ชนะคนอื่นเป็นร้อย ยังไม่ยากเท่าชนะตนแค่คนเดียว...
มัลติเพิล สเคลอโรซีส (Multiple Sclerosis) หรือ เอ็มเอส (MS) คืออะไร

    มัลติเพิล สเคลอโรซีส (Multiple Sclerosis) หรือ เอ็มเอส (MS) เป็นโรคเรื้อรังของระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ร่างกายอ่อนแอลง พบในคนหนุ่มสาว เป็นโรคที่เกิดขึ้นโดยไม่อาจคาดการณ์ได้ ผู้ป่วยโรคนี้จะรู้สึกว่า ไม่สามารถควบคุมส่วนต่างๆของร่างกายได้ เนื่องจากการนำสัญญาณของเส้นประสาทจากสมองส่วนต่างๆของร่างกายได้เสียไป ซึ่งมีสาเหตุจากปลอกหุ้มเส้นประสาท (myelin) ภายในระบบประสาทส่วนกลางได้รับความเสียหาย หรือถูกทำลาย ความรุนแรงของโรคเอ็มเอสขึ้นกับระดับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสมองหรือไข สันหลัง แม้ว่าเซลล์ของระบบประสาทส่วนกลางจะซ่อมแซมและทดแทนความเสียหายของปลอกหุ้ม ประสาทได้บ้างหลังจากเกิดอาการของโรคเอ็มเอสแต่ละครั้ง แต่ก็มีขีดจำกัดและยังคงเหลือร่องรอยแผลเป็น (scars) ไว้ตรงบริเวณที่ปลอกหุ้มประสาทนั้น ทำให้ประสิทธิภาพในการนำสัญญาณของเส้นประสาทลดลง ยิ่งจำนวนแผลเป็นเพิ่มขึ้นจะทำให้อาการของโรคเกิดแบบถาวรยิ่งขึ้น เมื่อมีการสูญเสียเซลล์ถึงระดับหนึ่งสมองจะไม่สามารถชดเชยได้ ทำให้ผู้ป่วยโรคเอ็มเอสมีการเคลื่อนไหวและการประสานงานของร่างกายเสียไป
    ปัจจุบันยังไม่มีวิธีใดในการรักษาโรคเอ็มเอสให้หายขาดได้ มีเพียงชะลอการรุดหน้าของโรค และทุเลาอาการต่างๆที่เกิดขึ้น
    ระยะเวลาการรุดหน้าของการเป็นโรคเอ็มเอสนั้นไม่แน่นอน ขึ้นกับแต่ละคน หรือแม้แต่ในคนเดียวกันก็ไม่อาจจะคาดการณ์ได้

ใครบ้างที่เป็นโรคเอ็มเอส  
    เอ็มเอสไม่ใช่โรคติดต่อ แต่เป็นโรคของระบบประสาทที่พบในคนหนุ่มสาว ประชากรทั่วโลกประมาณ 1.2 ล้านคนที่ป่วยเป็นโรคนี้ โดยเป็นประชากรในทวีปยุโรปประมาณ 450000 คน และทวีปอเมริกาเหนือ 400000 คน มักเริ่มมีอาการเมื่ออายุ 31 -33 ปี พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 2 เท่า พบได้ยากในเด็ก หรือคนชรา
แม้ว่าเอ็มเอสไม่ถือว่าเป็นโรคทางพันธุกรรม แต่อุบัติการณ์ของโรคนี้พบสูงขึ้นในครอบครัวเดียวกัน โดยเฉพาะฝาแฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกัน จึงอาจเป็นไปได้ว่าในบางคน ปัจจัยทางพันธุกรรมอาจมีส่วนเกี่ยวข้อง



สาเหตุของเอ็มเอส  
    ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของเอ็มเอส แม้จะมีการนำเอาทฤษฎีต่างๆมาอธิบายก็ตาม เอ็มเอสเป็นโรคของภูมิต้านตนเอง (autoimmune disease) เกิดขึ้นเนื่องจากร่างกายไม่อาจแยกแยะถึงความแตกต่างระหว่างเซลล์ร่างกายกับ สิ่งแปลกปลอม ทำให้เกิดการทำลายเซลล์หรือเนื้อเยื่อของตนเองขึ้น ในผู้ป่วยโรคเอ็มเอส เม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆ (ที – ลิมโฟไซต์ , บี – ลิมโฟไซต์ และแมคโครฟาจ ) จะไปทำลายปลอกหุ้มประสาทรวมทั้งเส้นประสาทด้วย
นักวิจัยบางคนเชื่อว่าโรคภูมิต้านตนเองชนิดนี้อาจเกิดเนื่องจากเชื้อไวรัส ชนิดใดชนิดหนึ่งที่ก่อโรคได้ทั่วไป เช่น เชื้อหัด



อาการของโรค มัลติเพิล สเคลอโรซีส  
    อาการมีตั้งแต่ระดับอ่อนจนถึงระดับรุนแรง ในแต่ละคนจะมีอาการไม่เหมือนกัน แม้แต่คนคนเดียวกันอาจมีอาการต่างกันในแต่ละช่วงเวลา อาการของโรคอาจหายเองได้ หรือคงอยู่ตลอดไป อาการของโรคมีหลายอย่าง ผู้ป่วยส่วนมากมีอาการเกิดขึ้นมากกว่า 1 อย่าง แต่ยากที่จะเกิดอาการครบทุกอย่าง ระยะเวลาที่โรคกลับเป็นซ้ำ หรือการกำเริบค่อนข้างแน่นอน โดยอาการค่อยๆเกิดขึ้นทีละน้อย ใช้เวลาหายหลายวัน และอาการยังคงอยู่เป็นเวลาประมาณ 3-4 สัปดาห์ จากนั้นจึงค่อยๆทุเลาลง โดยใช้เวลาประมาณ 1 เดือน
อาการของโรคเอ็มเอสขึ้นกับบริเวณที่เกิดรอยโรคขึ้น เช่น ถ้าเกิดที่เส้นประสาทตาอาจจะรบกวนการมองเห็น ถ้าเกิดที่ไขสันหลังและสมอง หรือก้านสมอง อาจทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ การประสานงานของกล้ามเนื้อและการทรงตัวเสียไป รู้สึกหัวหมุน อ่อนแรง เดินเซ กล้ามเนื้อเกร็ง เป็นเหน็บ หรือชาตามแขนขา
    อาการที่พบบ่อยในระยะแรกของโรคมีดังนี้  
    - มีความผิดปกติที่บริเวณแขนขา เช่น เป็นเหน็บชา คัน หรือปวด
    - เดินหรือทรงตัวผิดปกติ เช่น หกล้มง่าย เดินหรือขึ้นบันไดลำบาก
    - สูญเสียการมองเห็นของตาข้างใดข้างหนึ่ง
    - มองเห็นภาพซ้อน
    - แขนหรือขาข้างใดข้างหนึ่งไม่มีแรง
    อาการที่พบบ่อยขึ้นในระยะต่อมา มีดังนี้  
    - สูญเสียการรับความรู้สึก (ชา)
    - ไม่มีแรง
    - อ่อนเปลี้ย
    - การขับถ่ายปัสสาวะผิดปกติ
    - มีปัญหาทางเพศสัมพันธ์
    - สูญเสียการเคลื่อนไหว และการประสานงานของร่างกาย
    - กล้ามเนื้อเกร็ง
    - การทำงานของสมองที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความเข้าในเสียไป
    - นอกจากนี้ อาการปวดและซึมเศร้ามักเกิดร่วมกับเอ็มเอสด้วย

    โรคเอ็มเอสรุดหน้ารวดเร็วเพียงใด  
     ระยะเวลาของโรคเอ็มเอสไม่อาจจะคาดการณ์ได้ ทั้งนี้เนื่องจากไม่อาจบอกได้ถึงธรรมชาติของโรค ความรุนแรงที่จะเกิดขึ้น ตลอดจนช่วงเวลาที่โรคจะรุดหน้าไป อย่างไรก็ตาม พอที่จะจำแนกโรคตามรูปแบบและความถี่ของอาการได้ดังนี้
    1.โรคเอ็มเอสชนิดที่เป็นๆหาย ๆ (Relapsing – Remitting MS หรือ RRMS)
ผู้ป่วย เอ็มเอส ประมาณ 80-90 % ที่เริ่มเป็นจะมีอาการแบบเป็นๆ หายๆจากนั้นอาการของโรคในผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเข้าสู่ระยะเอ็มเอสแบบที่อาการ ค่อยรุดหน้าในภายหลัง (SPMS) และหลังจาก 10 ปี มีผู้ป่วยประมาณ 50 % ที่อาการของโรคเข้าสู่ระยะเอ็มเอสแบบที่อาการค่อยรุดหน้าในภายหลัง (SPMS)
     2.โรคเอ็มเอสแบบที่อาการค่อยรุดหน้าในภายหลัง (Secondary Progressive MS หรือ SPMS)
จะเกิดอาการทางระบบประสาทมากขึ้น โดยอาจมีหรือไม่มีอาการของโรคกลับมาเป็นซ้ำให้เห็นชัดเจนเหมือนที่เคยพบตอน ที่เป็นเอ็มเอสแบบที่เป็นๆหายๆ (RRMS)
    3.โรคเอ็มเอสแบบที่มีอาการค่อยๆรุดหน้าตั้งแต่เริ่ม (Primary Progressive MS หรือ PPMS)
อาการของโรคจะดำเนินไปเรื่อยๆ โดยไม่มีอาการของโรคกลับมาเป็นซ้ำ นำมาก่อนประมาณ 10 % ของผู้ป่วยโรคเอ็มเอสจะเป็นแบบนี้
    4.โรคเอ็มเอสระยะเริ่มแรก (Benign MS)
การตรวจวินิจฉัยโรคในระยะนี้ ทำแบบย้อนหลังในผู้ที่มีคะแนน EDSS (Expanded Disability Status Scale) น้อยกว่าหรือเท่ากับ 3 ซึ่งอาการของโรคครั้งแรกมักจะห่างจากอาการครั้งต่อไปนานถึง 15 ปี และกลายเป็นโรคเอ็มเอสแบบเป็นๆหายๆ (RRMS) อย่างไรก็ตามทุกวันนี้ยังไม่มีวิธีการที่จะแยกโรคเอ็มเอสระยะนี้ออกจากระยะ แรกที่เป็นๆหายๆได้ และผู้ป่วยเหล่านี้ส่วนใหญ่จะขาดการติดตามอาการเมื่อเป็นโรคเอ็มเอสในครั้งแรก
 
    การพยากรณ์โรคเอ็มเอส  
    ผู้ป่วยโรคเอ็มเอสส่วนใหญ่คาดว่าจะมีอายุยืนประมาณ 95 % ของคนปกติ อย่างไรก็ตามความรุนแรงของอาการโรคในผู้ป่วยแต่ละคนนั้นไม่แน่นอน ดังนั้น จึงเป็นการยากที่จะพยากรณ์อายุขัย
 
การวินิจฉัยโรค มัลติเพิล สเคลอโรซีส  
    โรคเอ็มเอสวินิจฉัยได้อย่างไร
    การวินิจฉัยโรคเอ็มเอสทำได้ยาก เพราะไม่อาจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการได้อย่างแน่ชัด การวินิจฉัยจึงได้จากประวัติและอาการของผู้ป่วย การตรวจทางคลินิก และการใช้เทคนิคพิเศษในการตรวจหาความผิดปกติที่ระบบประสาทส่วนกลางด้วยคลื่น แม่เหล็ก หรือวิธีเอ็มอาร์ไอ (MRI, Magnetic Resonance Imaging) เพื่อทำการวินิจฉัยแยกโรคอื่นที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลางออกไป (เช่น โรคของหลอดเลือดโรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบของหลอดเลือด) นอกจากนั้นการตรวจวิถีของการมองเห็น และการได้ยินอาจนำมาใช้ช่วยในการวินิจฉัยด้วย
ความ ถูกต้องของการวินิจฉัยโรคเอ็มเอสขึ้นกับลักษณะทางคลินิก และลักษณะอื่น ลักษณะทางคลินิก เช่น ประวัติความเจ็บป่วย และอาการที่พบจากการตรวจร่างกาย ส่วนลักษณะอื่น เช่น ผลการตรวจโดยวิธีเอ็มอาร์ไอ การตรวจวิเคราะห์น้ำไขสันหลัง ตรวจการมองเห็นและการได้ยิน และเพื่อเป็นการยืนยันว่าเป็นโรคเอ็มเอสจะต้องตรวจพบการแพร่กระจายของรอยโรคในระบบประสาทส่วนกลาง
นอกจากนี้อาจทำการเจาะเพื่อตรวจน้ำไขสันหลัง และการตรวจทางสมองเพื่อวัดความรู้และความเข้าใจตลอดจนเชาวน์ปัญญา หรือตรวจทางพฤติกรรมอื่นๆที่อาจเป็นผลมาจากการมีรอยโรคที่รบกวนการนำสัญญาณ ผ่านวิถีของเส้นประสาท

    เอ็มอาร์ไอ (MRI) ช่วยวินิจฉัยโรคได้อย่างไร  
    วิธีการเกี่ยวกับการใช้คลื่นแม่เหล็กหรือเอ็มอาร์ไอ เริ่มนำมาใช้ตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1980 เพื่อใช้วัดรอยโรคที่ระบบประสาทส่วนกลางที่เกิดเนื่องจากมีการทำลายปลอกหุ้ม เส้นประสาทสามารถใช้วัดจำนวนและความรุนแรงของโรคเอ็มเอสได
    วิธีการเอ็มอาร์ไอ มีบทบาท 2 ประการในการวินิจฉัยโรคเอ็มเอส คือ
    1.ใช้พิสูจน์รอยโรคที่แพร่กระจายในระบบประสาทส่วนกลาง
    2 .เพื่อตัดสาเหตุของความผิดปกติอื่นๆออกไปนอกจากนี้วิธีการเอ็มอาร์ไอ ยังใช้ในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของโรคเมื่อเวลาเปลี่ยนไปได้
 
    การรักษาโรค มัลติเพิล สเคลอโรซีส  
    ไม่มีวิธีการรักษาโดยเฉพาะ วัตถุประสงค์หลักในการรักษาคือ ลดความถี่และความรุนแรงของการกำเริบ และชะลอการรุดหน้าของโรค ดังนั้นจึงเป็นการรักษาเพื่อคงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย
    ในการรักษาโรคเอ็มเอสนั้นมีหลักอยู่ 3 ประการดังนี้
    1.รักษาการกลับมาเป็นโรคซ้ำชนิดที่เกิดแบบเฉียบพลัน
รักษาโดยใช้คอร์ติโคสเตียรอยด์ ยาเหล่านี้จะช่วยลดการอักเสบทำให้อาการทุเลาได้รวดเร็ว จากผลการศึกษาทางคลินิกพบว่า ในระยะยาวยาไม่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการกลับมาเป็นโรคซ้ำ และไม่มีผลลดระยะเวลาของการเป็นโรค ยิ่งกว่านั้นสเตียรอยด์ยังทำให้เกิดอาการข้างเคียงหลายอย่าง จึงไม่ใช้สำหรับการรักษาโรคเอ็มเอสในระยะยาว
    2. รักษาตามอาการ
มีการรักษาอาการของโรคเอ็มเอสตามความจำเป็นโดยใช้ยาต่างๆ ได้แก่ ยาต้านไวรัส เช่น อะแมนทาดีน (amantadine) และพีโมลีน (pemoline) ยากระตุ้นระบบประสาทชนิดออกฤทธิ์อ่อนเพื่อรักษาอาการอ่อนเพลีย และยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางเพื่อทุเลาอาการกล้ามเนื้อเกร็ง เช่น บาโคลเฟน(baclofen) นอกจากนี้ยังมีการใช้ยาบรรเทาปวด ยาต้านอาการซึมเศร้า และยาต้านโคลิเนอร์จิก (anticholinergic drugs) เพื่อรักษาอาการผิดปกติเกี่ยวกับการถ่ายปัสสาวะ
    3 .รักษาอาการรุดหน้าของโรค
เพื่อควบคุมการกลับมามีอาการของโรคซ้ำอีก และลดความรุนแรงอีกทั้งเพื่อชะลอการรุดหน้าของโรค ยาที่มีวางจำหน่างได้แก่ เบต้า – อินเทอเฟรอน (beta-interferon และกลาทิราเมอร์ อะซิเตท (glatiramer acetate) ซึ่งออกฤทธิ์ปรับปรุงภูมิคุ้มกัน เป็นยาที่ให้ผลดีในการรักษาโรคเอ็มเอส ปัจจุบันยังไม่มียาใดที่รักษาโรคเอ็มเอสให้หายขาด อย่างไรก็ตามจากผลการศึกษาทางคลินิกแสดงให้เห็นว่า ยาอินเทอเฟรอน เบตา -1 เอ เบตา – 1 บี ช่วยลดจำนวนครั้งในการกลับมาเป็นโรคซ้ำ ลดการรุนแรงของอาการ และเพิ่มจำนวนผู้ป่วยที่ยังคงปลอดจากอาการของโรค ตลอดช่วงเวลาที่ทำการศึกษาข้อมูลเหล่านี้ แสดงให้เห็นว่า ยาอินเทอเฟรอน เบตา -1 เอ สามารถชะลอการรุดหน้าของโรค และลดขนาดของความผิดปกติที่สมองลงได้อย่างมากเมื่อตรวจด้วยวิธีเอ็มอาร์ไอ
    จากข้อมูลล่าสุดพบว่าการรักษาด้วยยาอินเทอเฟรอน เบตา ให้ผลดีกับผู้ป่วยได้เป็นระยะเวลานานตราบเท่าที่โรคกำลังดำเนินอยู่
    วัตถุประสงค์หลักในการรักษาโรคเอ็มเอส คือการลดการกลับมาเป็นซ้ำ ชะลอการเกิดความพิการ และดำรงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไว้
    การลดการอักเสบและลดการทำลายปลอกหุ้มประสาทด้วยการใช้ยา จะเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยชะลอการรุดหน้าของโรค จอกจากนี้จะต้องหลีกเลี่ยงหรือควบคุมอาการทางกายและอารมณ์ของผู้ป่วย โดยใช้ยาชนิดต่างๆควบคู่ไปด้วย

    ยาและการรักษา
    การรักษาอาการซึมเศร้า
    บางครั้งผู้ป่วย MS อาจมีอาการซึมเศร้า ซึ่งระบุได้ยากถึงสาเหตุที่มา ความรู้สึกซึมเศร้าเป็นสิ่งที่อาจมีความเกี่ยวพันกับอาการอ่อนแรง (fatigue) หรือเป็นผลโดยตรงจากโรค หรือทั้งสองอย่างประกอบกัน
    การใช้ยาต้านอาการซึมเศร้า (Antidepressants)  
    ยาที่ใช้ในการรักษาอาการซึมเศร้ามีหลายตัว ที่ใช้มากคือยาในกลุ่ม selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs) เช่นฟลูออกเซทีน (โปรแซค?) และเซอทราลีน (ลัสทรัล?) หรือกลุ่มยา tricyclic antidepressants เช่น อมิทริปไทลีน เดซิพรามีน (นอร์พรามิน?) และ อิมิพรามีน (โทฟรานิล?) เป็นต้น แต่การใช้ยากลุ่มหลังนี้จะน้อยลง เนื่องจากสามารถทำให้อาการของ MS แย่ลง เช่นง่วงนอน ท้องผูก ปัสสาวะลำบาก ถ้าหากพบอาการเหล่านี้ผู้ป่วยควรจะแจ้งแพทย์ผู้ทำการรักษา เพื่อลดการซึมเศร้าด้วยวิธีอื่น
    บางครั้งผู้ป่วยต้องระวังว่าอาการเหล่านี้อาจแสดงออกเต็มที่ได้ช้าหลังจากได้รับยาแล้วถึง 6-8 สัปดาห์
 
     การรักษาด้วยการพูดคุย (Talking Therapies)  
     การพูดคุยกับจิตแพทย์เป็นวิธีที่ทำให้ผู้ป่วยสามารถเผชิญหรือรับมือกับอาการซึมเศร้าได้ดีขึ้น ช่วยให้ระบุความต้องการ ลดความท้อแท้ และความโกรธ
 
     Complementary Therapies  
     ผู้ป่วยบางคนชอบที่จะทดลองใช้การรักษาแบบการแพทย์ทางเลือก เช่น การใช้สมุนไพร มีการวิจัยที่ระบุว่าการใช้สารสกัดของเซนต์จอห์นสเวิร์ธ (St.John’s Wort) สามารถลดอาการซึมเศร้าแบบอ่อนๆได้ แต่ความเข้มข้นที่ใช้มีหลากหลายมาก สมุนไพรตัวนี้ไม่ควรใช้ร่วมกับยาต้านอาการซึมเศร้าตัวอื่นๆ เนื่องจากเกิดปฏิกิริยาระหว่างยาตัวอื่นได้ เช่นลดประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิดถ้าหากใช้ร่วมกัน ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้งที่จะทดลองเปลี่ยนหรือหาวิธีการรักษา ใหม่ๆด้วยตนเอง
 
     การใช้ยาที่ช่วยควบคุมระบบภูมิคุ้มกัน (Immunomodulatory Therapies)  
     มัลติเพิล สเคลอโรซิส (Multiple Sclerosis) หรือ MS เป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากการอักเสบในระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system, CNS) เนื่องจากปลอกหุ้มเส้นประสาท (myelin sheath) ได้รับความเสียหายหรือถูกทำลาย
     ในช่วงเวลาประมาณ 10 ปีที่ผ่านมาได้มีการศึกษาค้นพบว่าระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีส่วนทำให้เกิด การทำลายตนเอง (autoimmune disease) เนื่องจากพบเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันที่ผ่าน blood-brain barrier (BBB) ได้ ทำให้เกิดการทำลายชั้นของ myelin ที่หุ้มเส้นประสาท กระตุ้นการเกิดการตอบสนองต่อภูมิคุ้มกันใน CNS โดย microglia หรือทำให้เกิดการตายของ oligodendrocyte ซึ่งทำหน้าที่สร้าง myelin ใน CNS  
     ปัจจุบันโรค MS ยังไม่มีการรักษาให้หายขาดได้ เพียงแต่สามารถชะลอการรุดหน้าของโรค และบรรเทาอาการต่างๆที่เกิดขึ้นจากการที่เส้นประสาทถูกทำลายเท่านั้น แต่การรักษาโดยการใช้ยาที่ช่วยควบคุมระบบภูมิคุ้มกัน (immunomodulatory therapies) อาทิเช่น การใช้ยาในกลุ่มอินเทอเฟรอน (Inteferons, IFNs) พบว่าสามารถให้ผลในการรักษาโรค MS ในการศึกษาทางคลินิก (1-3)
     เบตาอินเทอเฟรอน (Interferon- ß , IFN- ß ) สามารถยับยั้งกระบวนการอักเสบในภาวะของโรค MS ได้หลายขั้นตอน เช่น ลดการแสดงออกของ major histocompatibility complex (MHC) ซึ่งเป็นโมเลกุลบน antigen presenting cells (APCs); ยับยั้งการกระตุ้น T-cell และลดการหลั่งของ cytokines ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบ นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของ T cell suppressor ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการลดการเกิดการอักเสบ รวมทั้งช่วยกระตุ้น growth factors จากเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันทำให้เกิดการซ่อมแซมของเซลล์ที่ถูกทำลายได้
     จากตารางที่ 1 แสดงชนิดและกลุ่มของยาที่ใช้ในการรักษา MS ยาในกลุ่มที่ช่วยควบคุมระบบภูมิคุ้มกัน ได้แก่ เบตาอินเทอเฟรอน และกลาติราเมอร์อะซิเตท ซึ่ง FDA ยอมรับให้ใช้ในผู้ป่วย RRMS นอกจากนั้นก็ยังมียากลุ่มที่ใช้กดภูมิคุ้มกัน เช่น Mitoxantrone ซึ่ง FDA ยอมรับให้ใช้ในผู้ป่วย RRMS และ SPMS



    เบตา อินเทอเฟรอน (INF beta, IFN- ß ) ที่ได้รับการรับรองจาก U.S. FDA ในการรักษา RRMS ได้แก่ IFN beta-1b (Betaseron ® หรือ Betaferon ® ); IFN beta-1a (Avonex ® ); และ IFN beta-1a (Rebif ® )
    IFN-ß 1b (Betaseron ®หรือ Betaferon®) ได้จากการทำ recombinant DNA technology ในแบคทีเรีย ใช้ฉีดเข้าใต้ผิวหนังวันเว้นวัน เป็นยาที่ U.S. FDA รับรองให้ใช้ใน RRMS ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ปี 1993 และ European FDA รับรองให้ใช้ใน SPMS ในเดือนมกราคม 1999 (4, 5) โดยได้มีการศึกษาทางคลินิกในผู้ป่วย MS 372 คน ที่มีอาการ RRMS มาเป็นเวลาเฉลี่ย 4 ปี หลังจากการรักษาเป็นเวลา 2 ปี พบว่าผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับยา IFN-ß 1b มีอัตราการเกิดอาการกำเริบน้อยกว่ากลุ่มควบคุม สามารถยืดระยะเวลาที่จะเกิดอาการกำเริบได้ดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ และผู้ป่วยไม่เกิดอาการกำเริบเลยมากกว่ากลุ่มควบคุม
    IFN-ß 1a (Avonex ®) เป็นยาที่ U.S. FDA รับรองให้ใช้ใน RRMS ในปี 1996 โดยมีความแตกต่างจาก IFN-ß 1b ตรงที่ได้มาจากเซลล์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยกรรมวิธี recombinant DNA technology IFN-ß 1a ได้รับการรับรองว่าสามารถชะลอการเกิดความเสื่อมสมรรถภาพทางร่างกายและลดความ ถี่ในการเกิดการกำเริบของ MS ได้ การให้ยาคือฉีดเข้ากล้ามเนื้อสัปดาห์ละครั้ง
    IFN-ß 1a (Rebif® ) เป็นยาอีกตัวหนึ่งซึ่งมีคุณสมบัติทางเคมีเช่นเดียวกับ Avonex ® U.S. FDA รับรองให้ใช้ใน RRMS ในปี 2002 การให้ยาคือฉีดเข้าใต้ผิวหนังสัปดาห์ละ 3 ครั้ง
    ตารางที่ 2 เป็นผลของการศึกษาการใช้ IFN-ß 1b และ IFN-ß 1a คือ Betaseron®, Avonex® และ Rebif® ในการรักษา MS โดยดูจากการลดอัตราการกลับเป็นซ้ำ การลดการสูญเสียความสามารถในการทำงานของร่างกาย และการลดขนาดของความผิดปกติที่สมองที่ตรวจวัดได้โดยการใช้คลื่นแม่เหล็ก (Magnetic Resonance Imaging, MRI) ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้วินิจฉัยรอยโรคที่เกิดจากการอักเสบในระบบประสาทส่วนกลาง (6)

ที่มา : //www.thaims.com

Smileyขอบคุณที่แวะมาเยียมชมครับSmiley




Create Date : 27 สิงหาคม 2555
Last Update : 27 สิงหาคม 2555 11:30:18 น. 5 comments
Counter : 13057 Pageviews.

 
ขอบคุณมากครับ


โดย: โก IP: 27.130.44.101 วันที่: 10 มีนาคม 2558 เวลา:15:05:24 น.  

 

ดีมากๆเลยค่ะเอาไปทำงานเนื้อหาดีมากกกขอบคุณค่ะ


โดย: tew IP: 58.8.157.162 วันที่: 29 พฤศจิกายน 2558 เวลา:16:18:15 น.  

 
ถ้าเป็นแล้วเชิญมาปรึกษากันได้ที่ msthai.org ครับ มีคนไข้มากมาย ที่ผ่านเรื่องอาการทั้งหมดมาแล้ว ผมเองก็เป็น ms มา 10 ปี แล้ว ก้อยังวิ่งได้ คนไข้บางคนยังไปวิ่งมารธอนด้วย อย่าให้จิตตกครับ ยิ่งเครียดยิ่งพัง ทำใจสบายสบาย หายก้อหายไม่หายก็อยู่กันไป เมื่อทางการแพทย์ทั้งโลกยังไม่รู้เลยว่าสาเหตูคืออะไร แล้วจะรักษามันยังไงหล่ะ รักษาใจให้นิ่งๆ อบรมจิตใจให้ดี ร่างกายก็จะตามเอง ผมครั้งแรก ตาซ้ายมองไม่เห็น แล้วก็ตามมาอีกหลายชุด เดินไม่ได้ ปัสสาวะไม่ออก ปวดตัวโดนรัด เกร็ง ผ่านมาหมดแล้วจนชิน ทำใจสบายๆ ไม่ได้มีคุณเป็นคนเดียว ในไลนกลุ่ม MS มีตั้ง 70 กว่าคน เม้ามอยกันจน สบายสบายกันไป คนอื่นไม่เข้าใจหล่ะครับ ไป scan qrcode จะได้ไปปรึกษากันใน ไลนครับ


โดย: เอกรัตน์ IP: 125.25.101.11 วันที่: 28 มีนาคม 2559 เวลา:15:13:56 น.  

 
ลักษณะยารักษาโรคเอ็มเอส เป็นเม็ดกลมๆทั้งสองด้านจะมีสัญญาลักษณ์ ด้านที่1เป็นอักษรMS ด้านที่สองเป็นรูปกางกาบาท ใช่หรือเปล่าคะ


โดย: แตงกวา IP: 49.230.28.132 วันที่: 9 กันยายน 2559 เวลา:15:57:50 น.  

 
😊


โดย: อยากเข้าร่วมกลุ่มเพิ่งรู้ว่าเป็นใช้ธรรมชาติบำบัดทำสมาธิท่ามกลางสายน้ำ แสงแดด อยู่ค่ะ IP: 223.24.81.173 วันที่: 17 มิถุนายน 2560 เวลา:14:35:51 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

kitpooh22
Location :
ตรัง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 27 คน [?]




สวัสดีครับ
..............................
ขอบคุณที่มาเยี่ยมชม และมาเม้นให้ครับ



ขอบคุณครับ :-)
THX


วันเกิดบล็อก 25/5/2009
Google+
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2555
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
27 สิงหาคม 2555
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kitpooh22's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.