มีนาคม 2553
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
5 มีนาคม 2553
 

ทฤษฎีบุคลิกภาพของ Sigmand Freud(2)

กลวิธานในการป้องกันตนเอง

ตามแนวคิดของฟรอยด์เชื่อว่ากลวิธานในการป้องกันตนเองนั้นเป็นกลวิธีทั้งหมดที่อีโก้ใช้ให้เป็นประโยชน์เมื่อต้องตกในสภาวะที่เกิดความขัดแย้งใจความคับข้องใจ ความวิตกกังวล ความตึงเครียด กลวิธานในการป้องกันตนเองนี้จะเป็นการทำงานในระดับของจิตไร้สำนึกที่แต่ละบุคคลเข้าใจได้ยาก ซึ่งนักจิตวิเคราะห์เชื่อว่า การตัดสินใจที่สำคัญที่สุดในชีวิตของบุคคลนั้นบุคคลจะได้รับอิทธิพลมาจากกลไกในระดับจิตไร้สำนึกของแต่ละบุคคลนั่นเอง เช่น การเลือกคบเพื่อน การสร้างศัตรู การเลือกอาชีพ การยอมรับในค่านิยมต่างๆ และการมองภาพพจน์ของตนเองและคนอื่นๆ เป็นต้น

กลวิธานในการป้องกันตัวเป็นลักษณะของการตอบสนองที่ค่อนข้างจะคงที่ทำให้บุคคลรับรู้ผิดพลาดไปจากความเป็นจริงเนื่องจากว่าไม่มีความสามารถหรือทักษะหรือแรงจูงใจที่เพียงพอสำหรับการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดจากภายใน หรือความขัดแย้งใจที่เกิดจากการถูกคุกคามความปลอดภัยจากภายนอก โดยที่บุคคลจะสร้างกลวิธานในการป้องกันตนเองขึ้นมานั้นเกิดจากสาเหตุสำคัญ 2 ประการ คือประการแรกบุคคลมีความวิตกกังวลสูงมากในเรื่องหนึ่งเรื่องใดและอีโก้ ( ego ) หาวิธีลดหรือแก้ไขไม่ได้ด้วยวิธีการที่มีเหตุผลและประการที่สองอีโก้ไม่สามารถประนีประนอมแรงขับระหว่างความต้องการของอิดและแรงหักห้ามของซุปเปอร์อีโก้ได้ อีโก้จึงตกอยู่ในภาวะตึงเครียด จึงจำเป็นต้องหาวิธีการลดความตึงเครียด

ความวิตกกังวลกับการใช้กลวิธานในการป้องกันตน ความวิตกกังวลเกี่ยวข้องกับกลวิธานในการป้องกันตนกล่าวคือ เมื่อมีความวิตกกังกลเกิดขึ้น วิธีการหนึ่งที่จะใช้เพื่อลดความวิตกกังวลและทำให้ร่างกายอยู่ในสภาพที่สมดุล ฟรอยด์เชื่อว่าเรื่องความวิตกกังวลเป็นสภาวะทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นจากการไม่ได้รับความพึงพอใจ มีความรู้สึกว่าตนเองไม่ปลอดภัย จะได้รับอันตรายจากสิ่งที่อยู่รอบตัวซึ่งฟรอยด์เชื่อว่าความวิตกกังวลนั้นเป็นผลมาจากการที่อีโก้ ( ego ) ไม่สามารถทำหน้าที่ประนีประนอม อิด( id ) และซุปเปอร์อีโก้(superego) ได้อย่างเหมาะสม จะทำให้บุคคลเกิดความวิตกกังวล ความคับข้องใจ

ความวิตกกังวล ( anxiety )

 ความวิตักกังวล มี 3 ประเภท คือ ความวิตกกังวลต่อสิ่งที่เป็นจริง ( objective anxiety or reality anxiety ) ความวิตกกังวลแบบโรคประสาท ( neurotic anxiety )และ ความวิตกกังวลเชิงศีลธรรม ( moral anxiety )

1.      ความวิตกกังวลต่อสิ่งที่เป็นจริง เป็นความวิตกกังวลที่เกิดจากความกลัวอันตรายจากภายนอกที่เผชิญอยู่จริงๆ

2.      ความวิตกกังวลแบบโรคประสาท เป็นความวิตกกังวลที่มีสาเหตุให้บุคคลแสดงอาการบางอย่างออกมา เนื่องจากกลัวการถูกลงโทษที่ไม่สามารถควบคุมพลังของสัญชาตญาณไว้ได้

3.      ความวิตกกังวลเชิงศีลธรรม เป็นความวิตกกังวลเมื่อเกิดขึ้นแล้ว และไม่สามารแก้ไขได้ด้วยวิธีการที่มีประสิทธิภาพ จะเป็นความวิตกกังวลที่กระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรง บุคคลจะลดตัวลงมาสู่ภาวะเหมือนทารกที่ช่วยตนเองไม่ได้ เมื่ออีโก้ไม่สามารถจะต่อสู้กับความวิตกกังวล โดยวิธีการอันมีเหตุผลก็จำต้องถอยกลับไปใช้วิธีการอันไม่ตรงกับความเป็นจริงที่เรียกว่า กลไกป้องกันตน

ความคับข้องใจ ( frustration )

เมื่อบุคคลมีปัญหาหรืออุปสรรคเกิดขึ้น บุคคลจะความรู้สึกคับข้องใจ (frustration) และมีความวิตกกังวล ( anxiety ) บุคคลจึงพยายามหาวิธีลดความคับข้องใจโดยใช้กลวิธานในการป้องกันตนเอง (defense mechanism) ความคับข้องใจกับการใช้กลวิธานในการป้องกันตนเองจะทำให้ สถานการณ์ที่ทำให้เกิดความคับข้องใจเมื่อพิจารณาตามที่มา คือ จากภายนอกและภายในร่างกายของแต่ละบุคคลนั้นมีสาเหตุมาจาก 3 ประการคือ ความขาดแคลน ความสูญเสียและความขัดแย้ง โดยอธิบายสรุปคือ

1.      ความขาดแคลน (privations)

1.1 ความขาดแคลนจากภายนอก (external privation) เป็นสถานการณ์ของความคับข้องใจที่เกิดจากความต้องการ (needs) อยากได้ในสิ่งที่ปกติแล้วจะสามารถหาได้จากโลกภายนอก แต่ในขณะนี้กลับพบว่าไม่มีสิ่งที่ต้องการอยู่ในนั้น เช่น คนหิว แต่พบว่า ไม่มีอาหารตามที่ต้องการ

1.2 ความขาดแคลนจากภายใน (internal privation) เป็นสถานการณ์ของความคับข้องใจที่เกิดจากบุคคลผู้นั้นขาดแคลนบางสิ่งบางอย่างที่ควรจะมีในตนเองไป เช่น ชายคนหนึ่งไม่มีเสน่ห์ เพียงพอที่จะสร้างความพึงพอใจให้เกิดกับเพื่อนหญิงของเขา

2.      ความสูญเสีย (deprivations) 

2.1 ความสูญเสียจากภายนอก (external deprivation) เป็นสถานการณ์ของความคับข้องใจที่เกิดจากการสูญเสียสิ่งของบางอย่าง หรือการตายจากไปของบุคคลที่มีความผูกพันกันมาก่อน เช่น สามีสูญเสียภรรยาสุดที่รักตายจากไป หรือบ้านที่เคยอาศัยมานานหลายปีถูกไฟไหม้ไป เป็นต้น

2.2 ความสูญเสียจากภายใน (internal deprivation) เป็นสถานการณ์ของความคับข้องใจที่เกิดจากการสูญเสียที่ไม่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อม แต่บุคคลถือว่าสิ่งที่สูญเสียไปนั้น เมื่อก่อนนี้เขามีอยู่และไม่สามารถหลีกเลี่ยงความเคยชินกับสภาพเช่นนั้นได้ เช่น นาย ก. เคยไว้ผมยาว แต่ต้องตัดทิ้งไป ทำให้เขาสูญเสียจุดเด่นในตัวเขาไป

3.      ความขัดแย้ง (conflicts)

3.1 ความขัดแย้งจากภายนอก (external conflicts) เป็นสถานการณ์ของความคับข้องใจที่เกิดจากความพิการทางร่างกายของตนและความพิการนั้นได้ขัดขวางพฤติกนนมตนเอง

3.2 ความขัดแย้งจากภายใน (internal conflicts) เป็นสถานการณ์ของความคับข้องใจอันเนื่องมาจากการยึดมั่นในคุณงามความดีซึ่งเป็นอุปสรรคขัดขวางไม่ให้พบบุคคลประสบความสำเร็จที่นำไปสู่ความพึงพอใจของตน

ความขัดแย้งทำให้บุคคลต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมรอบตัวทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับตัวบุคคล สิ่งของ และเหตุการณ์ สิ่งที่ดึงดูดใจย่อมทำให้เราอยากเข้าหาและเลือกสิ่งนั้น สิ่งใดไม่ดึงดูดใจหรือไม่ต่อสิ่งใดหรือสถานการณ์ใดนั้น มิได้ขึ้นอยู่กับสิ่งนั้นหรือสถานการณ์นั้น แต่เกิดจากความรู้สึกและเจตคติของตนเองที่มีต่อสิ่งนั้นๆ

ความขัดแย้งมี 3 ประเภท ได้แก่

1.      ความขัดแย้งชนิดบวก-บวก (approach-approach conflict) เกิดขึ้นเมื่อสถานการณ์หรือเป้าหมายหลายๆ อย่างดึงดูดใจพร้อม ๆ กัน แต่เราจำเป็นต้องเลือกอันใดอันหนึ่ง

2.      ความขัดแย้งชนิดลบ-ลบ (avoidance-avoidance conflict) เกิดขึ้นเมื่อสถานการณ์หรือเป้าหมายทั้งสองอย่างไม่ดึงดูดใจ และต้องการหลบหลีก แต่จำเป็นต้องตัดสินใจเลือกอันใดอันหนึ่ง

3.      ความขัดแย้งชนิดบวก-ลบ (approach-avoidance conflict) เกิดขึ้นจากสถานการณ์หรือเป้าหมายเดียวกัน ซึ่งมีแรงดึงดูดใจให้เข้าหากัน และแรงผลักดันให้หลีกเลี่ยงในเวลาเดียวกัน

การแก้ปัญหาเมื่อเกิดความขัดแย้งคือ บุคคลมักอดทนกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้น หรือไม่ก็ยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงความต้องการนั้นเสียใหม่ หรือใช้วิธีการหลอกตัวเองให้บังเกิดความสบายใจ ซึ่งเป็นลักษณะของการใช้กลวิธานในการป้องกันตนเอง   นิภา นิธยายน (2530 : 84)

กลวิธานในการป้องกันตนเอง ที่สำคัญ มี 2 ชนิด คือ

1.      กลวิธานในการพัฒนาบุคลิกภาพ บุคลิกภาพพัฒนาเนื่องมาจากการตอบสนองความเครียดที่เกิดจากกระบวนการเจริญเติบโตของร่างกาย ความคับข้องใจ ความขัดแย้งใจ และความหวาดหวั่น (threats) เมื่อมีความเครียดเกิดขึ้น บุคคลจึงแสวงหาวิธีการที่จะลดความเครียด ทำให้บุคลิกภาพเกิดการพัฒนาวิธีการที่บุคคลเรียนรู้ ได้แก่ การเลียนแบบ (identification) การย้ายแหล่งทดแทน (displacement) และการทดเทิด (sublimation)

2.      กลวิธานในการป้องกันตนเองของอีโก้ บุคคลจะสร้างกลไกป้องกันตนเองขึ้นเมื่อไม่สามารถคลี่คลายความวิตกกังวลที่กำลังคุกคามได้ กลไกป้องกันตนเองที่สำคัญ มี 5 ชนิด ได้แก่ การเก็บกด (repression) การตรึงแน่น (fixation) การกล่าวโทษผู้อื่น (projection) การถดถอย (regression) และการแสดงปฏิกิริยาตรงข้าม (reaction formation)

จะเห็นได้ว่าความวิตกกังวล ความคับข้องใจ และความขัดแย้ง เป็นสภาวะที่ทำให้บุคคล

ต้องพบอยู่เสมอดังนั้นกลวิธานในการป้องกันตนเอง มีไว้เพื่อรักษาสภาพจิตใจให้อยู่สภาวะสมดุลและสามารถรักษาสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่นไว้ได้ด้วย 

การพัฒนาบุคลิกภาพ

การพัฒนาบุคลิกภาพของตามแนวทฤษฎีนี้สิ่งสำคัญคือ ครอบครัว เป็นสถาบันทางสังคมแห่งแรกที่ทุกคนต้องเกี่ยวข้อง ชีวิตครอบครัวที่มีความรักใคร่ ความกลมเกลียว และอบอุ่นมั่นคงในวัยเยาว์ย่อมเป็นรากฐานสำคัญของบุคลิกภาพที่ดีในภายหน้า เด็กจะมีความมั่นคงในจิตใจ มีความไว้วางใจในผู้อื่น มองโลกในแง่ดี สามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมและเผชิญชีวิตด้วยความมั่นใจ แต่ในทางตรงข้ามหากชีวิตเริ่มแรกได้รับแต่ประสบการณ์ซึ่งสร้างความรู้สึกหวาดระแวงและหวั่นกลัว ขาดผู้ให้ความรักและการอุ้มชู เด็กประเภทนี้มักจะมีพฤติกรรมโดดเดี่ยว พัฒนาการทางร่างกายและจิตใจได้รับการกระทบกระเทือนอย่างหนักจนถึงขั้นมีความผิดปกติทางจิตใจได้ในที่สุด

และบุคคลที่มีครอบครัวประเภทบ้านแตก (broken home) หมายถึง บิดาและหรือมารดาต้องจากเด็กไป จะด้วยการหย่าร้าง หรือความตายก็ตาม เด็กย่อมได้รับความกระทบกระเทือนอย่างหนัก จากความสูญเสียบุคคลที่ตนรักและยึดถือเป็นเจ้าของ   ยิ่งถ้าฝ่ายที่ยังอยู่กับเด็กแสดงความรู้สึกหงุดหงิด ก้าวร้าวจะเกิดผลร้ายแก่จิตใจเด็กอย่างมากและเป็นแผลใจจนกระทั่งมาแสดงออกตอนวัยรุ่น


ที่มา :  Supawan    :Social Science 




Create Date : 05 มีนาคม 2553
Last Update : 5 มีนาคม 2553 16:26:41 น. 0 comments
Counter : 4536 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

The wings สู้เพื่อฝัน
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]




[Add The wings สู้เพื่อฝัน's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com