"Be the change you want to see in the world." - महात्मा (Mahatma Gandhi)

จอมเยอะเล่า
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




สิ่งที่น่านับถือในจอมยุทธ์หาใช่วิทยายุทธไม่
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2554
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
27 มิถุนายน 2554
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add จอมเยอะเล่า's blog to your web]
Links
 

 

How to become a high-performing organization: เป็นองค์กรสมถรรนะสูง

วันก่อนผมไปอ่านเจอเรื่ององค์กรสมถรรนะสูงที่ลงใน กรุงเทพธุรกิจ เห็นว่าน่าสนใจดีเลย เพราะฟังดูแล้วน่าจะเป็นองค์กรที่คนทำงานด้วยมีความสุข ลองๆมากูเกิ้ลดูว่า ถ้าจะทำยังไง

องค์กรสมถรรนะสูง ก็คือ องค์กรที่มีเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจที่ชัดเจน และการบริหาร-ดำเนินงานสอดคล้อยกับ เป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจขององค์กร ส่งผลให้เป็นองค์กรที่มีความแข็งแกร่งทั้งภายใน (เช่น การบริหาร จัดการ ดำเนินงาน บุคคลากร บัญชี การเงิน) และภายนอก (เช่น ระบบรับส่งสินค้า ความสามารถในการแข่งขัน และ ศักยภาพในการรองรับการเติบโตหรือปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลงได้)

องค์กรสมถรรนะสูง วัดได้จาก (1) รายได้ ที่เติบโตขึ้นเรื่อยหรือ อยู่ในระดับที่มีความมั่นคง ผันผวนบ้างไม่มาก รายได้เป็นตัวบอกความสามารถในการหากินขององค์กร (2) ส่วนแบ่งตลาด ที่สามารถคลองส่วนแบ่งตลาดได้อย่างมีนัยสำคัญ ส่วนแบ่งตลาดเป็นตัวบอกกำลังขององค์กรในสนามเทียบกับคู่แข่งในสังเวียนเดียวกัน (3) กำไร นอกจากรายได้ที่เป็นตัวบอกความสามารถในการหากินแล้ว กำไรจะเป็นตัวบอกความสามารถในการเอาตัวรอดได้ นอกจากจะหากินเก่งแล้วองค์กรควรจะเก็บได้ไม่รั่วไหลด้วย ดังนั้นกำไรจึงควรจะเติบโตขึ้นเรื่อยหรือไม่ผันผวนมาก และ (4) ความพึงพอใจของลูกค้า ซึ่งจะสร้างความรู้สึกที่ดี และเป็นต้นทุนระยะยาวขององค์กร

ทำยังไงถึงจะพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรสมถรรนะสูงได้

องค์กรสมถรรนะสูงได้ มีมิติปัจจัยอยู่ 5 ประการคือ ยุทธศาสตร์วิสัยทัศน์, ความเป็นผู้นำ, บุคคลากร, วัฒนธรรมองค์กร, ตลาด

1. ยุทธศาสตร์วิสัยทัศน์ (Strategy)
ยุทธศาสตร์วิสัยทัศน์ ต้องชัดเจน
นโยบาย แผนงาน และ การดำเนินงาน ขององค์กร ต้องชัดเจนและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์วิสัยทัศน์ เพื่อที่พนักงานทุกคนรู้ เข้าใจ และมุ่งที่เป้าหมายใหญ่เดียวกัน
มีการติดตามผล และ ประเมินผล

ทำ:
1.1 พัฒนายุทธศาสตร์วิสัยทัศน์ขององค์กร
1.2 สื่อสารให้พนักงานทุกคนเข้าใจยุทธศาสตร์วิสัยทัศน์ขององค์กร
1.3 ให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในการทบทวน-ปรับปรุง นโยบาย แผนงาน และ การดำเนินงาน ให้สอดคล้องและสนับสนุนยุทธศาสตร์วิสัยทัศน์
1.4 มีระบบการติดตามและประเมินผล เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินการทำได้อย่างถูกทิศทางและมีประสิทธิภาพ

2. ความเป็นผู้นำ (Leadership)
ผู้นำทุกๆคนในองค์กร (ตามลำดับชั้น) จะต้องสื่อสารกับผู้ใต้บังคับบัญชาแต่ละคนของตนให้รู้และเข้าใจถึง หน้าที่ ความรับผิดชอบ และความคาดหวัง ในงานของแต่ละคนได้ รวมถึงให้มีการเจริญก้าวหน้าทางการงานที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล และ ทำให้พนักงานตระหนักถึงสำคัญ-คุณค่าของหน้าที่แต่ละคนต่อเป้าหมายและความสำเร็จขององค์กร

ส่งเสริม ความชัดเจนและครบถ้วนในการสื่อสาร สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกันในองค์กร และส่งเสริม Team Spirit

พนักงานแต่ละคน รู้หน้าที่ ความรับผิดชอบ ความคาดหวัง และ เป้าหมายใหญ่ขององค์กร มีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน

ทำ:
2.1 สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ใต้บังคับบัญชา และส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ใต้บังคับบัญชา สร้างระบบทีมที่ดี
2.2 สื่อสารอย่างชัดเจนถึงเป้าหมายและความคาดหวังของงานของผู้ใต้บังคับบัญชาแต่ละคน
2.3 มีการชมเชยกับผลงานที่ดีอย่างสม่ำเสมอ (positive reinforcement: เน้นการชมเชยในจุดที่ดี)
2.4 รับฟังความคิดเห็นและสร้างบรรยากาศในการส่งเสริมการแสดงความคิดเห็น
2.5 สร้างบรรยากาศส่งเสริมให้ผู้ใต้บังคับบัญชารู้สึกมีส่วนร่วมและกระตือรือร้น (promoting employee engagement):
เช่น (1) meaningful work: ทำให้พนักงานมีความภาคภูมิใจในงานที่ทำ ตระหนักถึงคุณค่าของสิ่งที่เขาทำ
(2) collaboration: ส่งเสริมความร่วมมือและช่วยเหลือกัน
(3) automony: พนักงานมีเครื่องมือ ได้รับการฝึกฝนทักษะที่จำเป็น ได้รับการสนับสนุนที่เพียงพอและ มีอำนาจในการตัดสินใจงานในขอบเขตความรับผิดชอบตามสมควร
(4) growth: พนักงานมีโอกาสที่จะเรียนรู้ พัฒนาทักษะ ความสามารถ และมีโอกาสเจริญก้าวหน้าทางอาชีพ
(5) Task variety: พนักงานได้รับมอบหมายหน้าที่และงาน ที่มีความซับซ้อน ความยากง่าย ความท้าทาย ความหลากหลาย ในระดับที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล
(6) performance expectations: พนักงานรู้ว่าอะไรจะใช้เป็นตัววัดผลงานและผลงานจะถูกประเมินยังไง
(7) feedback: พนักงานได้รับคำชี้แนะที่ชัดเจน (เฉพาะเจาะจง) และเกี่ยวข้อง กับผลงานของตน เป็นระยะๆ
(8) workload: พนักงานได้รับภาระงานที่เหมาะสมกับเวลาที่จะสามารถทำมันให้สำเร็จได้
(9) distributive fairness: ค่าจ้าง สวัสดิการ เครื่องไม้เครื่องมือ การสนับสนุน และ ภาระงาน มีความยุติธรรมและสมดุลย์ ทุกๆคน (ในองค์กร) ปฏิบัติต่อกันด้วยความเคารพซึ่งกันและกัน และ หัวหน้าวางตัวอย่างเหมาะสม
(10) procedural fairness: นโยบาย ระเบียบกระบวนการ และการตัดสินใจ ทำด้วยความยุติธรรมไม่ลำเอียง
(11) connectedness with leadership: พนักงานเชื่อใจไว้ใจหัวหน้างาน และ หัวหน้างานมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ใต้บังคับบัญชา
(12) connectedness with colleagues: พนักงานมีความเชื่อใจเพื่อนร่วมงาน และพนักงานมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน

3. บุคคลากร (Talent)
องค์กรต้องมีระบบการจัดหาและรักษาบุคคลากรที่มีความสามารถ รวมถึงมีระบบพัฒนาศักยภาพของบุคคลากรให้เพิ่มขึ้น เพื่อให้องค์กรมีบุคคลากรที่มีคุณภาพและสามารถดำเนินกิจกรรมได้ตามยุทธศาสตร์วิสัยทัศน์ที่ได้วางไว้

ทำ:
3.1 สรรหา พัฒนา และรักษา บุคคลากรที่มีความสามารถ ให้อยู่กับองค์กร
3.2 เน้นที่การสร้างทัศนคติ และ ค่านิยม
3.3 ส่งเสริมปัจจัยและบรรยากาศที่ดีในการทำงานและสร้างบุคคลิกและศักยภาพที่ดี เช่น สร้างระบบในการรับข้อคิดเห็น (feedback) เพื่อลดการนินทา สร้างค่านิยมของการแก้ไข ป้องกัน ปรับปรุง มากกว่าการหาคนผิด สร้างธรรมเนียมของการถกด้วยเหตุผลมากกว่าอารมณ์ และ เนื้องานมากกว่าตัวบุคคล ความสำเร็จคือความสำเร็จร่วมของทุกฝ่ายไม่ได้มีใครผิดเสียหน้า

4. วัฒนธรรมองค์กร (Culture)
ค่านิยม ความเชื่อมั่น ในทุกระดับขององค์การจะต้องสอดคล้อง-สนับสนุนเพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินไปได้ตามยุทธศาสตร์วิสัยทัศน์

ทำ:
4.1 ส่งเสริมการติดต่อสื่อสารที่เปิดเผยซื่อตรง (open communication)
การสื่อสารมีความครบถ้วน ชัดเจน ลดความผิดพลาดหรือล้าช้าจากการสื่อ
4.2 สร้างความเชื่อใจไว้ใจระหว่างกัน (trust)
ความชัดเจนในเรื่องการสื่อสาร หน้าที่ ความรับผิดชอบ และงานที่ได้รับมอบหมาย รวมทั้งบรรยากาศที่ส่งเสริมการพูดคุยด้วยเหตุผล จะช่วยลดความระแวงว่าจะถูกตำหนิลง และทำให้ความเชื่อใจไว้ใจระหว่างกันมีมากขึ้น

ค่านิยมการแก้ไข-ป้องกัน-ปรับปรุงระบบเมื่อมีความผิดพลาด (แทนที่จะหาคนผิด) ก็จะช่วยลดความระแวงลงไปได้

4.3 ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง (continuous learning)

5. ตลาด (Market)
ทุกคนในองค์กรต้องเข้าใจตลาดและลูกค้า และตระหนักถึงบทบาทของงานของตนที่มีผลต่อธุรกิจ

ทำ:
5.1 รับรู้ความเป็นไป และ เปลี่ยนแปลง ของสภาพแวดล้อมภายนอก ทั้งของตลาด คู่ค้า คู่แข่ง สภาพเศรษฐกิจ กฏหมาย และ สภาวะอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ รวมถึงเทคโนโลยี เทรน และค่านิยมที่เปลี่ยนไปด้วย
5.2 สื่อสารให้พนักงานรู้และเข้าใจถึง สภาพแวดล้อม ทิศทางและการปรับตัวขององค์กรในช่วงเวลาต่างๆ รวมถึงบทบาทและความสำคัญของงานของพนักงานแต่ละคนที่จะมีส่วนช่วยในทิศทางและการปรับตัวขององค์กร ณ ภาวะนั้นๆ

มีคำกล่าวว่า 80% ของผลงานทั้งหมด มาจากเวลาทำงาน 20% ของเวลาทำงานทั้งหมด ถ้าเราสร้างสภาพแวดล้อมที่น่าทำงาน ผมเชื่อว่าเราไม่ต้องใช้เวลาทำงานมากขึ้น แต่เราจะได้ผลงานมากขึ้น ช่วยกันสร้าง-พัฒนาให้องค์กรเป็นองค์กรที่ดี ทำงานดี ทำงานมีความสุข ทำงานสนุก ร่วมมือช่วยเหลือกัน เข้าใจกัน สื่อสารชัดเจน เป้าหมายชัดเจน พนักงานมีความรู้สึกมีส่วนร่วม
มีปัญหา ก็แก้ไข แล้วหาทางสร้างระบบป้องกัน หาทางปรับปรุง
แล้วแต่ละคนจะเหนื่อยน้อยลง ทำงานสนุกขึ้น ชีวิตดีขึ้น ได้ผลงานดีขึ้นครับ

=== เรียบเรียงจาก ===
* //www.i4cp.com/solutions/high-performance-organizations/
* //www.gsu.edu/images/HR/HRI-high-performance07.pdf
* //gmj.gallup.com/content/24880/gallup-study-engaged-employees-inspire-company.aspx
* //www.writeforhr.com/12-key-factors-influencing-employee-passion/

free counters
Free counters




 

Create Date : 27 มิถุนายน 2554
0 comments
Last Update : 19 กันยายน 2554 13:39:12 น.
Counter : 1144 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.