ความรู้มีไว้แบ่งปัน

CM Triplets
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




Group Blog
 
 
กันยายน 2552
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
12 กันยายน 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add CM Triplets's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาระหน้าที่ของคนไทย

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาระหน้าที่ของคนไทย

ในแต่ละปีบุคคลธรรมดา หรือคณะบุคคลที่มีเงินได้จะต้องนำเงินได้ไปคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร จากภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันที่กำลังรอการฟื้นตัวกรมสรรพากรได้มี พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ฉบับที่ 352 พ.ศ. 2542 ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพื่อเป็นการลดภาระของประชาชนในปี 2542 ซึ่งจะต้องมีการยื่นแบบ เพื่อชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาภายในวันที่ 31 มีนาคม 2543 เงินได้ของบุคคลธรรมดาที่ได้รับมา ตามมาตรา 40 เมื่อผู้จ่ายเงินได้จ่ายเงินได้ ดังกล่าวจะต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 เงินได้พึงประเมิน
หมายถึงเงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษี เงินได้ดังกล่าวนี้ให้รวมตลอดถึงทรัพย์สิน หรือ ประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงิน หรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับ เงินได้ประเภทต่างๆ การเสียภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดา
เงินได้พึงประเมินของบุคคลธรรมดาได้แก่เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ดังนี้
1. เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินได้ที่นายจ้างจ่ายชำระหนี้ใดๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชำระ และเงินทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน
2. เงินได้เนื่องจากหน้าที่ หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ ไม่ว่าจะเป็นค่า ธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุมบำเหน็จ โบนัส เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่ผู้จ่ายเงินได้จ่าย ชำระหนี้ใดๆ ซึ่งผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องชำระ และเงินทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่ หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้นั้นไม่ว่าหน้าที่ หรือตำแหน่งงาน หรืองานที่รับทำให้นั้นจะเป็น การประจำ หรือชั่วคราว
3. ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้มีลักษณะเป็นเงินรายปี อันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล
4. เงินได้ที่เป็น
1. ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมาย ว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม เฉพาะส่วนที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมาย หรือผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจำหน่ายตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออกและจำหน่ายครั้งแรกในราคาต่ำกว่าราคาไถ่ถอน รวมทั้งเงินได้ที่มีลักษณะทำนองเดียวกันกับดอกเบี้ย ผลประโยชน์ หรือค่าตอบแทนอื่นๆ ที่ได้จากการให้กู้ยืม จากสิทธิเรียกร้องในหนี้ทุกชนิดไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ก็ตาม
2. เงินปันผล เงินส่วนแบ่งของกำไร หรือประโยชน์อื่นใดที่ได้จากบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กองทุนรวม หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมาย โดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้น สำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม เงินปันผล หรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม เฉพาะส่วนที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมาย
3. เงินโบนัส ที่จ่ายแก่ผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วนในบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
4. เงินลดทุน ของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเฉพาะส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากำหนด และเงินที่กันไว้รวมกัน
5. เงินเพิ่มทุน ของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งจากกำไรที่ได้มา หรือเงินได้ที่กันไว้รวมกัน
6. ผลประโยชน์ที่ได้จากการที่บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลควบเข้ากัน หรือรับช่วงกัน หรือเลิกกัน ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน
7. ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนการเป็นหุ้นส่วน หรือโอนหุ้น หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตั๋วเงิน หรือตราสาร แสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออกทั้งนี้เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน
5. เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจาก
1. การให้เช่าทรัพย์สิน
2. การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน
3. การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน ซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้น โดยไม่ต้องคืนเงิน หรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว
6. เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือ วิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ วิศวกรรมสถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอิสระอื่น
7. เงินได้จากการรับเหมา ที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ
8. เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง หรือการอื่น นอกจากที่ระบุไว้ในข้อ 1 - 7
กำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ทุกครั้งที่มีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 50 ดังนี้
1. ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ให้คูณเงินได้พึงประเมินที่จ่ายด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย เพื่อให้ได้จำนวนเงินเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปีแล้วคำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใดให้หารด้วยจำนวนคราวที่ต้องจ่าย ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใดให้หักเป็นเงินภาษีไว้เท่านั้น
ถ้าการหารด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่ายดังกล่าวไม่ลงตัว เหลือเศษเท่าใดให้เพิ่มเงินเท่าจำนวนที่เหลือเศษนั้น รวมเข้ากับเงินภาษีที่จะต้องหักไว้ครั้งสุดท้ายในปีนั้น เพื่อให้ยอดเงินภาษีที่หักรวมทั้งปีเท่ากับจำนวนภาษีที่ต้องเสียทั้งปี
ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ซึ่งเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ซึ่งได้คำนวณจ่ายจากระยะเวลาที่ทำงานและได้จ่ายตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด ให้คำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48(5) เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใดให้หักเป็นเงินภาษีไว้เท่านั้น
ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) นอกจากที่ระบุไว้ข้างต้นที่จ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ให้คำนวณหักในอัตรา 15% ของเงินได้
2. ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(3) และ (4) ให้คำนวณหักตามอัตราภาษีเงินได้ เว้นแต่
ก. ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(3) และ (4) นอกจากที่ระบุไว้ในข้อ ข. ค. ง.- และ จ. ที่จ่ายให้แก่ผู้รับ ซึ่งมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยให้คำนวณหักในอัตรา 15% ของเงินได้
ข. ในกรณีเงินได้พึงประเมินที่ระบุในมาตรา 48(3) (ก) และ (ค) ให้คำนวณหักในอัตรา 15% ของเงินได้
ค. ในกรณีเงินได้พึงประเมินที่ระบุในมาตรา 48(3) (ข) ให้ถือว่าผู้ออกตั๋วเงิน ผู้ออกตราสารแสดงสิทธิในหนี้ หรือนิติบุคคลผู้โอนตั๋วเงิน หรือตราสารดังกล่าว ให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ตามนี้ เป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน ให้เรียกเก็บภาษีเงินได้จากผู้มีเงินได้ในอัตรา 15% ของเงินได้ และให้ถือว่าภาษีที่เรียกเก็บนั้นเป็นภาษีที่หักไว้
ง. ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ก) ที่มิได้ระบุใน (ข) และ (ค) ถ้าผู้จ่ายเงินได้มิใช่เป็นนิติบุคคล และจ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ไม่ต้องหักภาษี
จ. ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) ให้คำนวณหักในอัตรา 10% ของเงินได้
3. ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5) และ (6) ที่จ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยให้คำนวณหักในอัตรา 15% ของเงินได้
4. นอกจากกรณีตาม (5) ในกรณีผู้จ่ายเงินตามนี้เป็นรัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่นซึ่งจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5) (6) (7) หรือ (8) แต่ไม่รวมถึงการจ่ายค่าซื้อพืชผลทางการเกษตรให้กับผู้รับรายหนึ่งๆ ไม่ถึง 10,000 บาทก็ดี ให้คำนวณหักในอัตรา 1% ของยอดเงินได้พึงประเมิน แต่เฉพาะเงินได้ ในการประกวด หรือแข่งขันให้คำนวณหักตามอัตราภาษีเงินได้
5. ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) เฉพาะที่จ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งขาย อสังหาริมทรัพย์ให้คำนวณหักดังต่อไปนี้
ก. สำหรับอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดก หรืออสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หาให้คำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48(4)(ก) เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใด ให้หักเป็นเงินภาษีไว้เท่านั้น
ข. สำหรับอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางอื่น นอกจาก (ก) ให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา แล้วคำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48(4) (ข) เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใด ให้หักเป็นเงินภาษีไว้เท่านั้น
6. ในกรณีการโอนกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ โดยไม่มีค่าตอบแทนให้ผู้โอนหักภาษีตามเกณฑ์ใน (5) โดยถือว่าผู้โอนเป็นผู้จ่ายเงินได้
ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90
ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ได้แก่ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) - (8) แห่งประมวลรัษฎากร (แต่มิใช่เงินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากรประเภทเดียว) ในปีภาษีตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม ตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้ไม่ว่าจะมีภาษีต้องเสีย หรือไม่ก็ตาม
1. ผู้ที่เป็นโสด มีเงินได้พึงประเมินเกิน 30,000 บาท
2. ผู้ที่มีคู่สมรส มีเงินได้พึงประเมินไม่ว่าฝ่ายเดียว หรือทั้งสองฝ่ายรวมกันเกิน 60,000 บาท
3. กองมรดกของผู้ตายที่ยังมิได้แบ่ง มีเงินได้พึงประเมินเกิน 30,000 บาท
4. ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล มีเงินได้พึงประเมินเกิน 30,000 บาท
ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 91
ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 91 ได้แก่ผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงานตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากรประเภทเดียว (โดยเฉพาะผู้ที่เป็นข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้าง) ในปีภาษีตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 30 ธันวาคม ตามเกณฑ์ต่อไปนี้ ไม่ว่าจะมีภาษีต้องเสีย หรือไม่ก็ตาม
1. ผู้ที่เป็นโสด มีเงินพึงประเมินเกิน 50,000 บาท
2. ผู้ที่มีคู่สมรส มีเงินได้พึงประเมินไม่ว่าฝ่ายเดียว หรือทั้งสองฝ่ายรวมกันเกิน 100,000 บาท
ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแทนผู้มีเงินได้
สำหรับผู้มีเงินได้ในบางกรณี กฎหมายได้กำหนดให้บุคคลอื่นเป็นผู้ยื่นแบบ ในนามของผู้มีเงินได้ และเป็นตัวแทนในการชำระภาษีดังนี้
1. ผู้มีเงินได้ที่เป็นผู้เยาว์ (อายุไม่ถึง 20 ปี หรือยังไม่ได้บรรลุนิติภาวะโดยการสมรส) ให้เป็นหน้าที่ของผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์
2. ผู้มีเงินได้ที่เป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถให้เป็นหน้าที่ของผู้อนุบาล
3. ผู้มีเงินได้ที่เป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ ให้เป็นหน้าที่ของผู้พิทักษ์
4. ผู้มีเงินได้ที่อยู่ในต่างประเทศ ให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดการกิจการอันก่อให้เกิดเงินได้พึงประเมินนั้น
5. ผู้มีเงินที่ถึงแก่ความตายในระหว่างปีภาษี หรือถึงแกก่ความตายเสียก่อนที่จะยื่นแบบแสดงรายการ ให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดการมรดก หรือทายาท หรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแล้วแต่กรณี โดยให้รวมเงินได้พึงประเมินของผู้ตาย และของกองมรดกที่ได้รับตลอดปีภาษีที่ผู้นั้นถึงแก่ความตาย เป็นยอดเงินได้พึงประเมินที่จะต้องยื่นทั้งสิ้น
6. ผู้มีเงินได้ที่เป็นกองมรดกของผู้ตายที่ยังมิได้แบ่งให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดการมรดก หรือทายาท หรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแล้วแต่กรณี
7. ผู้มีเงินได้ที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดการ หรือผู้อำนวยการของห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลนั้น
8. ผู้มีเงินได้ที่เป็นบุคคลที่ตั้งตัวแทนจัดการทรัพย์สิน หรือผู้รับประโยชน์จากทรัสต์ให้เป็นหน้าที่ของตัวแทน หรือทรัสต์
มาตรการยกเว้นภาษีเงินได้
กรมสรรพากร ได้มีพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ฉบับที่ 352 พ.ศ. 2542 ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาบางกรณีให้เหมาะสมกับสภาพ และเหตุการณ์ในปัจจุบันซึ่งมีผลบังคับสำหรับเงินได้ของปี 2542 ที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 เป็นต้นไป สาระสำคัญมีดังนี้
1. ลดภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยวิธียกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินได้สุทธิ หลังจากหักค่าใช้จ่าย และค่าาลดหย่อนต่างๆ ตามที่หมายกำหนดไว้เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 50,000 บาทแรก สำหรับปีภาษีนั้น ซึ่งเดิมในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินได้สุทธิ หลังจากหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้
ผู้มีเงินได้จะต้องนำเงินได้สุทธิดังกล่าวมาคำนวณภาษี ตามอัตราที่กำหนดในบัญชีอัตราภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้สุทธิส่วนที่ไม่เกิน 100,000 บาท จะเสียภาษีในอัตราร้อยละ 5 คิดเป็นเงินเท่ากับ 5,000 บาท แต่เมื่อมีพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 352 ได้ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้สุทธิส่วนที่ไม่เกิน 50,000 บาทแรก ดังนั้นในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับผู้ที่มีเงินได้สุทธิไม่เกิน 50,000 บาท จะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และสำหรับผู้ที่มีเงินได้สุทธิ 100,000 บาท จะต้องนำเงินได้สุทธิเฉพาะส่วนที่เกิน 50,000 บาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาท มาคำนวณภาษีในอัตราร้อยละ 5 เท่านั้น ซึ่งจะเป็นเงินภาษีเท่ากับ 2,500 บาท จึงเท่ากับผู้มีเงินได้จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เท่ากับ 2,500 บาท
2. การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินสุทธิหลังจากหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนสำหรับ เงินได้สุทธิส่วนที่ไม่เกิน 50,000 บาทแรก ตามพระราชกฤษฎีกาการนี้ผู้มีเงินได้ ยังคงมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินได้พึงประเมิน ที่ได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว ภายในเดือนมีนาคมทุกๆ ปี ถ้าผู้มีเงินได้มีเงินได้ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเกินกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ดังนี้
1. ไม่มีสามีหรือภริยา และมีเงินพึงประเมินเกิน 30,000 บาท
2. ไม่มีสามีหรือภริยา มีเงินได้พึงประเมินเฉพาะตามมาตรา 40(1) ประเภทเดียวเกิน 50,000 บาท
3. มีสามีหรือภริยา และมีเงินได้พึงประเมินเกิน 60,000 บาท
4. มีสามีหรือภริยา และมีเงินได้พึงประเมินเฉพาะตามมาตรา 40(1) ประเภทเดียวเกิน 100,000 บาท
3. กรณีผู้มีเงินได้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินได้สุทธิส่วนที่ไม่เกิน 50,000 บาทแรกนี้ หากผู้มีเงินได้พึงประเมินที่มิใช่เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) ตั้งแต่ 60,000 บาทขึ้นไป ผู้มีเงินได้คงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.5 ตามมาตรา 48(2) แห่งประมวลรัษฎากร
การคำนวณภาษีเงินได้
ผู้มีเงินได้จะคำนวณภาษีเงินได้ดังนี้
1. เงินได้พึงประเมินประเภทต่างๆ 0000 บาท
2. หัก ค่าใช้จ่ายตามแต่ละประเภทเงินได้ 0000 บาท
3. เหลือ เงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย 0000 บาท
4. หัก ค่าลดหย่อน ผู้มีเงินได้ 0000
คู่สมรส (ถ้ามี) 0000
บุตร (ถ้ามี) 0000
เบี้ยประกันชีวิต (ถ้ามี) 0000
เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ถ้ามี) 0000
ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารอยู่อาศัย 0000
เงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม 0000 0000 บาท
5. เหลือ เงินได้ก่อนหักลดหย่อนเงินบริจาค 0000 บาท
6. หัก ลดหย่อนเงินบริจาค 0000 บาท
7. เหลือ เงินได้สุทธิ 0000 บาท
8. ภาษีที่คำนวณจากเงินได้สุทธิ 0000 บาท
9. หัก ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย 0000 บาท
10. ภาษีเงินได้ที่ต้องชำระ (หรือชำระไว้เกินต้องขอคืน) 0000 บาท
ตารางอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้ปี 2542
ขั้นเงินได้สุทธิตั้งแต่ เงินได้สุทธิจำนวน
สูงสุดของขั้น อัตราภาษี
%

1- 100,000 50,000 ยกเว้น

50,000 5

100,001 - 500,000 400,000 10

500,001 - 1,000,000 500,000 20

1,000,001 - 4,000,000 3,000,000 30

4,000,000 ขึ้นไป 37

กำหนดเวลายื่นแบบ
ผู้มีเงินได้ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด (ภ.ง.ด. 90 หรือ ภ.ง.ด. 91) พร้อมทั้งชำระภาษี (ถ้ามี) ระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 มีนาคม ของปีถัดจากปีภาษีในเวลาราชการ (ยกเว้นวันหยุดราชการ)
สถานที่ยื่นแบบ
ผู้มีเงินได้ต้องยื่นแบบ หรือส่งแบบ ภ.ง.ด. 90 หรือ ภ.ง.ด. 91 ต่อเจ้าหนักงานดังนี้
1. กรุงเทพมหานคร
1. ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรเขต หรือ สาขา ในท้องที่ที่ผู้เสียภาษีมีภูมิลำเนาอยู่ หรือจะยื่นต่างท้องที่ก็ได้
2. ยื่น ณ ธนาคารพาณิชย์ไทย หรือสาขาที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร
3. ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
2. ต่างจังหวัด
1. ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรอำเภอหรือสาขา หรือกิ่งอำเภอในท้องที่ที่ผู้เสียภาษีมีภูมิลำเนาอยู่ หรือจะยื่นต่างท้องที่ก็ได้
2. ยื่น ณ สำนักงานสาขาทุกสาขาของธนาคารพาณิชย์ไทย
การชำระภาษี
1. ชำระเป็นเงินสด
2. ชำระเป็นธนาณัติ
3. ชำระเป็นเช็ค
การขอชำระภาษีเป็น 3 งวด
กรณีที่ภาษีที่ต้องชำระมีจำนวนตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป (หรือในกรณีผู้มีเงินได้ และคู่สมรสยื่นแบบแสดงรายการโดยแยกคำนวณภาษี และฝ่ายใดมีภาษีที่ต้องชำระจำนวนตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป) ผู้เสียภาษีจะขอชำระเป็น 3 งวดๆ ละเท่ากันก็ได้ดังนี้
งวดที่ 1 ชำระพร้อมกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 หรือ ภ.ง.ด. 91 ภายในวันที่ 31 มีนาคม
งวดที่ 2 ชำระภายในวันที่ 30 เมษายน
งวดที่ 3 ชำระภายในวันที่ 31 พฤษภาคม
ในกรณีที่ไม่ได้ชำระภาษีงวดใดงวดหนึ่งภายในกำหนด ผู้เสียภาษีหมดสิทธิที่จะผ่อนชำระต่อไป และต้องชำระภาษีที่ยังไม่ได้ชำระ พร้อมเงินเพิ่มด้วย




Create Date : 12 กันยายน 2552
Last Update : 12 กันยายน 2552 18:22:54 น. 1 comments
Counter : 887 Pageviews.

 
- กรณีที่ลาออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ(ไม่ใช่เกษียณอายุ) จะคำนวณอย่างไร
- และรับจ้างทำของ คือขายอาหารซึ่งนำอุปกรณ์ประกอบอาหารไปทำที่สถานที่จัดงานเลี้ยงจะนำมาบวกกับรายได้
เงินเดือนหรือเปล่า (ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย แล้ว 3%)


โดย: samai IP: 210.1.44.194 วันที่: 19 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:16:43:25 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.