อาทิตย์สาดส่อง..ความจริงจักปรากฎทั่วปฐพี!!!
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2555
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
29 ตุลาคม 2555
 
All Blogs
 

สรยุทธ์

(26ต.ค.2555)เริ่มมีปรากฎการณ์ตีโอบกดดันช่อง3 จัดการ "สรยุทธ์"มากขึ้นทุกขณะในทุกชองทางทั้งบนดิน ใต้ดิน ทุกสื่อที่จับมือ กับฝ่ายการเมืองบางฝ่ายที่ไม่พอใจ"บทบาท"ท่าที ของช่อง3 รายการของ"ครอบครัวข่าว"เรื่องเล่าเช้านี้ และ สามมิติ โดยเฉพาะ"สรยุทธ์"ต่อสถานการณ์การเมืองที่ส่งผลบางห้วงเวลาที่ผ่านมา จนกลายมาเป็นการยก  กรณี บาปเคราะห์เก่า ไร่ส้ม ปม อสมท. หลัง ปปช.วินิจฉัย ขึ้นมาจัดการ"สรยุทธ์"คู่ขนานไปกับสถานการณ์เคลื่อนไหวทางการเมืองรอบนอก..---
////

มูลนิธิไทยพีบีเอส จับมือภาคปชช.หาแนวทางลงโทษทางสังคม กรณีจริยธรรมสื่อ ยก 'ไร่ส้ม' จุดประเด็นรวมตัวขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบ ฉะ 'ครอบครัวข่าว' ต้องไม่หนุนคนผิด

เมื่อเร็วๆ นี้ มูลนิธิไทยพีบีเอส ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนและและเสริมสร้างจริยธรรมของสื่อ ได้จัดการประชุมหารือแนวทางขับเคลื่อนประเด็นปัญหาจริยธรรมสื่อและการคอร์รัปชั่นขององค์กรสื่อ ปัญหาจริยธรรมของคนทำสื่อ และการทำ CSR ขององค์กรสื่อที่แสวงหาผลประโยชน์อย่างไม่ถูกต้อง ยกกรณีนายสรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมการผู้จัดการบริษัทไร่ส้ม จำกัด ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ออกมาชี้มูลความผิดก่อหน้านี้เป็นกรณีศึกษา โดยมีผู้แทนเครือข่ายผู้บริโภค เครือข่ายสื่อเด็กและเยาวชน เครือข่ายผู้หญิง นักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์และสื่อสารมวลชน องค์กรวิชาชีพสื่อ เครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่น เข้าร่วมเสนอแนวทาง ณ ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 34 สำนักงาน สสส. (อาคารเอสเอ็มทาวเวอร์)

ที่ประชุมเห็นตรงกันว่า กรณีของนายสรยุทธ สุทัศนะจินดา เป็นกรณีที่สัมผัสได้ มีข้อเท็จจริง และสามารถจุดประเด็นต่อแก่กรณีความผิดอื่นๆ ในสังคมได้ ซึ่งการขับเคลื่อนและเรียกร้องในครั้งนี้เพื่อให้นายสรยุทธ ในฐานะที่เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง ออกมาแสดงความรับผิดชอบ ไม่ควรปล่อยให้คนโกงหรือคนทำผิดไม่แสดงความรับผิดชอบและอาศัยคราบสื่อหาชื่อเสียง ไม่อย่างนั้นควรมีการการลงโทษทางสังคม (Social Sanction)

การเคลื่อนไหวหรือการลงโทษทางสังคม (Social Sanction) นั้น มี 2 ระดับ คือ 1.ทางธุรกิจ กลุ่มผู้สนับสนุน 2.ระดับสังคม กลุ่มผู้บริโภค หากจะทำให้ได้ผลทั้งสังคมต้องร่วมกันขับเคลื่อน โดยเฉพาะภาคธุรกิจ ผู้สนับสนุนโฆษณาจะเป็นส่วนที่เคลื่อนไหวได้ผลมากที่สุด

ส่วนภาคประชาชน เป็นหน้าที่ของสื่อสารมวลชนในการสร้างความรู้ ความเข้าใจและความตระหนักให้ประชาชนมองเห็นประเด็นความผิด ความไม่ถูกต้องในการทำผิดจริยธรรมสื่อ เช่น การโฆษณาแฝง การแจกของอันเป็นที่มาของรายได้บางประเภทที่ไม่ถูกต้อง เพื่อให้สามารถตัดสินใจได้ว่าคนกลุ่มนี้ยังควรได้รับการสนับสนุนอยู่หรือไม่ ทั้งนี้ ไม่ได้คาดหวังให้กรณีนี้เปลี่ยนแปลงสังคมได้ทันที แต่จะเป็นกรณีที่จุดประเด็นอื่นๆ ที่ต้องอาศัยการขับเคลื่อนของสังคมได้

สำหรับรูปแบบของการเคลื่อนไหวที่สามารถทำได้ เพื่อเรียกร้องการแสดงความรับผิดชอบ มีหลายทาง ได้แก่ 1.ทางกฎหมาย 2.การทำโพลล์ 3.เครือข่ายภาคประชาชนหรือเอ็นจีโอ 4.สื่ออสารมวลชนอื่นๆ และโซเชียลมีเดีย ที่จะเริ่มมีการรวมตัว ขับเคลื่อน และเรียกร้องอย่างเป็นระบบให้เกิดผลต่อจากนี้

อาทิ แง่มุมทางกฎหมาย มีการกระทำของนายสรยุทธ์ ที่ยังส่งผลต่อปัจจุบัน โดยกลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบ คือ ผู้ถือหุ้นในกลุ่มบริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) สามารถร้องเรียนได้ ในกรณีการขายโฆษณา แจกสินค้าหรือโฆษณาแฝงในรายการหลายชิ้นที่นอกเหนือจากเวลาโฆษณาที่มีอยู่ โดยเฉพาะเมื่อช่อง 3 มีช่วงรายการที่มุ่งเน้นความเป็น "ครอบครัวข่าว" จึงไม่ควรให้คนหรือสิ่งของที่ไม่บริสุทธิ์หรือมีความผิดมาทำรายการเสนอต่อครอบครัวหรือผู้บริโภค โดยไม่แสดงความรับผิดชอบ

/////
(เรื่องที่เกี่ยวข้อง)

เปิดตัวคนรับเช็ค 7 ใบซัด“สรยุทธ”โทร.สั่งให้ช่วย เสนอ 2% -เสร็จงานจ่ายไม่ครบ
วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม 2012 เวลา 19:00 น. 
เขียนโดย isranews หมวด ข่าวบุคคลดัง, Investigative

DecreaseIncreaseFont size Send Print
More Sharing ServicesShare | Share on facebook Share on myspace Share on google Share on twitter
เปิดตัว“พิชชาภา เอี่ยมสอาด”คนรับเช็ค 7 ใบซัด“สรยุทธ”โทร.สั่งให้ช่วย เสนอจ่ายค่าตอบแทน 2% บอกมีอะไรจะไม่ทิ้ง ทำงานเสร็จจ่ายไม่ครบ อ้าง“ไร่ส้ม”ทุ่มสูงลิ่วล่อคน อสมท เร่ขายโฆษณา

          นางพิชชาภา เอี่ยมสอาด  พนักงาน บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ได้ให้ปากคำต่อ ป.ป.ช.กรณีร่วมกันทุจริตเงินค่าโฆษณาส่วนเกิน 138 ล้านบาทว่านายสรยุทธ สุทัศนะจินดา เจ้าของบริษัท ไร่ส้ม จำกัด รู้เรื่องดีและเป็นผู้ขอให้ช่วยเหลือบริษัท ไร่ส้ม จำกัด           

          สำนักข่าวอิศรา //www.isranews.org รายงานว่า นางพิชชาภา เอี่ยมสอาด  พนักงาน บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ได้ให้ปากคำต่อ ป.ป.ช. กรณีที่มีการกล่าวหาว่าให้การช่วยเหลือบริษัท ไร่ส้ม จำกัด ให้โฆษณาเกินเวลาโดยไม่ต้องชำระราคาค่าโฆษณาเกินเวลาว่า ปฏิบัติหน้าที่รับเป็นผู้รับคิวโฆษณาของบริษัท ไร่ส้ม จำกัด และการที่ บริษัท ไร่ส้ม จำกัด มีโฆษณาเกินเวลาในรายการคุยคุ้ยข่าวมาโดยตลอดนั้น

          ขอยืนยันว่านายสรยุทธ สุทัศนะจินดา ต้องทราบดีเพราะ  

          1.นายสรยุทธ สุทัศนะจินดา ได้พูดคุยทางโทรศัพท์กับตน(นางพิชชาภา) โดยตรง โดยใช้โทรศัพท์ของเลขานุการส่วนตัวของนายสรยุทธ ชื่อเล่นว่าคุณแก้ว โดยขอให้ช่วยเหลือไม่ต้องแจ้งโฆษณาส่วนเกินเวลาของบริษัท ไร่ส้ม จำกัดให้กับทางอสมท และเพื่อเรียกเก็บเงินค่าโฆษณาส่วนเกินดังกล่าวจากบริษัท ไร่ส้ม จำกัด โดยนายสรยุทธรับปากกับตนว่าจะจ่ายค่าตอบแทนให้กับตนในจำนวนร้อยละ 2 ของค่าโฆษณาเกินเวลาที่บริษัท ไร่ส้ม จำกัด ไม่ต้องชำระให้กับ อสมท  

          เมื่อตนดำเนินการช่วยเหลือตามที่นายสรยุทธและเลขาฯของนายสรยุทธ คือ คุณแก้วขอร้องแล้ว ในช่วงแรกนายสรยุทธก็จ่ายเงินค่าตอบแทนตามที่รับปากไว้ โดยนายสรยุทธลงนามจ่ายเป็นเช็คของธนาคารธนชาต สาขาพระรามสี่ และให้คุณแก้ว ฝากไว้กับพนักงานของ อสมท ชื่อนางศิริทิพย์ (จำนามสกุลไม่ได้) เป็นผู้นำมามอบให้กับตนอีกทอดหนึ่ง

          โดยนายสรยุทธได้จ่ายเงินให้ตนประมาณ 8 ครั้ง ซึ่งทั้ง 8 ครั้งดังกล่าวก็ไม่ได้จ่ายให้ตนอย่างสม่ำเสมอ หรือตามจำนวนที่รับปากไว้ และเหตุที่ตนไม่ได้เรียกร้องให้จ่ายตามจำนวนที่ตกลงกันไว้เนื่องจาก เห็นว่าเป็นการตกกะไดพลอยโจน ช่วยเหลือนายสรยุทธไปแล้ว จึงยอมๆกันไป

@อ้าง “สรยุทธ” คืนเงิน 138 ล้าน จำนนหลักฐาน  

          2.เนื่องจากรายการคุยคุ้ยข่าว เป็นรายการสด และนายสรยุทธเป็นพิธีกรดำเนินรายการทุกวัน ดังนั้นนายสรยุทธย่อมทราบดีว่ารายการที่ออกอากาศในแต่ละวันมีโฆษณาทั้งหมดกี่โฆษณา เป็นโฆษณาตามเวลาจำนวนเท่าใด และในส่วนที่เกินเวลาจำนวนเท่าใด            

          นายสรยุทธย่อมทราบว่าในแต่ละวันรายการมีรายได้จากโฆษณาจำนวนเท่าใด เป็นรายได้จากโฆษณาตามเวลาปกติเท่าใด และเป็นรายได้จากโฆษณาส่วนเกินเวลาเท่าใด เพราะเงินค่าโฆษณาก็เป็นรายได้เพียงทางเดียวของบริษัท ไร่ส้ม จำกัด           

          จึงเป็นไม่ได้ที่นายสรยุทธจะไม่ทราบเรื่อง ดังที่อธิบายไปแล้ว  

          3. หลังจากที่ บริษัท อสมท ได้ตรวจพบว่า บริษัท ไร่ส้ม จำกัด มีโฆษณาส่วนเกินเวลาในรายการคุยคุ้ยข่าว แต่ไม่แจ้งและชำระค่าโฆษณาเกินเวลาดังกล่าวให้ อสมท

          นายสรยุทธได้บอกให้เลขาฯคือคุณแก้ว มาขอร้องให้ตนทำการลบรายการโฆษณาส่วนเกินของรายการคุยคุ้ยข่าวในใบคิวโฆษณา

         โดยบอกกับตนว่า “พี่สรยุทธ ขอร้องให้ช่วยเหลือ” และบอกอีกว่า หากมีอะไรนายสรยุทธก็จะช่วยเหลือไม่ทอดทิ้งอย่างแน่นอน 

         ตนจึงทำการลบรายการโฆษณาส่วนเกินของรายการคุยคุ้ยข่าวในใบคิวโฆษณาบางส่วนแต่ไม่ทั้งหมด ตามที่นายสรยุทธ และเลขาฯร้องขอ แต่ภายหลังเมื่อ อสมท ได้ตรวจสอบอย่างเป็นระบบก็ให้นายสรยุทธมาชำระค่าโฆษณาเกินดังกล่าวให้กับทาง อสมท  และตนทราบภายหลังว่านายสรยุทธ ได้ยินยอมชำระค่าโฆษณาส่วนเกินให้กับทาง อสมท.ในทันที

         เพราะจำนนต่อหลักฐาน

@ซัด “ไร่ส้ม” ทุ่มจ่ายค่าตอบแทนล่อคน อสมท  

         นางพิชชาภาให้การว่า สำนึกว่ากระทำผิดสร้างความเสียหายแก่ทางราชการ และ อสมท และต้องการเห็นความเป็นธรรมในสังคม

         นอกจากทำงานให้ อสมทแล้ว  ยังเคยหาโฆษณามาขายให้กับบริษัท ไร่ส้ม จำกัด  เพื่อโฆษณาในรายการคุยคุ้ยข่าว ประมาณ 2 ครั้ง  ทั้งนี้ เนื่องจากบริษัทไร่ส้ม จำกัด จะจ่ายค่าตอบแทนให้กับผู้ที่หาโฆษณาให้บริษัทไร่ส้ม จำกัด ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าโฆษณาที่ได้รับ

         ในขณะที่ อสมท จ่ายในอัตราร้อยละ 20  ของค่าโฆษณาที่ได้รับเท่านั้น  ทำให้พนักงานของ อสมท.ซึ่งมีหน้าที่หาโฆษณาให้กับ อสมท นำโฆษณาไปขายให้กับบริษัท ไร่ส้ม จำกัด แทนที่จะนำมาขายให้กับทาง อสมท ตามหน้าที่ของตน

        ซึ่งการทำธุรกิจดังกล่าวของบริษัท ไร่ส้ม จำกัด เป็นการเอาเปรียบ อสมท ไม่ดำเนินธุรกิจอย่างตรงไปตรงมา  

        สำหรับเงินค่าขายโฆษณาหรือค่าคอมมิชชันที่เคยขายโฆษณาให้กับทาง บริษัท ไร่ส้ม จำกัด  จำนวน 2 ครั้ง ดังกล่าว บริษัท ไร่ส้ม จำกัด จ่ายเป็นเช็คของธนาคารธนชาต สาขาสี่พระรามสี่ ต่างหาก ไม่เกี่ยวกับเงินค่าช่วยเหลือที่นายสรยุทธ และเลขาฯ (คุณแก้ว) จ่ายให้เป็นเงินค่าจ้างประสานงานโฆษณา กรณี บริษัท ไร่ส้ม จำกัด โฆษณาเกินเวลา

        กล่าวคือ เป็นการจ่ายคนละครั้งและเช็คคนละฉบับไม่เกี่ยวข้องกัน
//////////////
“สรยุทธ” แจงคืนเงินโฆษณา138ล.ให้ อสมท.แล้ว-เช็ค7แสนค่านายหน้าปกติ
วันศุกร์ที่ 21 กันยายน 2012 เวลา 09:34 น. 
เขียนโดย isranews หมวด ข่าว
"สรยุทธ" ชี้แจงคดียักยอกเงินโฆษณาเกิน 138 ล.ผ่านรายการ อ้างคืน อสมท.หมดแล้ว-ไม่เคยรู้จักพนักงานธุรการ-เช็ค 7 แสนให้ค่านายหน้าปกติ

                เมื่อเวลา 07.11 น. นายสรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมการผู้จัดการบริษัท ไร่ส้ม จำกัด ได้ชี้แจงผ่านรายการ “เรื่องเล่าเช้านี้” ออกอากาศสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ถึงกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิดทางอาญา ในฐานเป็นผู้สนับสนุนพนักงานบริษัท อมสท จำกัด (มหาชน) ยักยอกเงินโฆษณาเกินเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา จากการจัดรายการ “คุยคุ้ยข่าว” ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี ระหว่างปี 2548-2549 โดยการอ่านเอกสารที่เตรียมมา ใช้เวลา 6.12 นาที ว่า ตามที่ ป.ป.ช.ได้มีมติชี้มูลบริษัทไร่ส้มฯและตน ว่ามีความผิดฐานสนับสุนนการกระทำความผิดของพนักงาน บมจ.อสมท ให้ช่วยเหลือบริษัทไร่ส้มฯ ได้โฆษณาเกินเวลาตามที่กำหนดไว้สัญญาโดยไม่เรียกเก็บเงินค่าโฆษณา เป็นเงิน 138,790,000 บาท ตนเคยชี้แจงไปว่าพร้อมพิสูจน์และรับผิดชอบในเรื่องนี้ ทั้งนี้ตนเคารพคำวินิจฉัยของ ป.ป.ช. แต่ก็จะต่อสู้คดีในชั้นอัยการและศาลต่อไป

                “ขออนุญาตใช้เวลาขี้แจงสั้นๆ ประการแรก ที่ ป.ป.ช.มีมติชี้มูลความผิด เงินจำนวน 138,790,000 บาท ผมได้ดำเนินการชำระให้ บมจ.อสมท ไปครบถ้วนทุกบาททุกสตางค์แล้ว เมื่อมี บมจ.อสมท เรียกเก็บเงินโฆษณาส่วนเกิน แต่ขณะเดียวกัน ในส่วนที่ บมจ.อสมท ได้ลงเงินโฆษณาเกินโควตา ในความเข้าใจของบริษัทไร่ส้มฯ ซึ่งมีข้อตกลงระหว่างกัน ว่าแบ่งอัตราโฆษณา 50:50  บมจ.อสมท ปฏิเสธที่จะชำระให้บริษัทไร่ส้มฯ ซึ่งผมในนามของบริษัทไร่ส้มฯ ก็ได้ฟ้องร้อง ขอพึ่งศาลปกครอง ขณะนี้คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครอง” นายสรยุทธกล่าว

                “เพราะฉะนั้น ขอย้ำนะครับ ท่านผู้ชมนะครับ ว่า เงินจำนวน 138 ล้านเศษๆนั้น ได้ชำระให้ อสมท ครบถ้วน จึงไม่ได้มีความเสียหายกับ อสมท ในส่วนนี้ ในแง่ของจำนวนเงิน ขณะเดียวกันในส่วนความเสียหายของบริษัท ผมก็จะรอศาลปกครองต่อไป นี่เป็นประการที่ 1 นะฮะ”

                นายสรยุทธ กล่าวว่า ส่วนประการที่ 1 ป.ป.ช.มีมติว่าบริษัทไร่ส้มฯและตน ยังมีความผิดเพราะคำให้การของพนักงาน บมจ.อสมท ระดับธุรการคนหนึ่ง ซึ่งอ้างว่าดำเนินการตามคำแนะนำของตน ซึ่งตนก็จะไปพิสูจน์ในกระบวนการยุติธรรม ว่าไม่ได้รู้เห็น ไม่ได้แนะนำ ไม่แม้กระทั่งรู้จักพนักงานคนดังกล่าว ส่วนที่มีเช็คเป็นเงิน 7 แสนกว่าบาทลงลายมือชื่อตน สั่งจ่ายให้กับพนักงานคนดังกล่าว เพื่อปกปิดความผิด ขอชี้แจงว่า เพราะตนเป็นผู้มีอำนาจลงนามแทนบริษัทไร่ส้มฯในเช็คทุกใบที่ออกจากบริษัท และการลงนามในเช็คนั้นก็เป็นการเบิกจ่าย ”ค่านายหน้า” การประสานงานโฆษณาตามปกติ ที่สำคัญมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ครบถ้วน

                “บมจ.อสมท เป็นองค์กรรัฐวิสาหกิจ และอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ย่อมต้องมีระบบตรวจสอบทั้งภายนอกและภายในที่เข้มข้น ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่ผมจะขอให้พนักงานระดับธุรการเพียงคนเดียว ปกปิดเรื่องนี้เอาไว้ โดยไม่มีใครตรวจสอบพบเป็นระยะเวลายาวนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการโฆษณาออกอากาศอย่างเปิดเผย และเป็นที่รับรู้กันในเวลานั้น ว่าเป็นรายการใน บมจ.อสมท ที่มีโฆษณามากที่สุด” นายสรยุทธกล่าว
//////////////
 เปิดคำให้การ“สรยุทธ”ร่ายยาว 30 หน้ากระดาษ ดังแล้วไม่โกง โยนถ้าผิด“ลูกน้องทำ”
วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม 2012 เวลา 20:00 น. เขียนโดย isranews หมวด ข่าวบุคคลดัง, Investigative
DecreaseIncreaseFont size Send Print
More Sharing ServicesShare | Share on facebook Share on myspace Share on google Share on twitter

เปิดคำให้การ“สรยุทธ สุทัศนะจินดา”กรณียักยอก138 ล้าน ร่ายยาว 30 หน้ากระดาษ ดังแล้วไม่โกง ซัดแหลก ผู้บริหาร-พนักงาน อสมท.มีผลประโยชน์แฝง โยนถ้าผิดลูกน้องทำ บ.ไร่ส้มไม่เกี่ยว  

         กรณีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ  (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) ได้ชี้มูล นายสรยุทธ สุทัศนะจินดา เจ้าของบริษัท ไร่ส้ม จำกัด  มีความผิดฐานสนับสนุนเจ้าพนักงาน อสมท.ยักยอกเงินโฆษณา 138 ล้านบาท ดังรายงานข่าวก่อนหน้านี้  ขณะที่นายสรยุทธใช้เวลา “เรื่องเล่าเช้านี้”ทางช่อง 3 เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2555 ชี้แจงข้อเท็จจริงสรุปว่าพร้อมพิสูจน์ข้อเท็จจริงและต่อสู้ไปตามกระบวนการและจะใช้สิทธิต่อสู้ในชั้นอัยการและศาลต่อไป  

         สำนักข่าวอิศรา //www.isranews.org ตรวจสอบพบว่าในชั้นไต่สวนของอนุกรรมการไต่สวน ป.ป.ช.นายสรยุทธได้ทำหนังสือชี้แจงต่อประธานอนุกรรมการไต่สวน เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2554 ความยาว 30 หน้ากระดาษ แบ่งออกเป็น 11  หัวข้อ เริ่มตั้งแต่  

         1.ความเป็นมาในการก่อตั้งบริษัท ไร่ส้ม จำกัด  

         2.โครงสร้างองค์กรและการบริหารจัดการบริษัท ไร่ส้ม  จำกัด บทบาทหน้าที่ของพนักงานคือนางสาวอังคณา วัฒนมงคลศิลป์ นางสาวสุกัญญา แซ่ลิ่ม นางมณฑา ธีระเดช   

         3.เจตนารมณ์ตามสัญญาร่วมผลิตรายการ “คุยคุ้ยข่าว” ระหว่าง อสมท. กับ บริษัท ไร่ส้ม จำกัด และขั้นตอนการทำสัญญาระหว่างกัน   

         4.ทางปฏิบัติทางการค้าระหว่างบริษัท อสมท. จำกัด กับบริษัท ไร่ส้ม ในส่วนที่เกี่ยวกับการโฆษณา   เป็นต้น

        ในแต่ละกรณีสรุปได้ดังนี้  

ได้ทำคุยคุ้ยข่าว“มิ่งขวัญ”ตอบแทน  

        นายสรยุทธชี้แจงว่า เหตุที่บริษัท ไร่ส้มได้ทำรายการ “คุยคุ้ยข่าว”เพราะนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ ผู้อำนวยการ อสมท.เป็นคนเสนอเพราะตอบแทนที่ทำรายการ “ถึงลูกถึงคน”จนมีชื่อเสียงและได้รับความนิยมเป็นหน้าเป็นตาของช่อง 9  รวมทั้งสร้างรายได้ให้กับสถานีในช่วงเวลาดึกทั้งที่แต่เดิมนั้นไม่ใช่เวลาที่สร้างรายได้ของสถานีแต่อยางใด  

         ข้อกล่าวหาที่ว่า “เมื่อนายสรยุทธและนางสาวมณฑา ธีระเดช เจ้าหน้าที่ของบริษัท ไร่ส้ม จำกัด ได้รู้จักคุ้นเคยกับนางพิชชาภา เอี่ยมสอาดเจ้าหน้าที่ สำนักกลยุทธ์การตลาด บริษัท อสมท ซึ่งมีหน้าที่โดยตรงในการประสานงานรับคิวโฆษณา จากบริษัท ไร่ส้ม จำกัด เพื่อนำไปจัดทำคิวโฆษณารวมของบริษัท อสมท. และบริษัท ไร่ส้ม จำกัด ในการออกอากาศรายการทีวีคุยคุ้ยข่าว แล้วนายสรยุทธและนางสาวมณฑา เห็นช่องทางที่จะไม่จ่ายค่าโฆษณาเกินเวลาให้บริษัท อสมท 

        โดยนายสรยุทธและนางสาวมณฑาได้ร่วมกระทำความผิดต่อนางพิชชาภา ขอให้ช่วยเหลือไม่ต้องรายงานแจ้งเรื่องโฆษณาส่วนเกินเวลาของบริษัท ไร่ส้ม จำกัด โดยเสนอจ่ายเงินให้เป็นการตอบแทนที่ไม่รายงานเรื่อง บริษัท ไร่ส้ม จำกัด โฆษณาส่วนเกินเวลาดังกล่าว หลายกรรมต่างกัน”

อ้างลูกน้องทำผิดเรื่องส่วนตัว -ไม่สั่ง  

        นายสรยุทธปฏิเสธว่า ไม่เคยมีพฤติการณ์ตามข้อกล่าวหาของคณะอนุกรรมการไต่สวน ไม่เคยรู้จักหรือติดต่อกับนางพิชชาภา เอี่ยมสอาด มาก่อน และไม่เคยรู้ด้วยว่านางพิชชาภา เป็นเจ้าหน้าที่สำนักกลยุทธ์การตลาด บริษัท อสมท. ซึ่งมีหน้าที่โดยตรงในการประสานงานรับคิวโฆษณาจากบริษัทไร่ส้ม 

       การบริหารงานจัดการของบริษัทไร่ส้มทีมงานแค่ละคนมีหน้าที่รับผิดชอบประสานในสายงานที่ตนเองมีส่วนเกี่ยวข้อง  โดยการประสานงานเกี่ยวกับโฆษณาจะเป็นหน้าที่ของนางสาวมณฑา ธีระเดช ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบฝ่ายการตลาดของบริษัทไร่ส้ม  โดยขอบเขตหน้าที่ตามที่บริษัทไร่ส้มมอบหมาย

        บริษัทฯ ไม่เคยมอบหมายให้นางสาวมณฑาติดต่อกับนางพิชชาภา เอี่ยมสอาด หรือเจ้าหน้าที่คนใดของบริษัท อสมท.เพื่อขอให้ช่วยเหลือไม่ต้องรายงานแจ้งเรื่องโฆษณาส่วนเกินและเสนอเงินตอบแทนใดๆ  

         “นอกจากนั้นในช่วงระยะเวลาดังกล่าวนางสาวมณฑา ก็ไม่เคยแจ้งให้บริษัทฯหรือนายสรยุทธหรือกรรมการของบริษัทฯคนอื่นๆ ทราบว่าได้มีการดำเนินการตามพฤติการณ์แห่งข้อกล่าวหา ดังนั้นหากนางสาวมณฑา ได้กระทำการตามพฤติการณ์ข้อกล่าวหาจริง ก็ต้องถือว่าเป็นการปฎิบัตินอกเหนือจากขอบเขตอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากบริษัทฯและเป็นการกระทำที่นายสรยุทธไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใดทั้งสิ้น”

          นายสรยุทธระบุว่า เข้าใจโดยสุจริตมาตลอดว่าเหตุที่บริษัทไร่ส้มได้มีการโฆษณาเกินเวลา แต่บริษัท อสมท ยังไม่ได้เรียกเก็บเงินค่าโฆษณาส่วนเกินจากบริษัทไร่ส้ม หลังจากเดือนเมษายน 2548 จนถึงปี 2549 เพราะสัดส่วนการโฆษณาเกินเวลาของทั้งสองฝ่ายมีปริมาณที่ใกล้เคียงกัน โดยบริษัท อสมท.ได้ใช้วิธีหักลบกันไปและจะแจ้งให้บริษัทไร่ส้มทำหนังสือขอซื้อโฆษณาส่วนเกินก็ต่อเมื่อบริษัทไร่ส้มได้มีโฆษณาเกินเวลามากกว่าบริษัท อสมท.

         ดังนั้นการที่ บริษัท อสมท.ยังไม่ได้เรียกเก็บค่าโฆษณาส่วนเกินจึงน่าจะมาจากเหตุผลดังกล่าวไม่ใช่เพราะว่าบริษัท ไร่ส้ม ได้จ่ายค่าตอบแทนแก่นางพิชชาภา เอี่ยมสอาด เจ้าหน้าที่สำนักกลยุทธ์การตลาด บริษัท อสมท.

คุย “ดังแล้วไม่โกง”  

         นายสรยุทธระบุว่า ตนเองเป็นสื่อมวลชนที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมเป็นอย่างมากมาตั้งแต่การทำรายการโทรทัศน์ “คมชัดลึก” และ “เก็บตกจากเนชัน” ให้กับบริษัท เนชัน มัลติมีเดียกรุ๊ป จำกัด เป็นสื่อมวลชนที่ได้รับการยอมรับในวงการและมีอนาคตที่จะเติบโตก้าวหน้าต่อไปในสายงานวิชาชีพไปอีกมาก

        ดังจะเห็นได้จากการได้รับความนิยมจากการดำเนินรายการโทรทัศน์จนกระทั่งปัจจุบันคือรายการ “เรื่องเล่าเช้านี้”ทั้งในวันจันทร์-ศุกร์ และวันเสาร์-อาทิตย์ จึงย่อมที่จะไม่ยอมแลกจิตวิญญาณและอนาคตทางวิชาชีพไปกับผลประโยชน์เพียงชั่วครู่ชั่วยามอย่างแน่นอน

เช็ค 7ฉบับ “ค่าประสานงานโฆษณา”  

         กรณีจ่ายเช็ค 7 ฉบับเป็นค่าตอบแทนที่นางพิชชาภา มิได้รายงานการโฆษณาเกินเวลาของบริษัท ไร่ส้ม จำกัด เพื่อเรียกเก็บเงินค่าโฆษณาเกินเวลาในปี 2548-2549 นายสรยุทธระบุว่า เป็นเช็คที่บริษัทไร่ส้มจ่ายเป็น “ค่าประสานงานโฆษณา”ซึ่งหมายถึงการจ่ายค่าคอมมิชชันในการหาโฆษณาที่อยู่ในความรับผิดชอบของนางสาวมณฑา ธีระเดช  เจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดของบริษัท ไร่ส้ม ซึ่งนางสาวมณฑามีหน้าที่ตั้งแต่การติดต่อลูกค้าเพื่อหาโฆษณา การประสานงานเกี่ยวกับการโฆษณากับบริษัท อสมท. ตลอดจนการประสานงานกับฝ่ายบัญชีของบริษัท ไร่ส้ม เพื่อให้มีการเรียกเก็บเงินค่าโฆษณาจากลูกค้า และการตัดจ่ายค่าประสานงานโฆษณาให้แก่ผู้ที่หาโฆษณาได้

         โดยหลังจากที่บริษัท ฯได้รับค่าโฆษณามาจากลูกค้าแล้วนางสาวมณฑาจะเป็นผู้ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชีวาลูกค้าในส่วนที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของตนนั้นจะตัดแบ่งจ่ายค่าประสานงานโฆษณาให้กับตนเองและบุคคลใดบ้าง ซึ่งในการตัดจ่ายค่าประสานงานโฆษณาแต่ละครั้งนางสาวมณฑาจะนำรายชื่อของบุคคลและคณะบุคคลต่างๆอีกหลายคนเพื่อให้มีการจ่ายค่าประสานงานโฆษณาให้แก่บุคคลต่างๆ และเป็นไปได้ว่าบุคคลดังกล่าวจะมีส่วนร่วมในการหาโฆษณากับนางสาวมณฑาหรืออาจเป็นกรณีที่นางสาวมณฑาต้องการที่จะหลีกเลี่ยงไม่ให้ตนเองต้องรับภาระภาษีจำนวนมากก็เป็นได้ จึงต้องกระจายให้บุคคลต่างๆ

        เพราะตามวิธีปฏิบัติของบริษัทฯฝ่ายบัญชีจะทำการหักภาษี ณ ที่จ่ายทุกครั้ง ที่มีการจ่ายค่าประสานงานโฆษณาอย่างถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ

ปัดใช้คน อสมท.ใช้น้ำยาลบคำผิด  

         ข้อกล่าวหาที่ว่า นายสรยุทธร่วมกับนางสาวมณฑาได้ใช้ให้นางพิชชาภาใช้น้ำยาลบคำผิดลบข้อความในใบคิวโฆษณารวมของบริษัท อสมท.โดยลบเฉพาะคิวโฆษณาในส่วนของบริษัทไร่ส้ม ในใบคิวโฆษณารวมปี 2548-2549 เพื่อปกปิดความผิดนั้น   

         นายสรยุทธปฏิเสธว่าไม่เคยใช้ให้นางพิชชาภาใช้น้ำยาลบคำผิดลบข้อความในใบคิวโฆษณารวมของบริษัท อสมท. และไม่เคยใช้ให้นางสาวมณฑาหรือพนักงานคนใดไปกระทำการตามพฤติการณ์ข้อกล่าวหาด้วย เพราะไม่มีเหตุผลและความจำเป็น

         ยิ่งกว่านั้นบริษัทไร่ส้มยังให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามสัญญากับบริษัท อสมท.มาโดยตลอดและเป็นไปอย่างโปร่งใส

ซัดผู้บริหาร อสมท.-พนักงานมีผลประโยชน์แฝง  

        นายสรยุทธชี้แจงว่า บริษัทไร่ส้มกับบริษัท อสมท.มีข้อพิพาททางการค้าระหว่างกันตามสัญญาร่วมดำเนินรายการ “คุยคุ้ยข่าว" ซึ่งเป็นกรณีเดียวกันกับพฤติการณ์ตามข้อกล่าวหาของอนุกรรมการไต่สวน จนกระทั่ง บริษัทไร่ส้มต้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง เรียกให้บริษัท อสมท.ชดใช้เงินจำนวน 253,026,691.12 บาท

       ดังนั้นบริษัท อสมท.จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จำเป็นต้องปกป้องผลประโยชน์ของตนจากข้อพิพาท และนอกจากนั้นบรรดาผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของบริษัท อสมท.ก็ยังมีผลประโยชน์ในค่าโฆษณาส่วนเกินของบริษัท อสมท.ตามที่ถูกบริษัท ไร่ส้มฟ้องร้องไว้ จึงย่อมต้องปกป้องมิให้บริษัท อสมท.ต้องชำระค่าโฆษณาส่วนเกินแก่บริษัท ไร่ส้ม เพราะจะทำให้ตนเองได้รับผลกระทบไปด้วย

        การรับฟังข้อเท็จจริงทั้งจากการให้ถ้อยคำของผู้บริหารและพนักงาน อสมท. รวมทั้งข้อเท็จจริงและความเห็นที่ปรากฏในรายการผลการสอบสวนของคณะอนุกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง คณะอนุกรรมการไต่สวนจึงต้องใช้ความระมัดระวังในการรับฟังเป็นอย่างมาก

        นอกจากนั้นผู้บริหารหรือเจ้าหน้าที่ของบริษัท อสมท.ซึ่งเป็นผู้ถูกกล่าวหาร่วมอยู่ด้วยก็ได้ให้ถ้อยคำในลักษณะซัดทอดจึงไม่อาจรับฟังได้ ดังจะเห็นได้จากการอ้างข้อเท็จจริงในบางเรื่องที่เป็นความเท็จ

(อ่านละเอียดคำให้การ ตอนหน้า)
/////////////////
เบื้องหลัง"สรยุทธ"หัก"เนชัน"ซบช่อง 3-โชว์เข้าตา"มิ่งขวัญ" เรียกตอบแทน
วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม 2012 เวลา 20:00 น. เขียนโดย isranews หมวด ข่าวบุคคลดัง, Investigative
DecreaseIncreaseFont size Send Print
More Sharing ServicesShare | Share on facebook Share on myspace Share on google Share on twitter
“สรยุทธ”เผยปมหัก“เนชั่น”เบรกทำรายการ“เรื่องเล่าเช้านี้”-โชว์ผลงานเข้าตาได้อัพค่าตัวพิธีกรจาก 5,000 บาทเป็น30,000 บาท“มิ่งขวัญ”ยก“คุยคุ้ยข่าว”ตอบแทน ดึงเพื่อนตั้งบริษัทแต่มีปัญหาเลยซื้อหุ้นคนเดียว  

      คำชี้แจงข้อกล่าวหาของนายสรยุทธ สุทัศนะจินดา ต่อคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงของ ป.ป.ช. เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2554  กรณีถูกกล่าวหาสนับสนุนพนักงาน อสมท.ยักยอกเงินโฆษณา 138 ล้านบาท ประเด็นการก่อตั้ง บริษัท ไร่ส้ม จำกัด นายสรยุทธได้เล่าความเป็นมาในการลาออกจากบริษัท เนชั่น มัลติมีเดียกรุ๊ป จำกัด มาทำรายการเรื่องเล่าเช้านี้ที่ช่อง 3 จากนั้นก็เข้าสู่ช่อง 9 และมีปัญหากับหุ้นส่วนธุรกิจ  

       สำนักข่าวอิศรา //www.isranews.org  เรียบเรียงคำชี้แจงมาเสนอดังนี้  นายสรยุทธระบุว่า เดิมเป็นพนักงานบริษัท เนชั่น มัลติมีเดียกรุ๊ป จำกัด มีตำแหน่งเป็นบรรณาธิการข่าวของหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น และทำรายการโทรทัศน์ในระบบเคเบิ้ล คือรายการ “คมชัดลึก”และ “เก็บตกจากเนชั่น”

       ต่อมาเมื่อประมาณปี 2546 ได้รับการทาบทามจากไทยทีวีสีช่อง 3  ให้มาทำรายการข่าวในช่วงเช้าวันละครึ่งชั่วโมง (ต่อมาคือรายการเรื่องเล่าเช้านี้)ซึ่งเป็นช่วงก่อนจัดรายการ“เก็บตกจากเนชั่น” แต่ปรากฏว่าบริษัทเนชันฯ ไม่ยินยอมที่จะให้ไปทำรายการดังกล่าว

       ดังนั้นในเดือนพฤษภาคม 2546 จึงได้ลาออกจากการเป็นพนักงาน บริษัทเนชั่นฯ เพื่อมารับจ้างเป็นพิธีกรรายการ “เรื่องเล่าเช้านี้”ทางช่อง 3 และในระหว่างเตรียมงานรายการ “เรื่องเล่าเช้านี้” ก็ได้รับการติดต่อจากนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ กรรมการผู้จัดการของบริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) ในขณะนั้นให้มารับเป็นพิธีกรรายการใหม่ทางช่อง 9 อสมท.

      จนกระทั่งได้ข้อสรุปว่าเป็นรายการ “ถึงลูกถึงคน”ออกอากาศทุกคืนวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา  23.00 น.-00.30  น. เริ่มออกอากาศครั้งแรกวันที่ 3 มิถุนายน 2546 ได้รับค่าจ้างเป็นพิธีกรแบบรายวันตอนละ 5,000 บาท  

       นายสรยุทธระบุว่า เมื่อรายการ “ถึงลูกถึงคน”ได้รับความนิยมจนมีโฆษณาสนับสนุนรายการมากขึ้นเรื่อยๆ ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2547 นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ เสนอให้ทำรายการเพิ่มขึ้นอีกรายการหนึ่งในรูปแบบรายการ “คุยข่าว” คล้ายกับ “เรื่องเล่าเช้านี้”ที่ทำให้แก่ช่อง 3 ซึ่งได้รับความนิยมเช่นเดียวกัน และเพื่อตอบแทนที่ได้ทำรายการ “ถึงลูกถึงคน”จนมีชื่อเสียงและได้รับความนิยมเป็นหน้าเป็นตาของช่อง 9 รวมทั้งสร้างรายได้ให้กับสถานีในช่วงเวลาดึกทั้งที่แต่เดิมนั้นไม่ใช่เวลาทั้งสร้างรายได้ของสถานีแต่อย่างใด บริษัท อสมท.ได้เสนอให้เข้าเป็นผู้ร่วมผลิตรายการและแบ่งเวลาโฆษณาแบบ Time Sharing 50:50 พร้อมกันนั้นก็ได้ขึ้นค่าตอบแทนการเป็นพิธีกรรายการ “ถึงลูกถึงคน”เป็นตอนละ 30,000 บาท โดยให้คงสภาพการจ้างเป็นพิธีกรเหมือนเดิม  

       นายสรยุทธระบุว่า เมื่อต้องผลิตรายการใหม่ให้อสมท.ในชื่อ “คุยคุ้ยข่าว”การทำงานคงเปลี่ยนไปและต้องหาโฆษณาและมีพนักงานที่จะต้องรับผิดชอบ จึงตั้งบริษัท ไร่ส้ม จำกัด เพื่อรองรับการการทำรายการซึ่งเกิดขึ้นในเวลาอันรวดเร็ว เพราะไม่มีประสบการในการก่อตั้งหรือบริหารกิจการด้วยตนเองมาก่อน 

       ก่อนหน้านั้นเคยร่วมกับเพื่อนที่มีประสบการณ์ทางธุรกิจในการก่อตั้งบริษัท ชัดถ้อยชัดคำ จำกัด แต่ไม่ได้มีส่วนในการบริหารจัดการอย่างเต็มตัวจนกระทั่งมีปัญหาในแนวทางการทำงาน จึงได้ซื้อหุ้นของบริษัทนี้ทั้งหมดและนำมาใช้ในการรับค่าจ้างเป็นพิธีกรรายการเรื่องเล่าเช้านี้ ทางช่อง 3 ในเวลาต่อมา  ในการก่อตั้งบริษัท ไร่ส้ม จำกัด ได้ชักชวน บุคคล 3 คน คือ  

      1.นางสาวอังคณา วัฒนามงคลศิลป์ ซึ่งเคยทำงานร่วมกันมาตั้งแต่สมัยจัดรายการ “สนทนาข่าว”ทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี มาร่วมเป็นผู้ถือหุ้น กรรมการ รวมทั้งมีหน้าที่กำกับดูแลในการผลิตรายการ “คุยคุ้ยข่าว”    

      2.นางสาวสุกัญญา แซ่ลิ่ม เดิมเป็นนักข่าวประจำหนังสือพิมพ์เดอะเนชัน  ชักชวนมาทำงานร่วมกันมีหน้าที่ติดต่อแขกรับเชิญมาออกรายการ “ถึงลูกถึงคน” ดูประเด็นข่าวในแต่ละวัน รวมถึงทำหน้าที่เลขานุการกรรมการผู้จัดการบริษัท ไร่ส้ม ประสานงานและนัดหมายงานต่างๆ และให้ถือหุ้นและเป็นกรรมการบริษัท ไร่ส้ม ด้วย

      3.นางมณฑา ธีระเดช เคยเป็นโปรดิวเซอร์รายการสนทนาข่าวให้กับเนชัน มัลติมีเดียกรุ๊ป เคยเป็นโปรดิวเซอร์รายการ “เนชันนิวส์ทอล์ค” ให้กับนายสุทธิชัย หยุ่น มาเป็นเวลานาน และเคยทำงานร่วมกันในหน้าที่โปรดิวเซอร์รายการ “คมชัดลึก” โดยให้นางมณฑา มาช่วยเป็นโปรดิวเซอร์ร่วมทำรายการเรื่องเล่าเช้านี้ ออกอากาศครั้งแรกวันที่ 2 มิถุนายน 2546 นางมณฑาจึงได้ลาออกจากบริษัทเนชัน

      ต่อมานางสาวมณฑา ได้ทำหน้าที่เพียงพนักงานของบริษัทไร่ส้ม โดยไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นและเป็นกรรมการของบริษัทด้วย เนื่องจากบริษัท ไร่ส้ม ได้ใช้เวลาในการเตรียมการก่อตั้งทั้งโดยการประชุมและการรวบรวมเอกสารในช่วงหลังเที่ยงคืนหลังจากเสร็จการทำรายการ “ถึงลูกถึงคน” ซึ่งนางสาวมณฑามิได้มีส่วนร่วมในการจัดตั้งบริษัทดังกล่าว

(อ่านรายละเอียดเพิ่มตอนหน้า)
//////////////
“สรยุทธ”ดึงบ.ซีเนริโอ“บอย-ถกลเกียรติ”พันคดี 138 ล.-น่าเชื่อทำเอกสารย้อนหลัง?
วันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม 2012 เวลา 20:00 น. เขียนโดย isranews หมวด ข่าวบุคคลดัง, Investigative
DecreaseIncreaseFont size Send Print
More Sharing ServicesShare | Share on facebook Share on myspace Share on google Share on twitter
ปมใหม่คำให้การ“สรยุทธ สุทัศนะจินดา”ซัดทอด บ.ซีเนริโอของ“บอย-ถกลเกียรติ วีรวรรณ”น่าเชื่อร่วม อสมท.ทำเอกสารใบส่งโฆษณาส่วนเกินย้อนหลัง รับพบ“มิ่งขวัญ”แค่เจรจาส่วนลด 30%


               ในคำชี้แจงข้อกล่าวหาของนายสรยุทธ สุทัศนะจินดา ต่อคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงของ ป.ป.ช. เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2554  กรณีถูกกล่าวหาสนับสนุนพนักงาน อสมท.ยักยอกเงินโฆษณาส่วนเกิน 138 ล้านบาท นายสรยุทธได้กล่าวหา บริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) ไม่มีหลักเกณฑ์ที่จัดเจนในการปฏิบัติงานตามสัญญาร่วมดำเนินการรายการ “คุยคุ้ยข่าว” พร้อมชี้แจงว่า บริษัท อสมท. กับ บริษัท ซีเนรีโอ จำกัด น่าจะทำเอกสารใบแจ้งโฆษณาส่วนเกินย้อนหลังด้วยหลังจาก บริษัท ซีเนรีโอ จำกัด มีการโฆษณาส่วนเกินไปก่อนหน้านี้แล้ว กล่าวคือ

                ข้อกล่าวหาของคณะอนุกรรมการ ป.ป.ช.ที่ว่า

                “ในช่วงแรกของการดำเนินรายการคุยคุ้ยข่าว บริษัท ไร่ส้ม จำกัด ได้มีหนังสือลงวันที่ 2 มีนาคม 2548  ขอซื้อเวลาโฆษณาสวนเกินเพิ่มเติมจากบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) และได้ชำระค่าโฆษณาส่วนเกินให้ทางบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)”

                ประเด็นนี้นายสรยุทธชี้แจงว่า ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการขอซื้อเวลาโฆษณาส่วนเกินตามพฤติการณ์แห่งข้อกล่าวหาดังกล่าวไม่ถูกต้องตามความจริงและทำให้คณะอนุกรรมการไต่สวนเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับทางปฏิบัติทางการค้าในการโฆษณาส่วนเกินเวลาว่า เมื่อบริษัทฯจะลงโฆษณาเกินเวลาที่ได้รับสิทธิ์จะต้องแจ้งล่วงหน้าเพื่อให้บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) พิจารณาว่ามีเวลาพอให้ลงโฆษณาส่วนเกินหรือไม่ ดังเช่นการซื้อเวลาโฆษณาตามหนังสือฉบับที่คณะอนุกรรมการไต่สวนได้อ้างถึง ดังนั้นจึงขอชี้แจงความเป็นมาของหนังสือฉบับดังกล่าวดังนี้

                เอกสารฉบับดังกล่าวจัดทำขึ้นโดยนางสาวมณฑา ธีระเดช เจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดบริษัท ไร่ส้ม จำกัด ที่ได้ส่งไปยังบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) โดยโทรสาร (FAX) เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2548 ถึงแม้หนังสือจะไม่ได้ระบุวันที่แต่พิจารณาได้จากรายละเอียดของโทรสารด้านบนของหนังวือที่ระบุว่า “BANGKOK GRAMA FAX NO:66222526800 4003 Apr.2005 10:50 AM P.1”   ซึ่งหมายถึงการส่งโทรสารจากสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 (Bangkok Drama)หมายเลขเครื่องส่ง 02-2252-6800  (โดยนางสาวมณฑา ใช้โทรสารของที่นี่ส่งเอกสารที่เกี่ยวกับการโฆษณาไปยังบริษัท อสมท (มหาชน) เป็นประจำหนังเสร็จรายการเรื่องเล่าเช้านี้) วันที่ส่งคือวันที่  1 เมษายน  2548 เวลา 10.58 นาฬิกา โดยได้มีการจัดทำหนังสือและจัดส่งภายหลังจากที่ได้มีการโฆษณาออกอากาศของเดือนมีนาคม 2548 ไปแล้ว  และภายหลังจากการที่บริษัท อสมท (มหาชน) ได้แจ้งให้บริษัท ไร่ส้ม จำกัด ทำหนังสือแจ้งความประสงค์ของซื้อโฆษณาส่วนเกินรวมทั้งสรุปจำนวนเวลาโฆษณาส่วนเกินที่เกิดขึ้นในเดือนมีนาคม 2548 เพื่อที่บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) จะได้ตรวจสอบความถูกต้อง คำนวณค่าโฆษณาพร้อมส่วนลด ดำเนินการในขั้นตอนการทำสัญญาและชำรำเงินตามลำดับต่อไป

                โดยหลังจากที่บริษัท ไร่ส้ม จำกัด ได้ส่งโทรสารสรุปและโฆษณาส่วนเกินของเดือนมีนาคม 2548 ไปยังบริษัท อสมท เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2548 แล้ว บริษัท อสมท จึงได้จัดทำสัญญาโฆษณา ฉบับลงวันที่ 3 พ.ค.2548 เพื่อเป็นการขอซื้อโฆษณาส่วนเกิน รวม 3.30 นาที จำนวนเงิน 770,000 บาท โดยบริษัท ไร่ส้ม จำกัด ได้รับส่วนลดทางการค้า 30% คงเหลือสุทธิ 539,000 บาท และบริษัทก็ได้ชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่บริษัท อสมท ภายในกำหนด

@ซัด อสมทมั่ว-บ.ซีเนรีโอทำเอกสารย้อนหลัง

                อย่างไรก็ตาม มีข้อน่าสังเกตจากสัญญาโฆษณาฉบับดังกล่าวว่า บริษัท อสมท ได้ระบุ “ระยะกำหนดสัญญา” ซึ่งหมายถึงวันที่ที่ได้มีการโฆษณาเกินเวลาไปตรงตามวันเวลาที่ได้มีการโฆษณาเกินจริง โดยระบุว่า “วันที่ 10,7 เมษายน 2548 วันละ 15 วิ 1 ครั้ง) วันที่ 3,4,8,9,11,18 เมษายน 2548 (วันละ 30 วิ 1 ครั้ง)” ทั้งที่เวลาที่บริษัทไร่ส้ม จำกัด ได้มีการโฆษณาส่วนเกินล้วนแต่เกิดขึ้นเดือนมีนาคม 2548 ทั้งสิ้น โดยในเดือนเมษายน 2548 ตามเวลาที่บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ระบุ บริษัท ไร่ส้ม จำกัด ไม่ได้โฆษณาเกินเวลาแต่อย่างไร จึงแสดงให้เห็นถึง มีพฤติการณ์ไม่ได้ดำเนินการให้เป็นไปอย่างถูกต้องและตรงมา ไม่มีหลักเกณฑ์ที่จัดเจนในการปฏิบัติงานตามสัญญาร่วมดำเนินการรายการ“คุยคุ้ยข่าว”

             นายสรยุทธชี้แจงอีกว่า พฤติการณ์ของ บริษัท อสมท เช่นนี้ยังเห็นได้จากการปฏิบัติทางการค้ากับบริษัท ซีเนรีโอ จำกัด พันธมิตรผู้ร่วมดำเนินผลิตรายการโทรทัศน์กับบริษัท อสมท โดยหลังจากที่บริษัท ซีเนรีโอ จำกัด ได้มีการโฆษณาเกินเวลาในวันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน 2548 รวมเป็นเวลา 0.45  นาที แล้วในวันที่  16 กุมภาพันธ์ 2549  บริษัท อสมท จึงแจ้งให้บริษัท ซีเนรีโอ จำกัด ทำหนังสือขอซื้อโฆษณาส่วนเกินของเดือนพฤศจิกายน 2548 ดังกล่าว บริษัท ซีเนรีโอ จำกัด จึงได้ทำใบส่งโฆษณาและส่งทางโทรสารไปยังบริษัท อสมท เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2549 ถึงแม้หนังสือฉบับดังกล่าวจะลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2548 แต่น่าเชื่อว่าเป็นการลงวันที่ย้อนหลังตามความประสงค์ของบริษัท อสมท เพราะถ้าพิจารณาโดยละเอียดจะเห็นว่าหนังสือส่งโดยทางโทรสารในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2549 ตามที่ปรากฏในด้านบนขวาของหนังสือว่า “Feb. 16 2006 02:26 PM” และถัดจากนั้นวันเดียวคือวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2549 บริษัท อสมท จึงได้จัดทำสัญญาโฆษณาตามที่บริษัท ซีเนรีโอ จำกัด ได้ขอซื้อโฆษณาส่วนเกินดังกล่าว

@พบ“มิ่งขวัญ”เจรจาส่วนลดค่าโฆษณา 30%

                ส่วนกรณีในช่วงเดือนมีนาคม2548 นายสรยุทธได้เข้าไปพบนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท ในขณะนั้น ซึ่งอาจทำให้คณะอนุกรรมการไต่สวนเข้าใจไปว่า เป็นการเข้าพบเพื่อติดต่อขอซื้อโฆษณาส่วนเกินของเดือนมีนาคม 2548

                นายสรยุทธชี้แจงว่า เป็นการเดินทางไปพบเพื่อหารือเกี่ยวกับโฆษณาส่วนลดค่าโฆษณาที่บริษัท อสมท.จะให้แก่บริษัท ไร่ส้ม จำกัด ในอัตรา 30%  โดยไม่มีส่วนเพิ่มพิเศษอีก 5%  การเจรจาปรึกษาหารือในครั้งนั้นไม่เกี่ยวกับเรื่องการขอซื้อโฆษณาส่วนเกินในขณะนั้นแต่อย่างใด  

                นายสรยุทธสรุปว่า การที่คณะอนุกรรมการไต่สวนอ้างว่าหนังสือของบริษัท ไร่ส้ม จำกัด ที่ขอซื้อโฆษณาส่วนเกิน ลงวันที่ 2 มีนาคม 2548  จึงไม่ตรงตามข้อเท็จจริง โดยเฉพาะถ้าพิจารณาจากหนังสือของบริษัท ไร่ส้ม จำกัด โดยละเอียดแล้วไม่มีข้อความตอนใดที่ระบุว่า หนังสือได้ทำขึ้นในวันที่ 2 มีนาคม 2548 แต่อย่างใด

                สำนักข่าวอิศรา //www.isranews.org รายงานว่า บริษัท ซีเนริโอ จำกัด จดทะเบียนวันที่ 9 เมษายน 2547  ทุน 60 ล้านบาท ปัจจุบัน 140 ล้านบาท ประกอบธุรกิจ ผลิตและรับจ้างผลิตรายการทางวิทยุ,โทรทัศน์,แถบบันทึกภาพ,แถบบันทึกเสียงเพื่อจำหน่ายทั้งในและ ต่างประเทศ ผลิตละครเวที ที่ตั้งเลขที่  50 ถนนสุขุมวิท 21 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร (เป็นผู้ผลิตละครให้สถานีโทรทัศน์ฟรีทีวีและทีวีดาวเทียม)

                ผู้ถือหุ้น ณ  วันที่ 30 เมษายน 2555 นายถกลเกียรติ วีรวรรณ  7,350,543 หุ้น (52.50%)  บริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน)  3,500,000 หุ้น (25%) นายอำนวย วีรวรรณ นายถกลเกียรติ วีรวรรณ น.ส. บุษบา ดาวเรือง นาย นิพนธ์ ผิวเณร และบุคคลอีก 5 คนร่วมเป็นกรรมการ 
////////////




 

Create Date : 29 ตุลาคม 2555
0 comments
Last Update : 29 ตุลาคม 2555 22:42:38 น.
Counter : 1811 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


สุริยาอัสดง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




เปิดโลกด้วยแสงแห่งปัญญา
Thaiflood
Friends' blogs
[Add สุริยาอัสดง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.