"ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงกรุณาปราณี ผู้ทรงเมตตาเสมอ"

 
มิถุนายน 2552
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
28 มิถุนายน 2552
 

ความประเสริฐของอัลกุรอาน



คุณค่าต่างๆ ของอัลกุรอาน

ความประเสริฐของอัลกุรอาน
1. อัลลอฮฺทรงมีดำรัสว่า
(ﭨ ﭩ ﭪ ﭫ ﭬ ﭭ ﭮ ﭯ ﭰ ﭱ ﭲ ﭳ ﭴ ﭵ ﭶ ﭷ ﭸ ﭹ ﭺ ﭻ ﭼ ﭽ ﭾ ﭿ ﮀ ﮁ ﮂ ﮃ ﮄ ﮅ ﮆ ﮇ ﮈ ﮉ ﮊ ﮋ ﮌ) [الزمر/23].
ความว่า “อัลลอฮฺได้ทรงประทานคำกล่าวที่ดียิ่งลงมาเป็นคัมภีร์ คล้องจองกัน กล่าวซ้ำกัน ผิวหนังของบรรดาผู้ที่เกรงกลัวพระเจ้าของพวกเขาจะลุกชันขึ้นเนื่องด้วยได้สยบต่อโองการนั้น แล้วผิวหนังของพวกเขาและหัวใจของพวกเขาจะสงบลงสู่การรำลึกถึงอัลลอฮฺ นั่นคือการชี้นำทางของอัลลอฮฺ พระองค์จะทรงชี้นำทางแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์และผู้ใดที่อัลลอฮฺทรงให้เขาหลงทาง ดังนั้นสำหรับเขาจะไม่มีผู้ชี้นำทาง” (อัซซุมัรฺ : 23)

2.อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ตรัสว่า
(ﭟ ﭠ ﭡ ﭢ ﭣ ﭤ ﭥ ﭦ ﭧ ﭨ ﭩ ﭪ ﭫ ﭬ ﭭ ﭮ ﭯ) [الإسراء/9].
ความว่า “แท้จริง อัลกุรอานนี้นำสู่ทางที่เที่ยงตรงยิ่ง และแจ้งข่าวดีแก่บรรดาผู้ศรัทธาที่ประกอบความดีทั้งหลายว่า สำหรับพวกเขานั้นจะได้รับการตอบแทนอันยิ่งใหญ่” (อัลอิสรออ์ : 9)

ความประเสริฐของผู้อ่านอัลกุรอานพร้อมทั้งปฏิบัติตามคำสอนของอัลกุรอาน
จากอบูมูซา เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«المؤمِـنُ الَّذِي يَـقْـرَأُ القُـرْآنَ وَيَـعْمَـلُ بِـهِ كَالأُتْرُجَّـةِ، طَعْمُهَا طَيِّبٌ وَرِيحُهَا طَيِّبٌ، وَالمُؤْمِنُ الَّذِي لا يَـقْرَأُ القُرْآنَ وَيَـعْمَلُ بِـه كَالتَّمْـرَةِ، طَعْمُهَا طَيِّبٌ وَلا رِيـحَ لَـهَا، وَمَثَـلُ المُنَافِـقِ الَّذِي يَـقْــرَأُ القُـرْآنَ كَالرَّيْـحَـانَـةِ، رِيحُـهَا طَيِّبٌ وَطَعْمُهَا مُـرٌّ، وَمَثَــلُ المُنَافِـقِ الَّذِي لا يَـقْـرَأُ القُــرْآنَ كَالحَنْظَلَــةِ، طَعْمُهَا مُــرٌّ أَوْ خَبِيـثٌ وَرِيحُـهَا مُـرٌّ». متفق عليه.
ความว่า “อุปมาผู้ศรัทธาที่อ่านอัลกุรอานและปฏิบัติตามคำสอนของอัลกุรอาน อุปมัยดังผลส้ม (Citrus) ที่มีรสชาติดีอีกทั้งมีกลิ่นหอม อุปมาผู้ศรัทธาที่ไม่อ่านอัลกุรอานและปฏิบัติตามอุปมัยดังผลอินทผาลัม ที่มีรสชาติดีแต่ไร้กลิ่นหอม อุปมาคนมุนาฟิก (กลับกลอก) ที่อ่านอัลกุรอาน อุปมัยดังใบโหระพา ซึ่งมีกลิ่นหอมแต่มีรสชาติขม และอุปมาคนมุนาฟิก (กลับกลอก) ที่ไม่อ่านอัลกุอาน อุปมัยดังบวบขม ที่มีรสขมและไม่มีกลิ่น” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์: 5059, มุสลิม: 797)

ความประเสริฐของการศึกษาและสอนอัลกุรอาน
จากอุษมาน เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«خَيْرُكُمْ مَنْ تَعَلَّمَ القُرْآنَ وَعَلَّمَهُ». أخرجه البخاري.
ความว่า “ผู้ที่ประเสริฐที่สุดในหมู่พวกท่านคือผู้ที่ศึกษาและทำการสอนอัลกุรอาน” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ : 5027 )

ผู้ที่ชำนาญในการอ่านอัลกุรอาน
จากอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา กล่าวว่า ท่านเราะสูลุลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«المَاهِرُ بِالقُرْآنِ مَعَ السَّفَرَةِ الكِـَرامِ البَرَرَةِ، وَالَّذِي يَـقْرَأُ القُرْآنَ وَيَتَتَعْتَعُ فِيهِ، وَهُوَ عَلَيهِ شَاقٌّ، لَـهُ أَجْرَانِ». متفق عليه.
ความว่า “ผู้ที่ชำนาญในการอ่านอัลกุรอานนั้นจะอยู่ร่วมกับมลาอิกะฮฺ ผู้จดบันทึกอีกทั้งมีเกียรติ และผู้ที่อ่านอัลกุรอานอย่างตะกุกตะกัก (ไม่คล่อง) แต่เขาก็พยามยามอ่าน เขาจะได้สองผลบุญ” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ : 4937 , มุสลิม : 798 )

ความประเสริฐของการรวมตัวเพื่ออ่านอัลกุรอาน
จากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า ท่านเราะสูลุลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«... وَمَا اجْتَـمَعَ قَومٌ فِي بَيْتٍ مِنْ بُيُوتِ الله، يَتْلُونَ كِتَابَ الله، وَيَتَدَارَسُونَـهُ بَيْنَـهُـمْ، إلَّا نَزَلَتْ عَلَيْـهِـمُ السَّكِينَةُ، وَغَشِيَتْـهُـمُ الرَّحْـمَةُ، وَحَفَّتْـهُـمُ الملائِكَةُ، وَذَكَرَهُـمُ الله فِيْـمَنْ عِنْدَهُ، وَمَنْ بَطَّأَ بِـهِ عَمَلُـه، لَـمْ يُسْرِعْ بِـهِ نَسَبُـهُ». أخرجه مسلم.
ความว่า “...และไม่มีกลุ่มบุคคลใดที่รวมตัวในบ้านหลังหนึ่งจากบ้านของอัลลอฮฺ (มัสยิด) แล้วพวกเขาต่างอ่านคัมภีร์ของอัลลอฮฺ (อัลกุรอาน) พร้อมทั้งศึกษาทำความเข้าใจกับคัมภีร์นั้น นอกจากความสงบจะถูกประทานลงมาแก่พวกเขา ความเมตตาของอัลลอฮฺก็จะถูกแผ่ให้แก่พวกเขา มวลมลาอิกะฮฺจะสยบปีกให้แก่พวกเขา แล้วอัลลอฮฺก็จะดำรัสถึงพวกเขากับผู้ใกล้ชิดพระองค์ (ด้วยความภาคภูมิใจ) ส่วนคนที่ละเลยต่อการทำดี เขาจะไม่ได้ประโยชน์อะไรเลยจากศักดิ์ศรีและชาติตระกูลของเขา" (บันทึกโดย มุสลิม: 2699)

ความประเสริฐของการทบทวนอัลกุรอาน
จากอบูมูซา เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«تَعَاهَدُوا القُرْآنَ فَوَالَّذِي نَفْسِي بِيَدِهِ لَـهُوَ أَشَدُّ تَفَصِّياً مِنَ الإبِلِ فِي عُقُلِـهَا». متفق عليه
ความว่า “พวกท่านจงทบทวน (เอาใจใส่) กับอัลกุรอานให้มาก ขอสาบานด้วยอัลลอฮฺผู้ซึ่งชีวิตของมุหัมหมัดอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ อัลกุรอานนั้นเปรียวยิ่งกว่าอูฐที่ผูกมันไว้เสียอีก” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ : 5033 , มุสลิม : 791 )

ความประเสริฐของการไตร่ตรองในโองการต่างๆของอัลลอฮฺ
จากท่านอับดุลลอฮฺ บิน มัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวแก่ฉันว่า “จงอ่านอัลกุรอานให้ฉันฟังซิ ฉันจึงกล่าวว่า โอ้ท่านเราะสูลุลอฮฺ ฉันจะอ่านให้ท่านฟังได้อย่างไร ทั้งที่ท่านเป็นผู้ถูกประทานอัลกุรอานลงมา ท่านเราะสูลกล่าวว่า ใช่ ฉันจึงอ่านสูเราะฮฺ อันนิสาอ์ จนฉันอ่านไปถึงอายะฮฺ
(ﮇ ﮈ ﮉ ﮊ ﮋ ﮌ ﮍ ﮎ ﮏ ﮐ ﮑ ﮒ )
ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า เพียงพอแล้ว ฉันจึงหันไปมองยังท่านแล้วเห็นน้ำตาได้ไหลอกมาจากสองตาของท่าน” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ : 5050 , มุสลิม : 800 )

ความประเสริฐของผู้ที่ดำรงตนด้วยอัลกุรอาน
จากอับดุลลลอฮฺ บิน อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«لا حَسَدَ إلَّا فِي اثْنَتَينِ: رَجُلٌ آتَاهُ الله القُرْآنَ، فَهُوَ يَـقُومُ بِـهِ آنَاءَ اللَّيلِ وَ آنَاءَ النَّهَارِ، وَرَجُلٌ آتَاهُ الله مَالاً، فَهُوَ يُنْفِقُهُ آنَاءَ اللَّيلِ وَ آنَاءَ النَّهَارِ». متفق عليه
ความว่า “ไม่มีการอิจฉากันนอกจากในสองกรณี คือ บุคคลหนึ่งที่อัลลอฮฺประทานความรู้อัลกุรอานให้กับเขาและเขาได้ดำรงตน (ทั้งอ่านและปฏิบัติตามอัลกุรอาน) ทั้งกลางวันและกลางคืน และบุคคลหนึ่งที่อัลลอฮฺประทานทรัพย์สินแก่เขาและเขาได้บริจาคไปทั้งกลางวันและกลางคืน” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ : 5025 , มุสลิม : 815 )

ความประเสริฐของการอ่านอัลกุรอานด้วยเสียงที่ไพเราะ
จากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ ได้รับการรายงานจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«مَا أَذِنَ اللهُ لِشَيْءٍ مَا أَذِنَ لِنَبِيٍّ يَتَغَنَّى بِالقُرْآنِ». متفق عليه.
ความว่า “อัลลอฮฺ ไม่ทรงอนุญาตใดๆ ในสิ่งที่พระองค์เคยอนุญาตให้กับนบี เหมือนกับที่ได้อนุญาตให้อ่านอัลกุรอานด้วยเสียงไพเราะเป็นท่วงทำนอง” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ : 5024 , มุสลิม : 792 )

ความประเสริฐของสูเราะฮฺ อัลฟาติหะฮฺ
จากอบูสะอีด บิน อัลมุอัลลา เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า ฉันได้กล่าวว่าโอ้ท่าเราะสูลุลอฮฺ แท้จริงท่านเคยกล่าวว่า ฉันจะสอนท่านดีไหมถึงซูเราะฮฺที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอัลกุรอาน ท่านนบีกล่าวว่า
«الحَـمْدُ للهِ رَبِّ العَالَـمِينَ هِيَ السَّبْعُ المثَانِي، وَالقُرآنُ العَظِيمُ الَّذِي أُوتِيتُـهُ». أخرجه البخاري.
ความว่า “อัลหัมดุลิลละฮิร็อบบิลอาละมีน (มวลการสรรเสริญเป็นสิทธฺของพระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก-หมายถึงสูเราะฮฺอัลฟาติหะฮฺ) คือ เจ็ดโองการที่ถูกกล่าวซ้ำบ่อยครั้ง และเป็นอัลกุรอานที่ยิ่งใหญ่ที่ถูกประทานแก่ฉัน” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ : 5006)

คำสั่งเสียของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
จากฏ็อลหะฮฺ กล่าวว่า ฉันได้ถามอับดุลลอฮฺ บิน อบีเอาฟา ว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้สั่งเสีย (หมายถึงสั่งเสียให้แบ่งเศษหนึ่งส่วนสามจากทรัพย์สินของท่านก่อนเสียชีวิต) ไหม? ท่านตอบว่า ไม่ ฉันกล่าวว่า แล้วทำไมท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงได้สั่งให้ผู้คนกล่าวคำสั่งเสียแต่ท่านเองกลับมิได้สั่งเสีย? ท่านอับดุลลอฮฺ บิน อบีเอาฟา กล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้สั่งเสียด้วยคัมภีร์ของอัลลอฮฺแล้ว (คือสั่งเสียให้ทุกคนยึดมั่นกับอัลกุรอาน) (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ : 5022, มุสลิม: 1634)

ความประเสริฐของการอ่านอัลกุรอาน
1.จากอบู อุมามะฮฺ อัลบาฮิลีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านเราะสูลุลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«اقْرَؤُوا القُرْآنَ، فَإنَّهُ يِأتِي يَوْمَ القِيَامَةِ شَفِيعاً لأَصْحَابِـهِ، اقْرَؤُوا الزَّهْرَاوَيْنِ: البَقَرَةَ وَسُورَةَ آلِ عِمْرَانَ، فَإنَّهُـمَا تَأْتِيَانِ يَومَ القِيَامَةِ كَأَنَّهُـمَا غَمَامَتَانِ، أَوْ كَأَنَّهُـمَا غَيَايَتَانِ، أَوْ كَأَنَّهُـمَا فِرْقَانِ مِنْ طَيْرٍ صَوَافَّ، تُـحَاجَّانِ عَنْ أَصْحَابِـهِـمَا، اقْرَؤُوا سُورَةَ البَقَرَةِ، فَإنَّ أَخْذَهَا بَرَكَةٌ، وَتَرْكَهَا حَسْرَةٌ، وَلا يَسْتَطِيعُهَا البَطَلَةُ». أخرجه مسلم.
ความว่า “พวกท่านทั้งหลายจงอ่านอัลกุรอาน เพราะอัลกุรอานนั้นจะมาให้ความช่วยเหลือต่อเขาในวันกิยามะฮฺ พวกท่านจงอ่าน อัซซะฮฺรอวัยนฺ คือ ซูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺและซูเราะฮฺอาลิอิมรอน เพราะทั้งสองจะมาในวันกิยามะฮฺดุจดังเมฆสองก้อนหรือร่มสองคัน หรือประดุจดังนกสองฝูงที่กางปีกปกป้องเจ้าของทั้งสองสูเราะฮฺนั้น ท่านทั้งหลายจงอ่านสูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺ เพราะการอ่านมันนั้นเป็นความบะเราะกะฮฺ(จำเริญ) การละเลยต่อซูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺ(ไม่อ่าน)ถือว่าขาดทุน และผู้ที่ปลุกเสกคุณไสยไม่อาจชนะสูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺได้” (บันทึกโดย มุสลิม : 804 )

2. จากอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า ท่านเราะสูลุลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«أَيُـحِبُّ أَحَدُكُمْ إذَا رَجَعَ إلَى أَهْلِـهِ، أَنْ يَـجِدَ فِيهِ ثَلاثَ خَلِفَاتٍ عِظَامٍ سِمَانٍ؟» قُلْنَا نَعَمْ، قَالَ: «فَثَلاثُ آيَاتٍ يَـقْرَأُ بِـهِنَّ أَحَدُكُمْ فِي صَلاتِـهِ خَيْرٌ لَـهُ مِنْ ثَلاثِ خَلِفَاتٍ عِظَامٍ سِمَانٍ». أخرجه مسلم.
ความว่า “คนหนึ่งในหมู่พวกท่านจะพอใจไหม หากกลับบ้านแล้วพบอูฐสามตัวที่อ้วนพี พวกเราตอบว่าใช่แล้ว (พวกเราพอใจ) ท่านเราะสูลกล่าวว่า “สามอายะฮฺที่พวกท่านได้อ่านในละหมาดของตนดียิ่งกว่าอูฐสามตัวที่อ้วนพีเสียอีก” (บันทึกโดย มุสลิม : 802 )

3. จากอับดุลลอฮฺ บิน อัมรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา กล่าวว่า ท่านเราะสูลุลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า
«يُـقَالُ لِصَاحِبِ القُرآنِ اقْرَأ وَارْتَقِ وَرَتِّلْ كَمَا كُنْتَ تُرَتِّلُ فِي الدُّنْيَا فَإنَّ مَنْزِلَكَ عِنْدَ آخِرِ آيَةٍ تَقْرَؤُهَا». أخرجه أبو داود والترمذي.
ความว่า “(ในวันอาคิเราะฮฺ)จะถูกกล่าวแก่ผู้ที่อ่านอัลกุรอานว่า จงอ่านและจงเลื่อนขึ้นตามระดับขั้น(ในสวรรค์) และจงอ่านอย่างชัดถ้อยชัดคำดังที่ท่านเคยอ่านในโลกดุนยามาก่อน เพราะชั้นสวรรค์ที่เจ้าจะได้รับคืออายะฮฺสุดท้ายที่ท่านได้อ่านอัลกุรอานจบ” (หะดีษ หะสัน เศาะฮีหฺ บันทึกโดย อบูดาวูด : 1464 , อัตติรมิซีย์ : 2914 )




 

Create Date : 28 มิถุนายน 2552
0 comments
Last Update : 28 มิถุนายน 2552 17:34:31 น.
Counter : 240 Pageviews.

 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

bteeranan
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add bteeranan's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com