"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
8 มีนาคม 2554
 
All Blogs
 
อุปลักษณ์ .. มโนในการทำความเข้าใจของสิ่งหนึ่ง ด้วยอีกสิ่งหนึ่ง








อุปลักษณ์ เป็นมโนในการทำความเข้าใจของสิ่งหนึ่ง ด้วยอีกสิ่งหนึ่ง อุปลักษณ์ เป็นการวาดภาพทางภาษา ซึ่งเปรียบเทียบของสองสิ่งหรือแนวคิดสองอย่าง


อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์

คำว่า "อุปลักษณ์" ในทางอรรถศาสตร์ปริชาน ไม่ถือว่าเกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาเชิงวรรณกรรม หรือเป็นเพียงแค่ลีลาการใช้ภาษา เพราะอุปลักษณ์ในที่นี้ ถือเป็นกระบวนการทางปริชาน ที่ทำให้มนุษย์เราสามารถจัดการกับระบบความคิด และยังถือเป็นกระบวนการที่เกี่ยวกับการสร้างระบบภาษา

จอร์จ เลคอฟ (George Lakoff) และ มาร์ค จอห์นสัน (Mark Johnson) ผู้ริเริ่มทฤษฎีอุปลักษณ์มโนทัศนี้ ทำให้การศึกษาอุปลักษณ์เชิงปริชาน กลายเป็นการศึกษาที่มีความสำคัญ ไม่เฉพาะต่อการศึกษาวิจัยด้านภาษาศาสตร์

แต่ยังรวมถึงการศึกษาด้านปรากฏการณ์ทางสังคม โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับการใช้ภาษาในชีวิตประจำวันของมนุษย์ เลคอฟอธิบายเกี่ยวกับอุปลักษณ์ว่า เป็นสิ่งที่มีอยู่ทั่วไปในชีวิตประจำวัน และไม่ใช่อยู่แค่ในภาษา แต่ยังอยู่ในทั้งความคิดและการกระทำ

ระบบมโนทัศน์ (conceptual system) ที่ทำให้มนุษย์เราสามารถคิดและทำสิ่งต่างๆ ได้ล้วนมีพื้นฐานมาจากอุปลักษณ์ทั้งสิ้น

มโนทัศน์ (concepts) ที่มีผลต่อความคิดของมนุษย์เรานั้น แท้จริงแล้วมิได้เป็นระบบที่ปราดเปรื่องแต่อย่างใด มโนทัศน์เพียงทำหน้าที่รวบรวมรายละเอียดต่างๆ ที่เกิดขึ้นในกิจกรรมที่เราทำทุกๆ วัน และประกอบโครงสร้างของสิ่งที่เรารับรู้ผ่านประสาทสัมผัส

วิธีปฏิบัติของเราที่มีต่อสิ่งรอบตัว รวมทั้งการที่เรามีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ทั้งหมดนี้ คือบทบาทของระบบการสร้างมโนทัศน์ของมนุษย์เรา

แท้จริงแล้วเลคอฟและจอห์นสัน ไม่ได้มองอุปลักษณ์ในแนวปริชานว่าเป็นเพียงแค่สิ่งที่เกิดขึ้นทางภาษาศาสตร์ แต่มองว่าเป็นปรากฏการณ์ทางปริชานที่ประกอบทั้งระบบภาษา และระบบความคิดเข้าด้วยกัน

หลักการนี้มีอยู่ในวิธีการที่มนุษย์สร้างระบบความรู้ต่างๆ และการทำความเข้าใจเกี่ยวกับขอบเขตของมโนทัศน์ (conceptual domain) หนึ่งโดยใช้อีกมโนทัศน์เป็นตัวช่วย

ความสามารถนี้เป็นผลมาจากการที่ ระบบการสร้างมโนทัศน์ทำการสร้างและกำหนดขอบเขต ทางความคิดด้วยการใช้อุปลักษณ์ จุดนี้เองที่ถือเป็นความคิดที่ได้รับการกลั่นกรอง โดยระบบการรับรู้ความหมายซึ่งนำไปสู่การให้ความสำคัญกับการศึกษาเรื่องอุปลักษณ์

อุปลักษณ์ทางมโนทัศน์เกิดจากโครงสร้างทางความคิด เราเข้าใจอุปลักษณ์ได้ เพราะมีการทับซ้อนของขอบเขตของมโนทัศน์ต่างๆ (mapping of conceptual domains) นั่นก็คือการที่มิติทางความคิดต่างๆ (mental spaces) มีการเชื่อมต่อกันอย่างเป็นระบบ

หมายความว่า วัตถุหรือองค์ประกอบในมิติทางความคิดหนึ่ง ไปสัมพันธ์กับวัตถุหรือองค์ประกอบในอีกมิติทางความคิดหนึ่ง

บทบาทของอุปลักษณ์ทางปริชานนี้ ถูกกำหนดโดยความสามารถที่ระบบทางความคิดประมวลออกมา ในรูปแบบที่หลากหลาย ระบบการสร้างมโนทัศน์ปกติของเรานั้น จึงเป็นระบบที่ต้องพึ่งพากระบวนการทางอุปลักษณ์อยู่ตลอด

เราสามารถกล่าวได้ว่า อุปลักษณ์คือสิ่งที่ธรรมดาและเป็นสิ่งพื้นฐานที่สุดในชีวิตมนุษย์

เลคอฟให้รายละเอียดเกี่ยวกับกระบวนการ ของอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ไว้ว่า เกิดจากการที่มโนทัศน์ที่เป็นนามธรรม (abstact concepts ) สร้างขึ้นจากมโนทัศน์ที่มีความใกล้เคียงกับประสบการณ์ ที่มีพื้นฐานจากทางร่างกาย (corporal experience) ของเรา

กระบวนการนี้มีความสัมพันธ์กับตัวมโนทัศน์ไม่ใช่ตัวคำในภาษา และยังสัมพันธ์กับระบบการคิดอย่างมีเหตุผล กระบวนการหลักของอุปลักษณ์มโนทัศน์ คือการถ่ายทอดระหว่างขอบเขตของมโนทัศน์ที่ต่างกัน โดยจะมีการเก็บโครงสร้าง ที่เป็นตัวอนุมานระหว่างแต่ละมโนทัศน์ไว้เสมอ

ด้วยเหตุนี้ อุปลักษณ์จึงทำให้การคิดเป็นสิ่งที่ง่ายขึ้น เลคอฟอธิบายเพิ่มเติมว่า กรอบของประสบการณ์ทางความคิดเชิงนามธรรม ที่เกิดขึ้นใหม่ทั้งหลายนั้น จะถูกรวบรวมโดยผ่านเครือข่ายของอุปลักษณ์ ซึ่งทำหน้าที่สร้างแบบแผนทางความคิด

ดังนั้นหน้าที่สำคัญของอุปลักษณ์ คือการเชื่อมโยงรูปแบบความคิดที่เป็นนามธรรมเข้ากับรูปแบบความคิดทางกายภาพ โดยผ่านตัวกระทำทางปริชาน

ส่วนประสบการณ์แต่ละแบบนั้น ก็เกิดขึ้นมาจากการที่เรามีปฏิสัมพันธ์กับโลกรอบๆ ตัวเรา ดังนั้นอุปลักษณ์จึงเชื่อมต่อรูปแบบการแสดงความคิดเข้ากับพื้นฐาน ทางความรู้สึกและประสบการณ์

อุปลักษณ์จะถ่ายทอดรูปแบบทางความคิดจากขอบเขตต้นทาง (source domain) ไปยัง ขอบเขตปลายทางหรือของเขตเป้าหมาย (target/objective domain) ด้วยเหตุนี้รูปแบบทางความคิดของขอบเขตเป้าหมาย จึงถูกรับรู้ได้โดยผ่านประสบการณ์เชิงมิติกายภาพ (physico-spatial experience) อันมีผลมาจากรูปแบบความคิดต้นทาง

อุปลักษณ์แต่ละแบบ จึงประกอบไปด้วยมโนทัศน์ต้นทาง มโนทัศน์เป้าหมาย และระบบการเชื่อมโยงทั้งสองมโนทัศน์เข้าหากัน และด้วยกระบวนการการถ่ายทอดระหว่างมโนทัศน์นี้ ส่วนหนึ่งของโครงสร้างมิติที่หลากหลาย (multidimensional structure)

จากมโนทัศน์ต้นทาง จะถูกนำไปสัมพันธ์กับอีกโครงสร้าง ที่ประกอบขึ้นมาเป็นระบบมโนทัศน์ปลายทาง การที่มโนทัศน์หนึ่งๆ จะสามารถทำหน้าที่เป็นแหล่งข้อมูล ให้กับตัวอุปลักษณ์ได้นั้น

เราต้องเข้าใจมโนทัศน์นั้นๆ โดยไม่แยกจากอุปลักษณ์ เลคอฟชี้ให้เห็นว่า ระหว่างสองมโนทัศน์ที่จะเชื่อมต่อกันนั้น ต้องมีความสัมพันธ์ทางโครงสร้าง (structural correlation) ที่อยู่ภายในประสบการณ์ในชีวิตประจำวันของเรา

ตัวอย่างเช่น ลักษณะแนวดิ่ง (verticality) ถือเป็นขอบเขตต้นทางที่สำคัญในการที่เราจะทำความเข้าใจ เรื่องปริมาณและปริมาตร เพราะมนุษย์เราจะมีระบบความสัมพันธ์ จากประสบการณ์การรับรู้เรื่องแนวดิ่งและปริมาณเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว

เช่นการที่เราเติมน้ำลงไปในแก้ว แล้วเราเห็นระดับน้ำสูงขึ้น กระบวนการทางความคิดนี้ถือได้ว่าเป็นรูปแบบทางธรรมชาติ


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สิริสวัสดิ์ภุมวารบวร เพ็ญบูลย์วรพรสวัสดิ์วารนะคะ



Create Date : 08 มีนาคม 2554
Last Update : 8 มีนาคม 2554 0:00:04 น. 0 comments
Counter : 1710 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.