Group Blog
กันยายน 2558

 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
พระคาถาชินบัญชร ๓

พระคาถาชินบัญชร ๓

๑๑. ขันธะโมระปะริตตัญจะอาฏานาฏิยะสุตตะกัง อากาเสฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา














๑๑. พระขันธปริตรพระโมรปริตร และ พระอาฏานาฏิยสูตร เป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคาอยู่บนนภากาศ














ข้อกรรมฐานในบทที่ ๑๑.

(๑๑..ตั้งจิตระลึกถึงคุณของพระสูตร และพระปริตรข้างต้นนี้ เพื่อประโยชน์สุขแก่ผู้สวดปราศจากอุปัททวะ ภัยอันตรายใดๆทั้งปวง ซึ่งความในพระสูตรและ พระปริตรทั้งหลายเหล่านี้คือ มี พุทธานุสสติธัมมานุสสติ สังฆานุสสติเป็นที่ตั้งด้วยจิตเคารพศรัทธา)

(๑๑..แล้วตั้งจิตระลึกเจริญเมตตาจิตแผ่ไพศาลไปไกล
โดยไม่มีประมาณอันไม่มีกิเลส ไม่มีกาม ราคะโมหะ โทสะ
เราก็จักระลึกเจริญจิตปฏิบัติตามพระสูตรและ พระปริตร
ทั้งหลายเหล่านั้นขอความสวัสดีจงมีแก่เราและ ท่านทั้งหลายเหล่านั้น)


หมายเหตุข้อกรรมฐานในบทที่ ๑๑.

-กล่าวโดยย่อคือ ตั้งจิตระลึกเจริญปฏิบัติใน พุทธานุสสติธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ แล้วเจริญเมตตาจิตแผ่ไปไม่ว่าคนที่เรารัก คนที่เราชัง คนที่ผูกจองเวรพยาบาทเรา หรือคนที่เรา เคยผูกจองเวรพายาบาทเขา อีกทั้งคนที่รู้จักและ คนที่ไม่รู้จัก ผีสางสัมภเวสีทั้งหลาย มาร พรหม สัตว์ทั้งหลายมนุษย์ และ เทวดาทั้งหลาย

ระลึกถึงพระรัตนตรัยเป็นอารมณ์
เจริญพรหมวิหาร๔ กรรมฐาน





๑๒. ชินนานาวะระสังยุตตา สัตตะปาการะลังกะตา วาตะปิตตาทิสัญชาตาพาหิรัชฌัตตุปัททะวา





๑๒อนึ่งพระชินเจ้าทั้งหลายนอกที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ ผู้ประกอบพร้อมด้วยกำลังนานาชนิดมีศีลาทิคุณ อันมั่นคงคือ สัตตะปราการ เป็นอาภรณ์ มาตั้งล้อมเป็นกำแพงคุ้มครองเจ็ดชั้น




ข้อกรรมฐานในบทที่ ๑๒.

ตั้งจิตระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็น"พุทธานุสสติกรรมฐานอธิษฐานเป็นคุณคุ้มครองขจัดอกุศลธรรมอันลามกจัญไรภัยอันตรายทั้งปวง 


หมายเหตุข้อกรรมฐานในบทที่ ๑๒.

-----



๑๓. อะเสสาวินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะเตชะสา วะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทาสัมพุทธะปัญชะเร







๑๓. ด้วยเดชานุภาพแห่งพระอนันตชินเจ้าไม่ว่าจะทำกิจการใดๆ เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเข้าอาศัยอยู่ในพระบัญชร แวดวงกรงล้อมแห่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าขอโรคอุปัทวะทุกข์ทั้งภายนอกและ ภายใน อันเกิดแต่โรคร้าย คือ โรคลม และ โรคดีเป็นต้น เป็นสมุฏฐาน จงกำจัดให้พินาศไปอย่าได้เหลือ



ข้อกรรมฐานในบทที่ ๑๓.

ตั้งจิตระลึกถึง คุณของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็น "พุทธานุสสติกรรมฐานอธิษฐานเป็นคุณคุ้มครองขจัดอกุศลธรรมอันลามกจัญไร ภัยอันตรายทั้งปวง ด้วยเดชแห่งบุญนั้นจงขจัดเสียซึ่งโรคภัยพยาธิใดๆทั้งปวงอันเป็นฆ่าศึกแห่งการดำรงชีพโดยความปกติสุข และ การเจริญปฏิบัติในทางธรรมให้ถึงธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนและพระนิพพาน


หมายเหตุข้อกรรมฐานในบทที่ ๑๓.

-----







๑๔
ชินะปัญชะระมัชฌัมหิวิหะรันตัง มะฮีตะเล สะทาปาเลนตุ มัง สัพเพเต มะหาปุริสาสะภา





























๑๔. ขอพระมหาบุรุษผู้ทรงพระคุณอันล้ำเลิศทั้งปวงนั้น จงอภิบาลข้าพระพุทธเจ้าผู้อยู่ในภาคพื้นท่ามกลางพระชินบัญชรข้าพระพุทธเจ้าได้รับการคุ้มครองปกปักรักษาภายในเป็นอันดีฉะนี้แล


























ข้อกรรมฐานในบทที่ ๑๔.

(๑๔..ตั้งจิตระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย(ทั้ง ๒๘ พระองค์) เป็นพุทธานุสสติกรรมฐาน)พุทธานุสสติ ด้วยเดชแห่งบุญนั้นขอพุทธนุภาพของพระพุทธเจ้าจงได้ปกปักคุ้มครองรักษาเรา ปัดเป่าภัยร้ายทั้งปวงสิ้นไป คุ้มครองรักษาแลขจัดความเร่าร้อนกายใจภายในทั้งปวงสิ้นไป

(๑๔..ตั้งจิตระลึกถึงคุณของท่านท้าวมหาพรหมชินนะ
ที่สงเคราะห์ด้วยในพระคาถานี้แล้วระลึกถึงว่า ท่านได้เจริญปฏิบัติในศรัทธา ศีล ทาน จาคะ กุศลธรรมอันดีใดๆมาแล้วและ บัดนี้เราก็ได้เจริญปฏิบัติใน ศรัทธา ศีล ทาน จาคะกุศลธรรมอันดีใดๆดังนี้แล้ว เป็นเทวตานุสสติกรรมฐานจาคานุสสติ และ เทวตานุสสติ

(๑๔..ตั้งจิตระลึกถึงคุณของพระคาถาชินบัญชรนี้
ที่บัญญัติไว้เพื่อดำเนินไปในอนุสสติกรรมฐาน
อันประเสริฐนี้เพื่อเป็นแนวทางการพ้นจากกองทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง
เป็นธัมมานุสติ)



หมายเหตุข้อกรรมฐานในบทที่ ๑๔.

(ด้วยอำนาจแห่ง อนุสสติ คือการระลึกถึง
พุทธานุสสติ (พุทธคุณ)
ธัมมานุสสติ (ธรรมคุณ)
สังฆานุสสติ (สังฆคุณ)
นี้จะทำให้เรามีจิตตั้งมั่นชอบสงบรำงับจาก กามราคะ โมหะพยาบาท
แคล้วคลาดจากภัยอันตรายทั้งปวงเพราะพระรัตนตรัยนั้น
ดับแล้วซึ่งกิเลส กาม ราคะ โมหะ โทสะตัณหา
อุปาทานทั้งหลายทั้งปวงเมื่อเราได้ระลึกถึงแล้ว
พร้อมกับระลึกใน สีลานุสสติ (ระลึกถึงศีลที่เราำได้ทำมาบริบูรณ์ดีแล้ว)
ได้เจริญในเมตตาจิตอันสงบรำงับจากความผูกจองเวร
ผูกพยาบาทสงบ รำงับจากกาม ราคะ โทสะโมหะ
แผ่ไพศาลไปถึงหมู่สัตว์ทั้งหลาย
สัมภเวสีมาร พรหมมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย
ผลย่อมเกื้อกูลเอื้อแก่ประโยชน์สุขเป็นอันดี
ซึ่งปราศจากโทษภัยทั้งปวง(เป็น เมตตาทาน)
ระลึกใน จาคานุสสติ (ระลึกถึงทานอันบริสุทธิ์ ที่เราได้ทำมาดีแล้ว)
ระลึกใน เทวตานุสสติ (ระลึกในกุศลธรรมอันดีที่เทวดาทั้งหลาย
นั้นได้กระทำ เป็นเหตุให้จุติในวรรค์ซึ่งกุศลธรรมอันนั้นเราก็ได้
ทำมาบริบูรณ์ดีแล้วคือมี ศรัทธา ศีล พรหมวิหาร๔ทาน เป็นต้น)

เทวตานุสสติ (ระลึกในกุศลธรรมอันดีที่เทวดาทั้งหลายนั้นได้กระทำเป็นเหตุให้จุติในวรรค์ซึ่งกุศลธรรมอันนั้นเราก็ได้ทำมาบริบูรณ์ดีแล้ว คือมี ศรัทธา ศีล พรหมวิหาร๔ ทานเป็นต้น)



๑๕.
อิจเจวะมันโตสุคุตโต สุรักโข ชินานุภาเวนะชิตุปัททะโว ธัมมานุภาเวนะชิตาริสังโฆ สังฆานุภาเวนะชิตันตะราโย สัทธัมมานุภาวะปาลิโตจะรามิ ชินะปัญชะเรติ




























๑๕ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการอภิบาล ด้วยคุณานุภาพแห่งสัทธรรม จึงชนะเสียได้ซึ่งอุปัทวันตรายใดๆ
- ด้วยอานุภาพแห่งพระชินนะพุทธเจ้าชนะข้าศึกศัตรู
- ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรมชนะอันตรายทั้งปวง
- ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ขอข้าพระพุทธเจ้าจงได้ปฏิบัติและรักษาดำเนินไป โดยสวัสดีเป็นนิจนิรันดร เทอญ ฯ





















ข้อกรรมฐานในบทที่ ๑๕.

ระลึกถึงคุณแห่ง พระรัตนตรัยดังนี้

๑. ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า ที่ชนะมาร ด้วยเดชแห่งบุญนั้นขอเดชะจงเป็นเหตุนำมาซึ่งเดชานุภาพอันยิ่งใหญ่แก่เรา

๒. ระลึกถึงคุณพระธรรม พระสูตร พระปริตรทั้งปวงซึ่งเป็นธรรมอันสูงชนะซึ่งภัยอันตรายทั้งปวง และ เป็นจุกษุให้ถึงซึ่งพระนิพพาน ด้วยเดชแห่งบุญนั้น ขอเดชะจงเป็นเหตุนำมาซึ่งความสุขสงบร่มเย็นเบากายสบายใจไม่เร่าร้อนทุกข์ยากและสติปัญญาอันยิ่งใหญ่แก่เรา

๓. ระลึกถึงคุณพระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติ ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตรงตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน ปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ เป็นผู้ควรแก่เขากราบไหว้บูชาต้อนรับ ควรทำทักษิณาทาน คือ พระอรหันต์ทั้งหลาย พระอริยะสงฆ์ พระอริยะสาวกทั้งหลาย ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ด้วยเดชแห่งบุญนั้น ขอเดชะจงเป็นเหตุนำมาซึ่งความปฏิบัติดีมีศีลสังวร รักษาอินทรีย์ให้บริสุทธิ์ มีความสาัสดี เจริญขึ้นซึ่งโภคทรพย์อันยิ่งใหญ่ทั้งปวง

ตราบสิ้นกาลนานเทอญ...


หมายเหตุข้อกรรมฐานในบทที่ ๑๕.

อนุสสติ ๓

































Create Date : 10 กันยายน 2558
Last Update : 10 กันยายน 2558 16:20:50 น.
Counter : 1484 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 1075032
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]