"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
มกราคม 2553
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
5 มกราคม 2553
 
All Blogs
 
สุสานจิ๋นซีฮ่องเต้ (Qínshǐhuáng bīngmǎyǒng) 2

...




พระเจ้าจิ๋นซีฮ่องเต้





ตุ๊กตาทหารดินเผา



รถม้าและม้าศึกที่ขุดค้นพบภายในสุสานตุ๊กตาทหารดินเผาทุกตัวจะมีตราประทับอักษรบนตัวมากกว่า 80 ชื่อ ทำให้นักโบราณคดีจีนมั่นใจว่าผู้ที่สร้างหุ่นทหารดินเผาทั้งหมด เป็นบรรดาช่างปั้นหม้อ ในสังคมสมัยฉิน ถือว่าพวกนี้เป็นพวกชั้นต่ำ

บางพวกเคยทำงานรับใช้ในราชสำนัก ช่างปั้นดินเผาในสมัยจีนโบราณที่สืบทอดวิชาความรู้จากครูหรือบรรพบุรุษ มีเอกลักษณ์งานปั้นเฉพาะตัว รับคำสั่งเกณฑ์พลจากทุกแห่งเพื่อสร้างกองทัพทหารดินเผา

ผู้ที่จัดวางตำแหน่งของกองทัพทหารดินเผาภายในสุสาน ได้วางตำแหน่งอย่างเป็นระเบียบ ทหารดินเผาทุกตัวอยู่ในท่าเตรียมพร้อม ประกอบไปด้วยทหารดาบ ทหารเกาทัณฑ์ ทหารหอก และรถม้าศึก

โดยเลือกชัยภูมิจัดผังออกแบบค่ายเป็นรูปสี่เหลี่ยมล้อมรอบด้วยกำแพงดินพูนสูงขึ้น และมีคูอยู่นอกกำแพงเมือง ถนนตัดอยู่ภายในเป็นทางเดินกองทหาร ตัดจากทิศเหนือไปถึงทิศใต้และตะวันออกไปตะวันตก มีด่านกันไฟเป็นระยะ ๆ

ตรงกลางค่ายเป็นที่ตั้งกองบัญชาการ ล้อมด้วยเหล่าเสนาบดี ที่ปรึกษา หน่วยทหารที่เป็นหน่วยกล้าตายและองค์รักษ์ ทำหน้าที่คุ้มกันจิ๋นซีฮ่องเต้ การจัดวางกองทัพทหารดินเผาเป็นการยืนยันถึงภาพที่ชัดเจนของตำราพิชัยสงครามซุนวู

ในยุคสมัยของจิ๋นซีฮ่องเต้สุสานแห่งนี้เคยถูกเผาทำลายหลายครั้ง โดยมีหลายข้อสันนิษฐาน เช่น การปะทุของก๊าซมีเทนใต้ผิวดิน หรืออาจถูกเผาจากหลังจากพิธีฝังพระบรมศพ

ทหารดินเผาที่ขุดพบได้นั้นมีลักษณะใบหน้าที่มองดูแล้วกลมเกือบคล้ายกัน บางหน้าเป็นรูปไข่ บางหน้าเป็นรูปเหลี่ยม ซึ่งแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับเทคนิคของช่างแต่ละคน

มีการแบ่งหน้าที่อย่างชัดเจน เช่นแผนกช่างนวดดิน ช่างปั้น ช่างทำพิมพ์ สำหรับอวัยวะต่าง ๆ เช่น มือ แขน ขา ศีรษะ เป็นหน้าที่ของช่างขึ้นรูป ที่ทำการปั้นขึ้นรูปศีรษะเป็นรูป ๆ ทำให้ใบหน้าแต่ละหน้าจึงไม่ซ้ำกัน ซึ่งอาจจะเป็นการจำลองจากบุคลิกของทหารจริงในเวลานั้น

ส่วนมากใบหน้าของกองทัพทหารดินเผามีสัณฐานสี่เหลี่ยม ริมฝีปากหนา ไว้หนวดเคราทรงผมนานาชนิด แล้วเอาส่วนต่าง ๆ มาประกอบเข้ากัน นำไปเผาไฟแล้วส่งต่อไปให้ช่างสีซึ่งใช้ฝุ่นสีฉูดฉาดเช่น สีแดง เขียว ฟ้า น้ำตาล เหลือง ดำ ม่วง น้ำเงิน ขาว มาระบายลงบนตัวทหารดินเผา

แยกสีตามเหล่าทหารแต่ละกอง สำหรับการปั้นม้าจะแยกชิ้นส่วนต่าง ๆ ตามลักษณะของม้า ก่อนนำมาประกอบเข้าเป็นลำตัวที่กลวง ส่วนอื่นจะทึบตันหมด แล้วจึงเข้าเตาเผาไฟที่มีความร้อนสูงระหว่าง 950 ถึง 1,050 องศา เทคนิคงานปั้นดินเผาของจีนเริ่มมานานกว่า 2,000 ปี จนถึงปัจจุบันวิธีเก่าแก่นี้ก็ยังคงใช้อยู่ทั่วโลก

กองทัพทหารดินเผาทุกตัวเคยถืออาวุธจริงแต่ได้โดนยึดไปโดยพวกกบฏเป็นจำนวนมาก คงหลงเหลือกว่า 10,000 ชิ้น อาวุธส่วนมากสร้างขึ้นจากโลหะผสมทองแดงและดีบุก

รวมทั้งนิกเกิลและสังกะสี ฝีมือประณีตโดยเฉพาะหัวลูกธนูจะผสมตะกั่วเท่ากับเป็นการอาบยาพิษอย่างแรง แต่ทั้งหมดได้รับการปลดออกมาเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางทหาร และเทคโนโลยี

จากการขุดค้นพบกองทัพทหารดินเผาและม้าศึกจำนวนกว่า 6,000 ตัว คาดว่าเมื่อรวมกับจำนวนของทหารดินเผาที่ยังไม่ได้ขุดค้น อาจมีประติมากรรมอันเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกมากถึง 8,000 ตัว กองทัพทหารดินเผาที่ขุดค้นพบทั้ง 3 หลุมนี้

ในแต่ละหลุมจะแยกจากกันอย่างมีแบบแผน มีการฝังลึกลงไปจากผิวดินในระยะทางประมาณ 5 เมตร มีแนวกำแพงดินพูนสูงราว 3 เมตร แยกจากกันเป็นช่วง ๆ ค้ำยันด้วยท่อนซุง โดยรายละเอียดต่าง ๆ ของกองทัพทหารดินเผา มีดังนี้

หลุมหมายเลข 1

หลุมหมายเลข 1 ที่รัฐบาลจีนทำการขุดค้นมีขนาดกว้างใหญ่ที่สุดในบรรดาหลุมทั้ง 3 หรือราว 230 เมตร จากเหนือไปใต้และกว้าง 62 เมตร จากตะวันออกไปตะวันตก เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เนื้อที่ 14,260 ตร.ม. มีขนาดความกว้างประมาณ 197 ฟุต (62 เมตร) ยาว 689 ฟุต (230 เมตร) และลึก 14.8 - 21.3 ฟุต (5 เมตร)

ประกอบไปด้วยกองทัพทหารติดอาวุธครบมือจำนวนมากกว่า 6,000 ตัว รถศึกพร้อมม้าเทียมรถศึกอีกรวม 40 คัน แบ่งออกเป็น 4 เหล่า คือกองระวังหน้า ปีกซ้าย ปีกขวา และกองระวังหลัง ซึ่งจัดกองทัพทหารดินเผาออกเป็น 38 แถว กองทัพทหารดินเผาทุกนายภายในสุสานมีอาวุธประจำกายได้แก่ ดาบ เกาทัณฑ์ และ หอก อยู่ในที่ตั้งตามตำแหน่งอย่างชัดเจนไม่สับสน

รถม้าและรถศึก กองทัพทหารดินเผาและม้าศึกที่ได้ขุดพบนั้นมีขนาดใหญ่และเล็กเหมือนกับของจริงทุกประการ หุ่นดินเผาทุกตัวมีโครงหน้า สีหน้าและทรงผมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่เหมือนกันแม้แต่ตัวเดียว มีขนาดความสูงราว 5 ฟุต 8 นิ้ว จนถึง 6 ฟุต 5 นิ้ว

ยืนตระหง่านเรียงรายอยู่เป็นหมวดหมู่ ภายในหลุมที่ 1 ซึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้านักโบราณคดีของจีนตั้งข้อสังเกตถึงรูปแบบการจัดเรียงของกองทัพทหารดินเผาที่ขุดพบในหลุมที่ 1 มีรูปแบบและแนวการจัดทัพตามบันทึกในตำราพิชัยสงครามซุนวู มีกองทัพทหารดินเผามากกว่า 6,000 ตัว

หลุมหมายเลข 2
หลุมหมายเลข 2 เป็นรูปตัว L ได้ขุดพบในปี พ.ศ. 2519 อยู่ห่างจากหลุมที่ 1 ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 20 เมตร ในอาณาเขตพื้นที่ประมาณ 6,000 ตร.ม. แบ่งออกเป็นพื้นที่ขนาด 4 ส่วน ความกว้างจากเหนือไปใต้ราว 98 เมตร มีความยาวจากตะวันออกไปตะวันตกราว 124

ภายในหลุมมีกองทัพทหารดินเผาจำนวน 4,000 ตัว รถม้าไม้ 89 คัน แบ่งออกเป็น 4 แถว ประกอบไปด้วยเหล่าขุนพลทหารม้า ขุนทหารประจำรถม้าศึก ซึ่งมีรูปร่างสูงใหญ่ สวมหมวกหนัง รองเท้าบูต มือข้างหนึ่งถือ ธนู ม้าศึกมีลักษณะแข็งแรงปราดเปรียว

ทุกตัวถูกจัดตามลำดับแถว หลุมรูปปั้นกองทัพทหารดินเผาหลุมที่ 2 รัฐบาลจีนทำการขุดค้นหาพบหุ่นทหารดินเผาจำนวนกว่า 1,000 ตัว ม้าศึก 500 ตัวและรถม้าที่ทำจากไม้ 89 คัน เปิดให้สาธารณชนได้เข้าชมและศึกษาเกี่ยวกับโบราณวัตถุทางประวัติศาสตร์ในปี พ.ศ. 2538

หลุมหมายเลข 3
หลุมหมายเลข 3 เป็นรูปตัว U อยู่ห่างจากหลุมที่ 1 ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือราว 25 เมตร หรือ 120 เมตร รัฐบาลจีนขุดค้นพบในปี พ.ศ. 2519 ทางทิศตะวันออกของหลุมที่ 2 มีขนาดพื้นที่ประมาณ 520 ตร.ม. เป็นหลุมที่เล็กที่สุด แต่มีความสำคัญที่สุดยิ่งกว่า หลุมหมายเลข 1 และ 2

เนื่องจากเป็นกองบัญชาการสูงสุด โดยกองทัพทหารดินเผาทุกตัวมีอาวุธครบมือ เข้าแถวรักษาการณ์แบบเผชิญหน้ากันทางทิศเหนือกับทิศใต้ข้างละ 2 แถว เพื่อเป็นการคุ้มกันเหล่าแม่ทัพภายในกระโจมบัญชาการ

นอกจากนี้ยังพบเขากวางและกระดูกสัตว์ ซึ่งใช้เป็นเครื่องรางของขลังซึ่งเข้าใจว่าเป็นเครื่องที่ใช้ในการประกอบพิธีบูชายัญในพิธีศพอีกด้วย ซึ่งหลุมที่ 3 นี้เปิดให้สาธารณชนได้เข้าชมในปี พ.ศ. 2532

ขบวนรถม้าสำริด

รถม้าสำริดที่ขุดค้นพบภายในสุสานจิ๋นซีฮ่องเต้นอกจากการขุดพบกองทัพทหารดินเผาจำนวนมากแล้ว รัฐบาลจีนยังขุดพบโลงไม้ ยาว 7 เมตร กว้าง 2.3 เมตร ฝังอยู่ใต้พื้นดิน ห่างจากสุสานจิ๋นซีฮ่องเต้ไปทางทิศตะวันตกราว 20 เมตร

และเมื่อนำขึ้นมาเปิดฝาโลงออกก็พบกับขบวนรถม้าสำริดจำลองของจิ๋นซีฮ่องเต้ ฝีมือประณีตสวยงาม ใช้เทคนิคงานโลหะผสม สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นรถม้าประจำพระองค์ในภพหน้า

ปัจจุบันรถม้าสำริดที่ถูกขุดค้นพบ จัดแสดงไว้ในอาคารอีกหลังหนึ่งในบริเวณพิพิธภัณฑ์ กองทัพทหหารดินเผาประกอบด้วยรถม้าส่วนพระองค์ รถเทียมม้าบุกนำทาง มีองค์รักษ์ทำหน้าที่พลขับ

รถม้าบุกนำทาง มีความยาว 1.26 เมตร กว้าง 70 เซนติเมตร กั้นร่มคลุมแทนหลังคา ติดอาวุธพร้อม มีอุปกรณ์เสริมอื่น ๆ ขนาดเล็กรวมทั้งหมดราว 3,064 ชิ้น ส่วนรถม้าส่วนพระองค์จำลองของจิ๋นซีฮ่องเต้ มีความยาว 3.17 เมตร กว้าง 1.06 เมตร รูปทรงสี่เหลี่ยม คลุมด้วยหลังคารูปไข่

ชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่ประกอบเป็นตัวรถม้าส่วนพระองค์จำลองรวม 3,462 ชิ้น ประดับด้วยทองคำและเงินจำนวนมากกว่า 1,000 ชิ้น นอกจากนี้ ยังมีเส้นทองแดงขดเป็นโซ่ขนาดเล็ก ขนาดเพียง 0.05 เซนติเมตร อยู่ภายใน

รถม้าทั้งสองคันเทียมด้วยม้าสำริดคันละ 4 ตัว แต่งเครื่องทรงเต็มยศ องครักษ์ สูง 51 เซนติเมตร แต่งเครื่องแบบเต็มยศเช่นกัน นับเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่สุดอีกชิ้นหนึ่งที่ได้เคยค้นพบในประเทศจีน เป็นการลบภาพความเชื่อเดิม ๆ ที่ว่า

ยุคทองของเครื่องสำริดได้หมดไปตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชิง ซึ่งเหล็กได้เข้ามามีบทบาทแทนที่จนถึงสมัยราชวงศ์ฉินและราชวงศ์ฮั่น ที่ช่างสำริดได้สูญหายไปหมดแล้ว จากรูปสำริดเหล่านี้ นักโบราณคดีจีนสามารถจินตนาการขบวนรถม้าส่วนพระองค์ของจริงที่จิ๋นซีฮ่องเต้ทรงใช้ประทับแรมระหว่างเสด็จประพาสตามหัวเมืองต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย

มรดกโลกทางวัฒนธรรม
กองทัพทหารดินเผาภายในสุสานจิ๋นซีฮ่องเต้ ได้รับคัดเลือกให้เป็น มรดกโลกทางวัฒนธรรมในปี พ.ศ. 2530 ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์พิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก ดังต่อไปนี้

(i) - เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์

(iii) - เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว

(iv) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

(vi) - มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


ภุมวารสิริสวัสดิ์ โสมนัสวัฒนปรีดิ์ค่ะ


Create Date : 05 มกราคม 2553
Last Update : 5 มกราคม 2553 15:40:52 น. 0 comments
Counter : 1442 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.