พัฒนาชีวิตด้วยปัญญา และความดี
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2558
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
19 ธันวาคม 2558
 
All Blogs
 
ลงทุนกองทุนรวมปลายปี LTF VS RMF เปรียบเทียบแบบเห็นภาพชัดๆ

LTF VS RMF จะลงทุนตัวไหนดี เปรียบเทียบแบบเห็นภาพชัดๆ

บทนำ

ใกล้ปลายปีแล้ว เป็นช่วงเวลาแห่งการซื้อกองทุน เพื่อนๆ ก็คงสะสมซื้อกองทุนเพื่อใช้ลดหย่อนภาษีกันช่วงนี้ใช่ไหมครับ แต่เพื่อนๆ ก็อาจจะยังไม่แน่ใจว่าจะเลืกซื้อตัวไหนดี ยิ่งปัจจุบันมีกองทุนให้เลือกมากมายหลายหลาก ทั้ง LTF และ RMF มีกองทุนให้ชอบปิ้งนับพันเลยนะครับ และเพื่อนๆบางคนที่เป็นมือใหม่ยังไม่รู้ว่า LTF และ RMF คืออะไร ก็อาจจะสับสนว่าจะเลือกซื้อตัวไหนดี ผมเลยจะนำเอาข้อมูล LTF VS RMF มาเปรียบเทียบแบบเห็นภาพชัดๆ เพื่อช่วยให้เพื่อนๆ ตัดสินใจเลือกซื้อกองทุนได้ถูกต้องนะครับ

ซึ่งผมจะนำเอาข้อมูลในแง่มุมต่างๆ เช่น ความหมาย ระยะเวลาการลงทุน ความต่อเนื่องในการลงทุน นโยบายของกองทุน ความเสี่ยงของกองทุน สิทธิประโยชน์ทางภาษีของกองทุน ข้อดีต่างๆ มาเปรียบเทียบให้เห็นกับแบบเป็นคู่ๆ เพื่อให้เพื่อนๆได้เห็นภาพที่ชัดเจนเลยครับ

BANKER

ความหมายของกองทุน LTF VS RMF

  1. กองทุนหุ้นระยะยาว (Long term Equity Fund) หรือ (LTF) คือ กองทุนที่ใช้เพื่อสนับสนุนการลงทุนในตลาดทุนแบบระยะยาว เป็นกองทุนรวมที่เกิดมาจากแนวคิดที่ต้องการส่งเสริมการลงทุนระยะยาวในหุ้นจดทะเบียนในตลาดรอง เช่น SET และ MAI เพื่อช่วยให้ตลาดทุนไทยมีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น และยังช่วยสร้างวินัยในการออม ของผู้ลงทุนรายย่อยในระยะยาวมากยิ่งขึ้นด้วย โดยกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) จะมีการลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ซึ่งอธิบายง่ายๆ ก็คือ กองทุน LTF จะเน้นลงทุนในหุ้น ทั้งนี้ ผู้ที่ลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ที่เป็นบุคคลธรรมดาจะได้รับสิทธิประโยชน์ลดหย่อนทางภาษีอีกด้วย เพื่อเป็นแรงจูงใจในการลงทุน
  2. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund) หรือ (RMF) คือ กองทุนรวมประเภทหนึ่ง ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมให้ผู้มีเงินได้มีเงินออมสำหรับใช้จ่ายในช่วงเกษียณอายุ เพื่อเตรียมเงินและความพร้อมไว้สำหรับการเลี้ยงชีพของตนเองและครอบครัว ในยามเกษียณอายุงาน และเป็นกองทุนที่มีลักษณะผสมระหว่างการเป็นกองทุนรวมกับการเป็นเครื่องมือสะสมเงินไว้ใช้ในยามชราภาพโดยได้รับสิทธิประโยชน์ลดหย่อนด้านภาษี ตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด เพื่อเป็นแรงจูงใจ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพต่างจากกองทุนรวมทั่วไป โดยเป็นกองทุนที่ ไม่มีการจ่ายเงินปันผล และ หน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ไม่สามารถจำหน่าย จ่ายโอน จำนำ หรือนำไปเป็นประกันได้
Plants
Plants

ระยะเวลาการลงทุนของกองทุน LTF VS RMF

  1. กองทุน LTF จะต้องถือครองเป็นเวลา 5 ปีปฏิทิน เช่นเราอาจจะซื้อ 25 ธันวาคม 2556 และขาย 5 มกราคม 2560แปลว่าช่วงเวลาที่เราลงทุนได้แก่ปี 56, 57, 58, 59 และ 60 นับเป็น 5 ปีปฏิทิน ก็ถือว่าไม่ผิดเงื่อนไขนะครับ โดยเงื่อนไขของกองทุน LTF มีอยู่ว่า"หากมีการขายคืนหน่วยลงทุนก่อนครบกำหนด 5 ปีปฏิทิน ถือว่าผิดเงื่อนไขการลงทุน จะต้องคืนเงินภาษีที่ได้รับยกเว้นไป พร้อมเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 5 ต่อเดือน โดยนับตั้งแต่เดือนเมษายน ของปีที่ผู้ลงทุนยื่นขอยกเว้นภาษี จนถึงเดือนที่มีการยื่นคืนเงินภาษี นอกจากนั้นต้องจ่ายภาษีของกำไรส่วนเกินทุน (capital gain) โดยถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ของเงินกำไรที่ได้รับ และยังต้องนำกำไรที่ได้รับจากการขายคืนหน่วยลงทุนไปรวมเป็นเงินได้ เพื่อเสียภาษีตอนปลายปีอีกด้วย"
  2. กองทุน RMF จะเน้นออมระยะยาวครับ โดยต้องถือยาวจนกระทั่งอายุ 55 ปีบริบูรณ์ และมีการลงทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก (การนับ 5 ปีให้นับเฉพาะปีที่มีการซื้อหน่วยลงทุนเท่านั้น กล่าวคือ ปีใดไม่ลงทุนจะไม่นับว่ามีอายุการลงทุนในปีนั้น ๆ) หมายความว่า ต้องซื้อติดต่อกันทุกปี เว้นได้ปีเดียว เช่น ซื้อหน่วยลงทุนตอนอายุ 53 ปี ก็ต้องลงทุนต่อเนื่องไปจนครบ 5 ปี แม้อายุจะเกิน 55 ปีแล้วก็ตาม โดยเงื่อนไขของกองทุน RMF มีดังนี้
  • กรณีที่ลงทุนไม่ถึง 5 ปี และมีการผิดเงื่อนไข ต้องคืนเงินภาษีทั้งหมดทุกปี ที่ได้รับยกเว้นไป โดยเมื่อขายคืนหน่วยลงทุน ต้องนำกำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุน (capital gain) ไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ซึ่งในทางปฏิบัติ เมื่อผู้ลงทุนขายคืน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจะหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ของกำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุนไว้ก่อน และเมื่อผู้ลงทุนไปยื่นแบบเสียภาษีเงินได้ ก็จะคำนวณอีกครั้งว่าจะต้องจ่ายเงินภาษีเพิ่มอีกหรือไม่
  • กรณีที่ลงทุนตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป และมีการผิดเงื่อนไข ต้องคืนเงินภาษีที่ได้รับยกเว้นไปในช่วง 5 ปีย้อนหลัง (นับตามปีปฏิทิน)

Investment budget local government

ความต่อเนื่องในการลงทุนของกองทุน LTF VS RMF

  1. กองทุน LTF ไม่จำเป็นต้องลงทุนต่อเนื่อง โดยจะนับเงินที่ลงทุนแยกกันไปในแต่ละปี กล่าวคือ ลงทุนปีไหน ก็ลดหย่อนภาษีปีนั้นๆ ได้เลย
  2. กองทุน RMF ต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี เว้นได้ไม่เกิน 1 ปีนะครับ โดยนับเวลาแบบวันชนวัน เริ่มจากวันแรกที่ได้ซื้อหน่วยลงทุนและการลงทุนใน RMF นั้นต้องมีวินัยในการลงทุนที่ดีครับ

นโยบายของกองทุน LTF VS RMF

  1. กองทุน LTF มีนโยบายแบบเดียวคือ กองทุนรวมตราสารทุน (เน้นลงทุนในหุ้นจดทะเบียนใน SET และ MAI โดยเฉลี่ยรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของ NAV )
  2. กองทุน RMF มีนโยบายการลงทุนที่หลากหลาย เช่น ลงทุนในตราสารหนี้, หุ้น หรือ ทองคำ

ความเสี่ยงของกองทุน LTF VS RMF

  1. กองทุน LTF มีความเสี่ยงค่อนข้างสูง เนื่องจากจะเน้นการลงทุนในหุ้นเป็นหลัก
  2. กองทุน RMF มีระดับความเสี่ยงของสินทรัพย์ที่เข้าลงทุนตั้งแต่ต่ำไปจนสูง เช่น ลงทุนในตราสารหนี้, หุ้น หรือทองคำ ทำให้นักลงทุนเลือกตามระดับความเสี่ยงที่ตนเองยอมรับได้

จำนวนเงินลงทุนขั้นต่ำ และสูงสุดของกองทุน LTF VS RMF

  1. กองทุน LTF ไม่มีขั้นต่ำ แต่ลงทุนได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้ในปีนั้นๆ และไม่เกิน 500,000 บาท เช่น ถ้าเงินได้ 500,000 บาท จะสามารถลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15*500,000 = 75,000 บาท
  2. กองทุน RMF ต้องลงทุนไม่น้อยกว่า 3% ของเงินได้ หรือไม่น้อยกว่า 5,000 บาทต่อปี แต่ลงทุนได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้ และไม่เกิน 500,000 บาทเช่นเดียวกันกับ LTF แต่ในส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาทนั้น ต้องรวมเข้ากับ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ กบข. และเบี้ยประกันแบบบำนาญด้วย

สิทธิประโยชน์ทางภาษีของกองทุน LTF VS RMF

  1. กองทุน LTF มีสิทธิประโยชน์ทางภาษี ดังนี้
  • เงินซื้อหน่วยลงทุนใน LTF จะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมคำนวณพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามที่ลงทุนจริง สูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้ในแต่ละปี และต้องไม่เกิน 500,000 บาท ทั้งนี้ หากมีการลงทุนเกิน 15% ของเงินได้ หรือเกิน 500,000 บาท เมื่อขายคืนหน่วยลงทุนแล้วมีกำไร ผู้ลงทุนจะต้องนำกำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุน (capital gain) นับเฉพาะจากส่วนเงินลงทุนที่เกิน ไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย
  • กำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุน (capital gain) ไม่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  1. กองทุน RMF มีสิทธิประโยชน์ทางภาษี ดังนี้
  • เงินซื้อหน่วยลงทุนใน RMF จะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมคำนวณพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามที่ลงทุนจริง สูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้ในแต่ละปี โดยเมื่อนับรวมกับเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท PVD / กบข. + RMF ( < 15% ของเงินได้) < 500,000 บาท ทั้งนี้ หากมีการลงทุนเกิน 15% ของเงินได้ หรือเกิน 500,000 บาท เมื่อขายคืนหน่วยลงทุนแล้วมีกำไร ผู้ลงทุนจะต้องนำกำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุน (capital gain) นับเฉพาะจากส่วนเงินลงทุนที่เกิน ไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย
  • กำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุน (capital gain) ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้
  • เมื่อครบกำหนดเงื่อนไขไถ่ถอนการลงทุน เงินที่ได้รับจากการไถ่ถอนจะได้รับยกเว้นภาษีทั้งจำนวน

ข้อดีของกองทุน LTF VS RMF

  1. กองทุน LTF
  • ช่วยให้เสียภาษีเงินได้น้อยลงจากเดิม
  • ช่วยให้มีโอกาสได้รับผลตอบแทนสูงจากการลงทุนในหุ้นในระยะยาว
  1. กองทุน RMF
  • เป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมการสะสมเงินเพื่อวัยเกษียณ
  • เปิดโอกาสให้ผู้ที่ไม่มีสวัสดิการสะสมเงินเพื่อวัยเกษียณ เช่น ผู้ที่ประกอบวิชาชีพอิสระที่ไม่มีนายจ้าง หรือผู้ที่มีสวัสดิการอยู่แล้วแต่ต้องการสะสมเพิ่มเติม ได้มีโอกาสสะสมเงินเพื่อวัยเกษียณ
  • ช่วยให้ผู้ลงทุนได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี

การจ่ายเงินปันผลของกองทุน LTF VS RMF

  1. กองทุน LTF ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละกองทุน
  2. กองทุน RMF ไม่มีการจ่ายเงินปันผลตลอดอายุโครงการลงทุน

กำหนดขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุน LTF VS RMF

  1. กองทุน LTF ไม่เกินปีละ 2 ครั้ง ตามที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน
  2. กองทุน RMF ทุกวันทำการ หรือตามที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน

การลงทุนเหมาะสมกับใคร LTF VS RMF

  1. กองทุน LTF
  • ผู้ที่สนใจจะลงทุนระยะยาว แต่อาจไม่มีความชำนาญเกี่ยวกับการลงทุนในหุ้น หรือไม่มีเวลา
  • ผู้ที่ยอมรับความเสี่ยงสูงในการลงทุนได้

News_35649_190706130_fullsize

  1. กองทุน RMF
  • ผู้ประกอบอาชีพอิสระ เช่น แพทย์ วิศวกร สถาปนิก นักบัญชี ทนายความ ฯลฯซึ่งแต่เดิมมาขาดโอกาสสะสมเงินลงทุนแบบปลอดภาษี เพราะไม่มีระบบบำเหน็จบำนาญรองรับ
  • คนที่ไม่ได้ทำงานประจำแต่มีรายได้จากบำเหน็จ บำนาญ เบี้ยหวัด ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ฯลฯ
  • ลูกจ้างที่นายจ้างยังไม่พร้อมที่จะจัดให้มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ทำให้ลูกจ้างไม่สามารถสะสมเงินลงทุนเพื่อวัยเกษียณได้
  • ลูกจ้างหรือข้าราชการที่อยู่ในระบบบำเหน็จบำนาญอยู่แล้ว และประสงค์ที่จะลงทุนมากกว่าเดิม เพื่อใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีให้เต็มวงเงิน 300,000 บาท ตามที่รัฐบาลให้การสนับสนุนและส่งเสริม

จากข้อมูลที่ผมได้นำเสนอเปรียบเทียบทั้งกองทุน LTF กับ RMF เพื่อนๆ จะเห็นได้ว่ามีเงื่อนไข ข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันไป ผมอยากจะขอแนะนำว่าให้เพื่อน ๆ ศึกษาข้อมูลให้ดี ดังคำพูดยอดฮิตที่ว่า “การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน” ถ้าเพื่อนๆ ศึกษาข้อมูลที่ผมนำเสนอและมีวินัยในการลงทุนแล้ว ผมรับรองได้ว่า เพื่อนๆ จะมีเงินเก็บอย่างเป็นกอบเป็นกำแน่นอนครับ

อ่านทุกอย่างของการลงทุนในกองทุนรวม และการบริหารเงินส่วนบุคคล ต่อได้ที่นี่ครับ "คลิ๊กอ่าน" แกรกๆๆ ...

[เกี่ยวกับผู้เขียน]

promotion naiwaenนายแว่นธรรมดา ผู้แต่งหนังสือขายดี  "รวยหุ้นวีไอไม่เสี่ยง" และหนังสือ "ลงทุนคอนโดไม่ยาก" และผู้ก่อตั้งเว็บ //www.naiwaen.com และ //www.topofliving.com ผมขออาสาถ่ายทอดประสบการณ์ด้านการลงทุนในหุ้น และอสังหาริมทรัพย์ให้เพื่อนๆ นักลงทุนทุกท่านได้อ่านแบบเข้าใจง่าย ติดตามกันให้ได้นะครับ

#ลงทุนหุ้นให้โตเร็ว : ปัญหาของนักลงทุนหุ้นโตเร็วก็คือ มองหุ้นโตเร็วไม่ออก มองภาพใหญ่ไม่ชัดเจน และจัดพอร์ตไม่เป็น ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปหากคุณได้อ่านหนังสือเล่มนี้ "ลงทุนหุ้นให้โตเร็ว" ติดตามได้ที่นี่เลยครับ

#ช่องทางการติดตามข้อมูล #นายแว่นธรรมดา

สำหรับเพื่อนๆ ที่ต้องการติดตามข้อมูล โดยเฉพาะสมาชิกเว็บ www.naiwaen.com ท่านสามารถติดต่อโดยตรงได้ที่ naiwaentammada@gmail.com

หรือเข้าไปติดตามบทความในรูปแบบคลิ๊ปเสียงที่ https://www.youtube.com/channel/UCcQxvgiObaaA2DI3UOqrXZw

เพื่อนๆ ยังสามารถเข้าไปติดตามความเคลื่อนไหวใหม่ล่าสุดที่บล็อกพันทิป //www.bloggang.com/mainblog.php?id=naiwaentammada(ปัจจุบันมียอดเพจวิวกว่า 3.1 ล้านวิว)

หรือยังไม่จุใจท่านยังสามารถเข้าไปพูดคุยแลกเปลี่ยนกันที่นี่ครับ https://plus.google.com/u/0/118319315169248364407

สำหรับเรื่องราวของอสังหาริมทรัพย์... เพื่อนๆ สามารถเข้าไปหาข้อมูลที่ต้องการได้ที่นี่ www.topofliving.com

และเตรียมพบกับเว็บบอร์ดคุยเรื่องหุ้นเร็วๆ นี้นะครับ

ยินดีต้อนรับทุกท่าน อีโมติคอน grin
สำหรับ "นายแว่นธรรมดา" แล้วเราจะทำให้เพื่อนๆ ทุกท่าน

"มีชีวิตที่ง่าย และดี"




Create Date : 19 ธันวาคม 2558
Last Update : 19 ธันวาคม 2558 11:22:56 น. 0 comments
Counter : 2237 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ตี๋2555
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 165 คน [?]




สวัสดีครับผม "นายแว่นธรรมดา" ผู้เขียนหนังสือขายดี "รวยหุ้นแบบ VI ไม่เสี่ยง" หนังสือ "หุ้น 5 พารวย" และเป็นผู้ก่อตั้ง http://www.naiwaen.com เว็บไซค์การลงทุนในหุ้น กองทุนรวม และ Money Market อีกมากมาย
และ http://www.topofliving.com เว็บไซค์เกี่ยวกับการเลือกซื้อบ้านหลังแรก การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ โดยนิยามส่วนตัวก็คือ ทำให้ความมั่งคั่ง กลายเป็นเรื่อง "สนุก"
หากต้องการข้อมูลข่าวสารการลงทุนอย่างรวดเร็ว และเชื่อถือได้ แวะไปกด LIKE ที่นี่นะครับ https://www.facebook.com/NaiwaenTammada

ผมยินดีที่ได้รู้จักเพื่อนๆ นักลงทุนทุกท่าน ฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะครับ
Free counters!
New Comments
Friends' blogs
[Add ตี๋2555's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.