Welcome to my planet, and enjoy taking a wonderful journey

 
กันยายน 2553
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
26 กันยายน 2553
 

Doctor VS Ph.D ใช้ต่างกันอย่างไร

สรุปความงงของคนเถียงกัน จาก pantip
//topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2006/05/X4359666/X4359666.html

-ถ้าหมอที่จบ ดร. ด้วยเวลาเขียนว่าตัวเองจบอะไร ส่วนมาก ก็จะเขียน วุฒิ ว่า MD,Ph.D. เสมอ เช่น
ดร.นพ.พันทิพย์ ณ หว้ากอ ก็เขียนว่า Pantip Na Wahkor MD,Ph.D.

แต่ถ้าจะใช้คำว่า Dr.นำหน้าชื่อ ก็จะไม่เขียน Ph.D. ต่อท้าย
Dr.Pantip Wahkor MD.

-ประเภทที่ต้องเรียนแล้วสามารถจะประกอบเป็นวิชาชีพได้เลยโดยที่ไม่ต้องเรียนต่อแล้ว ถือเป็นความรู้สูงสุดในเชิงปริญญา ได้เรียนทุกอย่างมาหมดแล้ว ซึ่งถ้าในสาขาที่เรียนนี้ จะไม่มีปริญญาต่อ แต่ว่าสามารถศึกษาต่อได้ในแบบอนุมัติบัตร หรือวุฒิบัตรครับ ที่เป็นลักษณะเฉพาะทางมากกว่า แต่ก็อยู่บนพื้นฐานของสิ่งที่เคยเรียนไปแล้วตอนปริญญา

เภสัช (หลักสูตร 6 ปี) = Pharm.D. (Doctor of Pharmacy)
ทันตะ = D.D.S. (Doctor of Dental Surgery)

-ระดับที่เหนือกว่า PhD คือ Doctor of
Science (DSc) กว่าจะได้ต้องมีผลงานตีพิมพ์หลายร้อย
ฉบับในระดับนานาชาติครับ


-Doctor of Medicine ครับผม

สำหรับวุฒิในภาษาไทยนั้น ทุกอันยังคงเป็น บัณฑิต เช่น พ.บ. = แพทย์ศาสตร์บัณฑิต
ภ.บ. = เภสัชศาสตร์บัณฑิต

-เเพทยศาสตรบัณฑิต พบ.
เเพทยศาสตรดุษฏีบัณฑิต พด.

ถ้าเป็นเมืองไทย ก็จะเป็น ดร.นายเเพทย์ สำหรับคนที่จบ วท.บ.,ปร.ด.,พบ.
เหตุที่เขียนอย่างนี้เพราะจบปริญญาเอกก่อน เเล้วถึงจะจบเเพทย์ เวลาเขียนเป็นภาษาอังกฤษ ก็เป็น Ph.D.,M.D. เเต่บางคนก็เป็น M.D.,Ph.D. เเล้วเเต่ว่าจะจบอะไรก่อน ในเมืองไทยส่วนมากจะเป็น Ph.D.,M.D. เพราะเป็นโครงการสำหรับนักศึกษาเเพทย์ที่จะไปเป็นนักวิจัย
-ถ้าเป็นที่อังกฤษและเครือจักรภพ คำนำหน้า Dr. จะใช้สำหรับคนที่จบปริญญาเอกด้วยครับ (และใช้เป็นคำหน้านามตลอดครับ หมายถึงว่าจะเขียน Dr. xyz เลย ไม่ค่อยมีการใช้แบบ xyz, Ph.D. เท่าไหร่ นอกจากจะต้องการแสดงวุฒิที่ตนเองจบมา)
ในทางการแพทย์ ของไทยเรานั้น การเรียนแพทย์จะใช้เวลารวม หกปี ซึ่งจะเหมือนกับระบบอังกฤษ แต่ปริญญาที่ได้เป็นแบบอเมริกา

[Bachelor of Medicine (MB, UK system)] and [Doctor of Medicine (MD, US system)]

ซึ่งสาเหตุที่ทางอเมริกาเรียกว่า MD นั้นเพราะว่า คนที่จะเรียนแพทย์นั้น ต้องจบปริญญาตรีมาก่้อนครับ

แต่พอกลับมาดูชื่อภาษาไทยของวุฒิสาขาแพทย์นั้น กลับเรียกว่า พ.บ. ซึ่งเป็นชื่อในระบบอังกฤษ (MB = Bachelor of Medicine) !!!!!

สำหรับตำแหน่งทางวิชาการนั้น ในทางปฏิบัติ เราอิงระบบอังกฤษครับ กล่าวคือต้องเริ่มจาก Lecturer ในขณะที่อเมริกานั้นเริ่มจาก ผศ.เลย แต่ชื่อตำแหน่ง กลับเอาระบบอเมริกามาใช้ (ผศ. รศ. ศ.)

เนื่องจากในระบบอังกฤษนั้น จะไม่มีตำแหน่ง ผศ. รศ. ครับ แต่จะใช้เป็น

Lecturer -> Senior Lecturer -> Reader -> Professor

ซึ่งเทียบได้กับ

Lecturer -> Asst. Prof. -> Assoc.Prof. -> Full Professor

ดังนั้น สำหรับอาจารย์ในอังกฤษที่จบปริญญาเอก จะใช้คำนำหน้าว่า Dr. เสมอครับ จะไม่นิยมห้อย PhD หรือ DPhil เท่าไหร่


-ใช้ Dr. นำหน้าชื่อภาษาอังกฤษ และต่อท้ายชื่อด้วย วุฒิของปริญญาที่เรียนมา

เท่านี้ก็รู้ว่า Dr. นั้น ท่านได้แต่ใดมา

บางคนจบ Ph.D.มา แต่ไม่ค่อยได้รับการยอมรับ บางคนก็จะไม่เรียก Dr.เรียกแต่ชื่อ

แต่สำหรับหมอแล้ว เรียก Dr.ตลอดค่ะ

-สำหรับเมืองนอก คำว่า Doctor นิยมเรียก หมอ มากกว่า
สำหรับเมืองไทย คำว่า Doctor นิยมเรียก คนจบ ป.เอกมากกว่า



Create Date : 26 กันยายน 2553
Last Update : 26 กันยายน 2553 6:09:48 น. 4 comments
Counter : 56534 Pageviews.  
 
 
 
 
 
 

โดย: นาฬิกาสีชมพู วันที่: 26 กันยายน 2553 เวลา:7:13:31 น.  

 
 
 
ขอบคุณค่ะ
 
 

โดย: Pa IP: 203.158.2.111 วันที่: 13 ธันวาคม 2560 เวลา:22:57:11 น.  

 
 
 
อันนี้

-ระดับที่เหนือกว่า PhD คือ Doctor of
Science (DSc) กว่าจะได้ต้องมีผลงานตีพิมพ์หลายร้อย
ฉบับในระดับนานาชาติครับ

บอกลยว่า มั่วครับ ไม่จริงครับ
 
 

โดย: ผ่านมา IP: 171.4.237.64 วันที่: 28 เมษายน 2563 เวลา:13:49:19 น.  

 
 
 
มั่วมากถึงมากที่สุด เชื่อถือไม่ได้
 
 

โดย: ผ่านมาเหมือนกัน IP: 202.28.45.132 วันที่: 21 กันยายน 2564 เวลา:11:22:39 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

oozingplanet
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




ร้อนหนาวอยู่ที่กาย สุขทุกข์อยู่ที่ใจ
[Add oozingplanet's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com