ที่ปรึกษากฎหมาย วางแผนธุรกิจ การลงทุน โดยคนไทย เพื่อคนไทย ก้าวไกลสู่ AEC
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2557
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
1 ธันวาคม 2557
 
All Blogs
 
พินัยกรรม

              พินัยกรรม คือการกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สิน หรือในการต่างๆอันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ความตาย แต่ทั้งนี้การกำหนดเงื่อนไขต่างๆนั้นจะมีได้เฉพาะแต่ทรัพย์สินหรือสิทธิหน้าที่ของผู้ทำพินัยกรรมเท่านั้นจะไม่สามารถทำพินัยกรรมเพื่อบังคับหรือจัดการในทรัพย์สินของบุคคลอื่นได้ครับ โดยผู้ทำพินัยกรรมจะต้องมีอายุ 15 ปีบริบูรณ์จึงจะทำพินัยกรรมได้ และการทำพินัยกรรมจะเป็นการตัดสิทธิการรับมรดกของทายาทโดยธรรมทั้งหมดทันทีครับ

              การทำพินัยกรรมนั้นกฎหมายได้มีการป้องกันการฆาตกรรมผู้ทำพินัยกรรมเอาไว้ และเพื่อให้การทำพินัยกรรมทำด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรมและเต็มใจของผู้ทำพินัยกรรมจึงมีการกำหนดไว้ว่าผู้เขียนหรือพยานในพินัยกรรมจะเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมนั้นไม่ได้ครับ

              การทำพินัยกรรมสามารถทำได้หลายแบบครับโดยสามารถใช้การพิมพ์ได้โดยต้องมีรายละเอียดวันเดือนปีที่ทำพินัยกรรมและผู้ทำพินัยกรรมจะต้องลงชื่อต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คนและพยานจะต้องลงชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้นเลยครับ

              การทำพินัยกรรมอีกแบบหนึ่งคือผู้ทำพินัยกรรมเขียนพินัยกรรมด้วยลายมือของตนทั้งหมดทั้งฉบับและลงชื่อไว้ท้ายพินัยกรรมโดยไม่จำเป็นต้องมีพยานก็ได้ครับ แต่หากมีบุคคลอื่นเขียนพินัยกรรมให้ผู้เขียนพินัยกรรมจะต้องลงชื่อไว้ท้ายพินัยกรรมในฐานะผู้เขียนพินัยกรรมด้วยครับ และผู้เขียนสามารถเป็นพยานในพินัยกรรมได้แต่ต้องลงชื่อในฐานะพยานไว้อีกชื่อหนึ่งด้วยครับ

              การทำพินัยกรรมแบบสุดท้ายเรียกว่าพินัยกรรมฝ่ายเมืองโดยจะต้องไปติดต่อเพื่อขอทำพินัยกรรมฝ่ายเมืองที่ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานเขตใกล้บ้านครับ แต่ทั้งนี้พินัยกรรมฝ่ายเมืองสามารถทำนอกที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานเขตก็ได้ครับ

              การเป็นพยานในพินัยกรรมนั้นบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ บุคคลวิกรจริตหรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นบุคคลเสมือนไร้ความสามารถ และบุคคลที่หูหนวก เป็นใบ้ หรือตาบอดทั้งสองข้าง ไม่สามารถเป็นพยานได้ครับ

              ผู้ทำพินัยกรรมจะยกเลิกหรือเพิกถอนพินัยกรรมเมื่อใดก็ได้ครับ และหากมีการทำพินัยกรรมหลายฉบับให้ยึดถือพินัยกรรมฉบับล่าสุดไว้เป็นสำคัญและให้ถือว่าฉบับก่อนหน้าถูกยกเลิกโดยปริยายครับ

              หากทรัพย์สินในพินัยกรรมถูกทำลาย สูญหาย หรือบุบสลายก่อนผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ความตายให้ถือว่าพินัยกรรมในส่วนนั้นเป็นอันตกไป

              หากทายาทโดยธรรมหรือผู้มีส่วนได้เสียของผู้ทำพินัยกรรมสงสัยว่าพินัยกรรมอาจจะเป็นพินัยกรรมปลอม สามารถฟ้องเพิกถอนพินัยกรรมนั้นต่อศาลได้ภายใน 3 เดือนนับแต่รู้ว่าพินัยกรรมดังกล่าวเป็นพินัยกรรมปลอมแต่ไม่เกิน 10 ปีนับแต่ผู้ทำพินัยกรรมตายครับ

              หากต้องการสอบถามข้อกฎหมาย การลงทุน ออมเงินหรือการขอใบอนุญาตต่างๆก็สอบถามได้ทาง E-Mail หรือ Facebook ได้ตลอดและผมสัญญาว่าจะตอบทุกคำถามครับ

ทนายกอร์น SGG Law Group

www.strandgreatgeorge.com

https://www.facebook.com/Strandandgreatgeorge

pongsakorn.m@strandgreatgeorge.com               



Create Date : 01 ธันวาคม 2557
Last Update : 1 ธันวาคม 2557 20:38:48 น. 0 comments
Counter : 1756 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

SGGLAW
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 12 คน [?]




ยินดีให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย ธุรกิจ และการลงทุนทุกประเภทครับ
Friends' blogs
[Add SGGLAW's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.