การคิดเชิงระบบ

การคิดเชิงระบบ

การคิดเชิงระบบ(System Thinking) หมายถึงการคิดสิ่งหนึ่งสิ่งใด โดยการมองภาพรวมอย่างเป็นระบบ ด้วยแนวคิดที่ว่า ทุกระบบไม่ว่าใหญ่หรือเล็ก ล้วนมีลักษณะเดียวกันคือ มีวงจรของการทำงานไปสู่ผลลัพธ์อย่างเป็นระบบคือ

ปัจจัยการผลิต(Input) à กระบวนการ (Process) à ผลผลิต (Output)

ผลผลิตจากระบบหนึ่งสามารถกลายมาเป็นปัจจัยการผลิตของอีกระบบหนึ่งการประสานงานกันจากหลายๆ ระบบเหล่านี้ ทำให้เกิดระบบที่มีขนาดใหญ่ขึ้น และแต่ละหน่วยของระบบมีบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกัน ผลผลิตจะไหลจากหน่วยการผลิตหนึ่งไปสู่อีกหน่วยการผลิตหนึ่งไม่มีที่สิ้นสุด

การคิดเชิงระบบจึงเป็นการคิดที่มีความเข้าใจเชื่อมโยงแต่ละสิ่งตามมิติต่างๆกัน ในเวลาเดียวกัน โดยการคิดสามารถทำได้สองรูปแบบ คือ รูปแบบทางตรงและรูปแบบทางอ้อม

การคิดเชิงระบบโดยทางตรง(Direct) จะมุ่งไปยังเป้าหมายโดยตรงมี ๓ ขั้นตอน ประกอบด้วยการทำความเข้าใจระบบ [What] การวิเคราะห์ระบบ [How] และการออกแบบระบบ [Where, When,Who]

การคิดเชิงระบบโดยทางอ้อม(Indirect) จะอาศัยพื้นฐานแห่งการคิดเช่น การวิเคราะห์ (Analyze) การสังเคราะห์ (Synthesis)การเปรียบเทียบ (Analogy) การอุปมาอุปมัย (Simile) การสร้างสรรค์ (Creative) การประเมินค่า (Value) ฯลฯ

การคิดเชิงระบบเป็นวิธีการคิดเชิงบูรณาการ(Integration) เป็นการขยายขอบเขตความคิดที่มีต่อเรื่องนั้นๆออกไป โดยไม่ด่วนสรุปหรือตัดสินใจ แต่พิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนทุกมุมมอง เชื่อมโยงความคิดรวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างเรื่องนั้นกับปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาความเป็นไปได้และมุมมองใหม่ๆเพื่อค้นหาแนวทางแก้ปัญหาที่ดีกว่า สร้างสรรค์กว่า

ในการพัฒนาองค์กรที่มีประสิทธิภาพจะไม่มองเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่ง แต่ต้องนำระบบการคิดเชิงระบบมาจัดการกับระบบต่างๆในองค์กร ซึ่งมีความเชื่อมโยงกันเป็นหนึ่งเดียวให้สอดคล้องสัมพันธ์กัน

องค์ประกอบของการคิดเชิงระบบ

๑.ภาพรวม (Holistic, Wholeness) คือการประเมินองค์ประกอบของสถานการณ์หรือสภาพปัญหาของหน่วยงานในภาพรวมทั้งหมด

๒.ลำดับชั้น (Hierarchy) คือ การเข้าใจว่าระบบหนึ่งๆอาจประกอบขึ้นมาจากระบบย่อยๆ หลายระบบ และในระบบย่อยแต่ละระบบ ก็มีความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆที่เป็นองค์ประกอบของระบบ

๓.ขอบเขต (Boundary) คือ ระบบย่อยต่างๆมีขอบเขตที่แสดงให้เห็นว่าระบบนั้นๆ ครอบคลุมอะไรบ้าง และอะไรที่อยู่นอกขอบเขต

๔.เครือข่าย (Networks) คือ การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของระบบต่างๆที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นเครือข่าย และปฏิสัมพันธ์ต่อกัน (Interaction) คือ ความสัมพันธ์ระหว่างระบบ ทั้งระบบย่อยกับระบบย่อย ระบบใหญ่กับระบบย่อยการเปลี่ยนแปลงของระบบย่อยจะมีผลต่อระบบใหญ่ด้วย

๕.แผน (Plan) คือ การวางแผนการทำงานเพื่อให้สามารถมั่นใจได้ว่า กระบวนการทำงานทุกอย่างในทุกๆ ขั้นตอน จะมีแนวทางที่ชัดเจนไม่เบี่ยงเบนไปจากเป้าหมายโดยรวมของระบบ

๖.ความยืดหยุ่น (Flexibility) คือ ระบบต่างๆต้องสามารถปรับตัวเพื่อรักษาสมดุลในตนเอง (Self Organize)และความสมดุลของของระบบในภาพรวม

๗.ผลป้อนกลับ (Feedback) คือ การออกแบบระบบในลักษณะเป็นวงจร(Loops) มากกว่าเป็นเส้นตรง (Linear) สามารถให้ผลป้อนกลับได้ทั้งไปและกลับ

ประโยชน์ของการคิดเชิงระบบ

๑. ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจในความสัมพันธ์ของระบบและกระบวนการต่างๆในองค์กร อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม

๒. สามารถมองเห็นการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นกับระบบ

๓.. สามารถระบุปัญหาและส่วนงานที่เกี่ยวข้องและช่วยลดข้อขัดแย้ง

๔. สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กร และช่วยให้การตัดสินใจร่วมกับส่วนต่างๆมีความรวดเร็วและเป็นระบบ

๕. สามารถนำผลป้อนกลับไปใช้ในการพัฒนาองค์กรในภาพรวมต่อไป




Create Date : 18 พฤษภาคม 2558
Last Update : 18 พฤษภาคม 2558 0:55:20 น.
Counter : 2557 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 1158799
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



พฤษภาคม 2558

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
19
20
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
18 พฤษภาคม 2558