Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2551
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
5 สิงหาคม 2551
 
All Blogs
 

แอล-คาร์นิทีน (L-carnitine)

L-Carnitine ... แอลคาร์นิทีน

แอล-คาร์นิทีน (L-carnitine)

แอล-คาร์นิทีน เป็นชื่อของสารตัวหนึ่ง ที่ถูกสร้างขึ้นในร่างกายของเรานี่เองโดยสร้างขึ้นมาจากกรดอะมิโนสองตัวคือ ไลซีน (lysine) และเมไทโอนิน(methionine) ซึ่งแอล-คาร์นิทีนในร่างกายของคนเราถูกสร้างขึ้นไปใช้ในหน้าที่ต่าง ๆ หลายอย่าง ที่สามารถพูดในภาพรวมได้ว่า แอล-คาร์นิทีน ช่วยให้ร่างกายเปลี่ยนกรดไขมันไปเป็นพลังงานนั่นเอง ซึ่งพลังงานที่ได้มานี้ส่วนใหญ่ก็ถูกใช้สำหรับการทำงานของกล้ามเนื้อทั่วร่างกายเรานั่นเอง จากหน้าที่การทำงานพื้นฐานของสารชนิดนี้ทำให้สื่อโฆษณานำมาใช้เป็นประเด็นหลักในการสร้างโฆษณาให้เห็นว่าเมื่อกินเข้าไปแล้วคุณจะอยู่นิ่งไม่ได้ รู้สึกคึกคัก คล้ายกับว่าร่างกายมีพลังงานมากเกิน

แอล-คาร์นิทีน ถูกสร้างขึ้นภายในตับและไตและนำไปเก็บไว้ที่กล้ามเนื้อลายตัวอย่างเช่น กล้ามเนื้อตามแขน ขา ของเรานั่นเอง นอกจากนี้ยังถูกลำเลียงไปที่กล้ามเนื้อหัวใจ สมองและสเปิร์ม ซึ่งในส่วนของสเปิร์มนั้นจะทำให้เคลื่อนที่ได้อย่างเหมาะสม เพราะแอล-คาร์นิทีนจะไปเร่งให้ไมโทคอนเดรียเปลี่ยนไขมันมาเป็นพลังงาน สำหรับในอาหารจะพบสารแอล-คาร์นิทีนได้จากอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ เนื้อแดง นม ผลิตภัณฑ์จากนม ผลไม้ ได้แก่ พวกผลอะโวกาโด(Avocado) ธัญพืช ผักใบเขียว ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่วหมัก (tempeh)

คนที่รับประทานอาหารมังสะวิรัติอาจจะเกิดการขาดแอล-คาร์นิทีนได้ในบางครั้ง เนื่องจากแอล-คาร์นิทีน พบได้ในเนื้อสัตว์ นมและถั่วหมักหรือในผู้ป่วยบางรายที่มีปัญหาที่เกี่ยวกับการดูดซึมของระบบย่อยอาหาร รวมไปถึงในกรณีที่มีผู้ป่วยขาดแอล-คาร์นิทีน (ซึ่งพบน้อยมาก) ที่อาจเกิดจากความผิดปกติของยีนหรือตับ ไต หรือกินอาหารที่มีกรดอะมิโนไลซีนและเมไทโอนีนน้อย ก็จะมีอาการอ่อนล้าของกล้ามเนื้อ เจ็บหน้าอกเจ็บกล้ามเนื้อ แขนขาอ่อนแรง ความดันเลือดต่ำและอาจมีอาการมึนงงสับสนร่วมด้วย เป็นต้น

คาร์นิทีนที่นำมาใช้นั้นมีหลายลักษณะ เช่นผลิตภัณฑ์บรรจุเม็ดและสารน้ำ เป็นต้น โดยนำมาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมที่ออกมาใช้และรู้จักกันอย่างแพร่หลายนั้นมีอยู่สามรูปแบบ

- รูปแบบแรก คือ แอล-คาร์นิทีน(LC) เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายและมีราคาถูกที่สุด
- รูปแบบที่สอง คือ แอล-อะซิทิลคาร์นิทีน [L-acetylcarnitine(LAC)] เป็นเพียงรูปแบบเดียวที่นำมาใช้ในการรักษาโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer) และโรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับความผิดปกติทางสมอง
- รูปแบบสุดท้าย คือ แอล-โพรพิโอนิลคาร์นิทีน[L-propionylcarnitine(LPC)] ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษาอาการเจ็บหน้าอกและโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจและใช้ได้ผลดีกับโรคที่เกี่ยวกับเส้นเลือดตามแขนขาอีกด้วย (peripheral vascular disease-PVD) ถ้าเรากินเข้าไปการดูดซึมของแอล-คาร์นิทีนจะเกิดขึ้นในลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ ส่วนแพทย์สามารถให้แอล-คาร์นิทีนกับผู้ป่วยได้ทั้งทางเส้นเลือดและโดยการกิน

สำหรับแอล-คาร์นิทีนนั้นมีข้อควรรู้ดังนี้ คือ1.คาร์นิทีนทำให้แก่ช้าลง ในเหตุผลแรกนี้ก็ชวนให้เราหลงใหลใคร่อยากกินคาร์นิทีนกันแล้ว ที่คาร์นิทีนทำให้แก่ช้าลงก็เพราะเหตุผลที่ว่าเซลล์ในร่างกายทุก ๆเซลล์ไม่ว่าจะเป็นเซลล์สมอง เซลล์จากระบบภูมิคุ้มกัน เซลล์จากหัวใจหรือเซลล์จากที่อื่น ๆ ของร่างกายทั้งหมดจะทำงานได้ดีก็ต่อเมื่อได้รับพลังงานเพียงพอและเหมาะสมกับความต้องการของเซลล์แต่ละชนิดและคาร์นิทีนนี่เองทำให้เซลล์มีอายุยืนนานขึ้น

2. คาร์นิทีนทำให้ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์(triglycerides)อยู่ในระดับต่ำและช่วยเพิ่มระดับคอเรสเตอรอลที่มีประโยชน์ (HDL-คอเรสเตอรอล) ในเลือด

3. คาร์นีทีนช่วยป้องกันโรคหัวใจโดยมีผลทำให้สุขภาพโดยรวมของหัวใจดีขึ้น และช่วยป้องกันการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวด้วย (1/3 ของสาเหตุที่ทำให้คนเป็นโรคหัวใจตาย)

4. คาร์นีทีน ช่วยให้น้ำหนักลดโดยเฉพาะการใช้ร่วมกับวิธีการที่เราลดอาหารจำพวกแป้งลงในอาหารแต่ละมื้อ

5. คาร์นีทีน ช่วยเพิ่มระดับพลังงานของร่างกายอย่างเป็นธรรมชาติค่อยเป็นค่อยไป โดยไม่ทำให้ร่างกายได้รับบาดเจ็บ หรือเกิดความเสียหายใด ๆ กับร่างกายเหมือนกับที่พบในสารสกัดจากพืชบางชนิด

6. คาร์นิทีนช่วยให้ความสามารถในการออกกำลังกายเพิ่มขึ้น มีความทนทานมากขึ้นและป้องกันเนื้อเยื่อไม่ให้เกิดความเสียหายอันเนื่องมาจากปริมาณออกซิเจนในเซลล์ไม่เพียงพอ

7. คาร์นิทีนและ อะซีทีล-แอล-คาร์นีทีน(Acetyl-L-carnitine) ทำให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น

8. อะซีทีล-แอล-คาร์นีทีนช่วยลดความเสียหายของเซลล์ประสาทอันเนื่องมาจากความเครียดและอาจมีส่วนช่วยในการป้องกันโรคอัลไซเมอร์ แต่ได้ผลเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอายุน้อย ทำให้อาการของโรคไม่เป็นไปมากกว่านี้

9. อะซีทีล-แอล-คาร์นีทีน มีผลต่อสุขภาพจิตในทางบวกและลดภาวะความเครียด

10. คาร์นิทีนช่วยในการทำงานของตับ ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมของคนเรา

แต่การใช้แอล-คาร์นิทีนมีข้อควรระวัง คือ สำหรับคนที่จะซื้อผลิตภัณฑ์แอล-คาร์นิทีนมาใช้ควรต้องระวังเพราะอาจมีผลข้างเคียงต่าง ๆ เกิดขึ้นกับร่างกายได้และอาจจะเข้าทำปฏิกิริยากับยาอื่น ๆ ที่กินร่วมกัน ดังนั้นในการใช้แต่ละครั้งควรอยู่ในความควบคุมดูแลของแพทย์จะปลอดภัยกว่าและข้อควรจำให้ขึ้นใจก็คือสารทุกอย่างมีทั้งประโยชน์และโทษในตัวเองขึ้นกับปริมาณและช่วงจังหวะเวลาของการใช้ ถึงแม้ว่าแอล-คาร์นิทีน จะไม่ปรากฏผลข้างเคียงใด ๆ ที่เด่นชัดมากนัก แต่ก็มีงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าถ้ากินเข้าไปมากขนาด 5 กรัมต่อวัน หรือมากกว่าอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียนได้ ส่วนอาการข้างเคียงอื่น ๆ ที่อาจพบได้ เช่น มีความอยากอาหารเพิ่มขึ้น มีกลิ่นตัวและเกิดอาการผื่นแดง ในนักกีฬาหรือคนที่กินแอล-คาร์นิทีนเสริมสำหรับการเล่นกีฬา เพื่อช่วยในการสลายไขมันและช่วยทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อดีขึ้น ก็ควรต้องหยุดใช้เพื่อให้กล้ามเนื้อได้พักบ้างอย่างน้อยเดือนละ 1 อาทิตย์ คือไม่ควรใช้อย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน สำหรับคนที่มีอาการแพ้ต่อ อาหารโปรตีน เช่น ไข่ นมหรือข้าวสาลีไม่ควรกินผลิตภัณฑ์ที่เสริม แอล-คาร์นิทีนเป็นอันขาด รวมถึงคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับตับและไต เด็กที่มีอายุยังไม่ถึง 2 ขวบและสตรีมีครรภ์ก็ควรหลีกเลี่ยงการใช้ ถ้าจำเป็นก็ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์

--------------------------------------------------------------

แอล-คาร์นิทีน กับบทบาทเพื่อการลดน้ำหนัก

แอลคาร์นิทีน(L-Carnitine) เป็นชื่อกรดอะมิโนชนิดหนึ่งที่ผลิตได้ที่ตับ โดยมีการสังเคราะห์จาก กรดอะมิโน 2 ชนิดคือ Lysine และ Methionine พร้อมกับอาศัยตัวเร่งให้เกิดการสังเคราะห์ ได้แก่ Niacin วิตามิน B6 C และธาตุเหล็ก โดยปกติจะพบในสัตว์เนื้อแดงชนิดต่างๆ โดยเฉพาะในส่วนกล้ามเนื้อลายจะมากเป็นพิเศษ

ซึ่งในความเป็นจริงนั้น หน้าที่หลักของ Carnitine จะช่วยลำเลียงโมเลกุลไขมันเล็กๆ เข้าไปใช้ใน เซลล์ต่างๆ ซึ่งในจุดนี้เองที่จะทำให้เกิดการนำไขมันไปเปลี่ยนเป็นพลังงาน ดังนั้นหากร่างกายขาดสาร Carnitine หรือมีไม่เพียงพอที่จะเป็นตัวพาเม็ดไขมันไปเผาผลาญแล้วละก็ ปัญหาสุขภาพอันเนื่องมาจากไขมันสะสมก็จะเป็นเรื่องตามมาที่สามารถส่งผลเสียต่อร่างกายของคุณอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ความอ้วน และการสะสมของไขมันตามหลอดเลือด ซึ่งอาจจะส่งผลต่อความยืดหยุ่นของหลอดเลือด และ นำมาซึ่งปัญหาไขมันในเลือดสูงและมีความดันโลหิตสูงตามมาได้ นอกจากนี้ ยังอาจจะมีอาการปวดเมื่อย
กล้ามเนื้อแขนขา อ่อนเพลีย ซึมและเหนื่อยง่าย

มีงานวิจัยมากมายที่ยืนยันถึงประโยชน์ของการใช้ L-carnitine ในวงการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ ในผู้ป่วยที่มีปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรงมาก จนไม่สามารถตั้งศีรษะให้ตรงได้ ซึ่งหลังจากมีการใช้ L-carnitine ขนาด 2 กรัม/วัน อาการดังกล่าวก็หายไป หรือการใช้ในนักกีฬา ก็มีการยืนยันว่าสามารถเพิ่มแรงสำหรับการออกกำลังกายหนักๆ เช่น วิ่งมาราธอน รวมทั้งมีการใช้ L-carnitine เพื่อช่วยให้การ
ทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจดีขึ้น

ในส่วนบทบาทในการลดน้ำหนักและลดไขมันสะสม ดูเหมือนว่า L-carnitine น่าจะเป็นคำตอบที่ดี ของคุณๆ ที่ประสงค์จะลดน้ำหนักด้วยสารธรรมชาติ เนื่องจากมีการทดลองนำเอาเซลล์ไขมัน (Adipose Tissue) ของคนอ้วนมาวิเคราะห์ พบว่าในเนื้อเยื่อดังกล่าวแทบจะไม่มี Carnitine อยู่เหลือ เลย ดังนั้นจากความสัมพันธ์นี้เอง ทีมนักวิจัยจึงตั้งสมมติฐานว่า กลไกการลำเลียงไขมันเพื่อไปใช้ หาก ถูกขัดขวางด้วยวิธีใดก็ตาม ก็จะทำให้เกิดการสะสมของไขมันได้ แต่หากให้สารชนิดนี้เพิ่มเข้าไป ก็จะ
ส่งผลให้อัตราการเผาผลาญของไขมันสะสมมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยอีกหลายชิ้นที่สนับสนุนผล การลดไขมันสะสมของคนอ้วน โดยการศึกษาดังกล่าว นักวิจัยได้ให้แบ่งวัยรุ่นที่อ้วนเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก ให้รับประทาน L-carnitine ขนาด 2 g/วัน อีกกลุ่มได้ยาหลอก (Placebo) โดยทั้งสองกลุ่มถูกจำกัด อาหารให้มีแคลอรี่เท่าๆกัน และมีการออกกำลังกายขนาดปานกลางเหมือนกัน หลังจากนั้น 3 เดือน ต่อมาจึงทำการวัดน้ำหนักตัวอีกครั้ง พบว่ากลุ่มที่ได้รับ L-carnitine น้ำหนักตัวลดลงเฉลี่ย 11 ปอนด์ ขณะที่อีกกลุ่มลดลงเฉลี่ยไม่ถึง 2 ปอนด์ และปริมาณไขมันในกระแสเลือดก็ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

ดังนั้น L-carnitine ซึ่งแม้ว่าจะพบมากในสัตว์เนื้อแดงก็ตาม แต่ปริมาณที่ได้จากการทานใน 1 วัน จะให้กรดอะมิโนดังกล่าวเพียง 50-200 mg.เท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอต่อการเปลี่ยนแปลงไขมันสะสมไปเป็นพลังงาน ดังนั้นผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำว่าหากคุณต้องการลดน้ำหนักด้วยสารธรรมชาติ L-carnitine ขนาด 500-1,000 mg./วัน (1 cap 500 mg. หรือ แบบชนิดน้ำ 1000 mg/30 ml. สำหรับข้อดีในเรื่องการออกฤทธิ์ที่รวดเร็วขึ้น) น่าจะเป็นปริมาณที่เหมาะสมสำหรับการลดน้ำหนัก และหากคุณมีดัชนีมวลร่างกาย (BMI) มากกว่า 25 ปริมาณการใช้จะสูงขึ้นตามลำดับ ซึ่งมีงานวิจัยที่ยืนยันความปลอดภัยจาก การใช้ว่า L-carnitine ยังไม่มีผลทางลบแม้จะรับประทานในขนาดสูงถึง 4 g./ วันก็ตาม

ขอบคุณข้อมูลจากบลอคคุณ Piterek




 

Create Date : 05 สิงหาคม 2551
1 comments
Last Update : 5 สิงหาคม 2551 12:08:29 น.
Counter : 1025 Pageviews.

 

สุดยอด
ต้องหามากิน อยากให้ร่างกาย Super Lean มานานแล้ว

 

โดย: โก๋ IP: 124.157.230.202 6 สิงหาคม 2551 7:26:12 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


murmur072
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ความรักที่แท้จริงไม่ใช่ การรักชอบบุคคลที่ความสมบูรณ์แบบยิ่งกว่าสมบูรณ์แบบ แต่เป็นการรักและชื่นชมบุคคลที่ไม่สมบูรณ์แบบให้สมบูรณ์แบบ
I am not the best
But I am doing my best


คติการทำงาน:
"บริการให้เต็มที่ เสมือนว่าลูกค้าจะไม่มีโอกาสได้กลับมาอีก"
5555555....

It took me nearly a year to get here.
It wasn't so hard to cross that street after all,
it all depends on who's waiting for you on the other side.

" Keep up your spirit, don't lose your heart! "
Friends' blogs
[Add murmur072's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.