กุญแจสู่ความมั่งคั่ง "The Key of Wealth"
Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2556
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
2425262728 
 
23 กุมภาพันธ์ 2556
 
All Blogs
 
QUANT FOCUS : Yield Curve ตอนที่ 2 การสร้าง Yield Curve

QUANT FOCUS Innovestment Paper no. 2

Topic : Zero Yield Curve

Class : Financial Modeling

*********************************************************


** เมื่อ Investment มาพบกับ Mathematics ผลที่ได้คือ “QUANT” เป็นการประยุกต์ใช้ศาสตร์ของ Mathematics,Financial Modeling และ Computer Science ในการลงทุนสิ่งที่ได้คือ "Innovestment" ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้นักลงทุนได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าและประหยัดเวลาในการเลือกกลยุทธ์การลงทุน**

***********************************************************

Yield Curve ตอนที่ 2 การสร้าง Yield Curve (Require some math background.)

โดยทั่วไปตราสารหนี้มีสภาพคล่องไม่มาก หมายความว่าไม่ค่อยมีการซื้อขายเปลี่ยนมือกัน ดังนั้นราคาพันธบัตรที่ใช้ในการหาอัตราดอกเบี้ยจึงใช้ราคาโควต (Quote Price) ร่วมด้วย โดยที่ตลาดตราสารหนี้จะเป็นผู้คัดเลือกพันธบัตรรัฐบาลสำหรับใช้ในการสร้าง Yield Curve เมื่อได้พันธบัตรและราคาโควต จึงทำการเลือกโมเดล (โมเดลเป็นภาษาของ Risk Manager จริงๆ ก็คือสมการทางคณิตศาสตร์ซึ่งอาจมีได้หลายสมการ) โมเดลที่ธนาคารกลางใช้กันมาก จากการเปิดเผยของ BIS ปี 2005 มี 3 วิธี คือ Nelson-Siegel (NS), Svensson (SV), และ Smoothing Spline เมื่อพิจาณาจากประเทศที่มีตลาดพันธบัตรขนาดใหญ่คือ สหรัฐอเมริกา, อังกฤษ และ ญี่ปุ่น พบว่าทั้ง 3 ประเทศใช้ Smoothing Spline แต่รายละเอียดในการสร้างอาจมีความแตกต่างกันบ้าง ในบทความนี้ขอสาธิตให้ดูโดยใช้ข้อมูลจริงในปี 2009 ครับ โดยแสดงผลลัพธ์ของ Yield Curve ทั้งหมด 4 วิธี โดยเพิ่มวิธี Piecewise Cubic Spline (CS) แต่จะแสดงสูตรและรายละเอียดเชิงเทคนิคเฉพาะวิธี Smoothing Spline

ในตลาดตราสารหนี้เกิดใหม่อย่างบ้านเรา การขาดสภาพคล่องในตลาดรองอาจทำให้ราคาโควต มีการกระโดด ส่งผลให้ดอกเบี้ยในแต่ละเวลาเปลี่ยนแปลงมากเกินความเป็นจริง ดังนั้นเส้น Yield Curve ที่เลือกใช้จึงควรมีคุณสมบัติที่สำคัญ คือ เรียบ (smooth) แต่ต้องสามารถทำ pricing ได้ดี คือ เมื่อใช้ Yield Curve ที่ได้คำนวณราคาพันธบัตร ราคาที่ได้ควรใกล้เคียงราคาโควต ครับ

ดังนั้นคุณสมบัติที่สำคัญของเส้น Yield Curve ที่ดีต้องมี 2 ประการ คือ "ต้องเรียบและแม่น" องค์กรที่สร้างเส้น Yield Curve ต้อง trade-off ระหว่างคุณสมบัติ 2 อย่าง ลองดูสมการข้างล่าง ตัวแปร E เป็นผลรวมระหว่างความเรียบและความแม่น โดยเทอมแรกของฝั่งขวาเป็นตัววัดความแม่น ส่วนเทอมสองฝั่งขวาเป็นตัววัดความเรียบ (ใช้ผลรวมของ 2nd derivatives ตลอดช่วงอายุของพันธบัตรทุกตัว)


จากสมการข้างบนอายุคงเหลือหรือเวลาในเส้น Yield Curve จะถูกแบ่งเป็นท่อนๆแต่ละท่อนถูกประมาณค่าโดยสมการ Polynomial ที่เห็นข้างบน หากเลือก knot ตามอายุคงเหลือของพันธบัตรจะมีชุดสมการทั้งหมด n-1 ท่อนสำหรับพันธบัตร n ตัว

ลองนึกภาพตามดูนะครับว่าถ้ามีพันธบัตร 31 ตัวจะมีจำนวนตัวแปรทั้งสิ้น (31-1)*4 + 1 = 121 นั่นคือ 121 ตัวแปรที่ต้องหาค่า นี่ไม่ใช่เรื่องสนุกนักสำหรับการทำ Nonlinear Optimization สิ่งที่ Quant ต้องทำคือ การ Optimizeค่า E ข้างบนโดยการใส่ค่าเริ่มต้น ao,a1,a2,a3เข้าไปในสมการ Smooting Spline เพื่ออัพเดทค่าE ใหม่ (ทำ Nonlinear Minimization บน E) จากนั้นนำค่า E ตัวใหม่ที่ได้เข้าไปในระบบ Nonlinear Optimization ดังสมการข้างล่างเพื่อปรับค่าตัวแปรให้ราคาจากโมเดลใกล้เคียงกับราคาโควตของตลาดนี่เป็นการทำ Double Optimization คำถามคือผลลัพธ์เป็นอย่างไร


คำตอบก็คือ สามารถหาคำตอบได้มาอย่างง่ายดายในเวลาอันรวดเร็วและระบบ Nonlinear Optimization ที่ถูกออกแบบมีความเสถียรสูงมาก ลองมาดูหน้าตา Yield Curve กัน รูปที่ 1 เป็น Zero Yield Curve รูปที่2 เป็น Instantaneous Forward Curve


จากรูปที่ 1 พบว่าวิธี Nelson-Siegel และ Svensson ได้ Yield Curve ที่มีเส้นโค้งที่เรียบมากแต่อาจมีลักษณะหักมุม เช่นในกรณีของวิธี Svensson นอกจากนั้นลักษณะของเส้นโค้งปรับรูปได้ไม่ดีนัก โดยไม่ผ่าน T-Bill (จุดสีเขียว) ซึ่งเป็น zero coupon bond ส่วนในวิธี Piecewise Cubic Spline เส้น Yield Curve ที่ได้แกว่งจนน่าตกใจครับ แต่ผ่าน T-Bill (จุดสีเขียว) ทุกจุด มาที่วิธี Smoothing Spline ดูเรียบ รูปร่างเส้นโค้งปรับตัวดีมาก ผ่าน T-Bill (จุดสีเขียว) หลายจุดครับ


จากรูปที่ 2 Instantaneous forward curve แสดงให้เห็นว่าวิธี Piecewise Cubic Spline เส้นที่ได้ไม่เสถียรขนาดไหน มีลักษณะที่แกว่งมาก

ตารางเปรียบเทียบความถูกต้องของราคาที่คำนวณได้จากเส้นYieldCurve ทั้ง 4 Model กับ ราคาโควต


จากตารางข้างบนเป็นคุณภาพในเรื่อง Pricing Power ของทั้ง 4 model ครับว่า เส้นโค้งแบบไหนคำนวณราคาได้แม่นที่สุด ผลที่ได้คือ Model โดยวิธี Cubic Spline มาอันดับหนึ่ง รองลงมาคือ Smoothing Spline, Svensson, และ Nelson-Siegel ตามลำดับ


สรุป จาการสร้างเส้น Yield Curve โดยวิธีต่างๆ เมื่อพิจารณาในแง่ "ความเรียบ" และ "ความแม่น" เส้นโค้งของ Yield Curve ที่สามารถปรับรูปได้ดี โดยใช้วิธีแบบ Smoothing Spline เป็นทางเลือกที่น่าสนใจมากครับ โดยเฉพาะในตลาด Emerging Market ของประเทศไทยเรา แต่สำหรับวิธีแบบ Piecewise Cubic Spline คงเป็นวิธีที่ใช้เพื่อ benchmark ค่า Mean Sqaure Error (MSE) ครับ ส่วนวิธี Nelson-Siegel และ Svensson ถึงแม้จะเรียบ สร้างง่ายกว่าแต่ความแม่นยำเทียบกับราคาโควตไม่ค่อยได้ครับ รวมถึงรูปร่างเส้นโค้งอาจไม่ดีพอจึงอาจใช้วิธีนี้เป็นตัวทดสอบระบบซอฟแวร์เพื่อความสะดวกครับ ใช้งานจริงๆอาจยังไม่ดีเท่าที่ควร


ประโยชน์ของ Yield Curve ท่านผู้อ่านอาจมีคำถามว่าการหาเส้น Yield Curve ยุ่งยากมากขนาดนี้ แล้วจะมีประโยชน์อะไร? คำตอบคือ เส้น Yield Curve มีประโยชน์กับสถาบันการเงินสำหรับใช้ตรวจสอบการไหลของเงินครับ

ความแตกต่างอยู่ที่ในตลาดตราสารหนี้นักลงทุนนิยมดูการเปลี่ยนแปลงของ “ดอกเบี้ย”  ไม่เหมือนในตลาดหุ้นที่นักลงทุนดูการเปลี่ยนแปลงของ “ราคา”

ผมเขียนบทความเรื่อง FundFlow มาหลายบทความ อธิบายอยู่เสมอว่า ถ้าหุ้นตก เงินมักไหลไปที่ตราสารหนี้ และจากในลักษณะของ Fund Flow นี้เองเมื่อเงินไหลไปอยู่ในตลาดตราสารหนี้ทำให้ราคาเพิ่มสูงขึ้นดังนั้นดอกเบี้ยต้องลดลงตามสมการในบทความตอนที่ 1 ( //www.bloggang.com/viewdiary.php?id=topstock&month=02-2013&date=22&group=8&gblog=1) เพราะฉะนั้นหากเราดู Yield Curve ทุกวันประกอบกับดัชนีหุ้นต่างๆ เราสามารถคาดคะเนได้ว่าเงินไหลไปไหนครับ



ถูกใจบทความ คลิ๊ก LIKE Fanpage ได้ที่นี่  

//www.facebook.com/SpyWing.net

ขอบคุณมากๆครับ




Create Date : 23 กุมภาพันธ์ 2556
Last Update : 25 กุมภาพันธ์ 2556 0:33:52 น. 0 comments
Counter : 3633 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Top Money
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 22 คน [?]




Google
New Comments
Friends' blogs
[Add Top Money's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.