กุญแจสู่ความมั่งคั่ง "The Key of Wealth"
Group Blog
 
 
มีนาคม 2558
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
22 มีนาคม 2558
 
All Blogs
 

การจัดพอร์ตหุ้นที่ Track ตลาดด้วย Passive Indexing Model

QUANT FOCUS Innovestment Paper no.5

Topic : Passive Indexing Portfolio (PIP)

Class : Financial Modeling

*********************************************************


** เมื่อ Investment มาพบกับ Mathematics ผลที่ได้คือ“QUANT” เป็นการประยุกต์ใช้ศาสตร์ของMathematics,Financial Modeling และ Computer Scienceในการลงทุนสิ่งที่ได้คือ "Innovestment" ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้นักลงทุนได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าและประหยัดเวลาในการเลือกกลยุทธ์การลงทุน**

***********************************************************

*******


การจัดพอร์ตหุ้นที่ Track ตลาดด้วย Passive Indexing Model


บทความที่แล้วได้กล่าวถึงการจัดพอร์ตหุ้นความเสี่ยงต่ำแต่เอาชนะตลาดได้ด้วยHigher-Moment Portfolio (HMP)กันไปแล้วครับ (สามารถอ่านบทความเรื่อง HMP ได้จาก //www.bloggang.com/mainblog.php?id=topstock&month=10-03-2015&group=8&gblog=6 )

บทความนี้ขอแนะนำโมเดลจัดพอร์ตหุ้นอีกประเภทหนึ่งที่เรียกว่าแบบ Passive Indexing Portfolio (PIP) ซึ่งเป็นการจัดพอร์ตสำหรับกลยุทธ์การลงทุนแบบที่เรียกกันทั่วไปว่ากลยุทธ์Passive ก่อนจะเริ่มอธิบายในรายละเอียดของโมเดลนี้ ขอแนะนำเรื่องประเภทของกลยุทธ์การลงทุนซึ่งมีอยู่2 ลักษณะคือ แบบ Active Trading และ Passive Trading กันสักเล็กน้อยครับ นักลงทุนคงเคยเห็นพอร์ตของเพื่อนนักลงทุนเองหรือกองทุนรวมต่างๆที่แสดงผลดำเนินงานว่าทำกำไรได้ดี... 

คำถามคือ ท่านพอใจกับผลตอบแทนดังกล่าวหรือไม่? ผลตอบแทนที่ท่านได้นั้นดีพอหรือไม่?หากพอร์ตทำกำไรให้ท่านแต่ยังน้อยกว่าผลตอบแทนของตลาด?? ท่านคงไม่อาจกล่าวได้ว่าพอร์ตดังกล่าวนั้นมีผลตอบแทนที่ดีนี่คือความจำเป็นที่ต้องมี Benchmark (Stock Index) เพื่อเปรียบเทียบผลตอบแทนของพอร์ตกับตลาดซึ่ง Benchmark มีวิธีสร้างหลายวิธีครับ โดยอาจถูกสร้างจากหุ้นทั้งหมดในตลาดหรือ จากหุ้นขนาดใหญ่ เช่น SET50 (มี50 ตัว) หรือ DJIA (มี 30 ตัว) ดังนั้นการตัดสินผลดำเนินงานของพอร์ตต่างๆว่าดีหรือไม่ดีนั้นจึงนิยมอ้างอิงกับ Benchmark หากพอร์ตมีนโยบายการลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนเท่ากับ Benchmark เราเรียกกลยุทธ์ดังกล่าวว่า Passive Trading หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า Passive เนื่องจากนักลงทุนไม่ต้องทำอะไรมากนอกจากถือหุ้น50 ตัว (ในกรณีที่ใช้ SET50 เป็น Benchmark)ในสัดส่วนที่เหมาะสม ท่านก็จะได้ผลตอบแทนโดยประมาณเท่ากับ Benchmarkแต่หากท่านต้องการเอาชนะ Benchmark ท่านคงต้องใช้กลยุทธ์ที่ซับซ้อนกว่านี้นี่เป็นที่มาของคำว่า Active Tradingซึ่งเป็นความพยายามเทรดเพื่อเอาชนะตลาดนั่นเองครับ

กลับมาที่โมเดลจัดพอร์ตหุ้นแบบ Passive Indexing Portfolio (PIP) ครับ แนวคิดของโมเดลชนิดนี้เข้าใจง่ายมากครับ ขั้นแรก เลือกหุ้นที่เป็นองค์ประกอบของดัชนีหุ้น เช่น เลือกหุ้น 50 ตัวในกลุ่ม SET50ผู้สร้างโมเดลอาจไม่ต้องพิจารณาเรื่อง Stock Selection มากนักในขั้นตอนนี้เพราะจุดประสงค์หลัก คือ พยายาม Tracking ดัชนีหุ้นให้ใกล้เคียงที่สุด ขั้นตอนที่สอง หาน้ำหนักลงทุนในหุ้น 50 ตัวที่ทำให้พอร์ตมีความใกล้เคียงกับ SET50 มากที่สุด ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธีเช่น ทำให้ Tracking Error มีค่าต่ำสุด โดย


หรืออาจออกแบบให้พอร์ตมีความเสี่ยง (Volatility) ต่ำสุดแต่ สามารถTrack ดัชนีได้ดี (ดูโมเดลรูปที่ 1)

โดยหลักการแล้วโมเดลแบบข้างบนจะ Track ได้ใกล้เคียงกว่าครับ แต่การเลือกใช้วิธีใดขึ้นกับสไตล์การจัดพอร์ตของแต่ละท่านครับ โดยน้ำหนักลงทุนที่ได้จากโมเดลเป็น Implied Weight นะครับ คืออ้างอิงจากข้อมูลหุ้นไม่ใช่น้ำหนักของหุ้นที่เป็นองค์ประกอบของ Benchmark ซึ่งการใช้ Implied Weight ทำให้เราตัดปัญหาเรื่องน้ำหนักของหุ้นจริงๆ ซึ่งจะต้องมีการปรับตลอดเวลา อีกทั้งยังต้องอิงกับ Index Methodology เช่น DJIA ใช้ Simple Average หรือ SET50 ใช้ Cap-Weighted อาจทำให้ไม่สะดวกในการปรับพอร์ต ส่วน Implied Weight นั้นนักลงทุนใช้น้ำหนักลงทุนคงที่ในช่วงเวลาหนึ่ง ทำให้ไม่ต้องปรับพอร์ตบ่อยครับ   

ผลจากการออกแบบพอร์ตตามโมเดลในรูปที่ 1 จะได้ผลลัพธ์ในรูปที่2 และ 3 โดยในรูปที่ 2 พอร์ต PIP มีการเคลื่อนไหวใกล้เคียงกับSET50 และการแกว่งของราคาค่อนค้างใกล้เคียงกับ SET50



เมื่อดูรูปที่ 3 จะเห็นได้ว่าการ Track ของพอร์ตและระดับการแกว่ง (Volatility) จะเห็นชัดเจนมากขึ้นเมื่อดูผลตอบแทนแบบ Log Return 



โดยสรุปโมเดลจัดพอร์ตหุ้นแบบ Passive Indexing Portfolio (PIP) เป็นการให้น้ำหนักการลงทุนที่ทำให้พอร์ตมีการเคลื่อนไหวใกล้เคียงกับตลาดโดยไม่สนใจว่าตลาดจะวิ่งขึ้นหรือลง จึงเหมาะสำหรับนักลงทุนที่ไม่ต้องการเดาทิศทางตลาดต้องการผลตอบแทนในระดับเดียวกับตลาดเท่านั้น และต้องการบริหารพอร์ตลงทุนด้วยตนเองโดยไม่ผ่านกองทุนรวมที่Track ตลาดครับ


ถูกใจบทความ คลิ๊ก LIKE Fanpage ได้ที่นี่  

//www.facebook.com/SpyWing.net

ขอบคุณมากๆครับ








 

Create Date : 22 มีนาคม 2558
0 comments
Last Update : 22 มีนาคม 2558 15:12:18 น.
Counter : 2700 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Top Money
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 22 คน [?]




Google
New Comments
Friends' blogs
[Add Top Money's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.