space
space
space
 
มิถุนายน 2559
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
space
space
26 มิถุนายน 2559
space
space
space

รูปแบบการบันทึกของเครื่องสแกนลายนิ้วมือ


รูปแบบการบันทึกของเครื่องสแกนลายนิ้วมือ

ครั้งนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องการตั้งเงื่อนไขของ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ และ ครื่องสแกนใบหน้า ว่าเจ้า เครื่องสแกนลายนิ้วมือ และ เครื่องสแกนใบหน้า สามารถกำหนดเงื่อนไขการสแกนได้กี่รูปแบบ และแต่ละรูปแบบมีใช้งานเป็นอย่างไรบ้าง? โดยปกติแล้วเครื่องสแกนลายนิ้วมือทุกเครื่องก็จะสามารถสแกนได้ทั้ง ลายนิ้วมือ บัตรและการกดรหัส ส่วนเครื่องสแกนใบหน้าก็จะสแกนได้ทั้ง ใบหน้า ลายนิ้วมือ บัตรและก็รหัส แต่สำหรับบางองค์กรที่ต้องการให้พนักงานยืนยันการเข้างานด้วยเงื่อนไขที่ว่า ต้องการให้ทาบบัตรแล้วจึงค่อยสแกนลายนิ้วมือเพื่อยืนยันตัวตน หรือต้องการให้ทาบบัตรแล้วจึงค่อยสแกนใบหน้าเพื่อยืนยันตัวตน เป็นต้น ถามว่าทำได้ไหม? บทความนี้เรามีคำตอบให้แน่นอน!

ตามที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นว่า เครื่องสแกนลายนิ้วมือ หรือ เครื่องสแกนใบหน้า สามารถเก็บข้อมูลได้ทั้งหน้า นิ้ว บัตรและรหัส หากถามว่าแล้วตอนเราจะสแกนเพื่อเข้างานเราจะใช้อะไรสแกนดีล่ะ ในเมื่อเก็บข้อมูลไปตั้งเยอะ? คำตอบคือ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ หรือ เครื่องสแกนใบหน้า สามารถกำหนดเงื่อนไขให้เลือกสแกนอย่างใดอย่างหนึ่งได้ เช่น หากเราใช้เครื่องสแกนหน้า เราจะสแกนเข้างานด้วยหน้า หรือสแกนนิ้ว หรือทาบบัตร หรือกดรหัสก็ได้ และหากเราใช้เครื่องสแกนลายนิ้วมือ เราก็จะสแกนลายนิ้วมือ ทาบบัตร หรือกดรหัสเพื่อเข้างานก็ได้เช่นกัน เอาละงั้นเราลองมาทำความรู้จักกับรูปแบบของ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ และ เครื่องสแกนใบหน้ากันว่าสามารถกำหนดแบบไหนได้บ้าง

รูปแบบแรกเป็นรูปแบบมาตรฐานที่ถูกตั้งค่าเริ่มต้นไว้แล้ว นั้นก็คือเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งจะแสดงรูปแบบดังนี้ F/C/P (F=ลายนิ้วมือ, C=บัตร, P=รหัส) หากเราต้องการให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อสแกนเข้างาน จะสแกนนิ้วก็ได้ จะทาบบัตรก็ได้ หรือจะเป็นการกดรหัสก็ได้ เราก็ไม่ต้องแก้ไขหรือเปลี่ยนการตั้งค่าอะไร เพราะมาตรฐานของเครื่องสแกนลายนิ้วมือจะเป็นแบบนี้อยู่ละ!!! แต่... หากเราไม่อยากให้พนักงานทาบบัตร หรือไม่อยากให้พนักงานใช้รหัสในการเข้างานเพราะกลัวว่าจะมีการลงเวลาแทนกัน เราก็แค่ไม่เก็บข้อมูลบัตรและไม่บันทึกรหัสให้พนักงานเพียงแค่นี้ พนักงานก็จะต้องสแกนนิ้วหรือสแกนหน้าเพื่อเข้างานเป็นทางเลือกเดียวละ

รูปแบบที่ 2 คือกำหนดให้ต้องมีสองอย่างจึงจะเข้างานได้ เช่น C+F (ทาบบัตรก่อนแล้วจึงสแกนนิ้วเพื่อยืนยันตัวตนระบบจึงจะบันทึกเวลาการทำงานให้) หรือ P+F (กดรหัสก่อนแล้วจึงสแกนนิ้วเพื่อยืนยันตัวตนระบบจึงจะบันทึกเวลาการทำงานให้) อาจดูยุ่งยากไปนิด เยอะขั้นตอนไปหน่อย แต่สำหรับบางองค์กรที่ต้องการทำรูปแบบนี้ก็สามารถทำได้เลยไม่มีปัญหา!

รูปแบบที่ 3 คือกำหนดให้ต้องสแกนทุกอย่างที่เครื่องรองรับได้ร่วมกันระบบจึงจะบันทึกเวลาการทำงานให้ เป็นต้นว่า ทาบบัตร ตามด้วยสแกนนิ้ว ตามด้วยกดรหัส หากทำไม่ครบทั้ง 3 ขั้นตอน ระบบก็จะไม่บันทึกเวลาการทำงานให้ เป็นการควบคุมการลงเวลาของพนักงาน ป้องกันการบันทึกเวลาแทนกันขั้นสูงสุด!!!

เอาละ เมื่อเรารู้แล้วว่ารูปแบบการบันทึกเวลาแบบไหนที่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ และ เครื่องสแกนใบหน้า รองรับได้ เราก็ลองถามตัวเองดูว่าเราจะเลือกรูปแบบไหนที่เหมาะกับเรา หากต้องการเร็วๆ ไม่ยุ่งยาก ไม่ซับซ้อน ก็รูปแบบที่ 1 คือสแกนอะไรก็ได้ขอให้สแกนเหอะ!!! ระบบก็จะบันทึกเวลาการทำงานให้ หรือสำหรับโรงงานก็มักนิยมใช้รูปแบบที่ 2 คือ ต้องเป็นเลขคู่ ^^ ทาบบัตรแล้วตามด้วยสแกนนิ้ว ระบบจึงจะบันทึกเวลาทำงานให้

หลากหลายเทคนิค หลากหลายความรู้ เรามีอัพเดทให้ศึกษากันทุกวันเพียงติดตามเรา หรือหากมีปัญหาก็ลองเข้ามาหาบทความวิธีแก้ไขปัญหาที่เราได้อัพเดทไปแล้ว แต่หากมีข้อสงสัยก็สามารถสอบถามได้ที่ 081-621-9066

www.sasifingerscan.com




Create Date : 26 มิถุนายน 2559
Last Update : 26 มิถุนายน 2559 21:47:52 น. 0 comments
Counter : 242 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 3235239
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 3235239's blog to your web]
space
space
space
space
space