"เจ้านาย" ผู้มีสิทธิ์ในราชบัลลังก์ เมื่อปี พ.ศ. 2477 (ตอนที่ 7)
ตอนที่ 7 ความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง กับการสละราชสมบัติ


วันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎรได้ปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่มีพระราชประสงค์จะให้เกิดการนองเลือดในแผ่นดินจึงทรงรับที่จะเป็น “หุ่นเชิด” ให้กับรัฐบาลใหม่ และเสด็จกลับพระนครในวันรุ่งขึ้นเพื่อลงพระปรมาภิไธยในธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม ฉบับชั่วคราว พุทธศักราช 2475

“...วันที่ 30 มิถุนายน 2475 เวลา 17.15 น. โปรดเกล้าฯ ให้พระยามโนปกรณ์นิติธาดา พระยาศรีวิสารวาจา พระยาปรีชาชลยุทธ พระยาพหลพลพยุหเสนา และหลวงประดิษฐ์มนูธรรม เข้าเฝ้าฯ ที่วังศุโขทัย มีพระราชดำรัสว่าอยากจะสอบถามความบางข้อและบอกความจริงใจ ฯลฯ อีกอย่างหนึ่ง อยากจะแนะนำเรืองสืบสันตติวงศ์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระพุทธเจ้าหลวงเคยทรงพระราชดำริที่จะออกจากราชสมบัติเมื่อทรงพระชราเช่นเดียวกัน ในส่วนพระองค์พระเนตรก็ไม่ปกติ คงทนงานไปได้ไม่นาน เมื่อเหตุการณ์ปกติแล้ว จึงอยากจะลาออกเสีย พระราชดำริเห็นว่าพระโอรสสมเด็จสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนเพช็รบูรณ์ถูกข้ามมาแล้ว ผู้ที่สืบสันตติวงศ์ต่อไปควรเป็นพระโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงสงขลานครินทร์ ฯลฯ…”

แต่คณะผู้ที่เข้าเฝ้าฯ ในวันนั้นได้กราบบังคมทูลขอให้ทรงดำรงอยู่ในราชสมบัติต่อไป และพระราชดำริที่จะสละราชสมบัตินั้นขอให้งดไว้ก่อนจนกว่าการปกครองระบอบใหม่จะมั่นคง ปีพุทธศักราช 2476 ซึ่งถือเป็นปีแห่งวิกฤติการณ์ทางการเมืองครั้งสำคัญของสยาม รัชกาลที่ 7 ทรงไม่เห็นด้วยกับการเค้าโครงร่างเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) และเกิดการโต้แย้งกันอย่างกว้างขวางถึงแนวคิดที่อาจนำพาประเทศไปสู่ระบอบคอมมิวนิสต์ เพื่อระงับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นจึงประกาศปิดสภาและงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา พร้อมกับเนรเทศหลวงประดิษฐ์ฯ ออกนอกประเทศ ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับคณะราษฎรเป็นอย่างมาก ในที่สุดจึงเกิดการรัฐประหารรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา และพระยาพหลพลพยุหเสนาเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 2 จากนั้นไม่นานคณะกู้บ้านกู้เมือง ซึ่งนำโดยพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช ก่อกบฏยกกองทหารหัวเมืองจากนครราชสีมาเข้ามาตีกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นประทับอยู่ ณ วังไกลกังวล หัวหิน ทรงถูกรัฐบาลสงสัยว่าให้การสนับสนุนการกบฏในครั้งนี้ และเมื่อทรงแน่พระทัยว่าพระองค์ และพระราชวงศ์ตกอยู่ในสภาวะที่ไม่ปลอดภัยแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายราชสำนักไปยังสงขลา มีเจ้านายทั้งฝ่ายหน้า ฝ่ายในและข้าราชบริพารผู้ใกล้ชิดตามเสด็จฯเป็นจำนวนมาก เมื่อเหตุการณ์ทางกรุงเทพฯ สงบลง รัฐบาลจึงส่งตัวแทนมากราบบังคมทูลให้เสด็จกลับพระนคร พร้อมกับมีการเจรจาเรื่องสำคัญหลายเรื่อง เช่น เรื่องการชำระโทษผู้คิดก่อการกบฏต่อหน้าพรที่นั่ง เมื่อทรงไม่สามารถเจรจาให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ได้ และทรงมีพระราชดำริว่าพระองค์ไม่สามารถให้ความคุ้มครองแก่ผู้ใดได้แล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เจ้านายและขุนนางหลายท่านที่อาจโดนภัยคุกคามจากรับบาลเดินทางออกจากประเทศสยามก่อนที่พระองค์จะเสด็จนิวัติพระนคร

“...ตลอดระยะเวลาที่เกิดวิกฤติการณ์ทางการเมืองนี้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพยายามวางพระองค์เป็นกลาง แต่ความสัมพันธ์ระหว่างพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับรัฐบาลมิได้ดีขึ้น ในวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2476 พระบาทสมเด็จพระปกเล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จไปรักษาพระเนตรที่ประเทศอังกฤษพร้อมด้วยสมเด็จพระราชินี ทั้งนี้เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดทางการเมือง...

...ระหว่างที่ประทับอยู่ที่อังกฤษ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยขัดแย้งกับรับบาลหลายเรื่อง ในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2477 ทรงมีพระราชโทรเลขถึงสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัติวงศ์ (พระอิสริยยศขณะนั้น) ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ว่า ทรงสมัครพระราชหฤทัยจะสละราชสมบัติ ...” ( เรื่องเดียวกัน หน้า 84 – 85 อ้างในเจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์ พระนิพนธ์ในสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ )

จากนั้นมารัฐบาลจึงได้เริ่มทำการประนีประนอมกับรัชกาลที่ 7 เพราะรัฐบาลเองก็ไม่มีประสงค์จะให้ทรงสละราชสมบัติ ต่อมาในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2477 ได้ทรงมีพระราชหัตถเลขา ฉบับที่ 2 ถึงรัฐบาล โดยทรงพระราชทานผ่านพระยาราชวังสัน อัครราชทูตสยามประจำกรุงปารีส ความสำคัญตอนหนึ่งว่า


“...ถ้าเหตุการณ์ยังเป็นไปอยู่อย่างนี้เรื่อยๆ ฉันมีความสงสัยอย่างยิ่งว่าจะเป็นการดีสำหรับประเทศหรือ ที่จะให้ฉันดำรงตำแหน่งประมุขของประเทศต่อไป การที่ประมุขของประเทศและรัฐบาล และสภาผู้แทนราษฎร มีความระแวงสงสัยแก่กันอยู่เสมอ และอาจมีข้อแตกร้าวต่อไปนั้นเป็นการดีหรือ

ถ้าฉันลาออกจากตำแหน่งเสียแล้ว ให้สภาฯ เลือกเจ้านายพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง แล้วแต่จะเห็นควรขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แทนจะไม่ดีกว่าหรือ...

...ฉันมีความคิดเห็นอย่างนี้มานานแล้ว และ และได้อธิบายให้รัฐมนตรีบางคนฟังก็มี แต่โดยมากไม่มีใครยอมคิดเห็นพ้องกับฉัน ก็เพราะที่สำคัญอย่างเดียว คือ ไม่มีใครแน่ใจว่าควรเลือกเจ้านายพระองค์ใดขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ต่อไป

ทางที่จะเลือกมีดังนี้

๑ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล ซึ่งอ้างได้ว่าให้เป็นไปตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ ทางนี้ผลดีอยู่มาก คือเป็นทางที่ตรงตาม Legality แต่เสียทีที่ยังเป็นเด็ก แม้การเป็นเด็กนั้นเองก็อาจเป็นของดี เพราะถ้ามีอะไรผิดพลาดไป ก็ไม่กระทบกระเทือนถึงองค์พระมหากษัตริย์ ไม่มีใครซัดทอดไปถึงซึ่งจะเป็นข้อดีมาก ข้อสำคัญอยู่ที่การเลือกผู้สำเร็จราชการ ซึ่งฉันเห็นว่า เจ้าฟ้ากรมพระนริศฯ หรือทูลกระหม่อมหญิงวไลย องค์ใดองค์หนึ่งทรงดำรงตำแหน่งนี้แล้ว จะเป็นที่เคารพนับถือแก่คนทั่วไป และไม่น่าจะเป็นศูนย์กลางแห่งการแตกร้าวกันระหว่างคณะการเมืองต่างๆ ด้วย

๒ พระองค์เจ้าจุลจักรพงศ์ ซึ่งอาจจะยินดียอมรับตำแหน่งและฉันได้ทราบแน่นอนว่ามีความคิดเห็นอยู่หลายอย่างในทางที่จะทำให้พระมหากษัตริย์กับคณะราษฎรหมดข้อบาดหมางกันได้ และดำเนิน Policy บางอย่างที่จะเป็นที่พอใจของคณะราษฎร เช่น จะยกสมบัติพระคลังข้างที่ให้กับรัฐบาลและขอเงินก้อนประจำปีแทน จะเลิกทหารรักษาวัง และยอมให้รับบาลตั้งข้าราชการในราชสำนักตามใจ วิธีการเหล่านี้ล้วนเป็นของที่ฉันเองยอมไม่ได้ และจะต้องวิวาทกับรัฐบาลอีกต่อไปอย่างแน่นอน เว้นแต่รัฐบาลจะผ่อนผันตาม

ทางเสียนั้น เห็นจะไม่ต้องอธิบาย เพราะๆ ใครก็นึกเห็นได้

ในสองทางที่จะเลือกนี้ ฉันพร้อมที่จะสนับสนุนโดยเต็มที่ แล้วแต่รัฐบาลและสภาฯ จะเลือกทางไหน ( 100 ปี พระปกเกล้าฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร )


“...ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2477 รัฐบาลพยายามหาทางประนีประนอมให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับมาครองราชย์ในประเทศไทย ได้แต่งตั้งคณะผู้แทนคณะหนึ่ง ประกอบด้วย เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ ประธานสภาผู้แทนราษฎร นาวาตรีหลวงธำรงนาวาสวัสดิ ร.น. และนายดิเรก ชัยนาม ไปเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ประเทศอังกฤษเพื่อกราบบังคมทูลชี้แจงความคิดเห็นของรัฐบาล แต่มีปัญหาขัดแย้งหลายประการที่ไม่อาจยุติได้...” ( เรื่องเดียวกัน หน้า 84 – 85 อ้างในเจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์ พระนิพนธ์ในสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ )

ในที่สุดพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงแสดงพระราชประสงค์กับคณะผู้แทนของรัฐบาลว่าจะทรงสละราชสมบัติ



Create Date : 02 มิถุนายน 2549
Last Update : 2 มิถุนายน 2549 10:47:55 น.
Counter : 2322 Pageviews.

4 comments
  
ขอบคุณพี่รอยใบลานมากครับ จะพยายามให้จบทุกตอน ช่วงนี้งานเยอะครับ เลยไม่ค่อยมีเวลาอ่าน

ขอบคุณมากๆครับ
โดย: ดนย์ วันที่: 2 มิถุนายน 2549 เวลา:23:18:39 น.
  
โดย: mingky วันที่: 14 มิถุนายน 2549 เวลา:19:05:49 น.
  
ทำไม พระองค์เจ้าจุมภฏบริพัตร พระโอรสในสมเด็จบริพัตร และพระองค์เจ้าภาณุพันธุ์พระโอรสในสมเด็จยุคล ถึงไม่มีสิทธิ์ในการครองราชย์ ทั้งๆที่พระมารดาทั้ง 2 พระองค์ก็เป็นหม่อมเจ้า และ พระองค์เจ้าตามลำดับ

ช่วบตอบเร็วๆด้วย
โดย: ป๋อมแป๋ม IP: 203.113.67.39 วันที่: 4 เมษายน 2550 เวลา:12:41:13 น.
  
สิทธิ์ในราชสมบัตินั้นมีอยู่แล้ว แต่ตามกฎมณเฑียรบาลสิทธิ์นั้นยังไม่ไปถึงสายบริพัตร กับสายยุคล ครับ
โดย: รอยใบลาน IP: 203.146.118.140 วันที่: 8 ตุลาคม 2550 เวลา:11:50:55 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

รอยใบลาน
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 35 คน [?]



สโมสรของอัศวินแห่งอินทรนคร
มิถุนายน 2549

 
 
 
 
1
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog