space
space
space
<<
กันยายน 2559
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
space
space
11 กันยายน 2559
space
space
space

การบริการสาธารณะแนวใหม่ (New Public Service: NPS)


การบริการสาธารณะแนวใหม่(NewPublic Service: NPS)
                                                                                                   ดร.ภคพร กุลจิรันธร

การบริการสาธารณะแนวใหม่(NewPublic Service : NPS) คือชุดของแนวคิดเกี่ยวกับบทบาทของการบริหารรัฐกิจภายใต้ระบบการบริหารปกครองที่ให้ความสำคัญกับการบริการสาธารณะการบริหารปกครองแบบประชาธิปไตย และการสร้างความผูกพันของพลเมืองซึ่งปฏิเสธตรรกะที่เน้นตลาดของกลุ่มการจัดการนิยมหรือกลุ่มการจัดการภาครัฐแนวใหม่(New Public Management : NPM)เป็นทางเลือกที่น่าจะเหมาะสมในยุคปัจจุบันที่รัฐบาลมิได้ทำหน้าในการปกครองเพียงอย่างเดียวแต่ยังต้องทำหน้าที่เสมือนผู้ให้การสนับสนุนช่วยเหลือแก่พลเมืองให้ความสำคัญแก่ความเป็นพลเมืองหรือให้ความสำคัญต่อการเป็นมนุษย์มากกว่าความเป็นผู้ประกอบการหรือผลผลิตที่ได้

Robert B. Denhardt and Janet VinzantDenhardt (2007) ผู้มีบทบาทสำคัญในการนำเสนอแนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่ได้กล่าวไว้ในส่วนบทนำของหนังสือของเขาว่า“ข้าราชการไม่ได้ส่งมอบบริการสู่ลูกค้าแต่เขาส่งมอบประชาธิปไตย”ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า NPS เป็นแนวคิดของนักรัฐประศาสนศาสตร์สายรัฐศาสตร์ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องคุณค่าหรืออุดมการณ์โดยเฉพาะคุณค่าความเป็นประชาธิปไตยมากกว่าเรื่องประสิทธิภาพหรือผลิตภาพ โดยมีแนวคิดพื้นฐานหรือรากฐานของแนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่4 ประการหลัก คือ

(1)ทฤษฎีประชาธิปไตยพลเมือง (Theories of DemocraticCitizenship)

(2)ตัวแบบชุมชนและประชาสังคม (Models of Community and CivilSociety)

(3)มนุษย์นิยมองค์การและรัฐประศาสนศาสตร์แนวใหม่ (OrganizationalHumanism and the New Public Administration)

(4)รัฐประศาสนศาสตร์หลังสมัยใหม่ (Postmodern PublicAdministration)

เนื่องจากNPS มีรากฐานจากทฤษฎีเกี่ยวกับประชาธิปไตยและแนวทางอื่น ๆ ในการแสวงหาความรู้ ซึ่งรวมถึงแนวทางแบบประจักษ์นิยม แนวทางการตีความ แนวทางเชิงวิพากษ์วิจารณ์ และแนวทางแบบโพสต์โมเดิร์น จึงมองข้าราชการว่าเป็นคนมีเหตุผลในเชิงยุทธศาสตร์ที่ใช้เหตุผลทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และองค์การมองผลประโยชน์สาธารณะว่าเป็นผลจากการพูดคุยเกี่ยวคุณค่าที่มีร่วมกันมองประชาชนว่าเป็นพลเมืองซึ่งมีทั้งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบนักบริหารหรือข้าราชการมีบทบาทรับใช้ประชาชน (Serving) เพราะประชาชนคือเจ้าของประเทศตัวจริงข้าราชการต้องมีบทบาทในการเจรจาไกล่เกลี่ยและเป็นตัวกลางที่จะทำให้เกิดค่านิยมร่วมกันในหมู่พลเมือง ชุมชน และกลุ่มต่าง ๆกลไกที่จะทำให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของนโยบายคือการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อให้บรรลุผลที่ตกลงร่วมกันมองว่ากลไกการตรวจสอบมีหลากหลาย ทั้งด้านกฎหมาย ค่านิยมของชุมชนบรรทัดฐานทางการเมือง มาตรฐานทางด้านวิชาชีพ และผลประโยชน์ของพลเมืองข้าราชการควรมีดุลยพินิจแต่ต้องมีการควบคุมและตรวจสอบโครงสร้างองค์การควรเป็นแบบร่วมมือกันโดยมีผู้นำร่วมทั้งจากภายในและภายนอกองค์การส่วนปัจจัยจูงใจข้าราชการและนักบริหารคือการได้รับใช้ประชาชนและการได้ทำประโยชน์ให้แก่สังคม โดยแนวคิดNPS นี้มีหลักสำคัญ 7 ประการได้แก่

(1)บริการรับใช้พลเมือง ไม่ใช่ลูกค้า (Serve Citizens, NotCustomers)

(2)เน้นการค้นหาผลประโยชน์สาธารณะ (Seek the Public Interest)

(3)เน้นคุณค่าความเป็นพลเมืองมากกว่าการเป็นผู้ประกอบการ (ValueCitizenship over Entrepreneurship)

(4)คิดเชิงกลยุทธ์ ปฏิบัติแบบประชาธิปไตย (Think Strategically,Act Democratically)

(5)การตระหนักในความรับผิดชอบไม่ใช่เรื่องง่าย (Recognize thatAccountability Is Not Simple)

(6)การให้บริการมากกว่าการกำกับทิศทาง (Serve Rather thanSteer)

(7)ให้คุณค่ากับคน ไม่ใช่แค่ผลิตภาพ (Value People, Not JustProductivity)

จากการศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่กับแนวคิดรัฐประศาสนศาสตร์ในยุคต่างๆจะเห็นได้ว่าการบริการสาธารณะแนวใหม่ (NPS) มีความเหมือนกับแนวคิดรัฐประศาสนศาสตร์แนวใหม่(NPA) ค่อนข้างมาก ขณะที่จะมีความแตกต่างกับแนวคิดรัฐประศาสนศาสตร์ดั้งเดิม(TPA) และแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ (NPM) เป็นอย่างมาก

การบริการสาธารณะแนวใหม่(NPS) ให้ความสำคัญกับพลเมือง (Citizen First) ผลประโยชน์สาธารณะ (Public Interest) ความเป็นประชาธิปไตย(Democratic) ความสามารถในการรับผิดชอบได้ต่อพลเมือง(Accountability) การเจรจาต่อรองเพื่อหาข้อสรุปและพันธสัญญาต่อพลเมืองและชุมชน(Community) เพื่อกระจายผลประโยชน์สาธารณะนั้นไปสู่สังคมอย่างแท้จริงขณะที่ TPA ยังมองประชาชนเป็นเพียงผู้รอรับบริการจากรัฐ(Client) เน้นการบริหารภายในมากกว่าภายนอก ยังคำนึงถึงเรื่องประสิทธิภาพประสิทธิผลและประหยัดเป็นค่านิยมหลักในทางการบริหาร จัดองค์การแบบทางการที่เน้นสายการบังคับบัญชาผลประโยชน์สาธารณะถูกกำหนดโดยฝ่ายการเมืองและข้าราชการประจา หรือกำหนดไว้แล้วในนโยบายและกฎหมายต่างๆความรับผิดชอบได้เป็นเรื่องของผู้เชี่ยวชาญและนักบริหารระดับสูง กระบวนการตัดสินใจต่างๆจึงถูกผูกขาดอยู่ในกลุ่มนักการเมืองและข้าราชการ พลเมืองหรือประชาชนจึงเข้ามามีส่วนร่วมได้ในระดับที่จากัดการปฏิบัติงานก็เป็นไปกฎเกณฑ์ กฎระเบียบ จนส่งผลให้เกิดการทางานที่ขาดประสิทธิภาพและล่าช้าข้าราชการก็ขาดแรงจูงใจในการทางานและถูกปิดกั้นในความคิดสร้างสรรค์

การบริการสาธารณะแนวใหม่(NPS) กับรัฐประศาสนศาสตร์แนวใหม่ (NPA) นั้นมีสาระสำคัญและค่านิยมพื้นฐานที่คล้ายคลึงกันมากไม่ว่าจะเป็นการเน้นการมีส่วนร่วมของพลเมือง ความเป็นประชาธิปไตย บทบาทของนักบริหารรัฐกิจในการเปลี่ยนแปลงสังคมค่านิยมการบริหารที่ไม่ใช่เฉพาะเรื่องประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และประหยัดเท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญกับเรื่องความเสมอภาคเป็นธรรม ความรับผิดชอบได้ จริยธรรมในการบริหาร ซึ่งความคล้ายคลึงกันนี้ทาให้มองได้ว่าแนวคิดทั้งสองเป็นกลุ่มแนวคิดเดียวกันเป็นแนวคิดเชิงปทัสถานที่ปฏิเสธปฏิฐานนิยมทางตรรกะ (anti-logicalpositivism) เหมือนกัน เพียงแต่ NPS มาขยายรายละเอียดของNPA เพิ่มขึ้นในหลายๆ ประเด็นเท่านั้น โดย NPS มีระดับในเรื่องการค้นหาความต้องการหรือความจาเป็นของพลเมือง ตลอดจนเรื่องประชาธิปไตยที่มีระดับที่เพิ่มมากขึ้นกว่าNPA และยังพบอีกว่า NPA ถือเป็นหนึ่งในแนวคิดที่เป็นรากฐานของNPS

สำหรับความแตกต่างระหว่างการบริการสาธารณะแนวใหม่(NPS) กับการจัดการภาครัฐแนวใหม่ (NPM) นั้นมีอยู่หลายประเด็นที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงเพราะความตั้งใจของ NPS ในการเป็นแนวคิดหรือวาทกรรมเชิงวิพากษ์NPM ตั้งแต่ที่ NPS ไม่เห็นด้วยที่จะมองประชาชนเป็นลูกค้าเหมือนNPM แต่กลับเห็นว่าประชาชนคือพลเมืองที่ต้องการผลประโยชน์ของส่วนรวมหรือผลประโยชน์ระยะยาวมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตนหรือผลประโยชน์ระยะสั้นในการบริการสาธารณะนักบริหารรัฐกิจก็เป็นเพียงผู้รับผิดชอบร่วมหาใช่ผู้ประกอบการหรือเจ้าของกิจการไม่ประสิทธิภาพและผลิตภาพไม่ใช่เรื่องที่มีความสำคัญมากไปกว่าความเสมอภาค เป็นธรรม และความรับผิดชอบได้ของภาครัฐโดยเห็นว่าค่านิยมในเรื่องความเป็นธรรม จริยธรรมและความรับผิดชอบได้ต่างหากที่เป็นเป้าหมายของการบริการสาธารณะการบริการของรัฐไม่ได้เป็นการส่งมอบสินค้าหรือบริการให้แก่พลเมืองเท่านั้นแต่มันคือการส่งมอบความเป็นประชาธิปไตยไปสู่พลเมือง

บทความทางวิชาการ ชื่อ The Pursuit of Significanceของ Denhardt นำเสนอว่าแท้จริงแล้วผลระโยชน์ของตนเองเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ภาครัฐไม่สามารถตอบสนองความต้องการแท้จริงของพลเมืองได้และเสนอว่าแนวทาง NPS จะตอบโจทย์เหล่านั้นได้โดยแก้ปัญหาการบริหารจัดการที่มุ่งเน้นให้คามสำคัญกบพลเมืองแบบประชาธิปไตยเป็นหลัก

จึงอาจสรุปได้ว่าแนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่ (NPS) เป็นแนวคิดเชิงปทัสถานเน้นการวิพากษ์และมีลักษณะเป็นวาทกรรม (discourse) ที่มีเป้าหมายของการนาเสนอเพื่อการวิพากษ์วิจารณ์แนวคิดรัฐประศาสนศาสตร์อื่นๆโดยเฉพาะการวิพากษ์แนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่(NPM) ซึ่งเป็นแนวคิดที่อาศัยรูปแบบการบริหารจากภาคเอกชนมาใช้ โดยประเด็นการวิพากษ์ที่สำคัญคือการจัดการภาครัฐแนวใหม่(NPM) ได้ทาให้เกิดช่องว่างในการบริหารภาครัฐ โดยเฉพาะในเรื่องของความชอบธรรมความสามารถรับผิดชอบได้ การตรวจสอบได้ ภาวะผู้นาและจริยธรรมในทางการบริหาร ซึ่งในหลายกรณีได้เบี่ยงเบนไปจากวิถีทางของประชาธิปไตยโดยเฉพาะในเรื่องของการอยู่นอกเหนือขอบเขตของหลักกฎหมายมหาชน การทุจริตเชิงนโยบายและความขัดแย้งต่อหลักผลประโยชน์สาธารณะการที่สวมวิญญาณผู้ประกอบการมาทำหน้าที่บริหารภาครัฐนั้นทาให้เกิดการมองประชาคนเป็นเพียงลูกค้าให้ความสำคัญเฉพาะการสร้างความพึงพอใจหรือผลประโยชน์เฉพาะหน้าในระยะสั้นๆ เท่านั้น




Create Date : 11 กันยายน 2559
Last Update : 11 กันยายน 2559 18:14:52 น. 0 comments
Counter : 44480 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

สมาชิกหมายเลข 972112
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 972112's blog to your web]
space
space
space
space
space