ไปตลาด หาซื้อ "เเผ่นรองส้นเท้า โรครองช้ำ" ที่อเมริกา



เมื่อปีที่เเล้ว เราขอย้ายเเผนกที่ทำงานใหม่ งานที่เเผนกใหม่ ไม่หนัก เเต่ต้องเดินเยอะค่ะ 3-4 เดือนผ่านไป เรารู้สึกเมื่อยขามาก นั่งไม่ลง ขาเเข็งไปหมด จากนั้นรู้สึกตึงที่น่อง เราเลยคิดว่า น่าจะต้องทำอะไรซักอย่าง

เราไปวัดน้ำหนักเท้า หรือ จุดกดดันของเท้า (pressure points) ที่สเตชั่น  Dr. School's จัดทำใว้ให้ลูกค้า เพื่อวัดน้ำหนัก หรือจุดกดดันของเท้าว่าจะลงที่ส่วนใดมากที่สุด เพื่อหาจุดบกพร่อง เเละทำการเลือกซื้อเเผ่นซัพพอร์ทสำหรับเท้า

เครื่องวัดจุดลงน้ำหนักเท้า เป็นเเบบในภาพค่ะ



วิธีวัดก็คือ เอาเท้าไปวางที่จุดวางเท้า ดังในภาพ เเล้วจะมีคำสั่งให้ทำตามหน้าจอที่ปรากฏ เราก็ทำไปตามคำสั่งค่ะ เช่นให้เราลงน้ำหนักที่เท้าข้างใดข้างหนึ่ง หรือยกเท้าข้างขึ้นเเต่ละข้าง เเล้วเบนตัวลงเทน้ำหนักไปด้านหน้าให้ส้นเท้าวางอยู่ในตำเเหน่งเดิม ทำไปตามคำสั่งเรื่อยๆค่ะ เสร็จเเล้วเครื่องจะประมวลผล  จะบอกเบอร์ของเเผ่นซัพพอร์ท์เท้าให้เราเลือกซื้อตามความพอใจ









หลังจากนั้นไม่กี่สัปดาห์ต่อมา เมื่อเราตื่นขึ้นมาในเช้าวันหนึ่ง เจ็บเเปล๊ปที่อุ้งเท้าเมื่อเริ่มจะก้าวเดินเป็นก้าวเเรก เลยรู้ว่า บัดนี้ โรครองช้ำได้มาเยี่ยมเเล้ว

เรามารู้จักโรครองช้ำกันค่ะ โรครองช้ำ (plantar fasciitis) หรือที่เรียกกันอย่างเป็นทางการว่า โรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ หรือ เอ็นส้นเท้าอักเสบ เป็นโรคที่มักทำให้ปวดส้นเท้าและฝ่าเท้า เวลาที่เราเดินลงน้ำหนัก บางคนอาจรู้สึกปวดส้นเท้ามากหลังตื่นนอน เป็นโรคที่หลายคนอาจคิดว่า เป็นการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อธรรมดา ๆ แต่ความจริงแล้ว มันอาจเป็นสัญญาณของ โรครองช้ำ ที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยเร็วก่อนจะมีอาการเรื้อรังก็ได้

โรครองช้ำ มีอาการอย่างไรบ้าง?
โรครองช้ำ เกิดจากการที่เอ็นฝ่าเท้ามีอาการอักเสบ โดยเอ็นฝ่าเท้า จะเป็นเอ็นแผ่นบาง ๆ ที่ห่อหุ้มตั้งแต่ส้นเท้าไปจนถึงปลายนิ้วเท้า และเป็นสิ่งที่รับแรงกระแทกขณะที่เรายืน เดิน หรือวิ่ง ทำให้เมื่อมีการใช้เอ็นฝ่าเท้าทำงานมากเกินไป หรือมีการใช้งานที่ผิดปกติ เช่น ถูกกระแทก ถูกบีบกดจากการเคลื่อนไหว จึงทำให้เกิดการอักเสบขึ้นได้

โรครองช้ำ จะมีอาการ ดังนี้
ปวดหรือเจ็บส้นเท้า ลามไปทั่วฝ่าเท้า โดยจะเริ่มมีอาการตั้งแต่ลงจากเตียงนอน หรือก้าวเดินก้าวแรกของวัน ปวดฝ่าเท้า หรือ ส้นเท้า เมื่อเดินลงน้ำหนัก มีอาการปวดจี๊ดๆ ปวดอักเสบ บางคนอาจปวดทีละน้อย จนคิดว่าอาการป่วยจะหายไปเอง แต่ก็จะกลับมาปวดอีก ปวดฝ่าเท้าเมื่อเดิน หรือ เคลื่อนไหวร่างกาย อาการปวดจะรุนแรงที่สุด เมื่อเริ่มมีการลงน้ำหนักที่ส้นเท้าในก้าวแรก เช่น เมื่อลุกเดินก้าวแรกหลังจากตื่นนอน

ระยะแรกอาจเกิดหลังการออกกำลังกาย หรือการเดิน-ยืนนาน ๆ เมื่อมีการเคลื่อนไหวมากขึ้น จะรู้สึกปวดส้นเท้ามากขึ้น หรือปวดอยู่ตลอดเวลา

โรครองช้ำเกิดจากอะไร?
โรครองช้ำ สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น
• ภาวะอ้วน หรือ มีน้ำหนักตัวมากกว่าปกติ ทำให้เมื่อเดิน จะทำให้เกิดแรงกดที่ฝ่าเท้ามาก จนอาจทำให้ผังพืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบได้
• มีการยืนติดต่อเนื่องเป็นเวลานาน ทำให้เอ็นฝ่าเท้ารองรับน้ำหนักกดทับมากกว่าปกติ
• มีภาวะเท้าผิดรูป เช่น อุ้งเท้าแบน อุ้งเท้าสูงหรือโก่งมากเกินไป
• สวมรองเท้าที่ไม่เหมาะสมต่อสุขภาพเท้า เช่น รองเท้าส้นสูง รองเท้าที่คับแน่น บีบเท้า หรือรองเท้าที่หลวมเกินไป
• มีการใช้งานฝ่าเท้าหรือส้นเท้าที่มากเกินไป จนร่างกายทนไม่ไหว เช่น การฝึกวิ่งที่หักโหมเกินไป หรือวิ่งในระยะทางที่ไกลเกินไป หรือการวิ่งบนพื้นแข็ง
• สวมใส่รองเท้าไม่เหมาะสม เช่น รองเท้าที่ไม่มีพื้นบุรองส้นเท้า หรือพื้นรองเท้าบางเกินไป
• มีอาการเอ็นร้อยหวายยึด ทำให้ส้นเท้าไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติ
• โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือ ข้อสันหลังอักเสบ ซึ่งอาจทำให้มีโอกาสเกิดการอักเสบ ที่เส้นเอ็นจุดใดจุดหนึ่งที่เชื่อมต่อกับกระดูก ทำให้มีโอกาสเกิดพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบได้

ใครเสี่ยงเป็นโรครองช้ำได้บ้าง?
• ผู้สูงอายุ เนื่องจากพังผืดฝ่าเท้ามีความยืดหยุ่นน้อยลง
• ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน ทำให้พังผืดฝ่าเท้ารับแรงกระแทกมากขึ้น
• ผู้ที่มีอาชีพ ที่จำเป็นต้องยืน หรือเดินมาก ๆ ทำให้พังผืดฝ่าเท้าตึงแข็ง
• ผู้ที่มีอุ้งเท้าสูง หรือแบน ผิดปกติ
• ผู้ที่ใส่รองเท้าส้นสูง รองเท้าพื้นแข็ง หรือพื้นบาง อยู่เป็นประจำ
• ผู้หญิงมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากไขมันส้นเท้าบางกว่า รวมถึงเอ็น และกล้ามเนื้อของน่อง และฝ่าเท้า ไม่แข็งแรงเท่าของผู้ชาย
• นักวิ่ง หรือนักกีฬา ที่ต้องใช้เท้า และส้นเท้าเป็นเวลานาน

การรักษาโรครองช้ำ
1. พักการใช้เท้า และใช้ยาลดอาการอักเสบ - การลดการเดิน หรือใช้ไม้เท้าพยุง และประคบเย็นราว 20 นาที วันละ 3-4 ครั้งในตอนเย็น จะช่วยลดอาการเจ็บปวดได้ดี หากปวดมาก สามารถทานยาลดอาการอักเสบได้ แต่ควรพิจารณาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และไม่ทานต่อเนื่องนานเกิน 2-3 สัปดาห์

2. บริหารเอ็นร้อยหวาย และพังผืดฝ่าเท้า - การบริหารเอ็นร้อยหวาย และพังผืดฝ่าเท้าอย่างเหมาะสม เป็นวิธีที่ดีที่สุด ที่จะช่วยทั้งรักษา และป้องกันการเกิดโรครองช้ำได้

3. บริหารข้อเท้า - มีท่าบริหารข้อเท้าอยู่หลายท่า ที่สามารถช่วยบรรเทาอาการรองช้ำได้ เช่น ใช้ฝ่าเท้าเหยียบคลึงอุปกรณ์ทรงกระบอกที่มีความแข็งแรง เช่น ท่อ PVC ลูกเทนนิส หรือขวดน้ำพลาสติกขนาดเล็ก เพื่อช่วยยืดเส้นเอ็นใต้ฝ่าเท้าหรือยืนหันหน้าเข้ากำแพง แล้วงอเข่าขวาไปด้านหน้าพร้อมดันกำแพง จนข้อเท้าซ้ายด้านรู้สึกตึง ค้างไว้ 10-15 วินาทีก่อนเปลี่ยนข้าง วิธีนี้ เป็นการยืดเอ็นร้อยหวาย และช่วยให้ส้นเท้ารับน้ำหนักได้ดี

4. ใช้แผ่นรองส้นเท้า - การใช้แผ่นรองเท้าที่อ่อนนุ่ม หรือสวมรองเท้าที่เหมาะสมกับเท้าของตนเอง สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้ดี การใส่เฝือกอ่อน จะช่วยลดการเคลื่อนไหวที่ข้อเท้าได้ จึงเป็นอีกทางเลือกในการช่วยลดอาการอักเสบในช่วงแรก

5. รักษาด้วยคลื่นความถี่ (Shock Wave) - เป็นการกระตุ้นเอ็นพังผืดฝ่าเท้า เพื่อให้มีเส้นเลือดมาเลี้ยงเพื่อซอมแซมตัวเอง การรักษาได้ผลใกล้เคียงกับการผ่าตัด

6. การผ่าตัด - ใช้กับผู้ป่วยส่วนน้อย ที่เข้ารับการรักษาเบื้องต้นแล้ว แต่ไม่หายขาด และอาจต้องเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัด เพื่อผ่าตัดพังผืดเท้าบางส่วน และนำหินปูนที่กระดูกส้นเท้าออก

7. ฉีดยาลดการอับเสบ - เป็นวิธีที่ไม่แนะนำนัก ใช้กับผู้ช่วยที่มีอาการรุนแรงเท่านั้น และไม่ควรใช้ยาสเตียรอยด์ฉีดเข้าบริเวณส้นเท้า เนื่องจากจะทำให้รักษาได้ยากขึ้น และเสี่ยงต่อภาวะกระดูกติดเชื้อ ไขมันฝ่าเท้าฝ่อ หรือเอ็นฝ่าเท้าฉีกขาด ซึ่งเป็นอาการที่รักษาได้ยากมาก

8. ใช้อุปกรณ์ช่วยรักษาโรครองช้ำ - เช่น Night Splints ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้เท้าของผู้ป่วย อยู่ในตำแหน่งปกติในเวลานอน และช่วยรักษาเส้นเอ็นให้หายเร็วขึ้น เมื่อผู้ป่วยตื่นในตอนเช้า ก็จะช่วยลดความเจ็บปวดของส้นเท้าลงได้ด้วย

หากคุณมีอาการเจ็บส้นเท้า หรือฝ่าเท้าต่อเนื่องเป็นเวลานานแล้วละก็ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างเหมาะสม เพราะคุณอาจจะกำลังเป็นโรครองช้ำ หรือ เอ็นฝ่าเท้าอักเสบอยู่ก็ได้ และผู้ป่วยเอ็นฝ่าเท้าอักเสบถึง90% ก็มักจะมีอาการดีขึ้นภายใน 2 เดือน หลังจากได้รับการรักษาที่เหมาะสมด้วย

ท่านที่เป็นโรครองช้ำ กำลังมองหาเเผ่นรองช้ำ เวลาเลือกซื้อ ให้มองหาคำว่า ใช้สำหรับ โรครองช้ำ (plantar fasciitis) ตามที่วงกลมสีเเดงในภาพให้ดูเป็นตัวอย่างนะคะ









วันนี้เราซื้อทั้งเเผ่นรองเท้า, ซิลิโคนรองซัพพอร์ทอุ้งเท้า เเละถุงเท้าซัพพอร์ท มาหลายอย่างเลย หวังว่าคงจะช่วยให้โรคดีขึ้นนะคะ

ขอบคุณทุกท่านที่เเวะมาเยี่ยมบล็อก เเละขอให้สุขภาพเเข็งเเรงกันทุท่านนะคะ


Create Date : 04 ตุลาคม 2563
Last Update : 19 ธันวาคม 2563 13:12:46 น. 2 comments
Counter : 1537 Pageviews.

 
มีเพื่อนเป็นรองช้ำเหมือนกันค่ะ ต้องไปนวดฝังเข็มทุกอาทิตย์เลย ขอให้ดีขึ้นไวๆนะคะ


โดย: marie79 IP: 223.207.236.62 วันที่: 4 ตุลาคม 2563 เวลา:3:36:42 น.  

 
รีบเข้ามาดูเลยครับ เมื่อเดือนก่อนก็เป็นจะปวดที่ส้นเท้าข้างซ้าย
พยาบาลที่ทำงานบอกให้ไปซื้อที่รองส้น... แต่ผมมาคิดๆดูว่า เดินเยอะไป กะ นน ขึ้น

เลยตัดสินใจ ลด นน ลง10 ปอนด์ก็ดีขึ้นมานิดครับ เมื่อวานรู้สึกปวดตอนท้ายๆชั่วโมงก่อนที่จะกลับบ้าน ผมเลยใช้ ขี้ผึ้ง ที่ซื้อมาจากเมืองไทย นวดๆช่วงเย็น..เช้ามาที่ปวดอยู่หายไปจนลืมไปเลยว่าส้นเท้ามีปัญหา พอตกท้ายชั่วโมงวันนี้มันปวดเตือนอีกครับ...ก็คงจะใช้ขึ้ผึ้งนวดเท้าเหมือนเดิม

.
.
ไว้เดี๋ยวหาก ลด นน แล้ว นวดขึ้ผึ้งแล้วไม่หาย ก็จะไปซื้อซิลิโค รองส้นเพื่อช่วยอีกทาง...ขอบครับสำหรับคำแนะนำ


โดย: สมาชิกหมายเลข 4149951 วันที่: 4 ตุลาคม 2563 เวลา:4:21:42 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 3661152
Location :
ชิคาโก United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




Single Mom in USA.
ไดอารี่ออนไลน์ของ"ซิงเกิ้ลมัม"ในสหรัฐอเมริกา
ปี 2003 อยู่เมือง Rex รัฐจอร์เจีย
ปี 2010 ย้ายไปอยู่เมือง Elon รัฐนอร์ทแคโรไลนา
ปี 2012 ย้ายไปอยู่เมืองชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ จนถึงปัจจุบัน
ปี 2020 เขียนไดอารี่ออนไลน์ bloggang



Group Blog
 
 
ตุลาคม 2563
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
4 ตุลาคม 2563
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 3661152's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.