เมื่อทุกสิ่งมีข้อดี ก็ต้องมีสิ่งที่จะใช้แลกเปลี่ยน
Group Blog
 
 
เมษายน 2550
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
25 เมษายน 2550
 
All Blogs
 
เอนท์กันยังไงในเมกา ตอน: SAT การสอบวัดระดับที่น่า sad

เมื่อวันก่อนไปเจอเพื่อนคนไทยมาครับ ถึงได้รู้ว่า บล็อคเราก็มีคนอ่านอยู่ นอกเหนือจากเพื่อนๆ แฟนๆ ที่เข้ามาเมนท์ในนี้กันหลายคน ดีใจครับ เพราะมีคนฟังเราพล่ามเพิ่มมาอีกแล้ว เย้...
ทีนี้เลยคิดว่า พล่ามอย่างเดียว เดี๋ยวคนอ่านจะด่าว่า “เป็นนิยายพาฝันไร้สาระ” ก็ช่วยไม่ได้นี่ครับ มันเป็นเรื่องของหนุ่มน้อยรูปงาม (ทราม) ที่มาผจญภัย หากจากบ้านที่ปลอดภัย มาพบรักแต๊ที่สูญเสีย (กับอาหารไทย) และสุดท้าย ก็จะมีชัยชนะ มีความสุขชั่วนิรันดร (ส่วนเรื่องคอร์แนลไม่รับผมเข้าเรียนนั้น ผมไม่รู้ไม่ชี้ ติ๊ต่างว่าท่านผู้อ่านก็ไม่รู้นะครับ ชู่...) ผมก็เลยคิดว่า จะเอาความรู้มาประดับบล็อคให้ท่านผู้อ่าน เผื่อว่าจะดูมีค่าขึ้นมาบ้าง อย่าซาบซึ้งกะผมเลยนะครับ โดยเฉพาะท่านผู้อ่านสุภาพสตรี
เข้าเรื่องก่อนจะไร้สาระไปอีกบล็อค เข้าเรื่องเลยละกันครับ เป็นทางการนิดนึง วันนี้ ผมจะมาเม้าเรื่อง การสอบเอ็นสะท้าน ในประเทศสหรัฐ ที่ผมต้องมาเอนท์รอบสองครับ
เราเองก็ต่างรู้จักระบบเอเน็ท-เอเน็ท ของไทยกันดีอยู่บ้างใช่ไหมครับ กับการสอบที่รับกัน กับการตรวจคะแนนที่ยืดหยุ่น ยืดจนยาน ยานจนย้วย พอย้วยจนใช้การไม่ได้ อันนี้ก็ต้องพิจารณาวิธีใหม่อีก ไม่แก้มันแล้ว เสียเวลา(ทั้งๆ ที่คิดระบบใหม่หมดเสียเวลามากกว่า) เอาเป็นว่าเกริ่นเรื่องในประเทศแค่นี้นะครับ ยังไม่อยากโดนปิดบล็อค
คล้ายๆ ไอ้ระบบใหม่เอี่ยมที่ไทยสมัยผม(48-49) นี่ อเมริกามีระบบการสอบมานานหลายสิบปีแล้วครับ ชื่อว่า SAT ย่อมาจากอะไรจำไม่ได้แล้ว แต่เพื่อนเรียก Stupid A**h*** Test (ขออนุญาตเซ็นเซอร์นะครับ มันน่ารักไปหน่อย) ซึ่งแยกเป็น SAT I หรือ SAT Reasoning Test กับ SAT II: SAT Subject Test ถ้าเราไม่อยากสอบการสอบชนิดนี้ เราจะมีทางเลือกอีกทางคือ ACT แต่ผมไม่ได้สอบ เลยเล่าให้ฟังไม่ถูก ทั้ง SAT และ ACT เป็นสัมปทานจากบริษัทเอกชนครับ จัดเดือนละรอบ สมัครได้เดือนละอย่าง และจะสอบกี่รอบก็ได้ถ้ามีตังค์พอ และคะแนนทุกรอบ จะถูกส่งไปให้มหาลัยที่เราสมัคร เขาก็จะเก็บไว้จนกว่าจะหมดเขต แล้วเลือกเอาคะแนนที่สูงที่สุดเข้าแฟ้มเรา ไม่สนลำดับหรือคะแนนจากการสอบครั้งอื่นๆ
SAT I นั้น มันคือ O-NET ของบ้านเราดีๆ นี่เองครับ คือถ้าอยากจะเข้ามหาลัยแล้วละก็ ต้องสอบครับ แบ่งเป็นสามวิชา คือภาษาอังกฤษอ่าน เขียน และคณิตศาสตร์ สองวิชาแรกคือนางฟ้าของฝรั่ง วิชาหลังคือซาตาน แต่ประทานโทษเถอะ เด็กไทยอย่างเราพูดได้ประโยคเดียวครับ “มันเห็นว่าง่าย/ยากไปได้ยังไงฟะ” ภาษาอังกฤษเน้นความสามารถในการเรียงรูปประโยค กับการอ่าน และคำศัพท์(ที่ไม่เคยเห็นที่อื่นนอกจากในข้อสอบ ใครจะสอบไปหามาท่องเลยครับ) ส่วนเลขนั้นเน้นความไม่ประมาท (จริงๆ เด็กม.สามก็ทำได้แล้วครับ ไม่ยากเลยด้วย) ค่าสอบครั้งละ 41.50 ดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงินไทยตอนนี้ประมาณพันสามร้อยบาทครับ
SAT II เปรียบได้กับ A-NET ที่สมัครเป็นรายวิชาคณะบางคณะของบางมหาวิทยาลัย อาจจะขอให้สอบบางวิชาโดยเฉพาะ ในขณะที่บางคณะจะขอให้สอบสองถึงสามวิชามาก็พอจะเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวกับวิชาที่จะเรียนก็ได้ วิชามีให้เลือกแทบจะนับไม่ถ้วน หลักๆ คือ วรรณคดี ประวัติศาสตร์สหรัฐ ประวัติศาสตร์โลก เลขง่าย (หนึ่ง) เลขยาก (สอง) ชีววิทยาโมเลกุล ชีววิทยาสิ่งแวดล้อม ฟิสิกส์ เคมี ภาษาต่างประเทศแบบอ่าน ภาษาต่างประเทศแบบฟังและอ่าน (ซึ่งแยกออกไปอีกห้าหกภาษา) ครับ
ผมเอง จะมาเรียนทำสวน ควรสอบอะไรอย่างชีวะสองตัวใช่ไหมครับ เปล่าเลย ผมสอบเลขสองกับฟิสิกส์หรอก
จะว่าผมไม่รักดี ไม่มีชีววิทยาในหัวใจ ก็ว่ามาเลยครับ ฮึก...กระหน่ำซ้ำเติมกันเข้าไป คนมันภาษาไม่แตกฉาน ให้นั่งอ่านโจทย์ยาวข้อละสามสี่บรรทัด ให้นั่งกินราวิโอลีของโรงอาหารสามจานยังช้ำใจน้อยกว่าเลย(ราวิโอลีเป็นอาหารอิตา”เลี่ยน” ครับ ประกอบด้วยแป้งและชีส ราดซอสมะเขือเทศ โลกนี้ไม่มีอย่างอื่นให้กินกันแล้วรึไง ฮึกฮึก...)
ค่าสอบ SAT II มีค่าธรรมเนียมการสอบสิบแปดเหรียญ เพิ่มวิชาละแปดเหรียญ แต่ถ้าเป็นวิชาประเภทฟัง จะมีราคาวิชาละสิบเก้าเหรียญครับ
การสอบ SAT อยู่ใต้การดูแลของบริษัทเอกชนที่ชื่อว่า College Board มีสนามสอบกระจายอยู่ทั่วอเมริกาครับ แต่เต็มง่าย ควรรีบจองตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อนๆ ที่อยากจะสอบ หรือวางแผนว่าจะมาเรียนต่อที่สหรัฐอเมริกา หรือจะเอาไปเล่าให้คนที่สนใจฟัง เข้าไปดูเว็บไซด์ของเขาได้ที่ //www.collegeboard.com ครับ มีบริการทั้งรับสมัครสอบ จนถึงการเลือกหามหาวิทยาลัยที่สนใจ และตามที่บอก อยากสอบกี่ครั้งก็ได้ มันไม่ห่วงเรื่องหาสถานที่สอบอยู่แล้ว กำไรเห็นๆ อย่างนั้น ฮึ่ม... เพราะงั้นพวกเราต้อง“เผา”ให้ได้คะแนนเยอะที่สุด แก้เผ็ด
ความแตกต่างระหว่าง SAT และ O-ANET ก็คือ SAT ไม่ใช่ปัจจัยเดียวนอกเหนือจาก GPA ในการประมวลผลเข้ามหาวิทยาลัยครับ หลังจากจบรายละเอียดและประสบการณ์การสอบของ SAT ทั้งหนึ่งและสอง แล้ว ผมว่า จะพาผู้อ่านไปดูปัจจัยอื่นๆ ต่อ เช่น TOEFL, College Essay, กิจกรรมนอกระบบ ฯลฯ นับไม่ถ้วนเลยครับเรียกว่า เป็นระบบที่ไม่แน่นอนเอาเสียเลยแหละ ปัจจัยบาน
มองนาฬิกา สามทุ่มสิบห้า การบ้านยังไม่ปั่น ก็ขอตัวไปเผาซะให้เรียบร้อยก่อนนะครับ แล้วจะกลับมาเล่าต่อ
สวัสดีครับ


Create Date : 25 เมษายน 2550
Last Update : 25 เมษายน 2550 8:50:55 น. 1 comments
Counter : 1276 Pageviews.

 
ว๊า..กำลังสนุกเลย และได้ประโยชน์กับการตัดสินใจเรียนต่อที่เมกาด้วย...รออ่านอยู่นะคะ


โดย: ใบไม้ร่าเริง IP: 202.47.225.244 วันที่: 25 เมษายน 2550 เวลา:15:50:03 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

คมลิขิต
Location :
Pennsylvania United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ยินดีที่ได้รู้จักครับ คมลิขิตครับ
เรียกตั้มก็ได้ ครับผม
Friends' blogs
[Add คมลิขิต's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.