้ำรอความช่วยเหลือ รอความเมตตาอีกแล้ว

ซึ่งถ้าหากมีนโยบายที่ดีเขาก็สามารถก้าวไปข้างหน้าได้ นโยบายที่ไม่ดีก็ทำให้เขาเกิดความยากลำบากในชีวิตมากขึ้น ดังนั้นเขาจึงเป็นพวกที่ Sensitive หรืออ่อนไหวกับนโยบาย

เรื่องการซื้อเสียงที่พูดกัน ก็อาจจะเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เราจะต้องพิสูจน์ให้เห็นว่า การซื้อเสียงมีหน้าที่อะไรในชนบท แต่อ.แอนดรูว์ กำลังจะบอกว่า มันไม่ใช่เรื่องแปลกที่ประชาชนจะพยายามศึกษาว่า

นักการเมืองเป็นอย่างไร เป็นใคร มีนโยบายอย่างไร และเลือกพรรคที่ตัวเองตัดสินใจ รวมถึงสู้จนบางคนยอมเสียชีวิต เสียเงินทอง เพื่อที่จะสู้นานๆ ให้พรรคการเมืองที่ตัวเองชื่นชอบได้เป็นรัฐบาล

ทำไมดิฉันถึงคิดว่าประเด็นเหล่านี้น่าสนใจ ซึ่งอ.หลายท่านได้ยกมาอธิบาย เพราะนอกจากจะอธิบายโดยตรงว่า ชนบทมันเปลี่ยนไป ประชาชนมีการศึกษา เข้าใจทางเลือกของตัวเองแล้ว มันยังไปท้าทายความเชื่อหรือวาทกรรมหลักที่มองเรื่องไทยว่า

ชนชั้นกลางเป็นตัวนำในความเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอ.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ที่มองว่า คนชนบทตั้งรัฐบาล คนชั้นกลางล้มรัฐบาลหรือเปลี่ยนรัฐบาลได้ หรืองานของ อ.ผาสุก พงษ์ไพจิตรในอดีต กับ อ.สังสิต พิริยะรังสรรค์

ที่พูดถึงชนชั้นกลางพัฒนาการประชาธิปไตย ซึ่งชี้ให้เห็นว่าชนชั้นกลางเป็นตัวการในการพัฒนาประชาธิปไตย ซึ่งงานที่นำเสนอข้างต้นเหล่านี้กลับมองว่า คนเหล่านี้ที่อยู่ในชนบท ที่ identify ว่าเป็นชนบทต่างหากที่ต้องการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยเพราะเป็นสิทธิของเขา เป็นเรื่องที่เป็นผลประโยชน์ของเขาโดยตรง

ฉะนั้น ดิฉันจึงคิดว่าการประชุม AAS ที่ ม.ฮาวายอิ เป็นการเปลี่ยนโฉมหน้าการอธิบายของการเมืองไทยในระดับนี้ ในเรื่องนี้ และทำให้เข้าใจการเมืองไทยในมุมใหม่ๆ เยอะขึ้น

อ.จักรกริช : ในงานครั้งนี้ มีนักรัฐศาสตร์เข้าไปร่วมด้วย ผมเห็นชื่อ อ.ประจักษ์ ก้องกีรติ ซึ่งศึกษาเรื่องความรุนแรงในการเมืองไทย อ.เวียงรัฐพอจะเล่าให้ฟังคร่าวๆ ได้ไหมครับ

อ.เวียงรัฐ : ประเด็นนี้ก็เป็นประเด็นที่น่าสนใจ เรามักจะคิดว่าการเมืองมันมักจะนำมาซึ่งความรุนแรง การเลือกตั้งมันนำมาซึ่งการฆ่ากัน มันกลายเป็นปัญหา ยิ่งกระจายอำนาจมากเท่าไหร่มันก็ยิ่งฆ่ากันเช่นในระดับ อบต. ดังนั้นควรให้มีการเลือกตั้งน้อย

ซึ่ง อ.ประจักษ์สรุปได้แทงใจดำของคนที่ต่อต้านการเลือกตั้งมากว่า Let"s them kill each other (ปล่อยให้พวกเขาฆ่ากันไปเถอะ) เพราะมันแสดงถึงระดับประชาธิปไตย คือเป็นการพูดประชดไม่ได้หมายความว่าอย่างนั้นจริงๆ

อ.ประจักษ์ชี้ให้เห็นว่าการฆ่าโดยรัฐเป็นสิ่งที่อันตรายกว่า และบ่งชี้ให้เห็นถึงการถดถอย เช่นการฆ่าโดยรัฐในช่วง 14 ตุลา 2516 6 ตุลา 2519 พฤษภาทมิฬ รวมถึงเหตุการณ์ล่าสุดปี 2553 ซึ่งเป็นการฆ่าโดยรัฐ จำนวนก็เพิ่มขึ้น

วิธีการก็ใช้ สไนเปอร์ แบบแผนที่ใช้ก็เปลี่ยนไป และมันแสดงให้เห็นถึงการถดถอยทางประชาธิปไตย ทุกครั้งที่มีการฆ่าก็จะตามมาด้วยการยึดอำนาจของทหาร

แต่ยุคที่นักการเมืองฆ่ากันเองมักจะเป็นยุคเบ่งบานของประชาธิปไตย แสดงให้เห็นว่ามีการแข่งขันกันสูง ทุกคนมุ่งมั่นโดยการเอาชีวิตเข้าแลก เพื่อที่จะได้รับการเลือกตั้ง ซึ่งถ้าปล่อยให้เป็นอย่างนั้นไปเขาเชื่อว่าจะทำให้การฆ่าลดลง เพราะจะแข่งขันกันด้วยทางเลือกอื่นๆ

และในเวทีเดียวกับอ.ประจักษ์ ซึ่งเขาพยายามอธิบายประวัติศาสตร์ อย่างอ. Tyrell Haberkorn ซึ่งเป็นนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเรีย เป็นคนอเมริกัน

เป็นนักมานุษยวิทยาผู้สนใจการเมืองผ่านการทำความเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชน การใช้ความรุนแรง และประวัติศาสตร์นิพนธ์ว่าด้วยการกดขี่ พยายามศึกษากรณีการจำคุกของคุณดารณี หรือ ดา ตอร์ปิโด ว่ารัฐใช้กฏหมายมาทำให้เกิดความผิดได้อย่างไรบ้าง

โดยเปรียบเทียบกับ เอเธล โรเซ็นเบิร์กในสหรัฐอเมริกา ในช่วงที่เป็นกฎหมายคอมมิวนิสต์ หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เขาก็เปรียบเทียบได้น่าสนใจว่า มีความเป็นผู้หญิงด้วย ที่ทำให้สังคมคาดหวังว่า ผู้หญิงไม่ควรที่จะมาพูดเรื่องอะไรแบบนี้

อ.จักรกริช : สรุปคือ สุดท้ายแล้ว รัฐก็อยู่กับความกลัว ใช้กฎหมายมาสร้างความกลัวให้เกิดขึ้นเพื่อไม่ให้พลเมืองมาวิจารณ์รัฐได้ ก็คืออย่างในสองกรณีที่เกิด อ. Tyrell

พยายามชี้ให้เห็นว่า บทลงโทษต่อนักโทษทางการเมืองทั้งสองท่าน มีความรุนแรงเกินเหตุ เกินกว่าที่ควรจะเป็นทำให้เห็นว่ารัฐสร้างความหวาดกลัวให้เกิดขึ้น เพื่อที่จะข่มขู่และปราบปรามไม่ให้ลุกฮือขึ้นมาต่อต้านอำนาจรัฐ


ขอขอบคุณ

ภาพและข่าว มติชนออนไลน์
22 เมษายน พ.ศ. 2554
เวลา 10:30:00 น.

เว็บไซต์ข่าวประชาธรรม


สิริสวัสดิ์ศุกรวาร สิริมานภิรมย์ปรีดิ์นะคะ



Create Date : 22 เมษายน 2554
Last Update : 22 เมษายน 2554 12:17:16 น. 0 comments
Counter : 1292 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.