Khantī paramam tapo tītikkhā [Buddhist Proverbs]
Group Blog
 
<<
เมษายน 2553
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
3 เมษายน 2553
 
All Blogs
 
เอกภพวิทยา ฉบับอยากรู้อยากเห็น ตอน The Lost Symbol และ อัฏฐสุตรา

คำเตือน: เอกภพวิทยาตอนนี้เป็นบทแทรก ไม่ได้วางโครงไว้ว่าจะเขียนมาก่อน คืออ่านนิยายอยู่แล้วเกิดความประทับใจจนอดไม่ได้ที่จะมาเขียน เนื้อหาออกแนว ความคิดเห็น มากกว่า ข้อเท็จจริง วกวนบ้างเพราะนึกจะเขียนก็เขียนเลย โปรดใช้วิจารณญาณ...


อย่าแปลกใจไปเลยครับ ว่า เอกภพวิทยา ฉบับอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวอะไรกับหนังสือของแดน บราวน์ และ วินทร์ เลียววาริณ

คือผมเพิ่งอ่านสาส์นลับที่สาบสูญ (The Lost Symbol) จบ แล้วก็อ่านบทนำและบทตามหลังของอัฏฐสุตราไปนิดหน่อย ก็พบว่าเนื้อเรื่องช่างสอดคล้องกับงานที่ผมกำลังศึกษาอยู่เสียนี่กระไร

บอกตามตรง ผมคาดหวังกับงานของคุณวินทร์มากว่าอาจสามารถพัฒนาเทียบเท่ากับแดน บราวน์ได้ (งานคล้ายๆกัน ข้อมูลแน่น เนื้อเรื่องคาดเดาลำบาก มีความสดใหม่) แต่เท่าที่ผมอ่านคร่าวๆอย่างที่บอก ผมก็ยังคิดเหมือนที่เคยคิดว่าคุณวินทร์ยังห่างอยู่พอสมควร

คุณวินทร์หากมาอ่านแล้วคิดในใจว่า แล้วมรึงมาคาดหวังงานผมทำไม ผมก็คงบอกว่า อ้าว คุณวินทร์ ผมจะคาดหวังอะไรหรือใครมันก็เรื่องของผม คุณมีหน้าที่เขียนก็เขียนไปซิ!?!

แล้วตกลงเกี่ยวอะไรกับเอกภพวิทยา(วะ) คนอ่านบล็อกผมคงคิดแบบนี้ คืองี้่ครับ

งานเล่มใหม่ของแดน บราวน์นี้ ค่อนข้างออกแนวปรัชญา คือแก่นของเรื่องกล่าวถึงการผสมผสานวิทยาศาสตร์ใหม่กับภูมิปัญญาโบราณ ซึ่งงานของคุณวินทร์เล่มนี้ก็คล้ายๆกัน แต่สิ่งที่ต่างกันในความเห็นของผมคือ ความลึกซึ้งของข้อมูล และที่สำคัญ...ความเชื่อในสิ่งที่เขียน

เอาล่ะ ผมยังไม่ลงรายละเอียดล่ะว่าทำไมถึงวิจารณ์แบบนั้น เพราะเด๋วคนอ่านก็จะบอกว่า มรึงยังอ่านงานเขาไม่จบเลยทะลึ่งวิจารณ์ซะแระ ซึ่งก็อาจจะจริง ดังนั้น ผมจะพูดถึง The Lost Symbol ก่อน

ไม่บ่อยครั้งที่ผมอ่านนวนิยายแล้วมีการไฮไลต์ข้อความที่สำคัญๆ แล้วก็อ่านๆไปบางทีก็ขนลุกไป (บางครั้งก็ขนลุกเพราะทึ่ง แต่บางครั้งขนลุกแล้วต้องไปอ่านในห้องน้ำต่อ!?!) คือ ผมเองศึกษาเรื่องเอกภพวิทยา ก็มีแนวคิดอยู่แล้วในเบื้องต้นว่า จะไม่ศึกษาข้อมูลเฉพาะในวิทยาศาสตร์เท่านั้น จะศึกษาข้อมูลในศาสตร์อื่นๆด้วย เพราะคิดว่าเฉพาะวิทยาศาสตร์เองคงให้คำตอบได้ไม่หมดหรอก ไม่เชื่อลองดูข้อความของนักวิทยาศาสตร์ชื่อดังคนนี้ดูครับ (คือหมายความว่าแกดังน่ะครับ ไม่ใช่เรียกว่า ดร.ดัง แต่ประการใด นี่ผมพยายามให้ขำนะครับ)


“ ...ทฤษฎีหนึ่งๆ เป็นเพียงแบบจำลองของจักรวาล หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของจักรวาล
และเป็นชุดของกฎเกณฑ์ที่เชื่อมโยงปริมาณต่างๆในแบบจำลองนั้นๆกับการสังเกตการณ์ของเรา
มันดำรงอยู่ในจิตใจของเราเท่านั้น และไม่มีความจริงอื่นใดอีก
(ไม่ว่าความจริงนั้นจะหมายถึงอะไรก็ตาม)...
...ทฤษฎีทางฟิสิกส์ต่างๆล้วนเป็นทฤษฎีชั่วคราว
ในความหมายว่ามันเป็นเพียงสมมติฐานอันหนึ่งที่เราไม่สามารถพิสูจน์มันได้
ไม่ว่าผลการทดลองจะยืนยันความถูกต้องของทฤษฎีสักกี่ครั้ง
เราก็ไม่สามารถมั่นใจได้ว่าผลการทดลองครั้งต่อไปจะไม่ขัดแย้งกับทฤษฎี
ในทางตรงกันข้าม เราสามารถพิสูจน์ทฤษฎีนั้นว่าผิด
ด้วยผลการสังเกตการณ์ที่ไม่สอดคล้องกับคำทำนายในทฤษฎีนั้นแม้เพียงครั้งเดียว...” [1]



หรือแม้แต่นักวิทยาศาสตร์ชื่อก้อง (แน่นอน ไม่ใช่ดร.ก้อง) ของโลกท่านนึง (เป็นอย่างน้อย) ท่านก็คิดทำนองนี้ โดยแม้แต่ตัวท่านเองก็เรียกตนเองว่าเป็น นักปรัชญาธรรมชาติ ไม่ได้เรียกตนเองว่า นักวิทยาศาสตร์ แต่ประการใด แล้วก็อุทิศตนศึกษาศาสตร์ต่างๆมากมาย ทั้งวิทย์ เล่นแร่แปรธาตุ หรือแม้แต่ ความรู้ในคัมภีร์ศาสนา

ผมเพิ่งรู้จากในนิยาย The Lost Symbol นี่เองว่าท่านเขียนชื่อตนเองในภาษาละตินว่า Isaacus Neutonuus (อิซาอาคุส นิอูโตนูอุส)!!! [2]

นี่เป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้นครับในนิยายเล่มนี้ ที่ผมว่ายอดเยี่ยมมากในด้านข้อมูล การตีความ กลวิธีในการแทรกเข้าไปในเรื่องราวอย่างเหนือชั้น

อีกซักประโยคครับ ลองทายกันดูครับว่าประโยคนี้กล่าวโดยนักวิทย์ท่านใด


"สิ่งซึ่งเราไม่อาจหยั่งรู้ได้มีอยู่จริง
เบื้องหลังความลับของธรรมชาติยังคงมีสิ่งที่เข้าใจยาก
สัมผัสไม่ได้ และไม่สามารถอธิบายได้
ความเลื่อมใสในพลังนี้มากกว่าสิ่งที่เราเข้าใจได้คือศาสนาของผม" [3]



ในนิยายเรื่องนี้ โรเบิร์ต แลงดอน ก็เหมือนกับตัวแทนของนักวิทย์ทั่วๆไป คือไม่ค่อยเชื่อในศาสตร์นอกสาขา แต่แดน บราวน์ ก็ให้มีตัวแทนของนักวิทย์ที่ไม่ทั่วไปคือนางเอกของเรื่อง (และพี่ชายของเธอด้วย) ซึ่งเป็นนักวิทย์ที่ทำงานแบบบูรณาการ มาสนทนาแลกเปลี่ยนกัน (ท่ามกลางโครงเรื่องระทึกขวัญ) ซึ่งลึกซึ้ง และกว้างขวางมาก โดยมีการโค้ดข้อความต่างๆ ทั้งข้อความในคัมภีร์ และข้อความของนักวิทย์ระดับโลก เยอะแยะมากมายไปหมด

หรืออย่างในบทที่ 15 การสนทนาของ 2 พี่น้องตระกูลโซโลมอน คือ พี่ชายนางเอกกับนางเอก (อันที่จริงเรื่องนี้คงไม่มีนางเอก แต่ไม่รู้จะเรียกอะไรให้สั้นๆดี) ว่าด้วยเรื่องของความสอดคล้องของฟิสิกส์ใหม่กับคัมภีร์โบราณ น่าทึ่งมากครับ

ถึงตรงนี้ขอแทรกนิดนึง เพราะเท่าที่อ่านๆความเห็นของหลายคนในเรื่องความสอดคล้องของฟิสิกส์ใหม่กับคัมภีร์โบราณ มักจะชิงบอกกันว่า จับแพะชนแกะ มันก็อาจจจะจริงในหลายๆข้อมูล แต่ก็คงไม่ทั้งหมด และหากด่วนสรุปเช่นนั้น มันก็คงแคบไปหน่อย แล้วก็ไม่เห็นจะเป็นวิทยาศาสตร์ตรงไหน คือผมคิดว่าเราน่าจะรับฟังไว้ก่อน สนใจก็หาข้อมูลเพิ่มเติมว่าน่าเชื่อถือแค่ไหน คงจะดีกว่านะ

อย่างในบทที่ 15 นี้ กล่าวถึง
- ทฤษฎีการพัวพัน (Quantum Entanglement) กับ 'ความเป็นหนึ่งเดียว' ในคัมภีร์โบราณทั้งหลาย
- นักวิทย์ชื่อดังและชื่อก้องของโลกศึกษาคัมภีร์ อุปนิษัท ของฮินดู แล้วให้ความดีความชอบกับหนังสือเล่มนี้ว่า ช่วยให้พวกเขาคิดทฤษฎีบางอย่างของพวกเขาขึ้นมา [4]
- และที่เกี่ยวกับเอกภพวิทยาคือ ความสัมพันธ์ของทฤษฎีฟิสิกส์ล่าสุดคือ ซูเปอร์สตริง กับคัมภีร์เดอะคอมพลีตโซฮาร์ ซึ่งเขียนในศตวรรษที่ 13!!!

ทฤษฎีซูเปอร์สตริงนี้กล่าวถึง มิติที่มากกว่า 4 ขึ้นไป ซึ่งได้จากสมการที่มีแนวคิดว่า ไม่มีอนุภาคพื้นฐานในสสารใดๆ แต่สิ่งที่เป็นพื้นฐานได้แก่ เส้นสตริงที่สั่นไหว โดยอนุภาคต่างๆ ก็คือสตริงที่สั่นไหวในความถี่ต่างกัน คล้ายๆกับการเล่นกีต้าร์หรือไวโอลินประมาณนั้น ซึ่งในคัมภีร์โบราณดังกล่าวก็กล่าวถึงเรื่องนี้เหมือนกัน


แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ควรได้รับการเช็คข้อมูลอีกครั้งว่าจริงหรือไม่ แต่อย่างน้อยผมก็ได้แรงบันดาลใจมาโขอยู่เลยทีเดียวครับ

น่าสนใจจริงๆครับ The Lost Symbol ไม่เชื่อลองอ่านดูครับ ข้อมูลแน่นมาก การหักมุมยังมีเหมือนเดิม แม้ว่าประเด็นความขัดแย้งในเรื่องนี้น่าจะสู้ รหัสลับดาวินซี หรือ เทวากับซาตาน ไม่น่าจะได้ หรือพูดง่ายๆว่าสนุกไม่เท่า แต่ประเด็นเรื่องปรัชญา วิทยาศาสตร์ ความเชื่อมั่น ลึกซึ้งมากครับ จนผมอดคิดไม่ได้ว่า แดน บราวน์ จะวางมือเกี่ยวกับนิยายประเภทนี้แล้วหรือไร แบบว่าใส่มาเต็มที่แล้ว...ขอบอก

ขอปิดท้ายด้วยคำคมในนิยายครับ


"...การค้นพบครั้งสำคัญ[ในทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]ของคนทุกรุ่น
ได้รับการพิสูจน์ว่าไม่จริงด้วยเทคโนโลยีในรุ่นต่อไปเสมอ
และดำเนินไปเช่นนี้ทุกยุคสมัย
ยิ่งคนได้เรียนรู้มากขึ้นเท่าไร
ก็จะตระหนักมากขึ้นเท่านั้นว่าตนไม่รู้..."





โปรดติดตามต่อไป เกี่ยวกับ อัฏฐสุตรา ขอไปอ่านให้จบก่อนครับ...

อ่านจบแล้วครับ อัฏฐสุตรา แกนของเรื่องคือการตีความเอกภพวิทยาตามใจผู้แต่งคือคุณวินทร์ โดยอาศัยพื้นฐานฟิสิกส์เป็นหลักในการตีความ ผสมผสานกับศาสตร์ของจีนโบราณ

ที่น่าแปลกคือความบังเอิญของ อัฏฐสุตรา กับ The Lost Symbol ที่กล่าวถึงข้อมูลบางอย่างที่คล้ายๆกันคือ จัตุรัสกล, งูกินหาง, การผสมผสานวิทยาศาสตร์ใหม่กับคัมภีร์โบราณ

คุณวินทร์ก็ยังเป็นนักเขียนคนเดิม คือ ข้อมูลแน่น มีความสดใหม่ เด่นในแนวคิด แล้วก็ด้อยในความเป็นนิยายเหมือนเดิม ที่สำคัญ เมื่ออ่านจบผมก็ยังยืนยันคำวิจารณ์เดิมข้างต้นคือ อัฏฐสุตรา ยังลึกซึ้งไม่พอ และดูเหมือนว่าผู้เขียนไม่ค่อยเชื่อในสิ่งที่ตนเองเขียนนะผมว่า... น่าเสียดายครับ

แต่เชื่อเถอะว่า นิยายเล่มนี้ จะเป็นหนึ่งในหนังสือวิทยาศาสตร์น่าอ่าน (เพราะไม่ค่อยมีใครเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ในบ้านเรา...จะฮาดีมั๊ย) และจะได้รับคำชมพอสมควร (เพราะคนวิจารณ์อ่านไม่รู้เรื่อง งานที่อ่านไม่รู้เรื่อง ชมไว้ก่อนก็แล้วกัน...อีกหนึ่งฮา) แต่สำหรับผมแล้ว ไม่ค่อยได้อะไรใหม่นัก นี่พูดในฐานะคนติดตามงานเขียนของคุณวินทร์นะครับ



สรุปประเด็นของบล็อกนี้ครับ
...ผมเห็นด้วยอย่างที่คุณวินทร์บอกไว้ใน อัฏฐสุตรา ที่ว่าเอกภพวิทยามีลักษณะฟิสิกส์ผสมอภิปรัชญา แต่ไม่เห็นด้วยกับที่คุณวินทร์บอก ที่ว่าคำตอบจะหาได้จากวิทยาศาสตร์เท่านั้น เพราะทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะในทางฟิสิกส์ เมื่อสาวไปถึงแก่นของมันแล้ว ทุกทฤษฎีจะประกอบด้วยสมมุติฐานอย่างน้อยหนึ่งข้อ ที่ไม่สามารถทดสอบได้ว่าถูกต้องแน่ๆรึเปล่า (ดังที่ สตีเฟน ฮอว์กิ้ง กล่าวไว้ตามที่อ้างมาด้านบน)

...ดังนั้น การเปิดใจให้กว้างศึกษาข้อมูลในคัมภีร์โบราณอื่นๆ จึงเป็นเรื่องที่ควรทำ อย่างน้อยก็อาจจะทำให้สะกิดใจกับข้อมูลบางอย่างได้ แล้วก็สนุกดีออก อย่างที่แดน บราวน์ จินตนาการไว้ในนิยายของเขาครับ


แค่นี้แหละ



[1] สตีเฟน ฮอว์กิ้ง อดีตศาสตราจารย์ลูคัสเชียนแห่งม.เคมบริดจ์ ผู้แต่งหนังสือ ประวัติย่อของกาลเวลา
[2] เซอร์ ไอแซค นิวตัน ต้องบอกด้วยรึว่าเขาคือใคร?
[3] อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เหมือนข้อ [2]
[4] วอเนอร์ ไฮแซนแบร์ก นักฟิสิกส์ควอนตัม ผู้ตั้งทฤษฎี "ความไม่แน่นอนของไฮแซนแบร์ก", แอร์วิน ชเรอดิงเงอร์ นักฟิสิกส์ควอนตัม ผู้คิดค้นทฤษฎีสมการคลื่น เป็นหนึ่งในนักฟิสิกส์ควอนตัมที่ไม่เชื่อในปรัชญาเบื้องหลังของฟิสิกส์ควอนตัม!??





สาส์นลับที่สาบสูญ (The Lost Symbol)
แดน บราวน์ เขียน
อรดี สุวรรณโกมล แปล
แพรวสำนักพิมพ์

อัฏฐสุตรา
วินทร์ เลียววาริณ เขียน


Create Date : 03 เมษายน 2553
Last Update : 5 เมษายน 2553 20:35:18 น. 14 comments
Counter : 1636 Pageviews.

 


โดย: thanitsita วันที่: 3 เมษายน 2553 เวลา:11:39:52 น.  

 
อ่า .. เอกภพวิทยา ของปู่ฯ มาอีกตอนล่ะ

ปู่ฯ อ่านหนังสือเยอะจัง
นู๋ ไม่ใช่นักวิจัยหง่ะ อ่านไปนู๋ต้องคิดตามนานหน่อย
แต่ก็น่าสนใจดีอ่ะค่ะ ปู่ฯ



โดย: naragorn วันที่: 3 เมษายน 2553 เวลา:14:02:11 น.  

 
อ๋า.........อ่านจนงงแล้วพี่ปู่

แต่น่าสนใจดีเหมือกนันอะ...
หาเวลาว่างไปอ่านบ้างดีกว่า
(ไอ้เจ้าเวลาว่างเนี่ย หายากยิ่งกว่าหาหนังสือซะอีก.... )


โดย: NuHring วันที่: 3 เมษายน 2553 เวลา:17:02:50 น.  

 
thanitsita : ครับ ช่วงนี้ร้อนจริงๆ

================================

naragorn : จ้ะ

================================

NuHring : ก็ไม่ต้องหาสิ แบบว่านึกจะว่างก็ว่างเลยอ้ะ


โดย: อุปนิกขิต วันที่: 5 เมษายน 2553 เวลา:13:38:49 น.  

 
ไม่เห็นหนุกเลยอ่ะ
ไปดีกว่า


โดย: ฎ-ชฎา วันที่: 5 เมษายน 2553 เวลา:13:39:40 น.  

 
^
^

คนเกิดวันที่ 1 ผู้จริงจังกับชีวิตอย่างเมิง มีเรื่องสนุกในชีวิตด้วยรึ(วะ)


โดย: อุปนิกขิต วันที่: 5 เมษายน 2553 เวลา:13:42:22 น.  

 
ไม่เห็นหนุกเลยอ่ะ
ไปดีกว่า


โดย: ปิ่นพระศิวะ วันที่: 6 เมษายน 2553 เวลา:10:16:54 น.  

 
นู๋ เป็นแฟนหนังสือของ แดน บราวน์ กับ วินทร์ เลียววาริณ เหมือนกันค่ะแต่ก็ไม่ทุกเล่ม
ชอบมากนักเขียนสองท่านนี้...
แต่....เรื่อง The Lost Symbol ยังไม่ได้อ่านเลย


นู๋ อ่านเรื่อง Deception Point แล้วก็ห่างหายหนังสือนิยายพักนึง (พักหลัง ไม่ค่อยมีเวลาอ่านนิยายเท่าไหร่)


สำหรับ ปู่ฯ ไม่ค่อยแปลกใหม่ แต่นู๋จะแปลกใหม่และน่าติดตามเสมอ หากเป็นแนววิทยาศาสตร์ อิอิ...


ปล. เอ๊ะ !! นี่นู๋ มาเขียนอะไรซะยืดยาวเนี๊ยะ


โดย: naragorn วันที่: 6 เมษายน 2553 เวลา:16:51:50 น.  

 
ปล. ต่ออีกนิด ที่แปลกใหม่ สำหรับนู๋ เพราะนู๋จะมึนตึ๊บ กะ วิด-ทะ-ยา-สาด อย่างแรง พออ่านแล้วมันอยากรู้อยากเห็น รัยเงี๊ยะ


โดย: naragorn วันที่: 6 เมษายน 2553 เวลา:18:22:06 น.  

 
ครับ ครับ


โดย: Thanunchaisa วันที่: 6 เมษายน 2553 เวลา:19:25:19 น.  

 
ผมเพิ่งอ่าน แดนบราว เล่มนี้จบครับ



อ่านจบ ผมมีความรู้สึกเลยว่า ผมอ่านมันเร็วเกินไปครับ คือ อ่านแบบไม่ทันคิดถึงความหมายอันลึกซึ้งของมันครับ


ถึงแม้ความสนุกจะไม่เท่า เทวา กับ ซาตาน สักนิด


แต่เนื้อหาในเขียนของเขาสุดยอดครับ ละเมียดกว่ามากกจริง ผมกลับคิดว่า การที่อนาคตเรื่องนี้จะสร้างเป็นหนังจะไม่สนุก เพราะความลึกของมันนี้และครับ


ขอบคุณสำหรับบทความดีๆครับ


โดย: BIZZARE วันที่: 7 เมษายน 2553 เวลา:17:45:50 น.  

 
ปิ่นพระศิวะ: ก็รู้จักไปอัพบล็อกตัวเองให้สนุกๆซะทีสิฮะ

=================================

naragorn: จ้ะ

=================================

Thanunchaisa: ครับ

=================================

BIZZARE: ขอบคุณครับ

เห็นด้วยเลยครับว่าถ้าสร้างหนังเรื่องนี้ มีหวังทุนหายกำไรหด


โดย: อุปนิกขิต วันที่: 10 เมษายน 2553 เวลา:17:03:05 น.  

 


โดย: nooaoh วันที่: 18 เมษายน 2553 เวลา:20:46:38 น.  

 
^
^



โดย: อุปนิกขิต วันที่: 21 เมษายน 2553 เวลา:0:08:17 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

อุปนิกขิต
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




อุปนิกขิต น. คนสอดแนม, จารบุรุษ



Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย
New Comments
Friends' blogs
[Add อุปนิกขิต's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.