เยือนอยุธยากรุงเก่าตามรอยพุทธ ศิลป์ ตอน วัดมหาธาตุ ศูนย์กลางความเจริญศาสนาและศิลปะ
เยือนอยุธยากรุงเก่าตามรอยพุทธ ศิลป์ ตอน วัดมหาธาตุ ศูนย์กลางความเจริญศาสนาและศิลปะ



สวัสดีครับเพื่อนที่อ่านบล็อกทุกคน ผมขอนำเสนอข้อมูลในการไปไหว้พระตามวัดต่างๆที่ผมได้รวบรวมข้อมูลไม่ว่าการเดินทาง สิ่งสักการะที่สำคัญในวัดนั้นๆ ที่ขาดไม่ได้คือเรื่องราวของงานศิลปะไทย ทั่งจิตรกรรมและปฏิมากรรมซึ่งในอดีตความงามวิจิตรของศิลปะไทยนอกจากในสถานที่สำคัญและอีกที่คือวัดเพื่อให้คนทั่วไปได้ชื่นชมนอกจากอิ่มใจในการทำบุญแล้วเรายังอิ่มเอมใจในการเพลิดเพลินในการชมงานศิลปะชั้นบรมครูอีกด้วย จุดเริ่มที่ผมเว็บไปไหว้พระขึ้นมาเพื่อนำเสนอวัดและสถานปฏิบัติธรรมต่างๆ ที่น่าสนใจในไปทำบุญและปฏิบัติธรรม และอีกสิ่งที่อยากนำเสนอคือเรื่องของงานศิลปะที่มีให้เราได้ชื่นชมในวัดหลายๆแห่งซึ่งบางแห่งถือได้ว่าเป็นมีความวิจิตรสวยงามที่ยากจะหาศิลปินในยุคนี้ทีรังสรรค์งานเหล่านั้นมาได้สวยเทียบเท่า ครั้งแรกที่พบกันขอนำเสนอวัดจากกรุงเก่าแม้บางแห่งจะเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้สักการะแต่ความงามของวิจิตรศิลป์นั้นยังเหลือร่องรอยแห่งความงดงามอยู่ท่ามกลางซากปรักหักพัง จากสงครามเสียกรุงศีรอยุธยาครั้งที่ 2 ก็ตามตอนแรกที่จะเสนอคือวัดมหาธาตุ อยุธยาขอเชิญเพื่อนๆทุกคนทัศนาได้แล้วครับ



จากอดีตอยุธยาที่เคยเป็นเมืองหลวงต้องรกร้างผู้คนเพราะความพ่ายแพ้สงครามเสียกรุงให้กับพม่า แต่ในวันนี้อยุธยากลับมาเจริญรุ่งเรืองดังอดีตที่เคยมีมา เป็นทั้งศูนย์กลางอุตสาหกรรมและเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาตร์ที่ได้รับรองการเป็นมรดกโลกจากยูเนสโก แม้ภาพที่เราเห็นตามโบราณสถานต่างๆ จะมีเพียงฐานราก สถูป เจดีย์ โครงวิหารให้เราจินตนาการถึงความสวยงาม ใหญ่โตในอดีตแต่ตามสถานที่เหล่านั้นยังคงมีร่องรอยแห่งความงดงามทางวิจิตรศิลป์หลงเหลืออยู่ถ้าเราได้เพ่งพินิจทัศนา โดยไม่ใช่แค่เดินดูหรือถ่ายรูปแบบผ่านๆ เราจะเห็นถึงความงามเหล่านั้นซึ่งบางชิ้นอาจทำให้เราตื่นเต้นในความงามของลวดลายปูนปั้นต่างๆ วัดมหาธาตุ อยุธยาแม้ในวันนี้พระปรางค์ประธานจะพังทลายลงมาแล้วตั้งแต่สมัยรัชกาลที่5 ก็ตามแต่คูหาปรางค์องค์เล็กๆรอบๆพระปรางค์อีกหลายองค์ก็ยังคงเหลืออยู่ ซึ่งถือได้ว่าที่แห่งนี้ถูกสร้างมาแต่สมัยอยุธยาตอนต้นหรืออาจจะก่อหน้านั้น เพราะรูปแบบทางสถาปัตยกรรมเป็นแบบขอม และสร้างด้วยศิลาแลงในระยะแรกซึ่งสถปัตยกรรมแบบนี้พบได้จากแถบลพบุรีและสุโขทัยที่ได้คติและศิลปะจากขอมเข้าผสมผสานกับอัตลักษณ์ที่เป็นของตัวเอง ธรรมเนียมการสร้างวัดมหาธาตุมีเริ่มต้นในสมัยสุโขทัย คือจะสร้างวัดในเขตเมืองหลวงซึ่งจะปรากฏชื่อวัดมหาธาตุตามหัวเมืองใหญ่ในอดีตเช่น ราชบุรี สุพรรณบุรี นครศรีธรรมราช สุโขทัย อยุธยา ลพบุรี เป็นต้น


พระปรางค์ประธานปัจจุพังทลายลงมาเหลือแค่ฐานเท่านั้น

วัดมหาธาตุ เปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของความรุ่งเรืองของพระนครมักสร้างไว้กลางใจเมืองในอดีตเป็นที่พำนักของ สมเด็จพระสังฆราช ฝ่ายคามวาสี มีองค์ปรางค์สูงเด่นตระหง่าน มองเห็นได้ทุกทิศทาง ในอดีตจึงไม่ได้มีเพียงประชาชนกราบไหว้เท่านั้นยังเป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีสำคัญๆด้วย จนเมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้สร้างวัดพระศรีสรรเพชญ์แล้ว จึงได้ย้ายไปประกอบพระราชพิธีที่นั่นแทนสำหรับ วัดมหาธาตุ สร้างในปีพุทธศักราช 1917 สมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่1 (ขุนหลวงพะงั่ว)แล้วเสร็จในสมัยสมเด็จพระราเมศวร สมัยพระเจ้าทรงธรรมพระปรางค์องค์ใหญ่ ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุได้พังลงมาต่อในปีพุทธศักราช 2176 พระเจ้าปราสาททองได้บูรณะปฏิสังขรใหม่รวมเป็นความสูง 25วา จนกระทั่งเสียกรุงศรีอยุธยาในปี 2310 วัดมหาธาตุถูกไฟไหม้เสียหายมากกลายเป็นวัดร้างจากพระปรางค์ที่เคยถูกสร้างและบูรณะเรื่อยมา ก็ได้พังทลายลงมาอีกรอบในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 เท่าที่สังเกตุในอดีตน่าจะมีการซ่อมแซมกันมาหลายช่วงยุคสมัยเพราะสังเกตุจากองค์ปราค์ประธานทำจากศิลาแลง ส่วนวิหารน้อยและปรางค์อื่นๆ เป็นก่ออิฐถือปูน



ส่วนภายในปราค์เล็กด้านข้างปรางค์ประธานด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือยังมีภาพเขียนสมัยอยุธยาตอนต้นอยู่เป็นเรื่องเกี่ยวกับพุทธเจ้าแต่ละองค์ ซึ่งท่าน อ.เฟื้อ หริพิทักษ์ ท่านได้ทำการคัดลอกเอาไว้ปัจจุบันไม่สามารถขึ้นไปชมได้แล้วเพราะที่อยู่ของฝูงค้างคาว อาจเกิดอันตรายได้ล่าสุดหลังน้ำท่วมได้กั้นเป็นเขตห้ามขึ้นไปเรียบร้อยแล้วผมเองอยากได้ชมให้บุญตาสักครั้งกับภาพเขียนอายุกว่า 500 ปี



ภาพจิตรกรรมเป็นภาพพระพุทธเจ้าองค์ต่างๆที่ท่าน อ.เฟิ้อ หริพิทักษ์ได้คัดลอกไว้เมื่อปี พ.ศ.2493



ในภาพตามปรางค์ต่างๆ ภายในจะมีค้างคาวอาศัยจำนวนมาก

ในปีพ.ศ.2499 กรมศิลปากรไดเข้าทำการบูรณะขุดแต่งสถานที่และได้ขุดพบ พระบรมสารีริกธาตุ ในพระปรางค์องค์ใหญ่วัดมหาธาตุ พร้อมกับเครื่องทองอื่นๆ ได้แก่ พระพุทธรูปทองคำปางมารวิชัย พระพิมพ์ทองคำปางประทานอภัย ตลับทองคำ ปลาหินเขียนลายทอง แผ่นทองฉลุลายรูปเทวดา ช้าง ม้า และสัตว์ต่างๆ ทั้งหมดนี้ทำด้วยวัสดุทองคำและเงินทั้งสิ้น ของโบราณหลายชิ้นที่สำคัญ คือ ผอบศิลาภายในมีสถูปซ้อนกัน 7 ชั้น แบ่งออกเป็น ชิน เงิน นาก ไม้ดำ ไม้จันทร์แดง แก้วโกเมน และทองคำ ชั้นในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและเครื่องประดับอันมีค่า ปัจจุบันสิ่งของมีค่าต่างๆและพระบรมสารีริกธาตุนำไปประดิษฐานไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ตอนนี้เรามาดูลวดลายปูนปั้นประดับวิหาร ปรางค์กันไปก่อนซึ่งที่นี่ยังหลงเหลือให้ชมพอสมควร

วิหารมหาอุดขนาดเล็กที่สภาพค่อนข้างสมบูรณ์มีลายปูนปั้นแบบต่างๆ



ภาพด้านข้างตัววิหารจะไม่มีหน้าต่าง



ลายปูนปั้นประดับหัวเสาและบริเวณฐานของวิหาร







ซึ่งในวัดมหาธาตุมีสถานที่น่าสใจอยู่ประมาณ 7 แห่งด้วยกัน

1. พระปรางค์ขนาดใหญ่ ปัจจุบันพังทลายลงมาหมดแล้ว แต่ราชทูตลังกาที่ได้เคยมาเยี่ยมชมวัดมหาธาตุ ใน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศไว้ว่า ที่ฐานของพระปรางค์ มีรูปราชสีห์ หมี หงส์ นกยูง กินนร โค สุนัขป่า กระบือ มังกร เรียงรายอยู่โดยรอบ
2. พระปรางค์ขนาด กลางภายในพระปรางค์ มีภาพจิตรกรรม เรือนแก้วซึ่งเป็นตอนหนึ่งในพุทธประวัติ
3. เจดีย์แปดเหลี่ยม เจดีย์ 8 เหลี่ยมลดหลั่นกัน 4 ชั้น ชั้นบนสุดประดิษฐานปรางค์ขนาดเล็ก จัดว่าเป็นเจดีย์ที่แปลกตา พบเพียงองค์เดียวในพระนครศรีอยุธยา
4. พระวิหารหลวง ตั้งอยู่ด้านหน้าของวัด บริเวณใต้ฐานชุกชีภายในพระวิหาร ได้ค้นพบภาชนะดินเผาขนาดเล็ก 5 ใบ ภายในบรรจุแผ่นทองดุนลายรูปพระพุธรูป และรูปสัตว์ต่างๆ
5. พระอุโบสถ ตั้งอยู่ด้านหลังปรางค์ประธาน ผนังก่ออิฐเหลืออยู่บางส่วน ภายในปรากฏเสาแปดเหลี่ยม ด้านหลังเป็นที่ตั้งของฐานชุกชี
6. วิหารเล็ก วิหารเล็กแห่งนี้ มีรากไม้แผ่รากขึ้นเกาะเต็มผนัง รากไม้ส่วนหนึ่งได้ล้อมเศียรพระพุทธรูปไว้ ธรรมดา กรมศิลปากรจะต้องตัดต้นไม้ออก แต่ที่นี่ดูจะว่าเป็นที่ยกเว้น
7. ตำหนักพระสังฆราช บริเวณพื้นที่ว่างทางด้านทิศตะวันตก เป็นสถานที่ที่เป็นที่ตั้งพระตำหนักพระสังฆราช ราชทูตลังกาได้บอกไวว่า เป็นตำหนักที่สลักลวดลายปิดทอง มีม่านปักทอง พื้นปูพรม มีขวดปักดอกไม้เรียงราย เป็นแถวเพดานแขวนอัจกลับ (โคม) มีบังลังก์ 2 แห่งภายในพระตำหนัก

บริเวณจุดที่น่าสนใจต่างๆในวัดมหาธาตุ







พระปรางค์ที่รายล้อมองค์ปรางค์ประธาน





พระปรางค์ 8 เหลี่ยม 4 ชั้นด้านบนสุดเป็นพระปรางค์องค์เล็กมีที่วัดมหาธาตุแห่งเดียวเท่านั้น





กำแพงแก้วรอบองค์ปรางค์ปัจจุบันยังเหลือกระเบื้องเคลือบมุงหลังคาอยู่ในบางช่วง



และบางแห่งก็มีลากไม้ขึ้นมาปกคลุม กำแพงอโบสถ์ที่ยังเหลืออยู่หนึ่งด้านกับช่องระบายลมที่ยัง
สมบูรณ์





เศียรพระพุทธรูปที่ถูกรากต้นโพธิ์ปกคลุมบริเวณวิหารน้อยนับว่าเป็นจุดหนึ่งที่ชาวไทยและชาวต่างชาติให้ความสนใจบันทึกภาพกัน



แม้ปัจจุบันก็ยังมีร่องรอยของงานศิลปะให้เราได้ชื่นชมพอสมควรดั่งภาพที่ได้นำเสนอด้านล่าง โบราณสถานวัดมหาธาตุเป็นอีกที่ไปชมแล้วก้ยังยังกลับไปชมอีก เพราะแค่วันเดียวเรียกว่าไม่สามารถทัศนาได้ครบถ้วนเพราะมีเนื้อกว้างขวางมาก หากเพื่อนๆที่อ่านคนใดมีเวลาสัก 2-3 วันไปนอนค้างเพื่อชื่นชมบรรยากาศแล้วลองนั่งนึกจินตนาการย้อนหลังกลับไปอดีต เราคงเห็นถึงความเจริญ ความความงดงามออ่นช้อยของลวดลายประดับประดา ปรางค์ที่สง่าสวยงาม เด่นตะหง่านกลางเมือง แล้วเราจะรู้สึกได้ว่าสถานที่แห่งนี้งดงามเพียงใด



ภาพจำลองแผงผังวัดมหาธาตุในอดีตที่กรมศิลปากรทำให้เราได้ศึกษาข้อมูลว่าอดีตเป็นเช่นไร

การเดินทางมายังวัดมหาธาตุ

โดยรถยนต์ หากเดินทางมาจากรุงเทพโดยใช้ถนนสายเอเชีย เลี้ยวซ้ายตรงสี่แยกเข้าอยุธยา ตรงเข้ามาผ่านสะพานนเรศวร ตรงไปจนถึงสี่แยกไฟแดงที่ 2 เลี้ยวขวาตรงไปไม่ไกลนัก ผ่านบึงพระราม จะเห็นวัดมหาธาตุอยู่ทางซ้ายมือ

โดยรถประจำทาง ขึ้นรถที่สถานีขนส่งหมอชิตใหม่ แล้วมาลงที่ท่ารถในตัวเมืองอยุธยา แล้ต่อรถรับจ้างทั้งมอเตอร์ไซค์และตุ๊ก ตุ๊ก ราคาสอบถามต่อรองก่อนใช้บริการ

โดยรถตู้ ขึ้นรถที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิหน้าห้างแฟชั่นมอลล์ ลงที่แยกวงเวียนเจดีย์ วัดสามปลื้ม แล้วต่อรถมอเตอร์ไซค์รับจ้างเข้าวัดมหาธาตุหรือลงท่ารถที่ตัวเมืองอยุธยา แล้วต่อรถรอบเมืองหรือ รถตุ๊ก ตุ๊ก หรือมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ราคาค่าโดยสารแล้วแต่ตกลง

โดยรถไฟ ลงรถที่สถานีรถไฟอยุธยา ต่อรถตุ๊กตุ๊ก หรือจะเช่าจักรยานปั่น หรือมอเตอร์ไซค์ขี่เที่ยวชมก็ได้ราคาสอบถามที่ร้านเช่า

เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 08.30–16.30 น.ค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 30 บาท หมายเหตุ ตั้งแต่เวลาประมาณ 19.30น.-21.00น.จะมีการส่องไฟชมโบราณสถาน ช่วงนี้งดเก็บค่าเข้าชมชั่วคราว)

แผนที่เดินทาง

//g.co/maps/tqvhf

https://www.facebook.com/paiwaipra

https://www.paiwaipra.com



Create Date : 30 มกราคม 2555
Last Update : 3 กุมภาพันธ์ 2555 22:17:37 น.
Counter : 6568 Pageviews.

1 comments
  

โดย: Kavanich96 วันที่: 31 มกราคม 2555 เวลา:10:03:48 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

DJ.piggypop
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



มกราคม 2555

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
31
 
 
All Blog