"เจ้านาย" ผู้มีสิทธิ์ในราชบัลลังก์ เมื่อปี พ.ศ. 2477 (ตอนจบ)
ตอนจบ

ภายหลังจากนายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรีได้เข้าเฝ้าสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนริศรานุวัติวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ณ พระที่นั่งกรัณยสภา ในพระบรมมหาราชวังแล้ว วันรุ่งขึ้นคือวันที่ 3 มีนาคม 2477 จึงได้ขอเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสามาตุจฉาเจ้า ณ วังสระปทุม เพื่อขอพระราชทานความเห็นเกี่ยวกับการอัญเชิญพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล พระนัดดาของพระองค์ขึ้นเสวยราชสมบัติ แต่สมเด็จพระพันวัสสาฯ ก็มีพระราชดำรัสตอบเพียงว่าสุดแล้วแต่พระบรมราชวินิจฉัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว


"ทำกรรมให้กับเด็ก เพราะลูกแดง( หมายถึงสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร์ฯ)ไม่ได้มุ่งหวังที่จะให้ลูกเป็นพระเจ้าแผ่นดิน อยากให้หัดเป็นคนธรรมดา พลเมืองช่วยบ้านเมือง" (สมเด็จพระศรีสวรินทิราฯ : สมภพ จันทรประภา)


"...คณะรัฐมนตรีจึงได้ปรึกษากันในระหว่าง 5 วัน ตั้งแต่วันที่ 2 ถึงวันที่ 8 มีนาคม เพื่อพิจารณาว่าเจ้านายในพระราชวงศ์จักรีพระองค์ใดสมควรที่รัฐบาลจะเสนอขอความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเป็นพระมหากษัตริย์องค์ต่อไป เพราะในรัฐธรรมนูญนั้นได้กล่าวไว้ว่า "โดยนัยแห่งกฎมณเฑียรบาล ฯลฯ" ในขณะนั้นมีเจ้านายหลายพระองค์ที่ทรงศักดิ์ "พระองค์เจ้า" พระโอรสแห่งสมเด็จเจ้าฟ้าหลายพระองค์ รัฐมนตรีหลายท่านก็ยังมิได้ศึกษากฎมณเฑียรบาลนั้นให้เข้าใจแจ่มแจ้ง ส่วนข้าพเจ้าเองเคยศึกษาไว้บ้างเพื่อนำไปสอนในวิชากฎหมายปกครองที่โรงรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรม เมื่อ พ.ศ. 2474 ก็ช่วยอธิบายหลักการใหญ่ของกฎมณเฑียรบาลนั้นที่ได้กำหนดลำดับชั้นผู้ควรสืบราชสันตติวงศ์ไว้หลายกรณี....

แต่รายละเอียดในการลำดับอาวุโสของพระบรมวงศานุวงศ์ (ที่เจ้านายเรียกว่าโปเจียม) ของพระบรมวงศานุวงศ์นั้น รัฐมนตรีแทบทุกคนยกเว้นเจ้าพระยาวรพงษ์ (ม.ร.ว. เย็น อิศรเสนา) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวังที่รู้เรื่องแล้ว นอกนั้นไม่รู้รายละเอียดว่าพระโอรสและธิดาของเจ้านายองค์ใดทรงพระอิสริยยศเป็นหม่อมเจ้า พระองคืเจ้า สมเด็จเจ้าฟ้า ...

...คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาในประเด็นแรกว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงมีพระเชษฐาร่วมพระราชชนนี ที่มีพระโอรสทรงพระชนม์อยู่คือ

(1) พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ซึ่งเป็นพระโอรสของสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถที่ทรงเป็นรัชทายาทในรัชกาลที่ 6 ครั้นแล้วจึงพิจารณาคำว่า โดยนัย แห่งกฎมณเฑียรบาล 2467 นั้น พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์จะต้องยกเว้นตามมาตรา 11 (4) แห่งกฎมณเฑียรบาลนั้นหรือไม่ เพราะมารดามีสัญชาติเดิมเป็นชาวต่างประเทศ ซึ่งตามตัวบทอย่างเคร่งครัดกล่าวไว้แต่เพียงยกเว้นผู้สืบราชสันตติวงศ์ที่มีพระชายาเป็นนางต่างด้าว (ขณะนั้นพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ยังไม่มีชายาเป็นนางต่างด้าว) รัฐมนตรีบางท่านเห็นว่าข้อยกเว้นนั้นใช้สำหรับรัชทายาทองค์อื่น แต่ไม่ใช่ในกรณีสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถซึ่งขณะที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ สถาปนาเป็นรัชทายาทนั้นก็ทรงมีพระชายาเป็นนางต่างด้าวอยู่แล้ว และทรงรับรองเป็นสะใภ้หลวงโดยถุกต้อง แต่ส่วนมากของคณะรัฐมนตรีตีความว่าคำว่าโดยนัยนั้นย่อมนำมาใช้ในกรณ๊ที่ผู้ซึ่งจะสืบสันตติวงศ์มีพระมารดาเป็นนางต่างด้าวด้วย

(2) พระองค์เจ้าวรานนท์ฯ พระโอรสของสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑาธุช .... (บางเรื่องเกี่ยวกับพระบรมวงศานุวงศ์ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 อ้างในการสืบสันตติวงศ์ : ส. ศิวลักษณ์ นิตยสารฟ้าเดียวกัน ปีที่ 3 ฉ.4 ต.ค -ธ.ค. 2548) แต่เจ้านายพระองค์นี้รัชกาลที่ 6 มีพระบรมราชโองการให้ข้ามไปแล้ว ลำดับการสืบสันตติวงศ์จึงตกมาถึงพระองค์เจ้าอานันทมหิดล ตามบัญชีรายพระนามของกระทรวงวัง


วันพุธที่ 6 มีนาคม 2477 เวลา 20.15 น. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาประชุมพร้อมกัน ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ในพระราชวังดุสิต

ม.จ. วรรณไวทยากร วรวรรณ (พระยศในขณะนั้น) กล่าวว่า

"ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 9 นั้น มีความว่าการสืบราชสมบัติให้เป็นไปโดยนัยแห่งกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ. 2467 และประกอบไปด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร ตามมาตรา 8 แห่งกฎมณเฑียรบาลที่ว่านั้น มีความว่าอย่างนี้ คือว่า ท่านให้เป็นหน้าที่ท่านเสนาบดีอัญเชิญเสด็จเจ้านายเชื้อพระบรมราชวงศ์องค์ที่ 1 ในลำดับการสืบสันตติวงศ์ ดังแถลงในในมาตรา 9 ขึ้นทรงราชย์สืบสันตติวงศ์สนองพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต่อไป แล้วก็มาตรา 9 บัญชีที่ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวังอ่านเสนอเมื่อกี้นี้ก้เป็นลำดับตามาตรา 9 แต่ว่าตามมาตรา 8 นั้นว่าให้ได้แก่พระองค์ที่ 1 คราวนี้ควบเข้ากับรัฐธรรมนูญมาตรา 9 ก็แปลว่าพระองค์ที่ 1 คือ พระองค์เจ้าอานันทมหิดลนั้นจะสืบราชสมบัติก็ด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร ต่อเมื่อสภาฯไม่เห็นชอบด้วยกับพระองค์นั้นแล้ว ก็จะต่อไปพระองค์ที่ 2 ตามลำดับ"

...

นายไต๊ ปาณิกบุตร ผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร กล่าวว่า

"ตามบัญชีรายพระนามนี้แน่แล้วหรือ ข้าพเจ้ายังสงสัย เพราะว่ากรมหลวงเพ็ชรบูรณ์อินทราชัยไม่เห็นมี ข้าพเจ้าสงสัยขอให้อธิบาย"

เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัง กล่าว่า

"พระองค์เพ็ชรบูรณ์นั้นพ้นไปแล้ว ในหลวงแผ่นดินนี้(รัชกาลที่ 7)ท่านอยู่ต่ำกว่า ท่านรับมาแล้ว นั่นเหนือขึ้นไป"

...

หลังจากที่มีการอภิปรายกันในประเด็นต่างๆ เรียบร้อยแล้วนั้นในที่สุดผู้ทำหน้าที่แทนประธานสภาฯ ได้ขอให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ลงมติรับรองพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล ปรากฎว่า มีผู้ยืนรับรอง 127 นาย และมีผู้ไม่ยืนรับรอง 2 นาย จึงเป็นอันว่าสภาฯ ได้ให้ความเห็นชอบรับรองพระองค์เจ้าอานัทมหิดล ขึ้นรัชทายาทสืบราชสันตติวงศ์เป็นพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ 8 สืบไป





Create Date : 03 สิงหาคม 2549
Last Update : 3 สิงหาคม 2549 11:35:54 น.
Counter : 4703 Pageviews.

2 comments
  


แวะมาอ่านค่ะ
โดย: PADAPA--DOO วันที่: 3 สิงหาคม 2549 เวลา:11:58:52 น.
  
ขอบคุณครับ

ติดตามมาตลอด


ขอบคุณมากๆๆๆๆอีกทีครับ
โดย: ดนย์ วันที่: 12 สิงหาคม 2549 เวลา:22:14:41 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

รอยใบลาน
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 35 คน [?]



สโมสรของอัศวินแห่งอินทรนคร
สิงหาคม 2549

 
 
1
2
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog