เมื่อมุสลิมแต่งงาน : ตอนที่ 3 Wedding in Oman

โอมานเป็นประเทศมุสลิมที่อยู่ในกลุ่มประเทศอาหรับมีพรมแดนติดกับประเทศซาอุดิอาระเบีย เยเมน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และอีกฟากติดกับทะเล โอมานเป็นประเทศมุสลิมนิกายอัล-อับบาดียะห์ มากกว่าที่จะเป็นนิกายซุนหนี่ หรือ ชีอะห์ ในกรณีการสมรส, ชาวโอมานไม่ได้รับการผ่อนปรนให้สมรสกับคนนอกศาสนาเลยไม่ว่าจะเป็นยูดาย หรือคริส หรือศาสนาอื่น ๆ ซึ่งในประเทศโอมานจะมีพิธีแต่งงานที่แตกต่างไปจากหลักการของมุสลิมบ้าง เช่น
- ชาย-หญิง ได้รับอนุญาตให้เลือกคู่แต่งงานได้
- แม่สื่อหรือคนในครอบครัวไม่ใช่ผู้จัดการเลือกคู่แต่งงาน

ก่อนการแต่งงานจะมีขึ้น
คนมุสลิมในประเทศโอมานจะแยกกันอยู่ระหว่างชายกับหญิง, กระบวนการเลือกเจ้าสาวของบรรดาชายหนุ่มค่อนข้างยาก เพื่อให้ได้เจ้าสาวที่คู่ควรบรรดาหนุ่มโสดมักจะต้องปรึกษาบรรดาญาติ ๆ ผู้หญิงที่สนิทกัน หรือในกรณีที่ชายหนุ่มอยากแต่งงานกับสตรีที่อยู่ต่างพื้นที่กันเขาก็จะเสาะหาข้อมูลจากบรรดาพ่อค้าวาณิชย์ที่เดินทางตลอดหรือไม่ก็ถาม ๆ เพื่อนบ้านดู.

ก่อนที่จะมีการพบปะระหว่างว่าที่เจ้าบ่าวและว่าที่เจ้าสาวที่ค่อนข้างเชื่อว่าเลือกคนนี้แน่ ๆ ว่าที่เจ้าบ่าวจะต้องขออนุญาตครอบครัวของว่าที่เจ้าสาวเพื่อจะได้พบกันเมื่อได้รับอนุญาตการดูตัวก็จะได้จัดให้มีขึ้น (ก็คล้าย ๆ กับการไปสู่ขอนั่นเอง) ซึ่งในงานเลี้ยงเล็ก ๆ ระหว่างครอบครัวนี้หากผู้ใหญ่พิจารณาเห็นว่าเหมาะสมก็จะอนุญาตให้ว่าที่เจ้าสาวจะเป็นผู้เสิร์ฟอาหารให้กับคนในครอบครัวของว่าที่เจ้าบ่าว การเจรจาสู่ขอจะเริ่มขึ้นระหว่างว่าที่เจ้าบ่าวและว่าที่พ่อตาเพื่อตกลงเรื่องสินสอดทองหมั้นที่ว่าที่เจ้าบ่าวจะต้องจ่าย ค่าสินสอดขึ้นอยู่กับความสวยของว่าที่เจ้าสาว ชาติตระกูล และความบริสุทธิ์ของเธอ ซึ่งหากหนุ่มคนไหนไปตกลงปลงใจกับสาวที่มีชาติตระกูลที่สูงกว่าก็ต้องจ่ายกันมากมายเอาการในขณะที่หากเลือกเจ้าสาวจากเครือญาติก็แทบจะไม่ต้องจ่ายอะไรเลย.

หลังจากเจรจาสูขอและตกลงกันแล้ว ขั้นตอนต่อไปว่าที่เจ้าบ่าวและว่าที่พ่อตาก็ต้องไปลงนามในสัญญากันที่ศาลซึ่งขั้นตอนนนี้ว่าที่เจ้าสาวไม่ต้องติดตามไปแต่อย่างใด.

การแยกกันอยู่ระหว่างชาย-หญิง
การแยกกันอยู่ระหว่างชาย-หญิง เป็นการดำเนินชีวิตโดยปกติของชาวโอมานและนี่ก็เป็นวิถีที่แทรกอยู่ในประเพณีแต่งงานของคนที่นี่ด้วยเช่นกัน

- ครอบครัวของเจ้าบ่าวจะฉลองการแต่งงานเป็นเวลากว่า 3 วัน ในขณะที่
- ครอบครัวของเจ้าสาวจะฉลองการแต่งงานเป็นเวลา1 หรือ 2 วัน เท่านั้น, และหว่างงานฉลองนี้เจ้าสาวต้องอยู่แต่ในห้องโดยมีเด็ก ๆ อยู่เป็นเพื่อน

ในวันสุดท้ายของการเฉลิมฉลองบรรดาผู้ชายจากครองครัวของเจ้าบ่าวจะเดินทางมาที่บ้านของเจ้าสาวด้วยขบวนรถหรือขบวนอูฐในขณะที่บรรดาผู้หญิงจะเป็นขบวนรั้งท้าย. พวกผู้ชายจะเฝ้าคอยเจ้าสาวที่กำลังแต่งตัวซึ่งแน่นอนว่าเธอจะอยู่ในอาภรณ์และเครื่องประดับที่งดงามรวมทั้งเครื่องประดับ(คลุม) ศรีษะสีเขียวและเครื่องประดับตามอย่างประเพณีอื่น ๆ อีกมากที่พ่อของเธอเป็นผู้ซื้อหาและตระเตรียม. หลังจากนั้นเจ้าสาวพร้อมทั้งบรรดาญาติผู้หญิงจากครอบครัวของเธอก็จะติดตามขบวนของเจ้าบ่าวไปร่วมงานเลี้ยงที่บ้านของเจ้าบ่าว.

พิธีแต่งงาน
ที่บ้านของเจ้าบ่าวงานเลี้ยงจะจัดแยกกันอีกครั้ง, โดยในงานของฝ่ายเจ้าสาวจะมีการเสิร์ฟอาหารและการแสดงความบันเทิงต่าง ๆ ขณะที่ฝ่ายเจ้าบ่าวต้องไปเปลี่ยนเครื่องแต่งกายเพื่อยู่ในชุดที่งดงามที่สุดรวมทั้งสาวเสื้อคลุมสีเขียวซึ่งเชื่อว่าเป็นสีของความหวังที่จะนำมาซึ่งความโชคดี.

หลังจากพิธีสิ้นสุดลง, เจ้าบ่าวและเจ้าสาวจะออกเดินทางไปที่กระท่อมแต่งงานซึ่งถูกสร้างโดยบรรดาเพื่อน ๆ ของเจ้าบ่าว. พวกเขาจะใช้เวลาประมาณหนึ่งสัปดาห์เพื่อดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์ซึ่งคู่สามี-ภรรยาใหม่จะไม่ต้องกังวลกับภาระหน้าที่ใด ๆ. ที่นี่ทั้งคู่จะต้องเหยียบไข่ให้แตกเพื่อเป็นสัญญาณของการพร้อมจะมีบุตร.








Create Date : 30 มกราคม 2552
Last Update : 16 กุมภาพันธ์ 2552 15:22:14 น. 6 comments
Counter : 5294 Pageviews.

 
รออ่านอยู่นะคะ


โดย: ข้าวกับดิน IP: 222.123.149.81 วันที่: 30 มกราคม 2552 เวลา:17:20:38 น.  

 
มาเล่าแล้วนะจ้ะ


โดย: salama (salama_rashid ) วันที่: 16 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:15:27:15 น.  

 
นิไม่รู้จะปรึกษาใครอ่าค่ะ ไม่ทราบว่านิขอปรึกษาได้ป่าวคะ มีหนุ่มดูไบ เค้ามาขอแต่งงานค่ะ แม่กะพี่สาวเค้ามาเจอกะพ่อแม่เราแล้ว แล้วเค้าบอกว่าจะไปทำวีซ่าให้แล้วจะมาแต่งงาน แล้วเค้าจะมาจดทะเบียนที่เมืองไทยเค้าจะต้องใช้อะไรบ้างเค้าอยากได้ข้อมูล แล้วนิไม่ทราบเลยว่าจะยุ่งยากไหมอ่าคะ ข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษนิจะหาที่ไหนคะพี่ๆทราบแล้วตอบด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ


โดย: นิ IP: 125.25.128.244 วันที่: 17 ตุลาคม 2552 เวลา:20:42:24 น.  

 
เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนสมรส
- บัตรประจำตัวประชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้

- สำเนาหนังสือเดินทางกรณีชาวต่างประเทศ

- หนังสือรับรองสถานภาพบุคคลจากสถานทูตหรือสถานกงสุลหรือองค์การของรัฐบาลประเทศนั้น

มอบหมาย พร้อมแปล(กรณีชาวต่างประเทศขอจดทะเบียนสมรส)

- สำเนาทะเบียนบ้าน
ขั้นตอนในการขอจดทะเบียนสมรส
- การจดทะเบียนสมรส สามารถยื่นคำร้องขอจดทะเบียนได้ทุกแห่ง โดยไม่ต้องคำนึงถึงภูมิลำเนาของ

คู่สมรส

- คู่สมรสยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสต่อเจ้าหน้าที่หรือนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ

หรือสำนักทะเบียนเขตใดก็ได้ โดยไม่คำนึงถึงภูมิลำเนาของคู่สมรส

- คู่สมรสที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องนำบิดาและมารดาหรือผู้ปกครองโดยชอบธรรมมาให้ความยินยอม

- คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่าย เป็นคนต่างด้าว ต้องขอหนังสือรับรองสถานภาพบุคคล

จากสถานทูตหรือกงสุลสัญชาติที่ตนสังกัด หนังสือรับรองนั้น ต้องแปลเป็นภาษาไทยและมีคำรับรอง

การแปลถูกต้อง ยื่นพร้อมคำร้องขอจดทะเบียนสมรสต่อนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ

หรือสำนักงานเขต


โดย: salama (salama_rashid ) วันที่: 21 ตุลาคม 2552 เวลา:14:21:22 น.  

 
พี่ซาลามายังคงเป็นกูรูเช่นเคย ^^


โดย: ภู ชิ ด า วันที่: 17 กันยายน 2553 เวลา:14:28:52 น.  

 
ขอโทษนะค่ะอยากทราบว่าถ้าจะทำเรื่องแต่งงานกับชาวโอมานนะค่ะแต่ไม่ได้ทำเรื่องแต่งที่โอมานนะค่ะจะจดทะเบียนสมรสที่ไทยอย่างเดียวนะค่ะเขาจะสามารถขอใบรับรองความเป็นโสดจากที่ไหนในโอมานค่ะแล้วต้องทำอย่างไรบ้าง👌ขอบคุณค่ะ


โดย: Wilasinee IP: 49.230.223.73 วันที่: 4 พฤษภาคม 2559 เวลา:18:47:35 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

salama_rashid
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Oh I come from a land, from a faraway place Where the caravan camels roam Where they cut off your ear If they don't like your face It's barbaric,but hey,it's home
Group Blog
 
 
มกราคม 2552
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
30 มกราคม 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add salama_rashid's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.