space
space
space
<<
กุมภาพันธ์ 2559
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
2829 
space
space
22 กุมภาพันธ์ 2559
space
space
space

สถานการณ์ความมั่นคงโลก ปี 2559

สถานการณ์ความมั่นคงโลก 2559

 โดย ดร. ภคพร กุลจิรันธร

สถานการณ์ความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียแปซิก

ปัจจุบันสหรัฐกับจีนเป็นตัวแสดงหลัก สหรัฐยังคงเป็นอำนาจนำกองกำลังสหรัฐในภูมิภาคเป็นปัจจัยสร้างเสถียรภาพที่สำคัญผลประโยชน์หลักในเอเชียยังคงเช่นเดิม นั่นคือหวังให้ภูมิภาคมีเสถียรภาพเปิดโอกาสทางธุรกิจแก่ทุกประเทศ จัดระเบียบภูมิภาคที่ชาติมหาอำนาจสามารถพัวพันอย่างสร้างสรรค์หลายประเทศเห็นดีกับนโยบายของสหรัฐรวมทั้งสิงคโปร์

ผลประโยชน์ของสหรัฐเพิ่มขึ้นพร้อมกับการเติบโตทางเศรษฐกิจของเอเชีย สอดคล้องกับที่รัฐบาลโอบามาเพิ่มความสำคัญอย่างไรก็ตามยุทธศาสตร์ปรับสมดุลกำลังเปลี่ยนแปลง จีนกลายเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ2 ของโลก เป็นคู่ค้าอันดับแรกหรืออันดับ 2 ของเกือบทุกประเทศในเอเชียแปซิฟิก เช่นเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย สิงคโปร์ และสหรัฐจีนพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันกับประเทศอื่นๆ มากขึ้นทุกที ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบตลาด เทคโนโลยีและการลงทุน

ในขณะเดียวกันจีนปรับปรุงกองทัพให้ทันสมัย ต้องการมีกองเรือที่ทรงอานุภาพอย่างไรก็ตามจีนยังคงก้าวขึ้นมาอย่างสันติ ดูได้จากความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับจีนความสัมพันธ์ 2 ประเทศไม่เหมือนสมัยสงครามเย็น มีการแข่งขันกันแต่พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันในหลายด้านและมีโอกาสที่จะได้ผลประโยชน์ร่วมจีนเป็นคู่ค้าอันดับ 2 ของสหรัฐและเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ด้วยด้านสหรัฐเป็นแหล่งเทคโนโลยีและแนวคิดของจีน คนจีนราว 1 ใน 4ล้านคนกำลังศึกษาในสหรัฐ รวมทั้งบุตรหลานของชนชั้นปกครองทั้งสหรัฐกับจีนต่างร่วมมือเพื่อแก้ปัญหาระดับโลก เช่นการแพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์และภาวะโลกร้อน

ถึงแม้ว่าสหรัฐอเมริกาจะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปีหน้าปี2560 แต่นโยบายต่างประเทศนโยบายความมั่นคงของสหรัฐในภูมิภาคนี้จะไม่เปลี่ยนแปลง

รัสเซีย

เหตุการณ์เครื่องบินรัสเซียตกในคาบสมุทรไซนายของอียิปต์ และเหตุเครื่องบินรบรัสเซียถูกยิงตกในตุรกีผลที่ตามมาจากเหตุการณ์ทั้งหมดนี้ กำลังทำให้การใช้ชีวิตของประชาชนบนโลกใบนี้ต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเครื่องบินรัสเซียเมื่อปลายเดือนที่แล้วสร้างความตกตะลึงไปทั่วโลก เมื่ออยู่ๆ เครื่องบินสายการบินเมโทรเจ็ตของรัสเซียเที่ยวบินที่ 9268 แตกกระจายกลางอากาศระหว่างบินอยู่เหนือคาบสมุทรไซนายของอียิปต์ ทำให้ผู้ที่อยู่บนเครื่องบิน 224คนเสียชีวิตทั้งหมด และหลังการตรวจสอบมีความชัดว่าถูกลอบวางระเบิดด้วยฝีมือของกลุ่มรัฐอิสลาม หรือไอเอส.ต้องการแก้แค้นรัสเซียที่โจมตีถล่มไอเอส.ในซีเรียก่อนหน้านี้

และเหตุการณ์ที่ต้องจับตามากที่สุดคือการที่รัสเซียส่งฝูงบินรบบนเรือถล่มกลุ่มไอเอส. ในซีเรียหลังประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ประกาศว่า จะบดขยี้กลุ่มไอเอส.ให้แหลกเหลวเพื่อแก้แค้นที่กระทำต่อพลเมืองรัสเซีย โดยผู้นำรัสเซียเป็นผู้บัญชาการรบด้วยตนเองและยังสั่งให้กองทัพอากาศรัสเซียร่วมมือกับฝรั่งเศสในฐานะพันธมิตรขยี้กลุ่มไอเอส.ด้วย ตามมาด้วยรายงานข่าวเครื่องบินรบรัสเซียถูกตุรกียิงตกบริเวณพรมแดนซีเรียเหตุการณ์ครั้งนี้ สั่นสะเทือนความมั่นคงโลกไม่น้อยเมื่อผู้นำรัสเซียออกมาประกาศอีกครั้งว่า การกระทำของตุรกีเป็น “การแทงข้างหลัง” และว่าผลจากการกระทำครั้งนี้ จะส่งผลให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงตามมาขณะที่ผู้บัญชาการองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือหรือนาโตซึ่งเป็นพันธมิตรกับตุรกี ออกมาประกาศว่า จะยืนเคียงข้างตุรกี

โดยรัสเซียเองนั้นมีความห้าวสุดพลังด้วยการประกาศว่าสหรัฐอเมริกาเป็นภัยคุกคามของรัสเซียซึ่งนโยบายนี้ทำให้ประธานาธิบดีปูตินได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นมาก

ยุโรป

จากเหตุระเบิดหลายจุดในกรุงปารีสของฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายนที่ผ่านมาทำให้ประชาชนเสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมากและมีการปรับตัวเลขของผู้เสียชีวิตจนกระทั่งมาอยู่ที่ 130 คนส่วนผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ครั้งนี้ คือกลุ่มไอเอส.เช่นเดิม ทำให้ยุโรปไม่อาจอยู่นิ่งเฉยได้เพราะผู้ก่อการร้ายไดเข้ามาถึงบ้านแล้ว

หลังเกิดเหตุทั้ง 2 เหตุการณ์ประชาคมโลกได้ให้การสนับสนุนฝรั่งเศสในการต่อสู้ปราบปรามกลุ่มไอเอส.โดยทั้งรัสเซียและฝรั่งเศสได้ระดมโจมเป้าหมายกลุ่มไอเอส.ในซีเรียอย่างหนักหน่วงในช่วงต้นสัปดาห์ถัดมาและระหว่างที่มีการสู้รบกันอย่างดุเดือด ช่วงปลายสัปดาห์ ได้เกิดเหตุการณ์ที่โลกต้องตกตะลึงอีกครั้งเมื่อประชาชนกว่าร้อยคน ถูกจับเป็นตัวประกันที่โรงแรมเรดิสสัน บลูซึ่งเป็นโรงแรมหรูในกรุงบามาโก ประเทศมาลี หลังเกิดเหตุการณ์กลุ่มจิฮัดอัล-มูราบิทูน ซึ่งเป็นเครือข่ายกลุ่มอัล-กออิดะห์ออกมาอ้างว่าเป็นผู้ก่อเหตุ ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้ มีผู้เสียชีวิต 27 คน ส่วนมากเป็นชาวต่างชาติ รวมทั้งชาวรัสเซียด้วย 6 คน

ทำให้ยุโรปมีความตึงเครียดในการรับผู้อพยพจากตะวันออกกลางรวมถึงการผ่านข้ามแดนของนักท่องเที่ยว ทำให้นายกรัฐมนตรีเยอรมันได้รับความนิยมลดลงจากนโยบายต้อนรับผู้อพยพจากตะวันออกกลางและแอฟริกา

ตะวันออกกลาง

อาหรับสปริงผ่านไปสี่ปีพร้อมกับความป่นปี้ของชีวิตผู้คนบ้านเรือนโบราณสถานจำนวนมาก ขณะที่กระแสเรียกร้องประชาธิปไตยเงียบกริบสู้เสียงลูกปืนใหญ่และระเบิดพลีชีพไม่ได้การโดดเข้ามาเล่นเกมถล่มไอเอสของชาติมหาอำนาจไม่น่าที่จะทำให้การก่อการร้ายลดลงในทางกลับกัน ความไม่ลงรอยกันของเครมลินและนาโตนี่เองที่ทำให้กลุ่มย่อยๆต้องคงอาวุธของคนไว้สู้รบกันในสถานการณ์ที่ไม่มีทางออกนี้คู่ปรปักษ์อิหร่านกับซาอุดีอาระเบียจะทำสงครามตัวแทนกันหนักหน่วงขึ้นขณะที่อิสราเอลจะเปิดแผลเก่าโดดลงมาร่วมวงความขัดแย้งอันซับซ้อนหลายชั้นกับเขาด้วย

แม้ว่าการถล่มกลุ่มเพชฌฆาตไอเอสด้วยกำลังขนาบจากทั้งรัสเซียและจากพันธมิตรจะสามารถหยุดรั้งความคืบหน้าของพวกนี้ได้บ้างแต่ก็ทำให้สงครามซีเรียจะไม่มีทางจบสิ้นไปเร็ววัน รัฐบาลของบาชาร์ อัล อัสซาดปักหลักได้หลังจากที่เกือบถูกตีตกทะเลด้วยการสนับสนุนจากทหารรัสเซียทั้งบนดินและบนฟ้าระบอบนี้จะมั่นคงเพียงพอที่จะยืนหยัดข้อเรียกร้องเดิมของตนต่อชาติตะวันตกคนเหนื่อยจะยังคงเป็นฝ่ายต่อต้านที่ต้องเจอศึกหนักขึ้นโดยการช่วยเหลือของนาโตยังจำกัดอยู่แต่การโจมตีไอเอสมากกว่าอัสซาดผู้ลี้ภัยชาวซีเรียยังคงไหลหลั่งอยู่ชายแดนตุรกีและชายน้ำเมดิเตอร์เรเนียนเช่นเดิม

ขณะที่ซีเรียแตกเป็นสามก๊กอิรักซึ่งเป็นสามส่วนมานานแล้วสถานการณ์ก็ดุเดือดไม่แพ้กันการที่ไอเอสยังคิดพื้นที่สำคัญของประเทศเอาไว้ได้ยิ่งทำให้สถานะของของเคอร์ดิสถานและกลุ่มชีอะห์มั่นคงมากขึ้นในภาคเหนือและภาคใต้ของอิรักตามลำดับสงครามแย่งชิงพื้นที่ไปมาในตอนกลางของประเทศไม่ได้ทำให้อิรักดีขึ้นเลย

ไอเอสในปี 2559 ยังเป็นกลุ่มที่เข้มแข็งอันตรายเพราะขยายเครือข่ายและแนวทางการต่อสู้แบบตายเพื่อโลกหน้าต้องฆ่าผู้บริสุทธิ์พวกเขายิ่งใหญ่น่ากลัวเหนือกว่าอัล-ไกดาสามารถต่อกรกับมหาอำนาจด้วยการสู้รบหลากหลายรูปแบบ ที่สำคัญคือเงินถึงอุดมการณ์จับใจ และแสวงประโยชน์จากความขัดแย้งหรือความกลัวของทุกฝ่ายได้อย่างเหมาะเจาะลิเบียและอียิปต์จะเสี่ยงต่อเหตุการณ์สะเทือนขวัญมากขึ้นความจริงก็ทั้งโลกนั่นแหละ

ความขัดแย้งระหว่างอิหร่านกับซาอุดีอาระเบียจะรุนแรงขึ้นส่งผลให้ศึกเยเมนหนักหน่วงขึ้นเช่นกัน ด้วยความชำนาญในการชักใยอยู่เบื้องหลังของซาอุฯการกวาดล้างชีอะห์ในหลายที่ทั่วโลกจะมีมากขึ้น แต่ซาอุฯเองไม่ชำนาญในการรบตรงหน้าทำให้กลุ่มฮูตียังมีอิทธิพลในเยเมนยอกอกซาอุฯ ต่อไป ในปี2559 นี้ตุรกีจะเข้ามาเกี่ยวข้องกับภูมิภาคนี้มากขึ้นความไม่สงบในดินแดนภาคใต้ของพวกเขาทำให้ตุรกีเป็นจุดอ่อนของยุโรปด้วย และในปี 2559นี้เองที่ปัญหาเดิมที่เคยเงียบไปแต่ไม่มีวันหมดอย่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์รื้อฟื้นขึ้นมาใหม่การเกี่ยวข้องของยิวในซีเรียอาจนำไปสู่อะไรที่ไม่คาดคิดก็ได้แม้ว่าเฮซบอลเลาะห์กำลังไม่ว่างกับไอเอสก็ตาม

เกาหลีเหนือ

เกาหลีเหนือประกาศความสำเร็จในการทดสอบระเบิดนิวเคลียร์ชนิดระเบิดไฮโดรเจน(hydrogen bomb: H-bomb)และเป็นการทดสอบนิวเคลียร์ครั้งแรกภายใต้ผู้นำคิม จ็อง-อึน(Kim Jong-un) เทคโนโลยีและความพยายามของเกาหลีเหนือเสริมสร้างฐานะประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ เพื่อปกป้องอธิปไตยจากการถูกข่มขู่คุกคามด้วยอาวุธนิวเคลียร์จากขั้วสหรัฐเพื่อสันติสุขและความมั่นคงของคาบสมุทรเกาหลี

การวิเคราะห์เบื้องต้นบ่งบอกว่าเกาหลีเหนือต้องการยั่วยุ เพราะเคยทดลองจุดระเบิดนิวเคลียร์มาแล้ว 3 ครั้ง แต่ละครั้งถูกนานาประเทศกล่าวโจมตีคว่ำบาตร ครั้งนี้ก็เช่นกันประธานาธิบดี ปาร์ค กึน-เฮ (Park Geun-hye) ประกาศว่าเกาหลีใต้จะร่วมมือกับประชาคมโลกอย่างใกล้ชิดเพื่อลงโทษเกาหลีเหนือในเหตุทดลองนิวเคลียร์ครั้งนี้อาจยกระดับการคว่ำบาตร

รัฐบาลเกาหลีเหนือประกาศมานานแล้วว่ามีอาวุธนิวเคลียร์ในครอบครองพร้อมตอบโต้ประเทศทุนนิยมอย่างสาสม แต่รัฐบาลโอบามาปรับเปลี่ยนนโยบายเจรจากำหนดเป้าหมายว่าถ้าจะเจรจาจะหมายถึงเกาหลีเหนือจะต้องยกเลิกโครงการนิวเคลียร์ที่เป็นภัยคุกคามทั้งหมดหวังป้องกันไม่ให้ยั่วยุแล้วขอเจรจา แต่สุดท้ายยังเดินหน้าพัฒนานิวเคลียร์ต่อไป

ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือรัฐบาลเกาหลีเหนือชี้ว่าเรื่องทั้งหมดคือเรื่องของเกาหลีเหนือกับขั้วสหรัฐเช่นเป็นการปกป้องอธิปไตยจากการข่มขู่ของขั้วสหรัฐ ถ้ามองในกรอบแคบหากอยากให้เหตุการณ์สงบโดยเร็ว (อย่างน้อยอีกระยะหนึ่ง)รัฐบาลจีนอาจต้องส่งมอบความช่วยเหลือแก่เกาหลีเหนือเพิ่มเติมมิฉะนั้นรัฐบาลอาเบะกับโอบามาอาจฉวยเป็นข้ออ้างเสริมสร้างกำลังรบในภูมิภาค ติดตั้ง THAAD ในเกาหลีใต้ให้คิดเสียว่าเป็นของขวัญปีใหม่

NarushigeMichishita อธิบายอย่างน่าสนใจว่าวิธีการของเกาหลีเหนือคือสิ่งที่เรียกว่า“ยุทธศาสตร์การทูตนิวเคลียร์” เป็นการพัฒนาหรือเป็นส่วนหนึ่งของ“ยุทธศาสตร์การทูตควบคู่การทหาร” ที่ใช้มาตลอด

“ยุทธศาสตร์การทูตนิวเคลียร์” เริ่มต้นเมื่อปี 1993ประกาศถอนตัวจากสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (Treaty on theNon-Proliferation of Nuclear Weapons: NPT) เป็นเหตุให้รัฐบาลสหรัฐขอเจรจาทวิภาคีทันทีแต่ไม่สำเร็จ ไม่มีทางออกชัดเจน รัฐบาลเกาหลีใต้วิตกกังวลอย่างยิ่งรัฐบาลสหรัฐเริ่มคว่ำบาตรเศรษฐกิจเกาหลีเหนืออย่างจริงจังฝ่ายเกาหลีเหนือตอบโต้ว่าการประกาศคว่ำบาตรเท่ากับประกาศสงครามวิกฤตคลี่คลายเมื่ออดีตประธานาธิบดีจิมมีคาร์เตอร์เดินทางไปเยือนอย่างไม่เป็นทางการ สามารถบรรลุข้อตกลงกับผู้นำคิม อิล-ซุง(Kim Il-sung) 

ธันวาคม2002 เกาหลีเหนือขยับ “ยุทธศาสตร์การทูตนิวเคลียร์”อีกขั้นด้วยการประกาศว่าจะเริ่มเดินเครื่องเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์โครงการนิวเคลียร์ต่างๆ สหรัฐตอบโต้ด้วยการคว่ำบาตรงการเงินปฏิเสธเจรจากับเกาหลีเหนือ

2006เกาหลีเหนือประสบความสำเร็จในการทดสอบจุดระเบิดนิวเคลียร์เป็นครั้งแรกผลการเจรจาต่อรองรัฐบาลสหรัฐถอดเกาหลีเหนือจากกลุ่มรัฐที่สนับสนุนก่อการร้ายในอีกด้านหนึ่งรัฐบาลสหรัฐกับญี่ปุ่นตอบโต้ด้วยการติดตั้งระบบป้องกันขีปนาวุธในญี่ปุ่นเมื่อปี2007

เหตุทดสอบจุดระเบิดไฮโดรเจนครั้งนี้คือการใช้“ยุทธศาสตร์การทูตนิวเคลียร์”อีกครั้ง

ประชาคมอาเซียน

ทฤษฎีดุลแห่งอำนาจ (Balance of Power)เป็นแนวคิดที่พัฒนามาจากสำนักสัจนิยม (Realist School)นักวิชาการบางคนเห็นว่าตามประวัติศาสตร์ยุโรปแนวคิดนี้ถูกใช้ตั้งแต่ปีค.ศ.1648 จนกระทั่งเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นช่วงเวลาที่ยุโรปสงบสุขถึง 266 ปี เหตุที่ใช้ได้ผลเพราะประเทศในยุโรปสมัยนั้นไม่มีประเทศใดเพียงประเทศเดียวที่เป็นมหาอำนาจ

           A. E. Campbell กับ Richard Dean Burns อธิบายว่าเริ่มต้นของดุลแห่งอำนาจเป็นเพียงหลักการง่ายๆว่าหากประเทศในกลุ่มมี ‘ความสมดุลจริง’ (justequilibrium) ก็จะทำให้แต่ละประเทศมีความเข้มแข็งเพียงพอที่แสดงความต้องการที่แท้จริงของตน

แนวทางของสมดุลแห่งอำนาจ คือ การพยายามรักษาให้กลุ่มหรือฝ่ายที่เป็นอริกันนั้นมีอำนาจเท่าเทียมกันหากมีฝ่ายใดที่กำลังมีอำนาจเหนืออีกฝ่ายหนึ่งอย่างชัดเจนประเทศที่แต่เดิมเป็นกลางก็จะต้องหันไปสนับสนุนฝ่ายที่กำลังตกเป็นเบี้ยล่างอาจเรียกประเทศดังกล่าวว่าเป็น ‘ผู้รักษาสมดุล’ (keeper of the balance)ผลคือต่างฝ่ายต่างไม่ทำสงครามต่อกันเพราะรู้ว่าไม่อาจมีชัยในสงคราม

ดังนั้น จึงไม่มีมิตรแท้หรือศัตรูถาวรแต่ต้องถ่วงดุลเพื่อไม่ให้ประเทศใดประเทศหนึ่งหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งกล้าก่อสงคราม

บริบทอาเซียน :

สถานการณ์หรือบริบทที่อาเซียนกำลังเผชิญอยู่คือการดำรงอยู่ของ 2มหาอำนาจ อันได้แก่ จีนกับสหรัฐ อาเซียนรู้จักทั้ง 2 ประเทศอย่างดีถ้าเป็นประเทศจีนสามารถย้อนประวัติศาสตร์เป็นพันปีส่วนในยุคนี้ไม่มีความจำเป็นต้องเอ่ยถึงความเป็นมหาอำนาจของสหรัฐให้ยืดยาว

การช่วงชิงผลประโยชน์ของ 2 มหาอำนาจที่เกี่ยวพันกับอาเซียนมีรอบด้านอาเซียนมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจสังคมกับจีนและสหรัฐที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องในขณะเดียวกันนับวันจีนจะเข้มแข็งขึ้นกลายเป็นประเทศที่รัฐบาลสหรัฐวิตกกังวลว่าจะมีอิทธิพลเหนือตน จึงดำเนินนโยบายหลายอย่างหวังสกัดกั้นการก้าวขึ้นมาของจีนประเด็นทะเลจีนใต้ การเดินเรือเสรีข้อพิพาทการอ้างกรรมสิทธิ์ในอาณาเขตบางส่วนระหว่างชาติสมาชิกอาเซียนกับจีนกลายเป็นอีกประเด็นให้สหรัฐเข้ามาพัวพันและเพิ่มความขัดแย้งกับจีน

ยุทธศาสตร์ดุลแห่งอำนาจของอาเซียน :

อาเซียนแม้มีชาติสมาชิก 10 ประเทศ แต่ไม่อาจสู้อำนาจของจีนหรือสหรัฐ ที่สำคัญคือหวังให้ภูมิภาคมีเสถียรภาพ สงบเรียบร้อยอันหมายถึงชาติสมาชิกทุกประเทศได้อยู่ในบรรยากาศภูมิภาคสงบเรียบร้อยด้วยเป็นโจทย์ที่อาเซียนต้องหาคำตอบ หนึ่งในคำตอบนั้นคืออาศัยทฤษฎีดุจแห่งอำนาจ มีรายละเอียดโดยสังเขป ดังนี้

ประการแรกอาเซียนจะไม่ปะทะโดยตรงกับชาติมหาอำนาจ

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาฟิลิปปินส์กับเวียดนามเป็นกรณีตัวอย่าง ทั้ง 2ประเทศพิพาทกับจีนเรื่องการอ้างกรรมสิทธิ์ในทะเลจีนใต้ มีการเผชิญหน้าหลายครั้งแต่ไม่ปล่อยให้บานปลายกลายเป็นสงครามใหญ่ที่สุดแล้วหลังการเจรจาทั้งทางตรงทางลับสถานการณ์คืนสู่ความสงบ และวนเวียนเช่นนี้เป็นระยะๆ

ประการที่ 2เรียกร้องให้มหาอำนาจมีบทบาทอย่างสร้างสรรค์

ทั้งจีนกับสหรัฐต้องการมีบทบาทในภูมิภาคเป็นเช่นนี้มานานและคงจะเป็นเช่นนี้อีกต่อไปไม่ว่าอาเซียนจะเชื้อเชิญหรือไม่ชาติมหาอำนาจจะเข้ามาพัวพัน (engage) เป็นลักษณะพื้นฐานของมหาอำนาจอยู่แล้วเมื่อไม่สามารถกีดขวางจึงเปลี่ยนเป็นขอให้ทั้ง 2 ประเทศแสดงบทบาทในทางสร้างสรรค์และให้เกิดการถ่วงดุลซึ่งกันและกันการที่สามารถดึงมหาอำนาจมาถ่วงดุลกันเองเป็นเพราะทั้งจีนกับฝ่ายสหรัฐต่างต้องการผลประโยชน์ในภูมิภาค

ลี เซียนลุง (Lee Hsien Loong) นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์อธิบายอย่างชัดเจนว่า ถ้าพูดอย่างมองโลกตามความจริงการแข่งขันระหว่างมหาอำนาจนั้นหลีกเลี่ยงไม่ได้ ประเด็นคือเป็นการแข่งขันแบบใด

รูปแบบหนึ่งคือการแข่งขันที่อยู่ในกรอบกติกาและบรรทัดฐานระหว่างประเทศจีนคือกรณีตัวอย่างที่แสวงหาความร่วมมือ สร้างมิตรภาพกับทุกประเทศในเอเชียดำเนินนโยบายสร้างแนวเขตเศรษฐกิจเส้นทางสายไหมก่อตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย (Asian InfrastructureInvestment Bank: AIIB)  นี่เป็นนโยบายที่ชอบธรรมสร้างสรรค์ สิงคโปร์จึงสนับสนุน AIIB

และในที่ประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐสมัยพิเศษ (U.S.-ASEANLeaders Summit) ที่เมือง Rancho รัฐแคลิฟอร์เนียเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา นายกฯลีกล่าวว่าสหรัฐเป็นหุ้นส่วนสำคัญของอาเซียน ทั้ง 2 ฝ่ายร่วมมือหลายด้านหวังว่าในอนาคตสหรัฐจะพัวพันกับอาเซียนอย่างสร้างสรรค์ดังเช่นสมัยของประธานาธิบดีโอบามาและมีความสัมพันธ์กับมหาอำนาจอื่นๆ อย่างสร้างสรรค์เช่นกัน สหรัฐมีบทบาทสำคัญเรื่องต่อต้านก่อการร้ายเสรีภาพในการเดินเรือและการยึดถือกฎหมายระหว่างประเทศด้วยการพัวพันอย่างลงลึกเสมอต้นเสมอปลายจะเป็นเหตุให้สหรัฐมีอิทธิพลในเอเชียดียิ่งกว่าที่เป็นอยู่กระตุ้นให้ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเล่นตามกฎและใช้สันติวิธี จะเห็นได้ว่าอาเซียนไม่ปฏิเสธอีกทั้งยังสนับสนุนให้2 มหาอำนาจเข้ามาเกี่ยวพันกับอาเซียน แต่ทั้งหมดขอให้ดำเนินการในทางการสร้างสรรค์มุ่งสร้างความสุขความเจริญ

ถ้ามองในภาพกว้างอาเซียนไม่ได้ละเลยตัวแสดงอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป รัสเซียหรือแม้แต่อินเดียที่ประเทศกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็วคาดว่าจะมีประชากรมากที่สุดในโลกในไม่ช้า มีพรมแดนติดอาเซียนทางตะวันตก

อินโดนีเซีย

หลังจากเกิดเหตุโจมตีกลางกรุงจาการ์ตาในเดือนมกราคม2559 ทั้งการใช้ระเบิดแบบดาวกระจาย3 จุดรวมทั้งยังมีการยิงปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในย่านที่มีชาวต่างชาติโดยเฉพาะชาวตะวันตก อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งยังมีสถานที่สำคัญที่มีความเกี่ยวโยงกับโลกตะวันตกหลายแห่ง เช่น สำนักงานย่อยขององค์การสหประชาชาติและสถานทูตฝรั่งเศส รวมถึง หนึ่งในจัดเกิดเหตุระเบิด คือร้านกาแฟ ‘สตาร์บัคส์’ กาแฟสัญชาติอเมริกันอีกด้วย

สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจในกรณีดังกล่าวคือมีการแพร่ข้อสงสัย จากสื่อยักษ์ใหญ่อย่างซีเอ็นเอ็น ที่ระบุว่า จากปัจจัยที่อินโดฯเป็นดินแดนของชาวมุสลิม เป็นไปได้ว่า ชาวมุสลิมเหล่านี้ จะเดินทางไปฝึกฝนการสู้รบร่วมกับกลุ่มไอเอส ในอิรัก และซีเรีย และเดินทางกลับมาพร้อมกับทักษะการต่อสู้ รวมทั้งก่อการร้ายในประเทศตัวเองก็เป็นได้

นอกจากนี้กลุ่มไอเอสที่ต้องการขยายอำนาจไปยังภูมิภาคอื่น ๆประเทศที่เป็นดินแดนของชาวมุสลิมอย่างอินโดนีเซียจึงอาจตกเป็นเป้าหมายของกลุ่มไอเอสก็เป็นได้แต่ไม่เพียงแต่อินโดนีเซียเท่านั้นที่ตกเป็นเป้า เพราะก่อนหน้านี้มีกรณีของชาวมุสลิมอุยกูร์ ในเขตปกครองซินเจียงซึ่งเป็นเขตปกครองพิเศษของจีน ที่มีการวางแผนก่อการร้ายรวมถึงมีการเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ระเบิดที่แยกราชประสงค์ ของประเทศไทยเช่นเดียวกัน

ก่อนหน้านี้เจ้าหน้าที่ตำรวจในอินโดฯ ได้รับการยกย่องว่าสามารถโค่นล้มกลุ่ม ‘ญะมาอะห์ อิสลามียะห์’ เครือข่าวของกลุ่ม อัลกออิดะห์ ซึ่งขยายอำนาจทางความคิดสุดโต่งไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ก่อเหตุวางระเบิดไนท์คลับซึ่งเป็นแหล่งของชาวตะวันตก ที่ขัดต่อหลังศาสนาท้องถิ่นทั้งเรื่องสุราของมึนเมา ในปี 2545 ซึ่งเป็นเพียงหนึ่งในหลายเหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นว่ากลุ่มติดอาวุธในท้องถิ่ง เกลียดชังและมีเป้าหมายการโจมตีเป็นชาวตะวันตกโดยเฉพาะ

ฟิลิปปินส์

ศาลฟิลิปปินส์ในกรุงมะนิลาเมืองหลวงของประเทศ มีคำสั่งให้ กลุ่มติดอาวุธ ‘อาบูไซยาฟ’เป็นองค์การก่อการร้าย อย่างเป็นทางการเมื่อ 11 กันยายน 2558 แม้ฟิลิปปินส์จะเป็นประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งน้อยครั้งที่จะมีการบังคับใช้กฏหมายต่อต้านการก่อการร้ายปรากฏให้เห็น ทำให้รัฐบาลมีเครื่องมือทางกฎหมายในการปราบปรามกลุ่มดังกล่าวอย่างถูกต้อง เพื่อกวางล้างสมาชิกกลุ่มที่รอดพ้นจากการปราบปรามของรัฐบาลฟิลิปปินส์ ที่ร่วมมือกับกองทัพสหรัฐฯในการดำเนินการมาเป็นเวลานาน

คำประกาศของศาลในครั้งนี้ ส่งผลให้กลุ่ม ‘อาบู ไซยาฟ’ ถือเป็นกลุ่มติดอาวุธกลุ่มแรกของประเทศที่ถูกขึ้นบัญชีดำเป็นองค์การก่อการร้ายอย่างเป็นทางการ แม้ว่าก่อนหน้านี้วอชิงตัน แห่งสหรัฐฯ จะประกาศให้ อาบู ไซยาฟ เป็นกลุ่มก่อการร้ายเมื่อ 5 ปีที่แล้วก็ตาม ซึ่งการตัดสินใจตีตรากลุ่มดังกล่าวในครั้งนี้จะมีผลต่อผู้ที่ให้การสนับสนุนทางด้านการเงิน และด้านต่าง ๆอาจถูกดำเนินคดีตามกฏหมายด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ทั้งนั้น รัฐบาลฟิลิปปินส์ระบุว่าการขึ้นบัญชีก่อการร้ายจะช่วยรัฐบาลในการปราบปรามและดำเนินคดีตามกฎหมายต่อสมาชิกของ ‘อาบู ไซยาฟ’ ได้อย่างถูกต้อง โดยเจ้าหน้าที่สามารถขอหมายศาลเพื่อเฝ้าติดตามความเคลื่อนไหวของผู้ต้องสงสัยได้อย่างเต็มความสามารถ

อย่างไรก็ตามกลุ่ม ‘อาบู ไซยาฟ’ หมายถึง ผู้ถือดาบ ก่อตั้งเมื่อปี 2534บนเกาะบาสิลัน ทางภาคใต้ของฟิลิปปินส์มีอุดมการณ์ก่อสงครามศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อ มุ่งหมายแบ่งแยกดินแดนทางภาคใต้ในเวลาต่อมา ได้ ‘ลดระดับ’ กลายเป็นกลุ่มโจรลักพาตัวเรียกค่าไถ่เนื่องจากสูญเสียสมาชิกคนสำคัญของกลุ่มจึงไม่สามารถกำหนดเป้าหมายและทิศทางภายในกลุ่มได้ โดยส่วนใหญ่จะมีเป้าหมายการโจมตีเป็นกลุ่มชาวอเมริกัน และ ชาติอื่น ๆ เป็นส่วนใหญ่

รูปแบบของปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความคล้ายคลึงกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์ระหว่างรัฐบาลฟิลิปปินส์และกลุ่มปลดปล่อยอิสลามโมโรจนนำไปสู่กระบวนการสร้างสันติภาพ สภาพความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งของกลุ่มปลดปล่อยอิสลามโมโรหรือ MILF กับรัฐบาลฟิลิปปินส์ที่เป็นความขัดแย้งยาวนานมาเกือบ 50 ปีโดยจุดเริ่มต้นเกิดจากผลพวงการล่าอาณานิคมของยุโรปประกอบกับความไม่เป็นธรรมของเจ้าหน้าที่รัฐ นำไปสู่ความพยายามในการแบ่งแยกดินแดนจนทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 150,000 คนต่อมากระบวนการสันติภาพของที่นี่ก็เกิดขึ้นจากความพยายามของหลายๆ ประเทศโดยเฉพาะมาเลเซียที่เป็นตัวกลางเพื่อนำไปสู่การเจรจาของทั้งสองฝ่ายจนเกิดข้อตกลงกรอบการทำงานว่าด้วย “บัง ซาโมโร” ที่เป็นข้อตกลงสันติภาพในขั้นต้นที่ต่างฝ่ายต่างยอมรับร่วมกัน ตั้งแต่ 15ต.ค.ปีที่แล้ว จนนำไปสู่การปรับเปลี่ยนโครงสร้างเป็นเขตปกครองพิเศษแต่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาลฟิลิปปินส์

เช่นเดียวกับกระบวนการสันติภาพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยที่หลายฝ่ายพยายามผลักดันให้เกิดขึ้น ระหว่างรัฐบาลไทยกับกลุ่มขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมาลายูปัตตานีหรือ BRN โดยเริ่มต้นจากการเจรจาทางลับนำไปมาสู่การพูดคุยบนโต๊ะของทั้ง2 ฝ่าย

มาเลเซีย

เมื่อมกราคมที่ผ่านมา นาจิบ ราซัค (Najib Razak) นายกรัฐมนตรีมาเลเซียยอมรับว่าดาอิช (IS/ISIL/ISIS) กำลังคุกคามมาเลเซีย หลังการเผยแพร่วีดีโอจากกลุ่ม IS ในภูมิภาคประกาศว่าจะโจมตีมาเลเซีย ความตอนหนึ่งของวีดีโอนำเสนอว่า “พวกเราจะทวีมากขึ้นถ้าท่านจับเรา แต่ถ้าท่านปล่อยให้เราทำเราจะใกล้เป้าหมายนำการปกครองแบบคอลีฟะห์กลับมา” “เราจะไม่ยอมก้มหัวต่อระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเพราะเราดำเนินตามกฎเกณฑ์อัลเลาะห์เท่านั้น

เมื่อ 24 มกราคมที่ผ่านมาตำรวจมาเลย์จับกุมสมาชิก IS กลุ่ม KatibahNusantara (Malay Archipelago Combat Unit) ที่กำลังวางแผนก่อการร้ายในประเทศข้อมูลบางแหล่งระบุว่าทางการมาเลเซียจับกุมพลเมืองผู้ต้องสงสัยเกี่ยวข้องกับ IS กว่า 150 รายแล้ว หลายสิบคนผ่านการอบรมจากตะวันออกกลาง

ประชาคมโลกเอ่ยถึงการมีตัวตนของ IS/ISIL/ISIS ตั้งแต่กลุ่มเริ่มปรากฏตัว มีพัฒนาการเรื่อยมาจนกลายเป็น IS (รัฐอิสลาม) ข่าวการปรากฏตัวของ IS ในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีมานานหลายปีพร้อมกับพัฒนาของการ ISต่างกันเพียงว่าผู้ปกครองหรือรัฐบาลจะยอมรับอย่างเปิดเผยหรือไม่ ในกรณีของมาเลเซียรัฐบาลได้ประกาศต่อสาธารณชนอย่างชัดเจนแล้วว่าประเทศกำลังเผชิญภัยก่อการร้ายจากกลุ่มนี้เป็นผลจากการตัดสินใจว่าถึงเวลาต้องประกาศแล้ว การประกาศมีผลดีมากกว่าผลเสีย

ดาอิชไม่มีส่วนใดเกี่ยวข้องกับอิสลาม :

นายกฯ นาจิบกล่าวปาถกฐาในงานประชุม International Conference on Deradicalisation andCountering Violent Extremism เมื่อวันที่ 25 มกราคมที่ผ่านมาณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ มีใจความสำคัญดังนี้

โลกทราบดีถึงความโหดร้าย (brutality) และป่าเถื่อน(barbarity) ของดาอิชที่กระทำต่อพี่น้องของเราทั้งในซีเรียกับอิรักคนนับล้านต้องอพยพลี้ภัย หลายพันถูกสังหารบังคับคนที่เหลือดำเนินชีวิตภายใต้ความชั่วร้ายของพวกเขา เป็นทรราชต่ำทรามนอกจากนี้เรายังเห็นความโหดร้ายในการโจมตีกรุงปารีส อิสตันบูล อังการา เบรุตจาการ์ตา ฯลฯ

ไม่มีส่วนใดของก่อการร้ายที่สอดคล้องกับอิสลามกลุ่มเหล่านี้สบประมาทศาสนาแห่งสันติ ความอดกลั้นและความเข้าใจมุสลิมเกือบทั้งหมดต่างพูดชัดเป็นเสียงเดียวว่าอย่าได้กระทำในนามศาสนาของเรา

มาเลเซียเน้นหลักความทันสมัยมานานแล้ว ปฏิบัติตามหลักวะสะฏียะฮ์ความสุดโต่งไม่ใช่อิสลาม นายกฯ นาจิบเอ่ยถึงหลักวะสะฏียะฮ์ (wasatiyyah) ว่าเป็นบัญญัติจากอัลกุรอาน “เราได้ให้พวกเจ้าเป็นประชาชาติสายกลาง” หลักการนี้ให้ความสำคัญกับความสมดุลและความพอดี ยึดทางสายกลาง ไม่สุดโต่ง ตั้งอยู่บนความยุติธรรมความสมดุลระหว่างความศรัทธาในศาสนากับความต้องการวัตถุ ไม่มีการบังคับใดๆในการนับถือศาสนา

หลักวะสะฏียะฮ์สามารถนำไปใช้ในทุกด้านไม่เพียงศาสนาเท่านั้นใช้ได้ทั่วไปทั้งในระดับสังคมกับปัจเจกบุคคล เป็นประชาธิปไตยสายกลางไม่ล่วงล้ำสิทธิส่วนบุคคลที่ถือหลักศรัทธาแตกต่างเปิดโอกาสให้ทุกคนปฏิบัติศาสนาที่ตนเลื่อมใสและศรัทธายอมรับความหลากหลายเพราะเป็นรากฐานแห่งความภราดรภาพที่ประเสริฐยิ่ง

รัฐบาลมาเลเซียเป็นอีกประเทศที่ประกาศต่อต้าน IS สอดคล้องกับแถลงขององค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC) ที่ประกาศว่าแนวทางของกลุ่มก่อการร้ายIS ไม่มีส่วนใดที่เข้ากับอิสลาม พร้อมกับขอประณามการเคลื่อนไหวของกลุ่มเหล่านี้

เมียนมา

จากการเลือกตั้งในปี 2015 นางออง ซาน ซูจี ได้รับเสียงสนับสนุนอย่างล้มหลามจากประชาชนเมียนมาและแม้ว่าจะถูกรัฐธรรมนูญตัดสิทธิไม่ให้สามารถดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี(เพราะรัฐธรรมนูญฉบับปี 2551 ห้ามบุคคลที่มีคู่สมรสหรือบุตรเป็นพลเมืองต่างชาติจากการเป็นผู้นำประเทศ) แต่ก็กล่าวกับประชาชนว่าตนจะ “อยู่เหนือประธานาธิบดี” ซึ่งหากเป็นประเทศอื่นก็คงจะถูกตำหนิอย่างมากแต่ในความเป็นจริงนั้นก็ต้องยอมรับว่า ผู้นำในพรรคเอ็นแอลดีไม่มีใครเลยที่จะเทียบบารมีกับนางออง ซาน ซูจี ได้

รัฐธรรมนูญของพม่ามีลักษณะพิเศษ คือ เจตนาให้การทหารนำการเมือง โดยให้โควตาสำหรับทหาร มีที่นั่งในสภาเพื่อทำหน้าที่ออกเสียงยับยั้งขัดขวางนโยบายที่ไม่เห็นด้วยซึ่งลักษณะการทำงานคล้ายกับการเป็นฝ่ายค้านแม้กองทัพจะมีบทบาทสูงในการเมืองของพม่า แต่ประธานาธิบดียังคงมีอำนาจเต็มในการบริหารประเทศตามรัฐธรรมนูญส่วนรูปแบบของการทหารนำการเมืองนั้น จะทำให้นักการเมืองอยู่ภายใต้การควบคุมของทหารอีกคำรบบทบาทของกองทัพจะดูเรื่องความเหมาะสมของนโยบายต่างๆ




 

Create Date : 22 กุมภาพันธ์ 2559
0 comments
Last Update : 22 กุมภาพันธ์ 2559 18:41:57 น.
Counter : 1866 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

space

สมาชิกหมายเลข 972112
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 972112's blog to your web]
space
space
space
space
space