ชีวิตก็เป็นอย่างนี้ มีดีใจ มีเสียใจ

อาหารกับโรคหลอดเลือดสมอง: เบาหวาน, ไขมันในเลือดสูง, ความดันสูง

ไปเจอเว็บไซต์ของสถาบันประสาทวิทยาที่พูดถึงเรื่องโรคหลอดเลือดสมองที่ทำให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต มีเนื้อหาว่ากันตั้งแต่สาเหตุและอาการนั่นทีเดียว แต่คิดว่าสาเหตุของโรคหลายๆ คนคงจะทราบกันดีอยู่แล้ว เลยขอยกเรื่องอาหารที่ควรและไม่ควรรับประทานมาพูดถึงกันดีกว่า และขอยกเครดิตให้สถาบันประสาทวิทยา //.pni.go.th ตามเข้าไปดูเนื้อหาที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ค่ะ

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง มักมีปัจจัยเสี่ยง เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูงร่วมด้วยเสมอ การจัดเตรียมอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจึงควรคำนึงถึงปัจจัยเสี่ยงที่เกิดร่วม


อาหารผู้ป่วยเบาหวาน
การควบคุมอาหาร

งด
ขนมจุบจิบ เช่น เบเกอรี่ พาย เค้ก ฯลฯ
ขนมหวาน เช่น ลอดช่อง ทองหยิบ ทองหยอด มันเชื่อม
เครื่องดื่มรสหวาน น้ำอัดลม น้ำหวาน นมปรุงแต่งรสต่าง ๆ รวมทั้งแอลกอฮอล์
ผลไม้รสหวาน เช่น ทุเรียน ลำใย ขนุน ละมุด ลองกอง ลิ้นจี่
เครื่องปรุงรสหวาน เช่น น้ำตาลทราย น้ำผึ้ง

หลีกเลี่ยง
เนื้อสัตว์ติดมันต่าง ๆ เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น แฮม กุนเชียง แหนม
กะทิ ผลิตภัณฑ์จากกะทิ เช่น แกงเขียวหวาน ห่อหมก
แป้งขัดขาวต่าง ๆ
อาหารที่มีรสหวาน เช่น พะโล้ ขาหมู
อาหารมัน/ทอด เช่น ถั่วลิสง อัลมอนด์ เม็ดมะม่วง มันฝรั่ง ข้าวเกรียบ กล้วยทอด

ลด
อาหารรสเค็ม ผงชูรส อาหารหมักดอง อาหารกระป๋อง
อาหารประเภททอด

เพิ่ม
ผักทุกชนิด รับประทานได้ไม่จำกัด ใน 1 วัน ควรรับประทานให้หลากหลายชนิด
ผลไม้รับประทานได้ 2-4 ส่วน / วัน (ผลไม้ที่มีปริมาณน้ำตาลต่ำ) เช่น ส้ม มะละกอ แคนตาลูป ชมพู่

ข้อแนะนำ
ถ้าดื่มกาแฟ ใช้น้ำตาลเทียมแทนน้ำตาลทรายหรือนมข้นหวาน ใช้นมพร่องมันเนยแทนครีมเทียม
นม ควรดื่มนมพร่องมันเนย / ขาดมันเนย
น้ำอัดลม ควรดื่มแบบใช้น้ำตาลเทียม
ใช้นมพร่องมันเนย หรือน้ำเต้าหู้ไม่หวานแทนกะทิในการปรุงแกงและขนมหวาน
วิธีปรุงอาหาร ใช้วิธีการ นึ่ง ย่าง อบ ตุ๋น แทนการทอด ผัด
ไข่แดง ไม่เกิน 2 ฟอง /สัปดาห์ (ไข่ขาวไม่จำกัดปริมาณ)
ควรใช้น้ำมันพืชปรุงอาหาร เช่น น้ำมันรำข้าว ถั่วเหลือง ฯลฯ ยกเว้น น้ำมันปาล์มและน้ำมันมะพร้าว



อาหารผู้ป่วยไขมันในเลือดสูง
อาหารลดโคเลสเตอรอลและป้องกันโรคหัวใจ

1. รับประทานปลาทะเล สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง
มีกรดโอเมก้า 3 (ช่วยให้หัวใจทำงานเป็นปกติ ป้องกันการจับตัวของเกล็ดเลือด)
ปลาทะเลต่างประเทศ - ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอเรล
ปลาทะเลไทย - ปลาทู
ปลาน้ำจืด - ปลาช่อน ปลานวลจันทร์
ช่วยลดความดันโลหิต

2. รับประทานถั่วเมล็ดแห้ง สัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง เช่น ถั่วแดง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง
มีใยอาหารชนิดละลายน้ำได้ สูง (ลด LDL)
มีโปรตีนสูง (แทนเนื้อสัตว์ใหญ่ได้)
การลดเนื้อสัตว์ใหญ่ – ลดปริมาณไขมันอิ่มตัว
การกินโปรตีนถั่วเหลืองวันละ 25 กรัม มีประโยชน์ ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจและลด LDL ได้ร้อยละ 5-6

3. รับประทานผักตระกูลครูซิเฟอรัสทุกวัน เช่น ผักคะน้า ดอกกะหล่ำ แขนงผัก กะหล่ำปลี ผักกวางตุ้ง มีประโยชน์คือ
มีใยอาหาร
มีสารอาหารหลายชนิดที่ช่วยลด LDL และป้องกันโรคหัวใจ

4. รับประทานผักที่มีสีสันต่าง ๆ และผลไม้หลากหลายทุกวัน
เป็นแหล่งของเส้นใย
มีสารแอนติออกซิแด้นท์ วิตามินและเกลือแร่ต่าง ๆ ที่ช่วย ลด LDL ลดความเสี่ยงเรื่องโรคหัวใจ
มีพลังงานต่ำ ช่วยควบคุมน้ำหนักตัว

5. รับประทานผลิตภัณฑ์และธัญพืชไม่ขัดสี ทุกวัน เช่น ข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวีท ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต ลูกเดือย เป็นต้น

6. ใช้น้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวต่ำ แต่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียวสูงในการทำอาหารเช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วลิสง น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันดอกคำฝอยและน้ำมันรำข้าว

7. รับประทานผลิตภัณฑ์นมพร่องมันเนย หรือนมขาดมันเนย แทนผลิตภัณฑ์นมไขมันเต็ม ทุกวัน

8. ควบคุมปริมาณอาหารแต่ละมื้อ โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ ไม่เกินวันละ 200 กรัม

9. ควบคุมปริมาณโคเลสเตอรอลในอาหารวันละ 200 – 300 มิลลิกรัม กรณีที่มี LDL สูงมาก ๆ จำกัดวันละ 200 มิลลิกรัม
และเลี่ยงไขมันอิ่มตัวให้มากที่สุด

10. รับประทานกระเทียมสด วันละ 1/2 - 1 หัว เป็นส่วนหนึ่งของอาหารในชีวิตประจำวัน



อาหารผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

1. ของแห้ง ของดองเค็มและรมควัน เช่น ปลาเค็ม เบคอน ไส้กรอก ฯลฯ

2. ซุปก้อน ซุปสำเร็จรูปทุกชนิด อาหารสำเร็จรูปต่างๆ

3. ผักดองและผลไม้กระป๋อง รวมทั้งน้ำผลไม้กระป๋อง

4. สารเคมีบางชนิดที่ใช้ในการประกอบอาหาร เช่น ผงฟู ผงชูรส

5. อาหารที่ผสมเกลือ เช่น ถั่วอบเนย มันทอด ข้าวโพดคั่ว

6. แป้งสำเร็จรูปพร้อมที่จะนำมาประกอบอาหาร เช่น แป้งทำขนมเค๊ก

7. เนยหรือมาการีนที่ผสมเกลือ

8. เครื่องดื่มเกลือแร่

9. น้ำพริกแกงสำเร็จรูป ควรงด

10. ข้าวและผลิตภัณฑ์จากข้าว
ข้าวมีโซเดียมอยู่น้อย แต่ถ้านำมาทำเป็นอาหารชนิดอื่นๆ เช่น ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ ซึ่งอาจจะมีการเติมเกลือในกระบวนการผลิต
อาหารกึ่งสำเร็จรูปต่างๆ ควรหลีกเลี่ยง เพราะมีการผสมเกลือและผงชูรส
ขนมปังทั่วไป ปกติรับประทานได้ แต่ถ้าจำกัดโซเดียมอย่างเข้มงวด ควรงด
คุ๊กกี้ เค๊ก แครกเกอร์ ส่วนใหญ่ผสมเกลือมาก ควรหลีกเลี่ยง หรือกินเป็นครั้งคราว

11. ซอสปรุงรส เช่น ซอสมะเขือเทศ น้ำสลัดน้ำข้นและใส ควรทำเอง

12. เครื่องดื่ม ชา กาแฟ น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำผลไม้สด (ไม่เติมเกลือ ) ใช้ดื่มได้ทุกวัน







 

Create Date : 23 พฤศจิกายน 2551
5 comments
Last Update : 23 พฤศจิกายน 2551 10:38:45 น.
Counter : 1143 Pageviews.

 

ขอนำไปใช้ใน ชีวิต ประจำวันบ้างน่ะครับ

 

โดย: แมท (everything on ) 23 พฤศจิกายน 2551 12:26:29 น.  

 

คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ



ขอบคุณสำหรับคำอวยพรดีดีนะคะ

 

โดย: vivoly 23 พฤศจิกายน 2551 20:06:12 น.  

 

ของที่ห้ามๆของโปรดทั้งนั้นเลย

ต้องพยายามงด

 

โดย: อนุมานน้อย 28 พฤศจิกายน 2551 20:59:28 น.  

 

เหมือนคนข้างบนเลยค่ะ ของที่ห้ามชอบๆ ทั้งน้าน อิอิ พยายามแว้วว แต่อดไม่ได้ซักที...

 

โดย: potae-kaa!! 29 พฤศจิกายน 2551 4:12:04 น.  

 

ติดตามเรื่องน้ำมันรำข้าวมาสักพักแล้ว และคิดว่าของไวทอลสตาร์ดีราคาไม่แพงมาก และที่สำคัญไม่มีสารตกค้างด้วย
ราคา 750 ต่อ 1 ขวด เราเป็นสมาชิกอยู่ สนใจซื้อที่เราก็ได้ ขายราคาสมาชิกกันเอง

 

โดย: fah IP: 61.7.134.244 22 พฤษภาคม 2552 16:29:23 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


คนช่างคุย
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




สาวน้อยขี้เหงา
ขาเม้าท์ประจำบ้าน
ฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะคะ
แล้วอย่าลืมฝากคำทักทายก่อนไปนะคะ
welcome


welcome


welcome


welcome


welcome


welcome


welcome


welcome


welcome


welcome


welcome


welcome


welcome


welcome


welcome


welcome


welcome


welcome


welcome


welcome


welcome


welcome


welcome


welcome


welcome


welcome


welcome


welcome


welcome


welcome


myspace layout

Group Blog
 
 
พฤศจิกายน 2551
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
23 พฤศจิกายน 2551
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add คนช่างคุย's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.