Group Blog
 
 
กรกฏาคม 2554
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
17 กรกฏาคม 2554
 
All Blogs
 

“ยอ” ของดีตำรับไทย

ปัจจุบันนี้เรามักจะเห็นสมุนไพรไทยที่มีการนำมาแปรรูปในรูปแบบต่างๆ ทั้งแบบแคปซูล สกัดเป็นสารออกมาแล้วผสมกับส่วนผสมอื่นๆ หรือแปรรูเป็นเครื่องดื่ม อย่างเช่น “น้ำลูกยอ” ที่ “108 เคล็ดกิน” เคยเห็นวางขายอยู่ตามห้างทั่วไป



สำหรับสรรพคุณของ “ยอ” นั้นก็มีอยู่อย่างมากมาย ในส่วนของ “ลูกยอ” มีทั้งวิตามินเอ วิตามินซี และโพแทสเซียมสูง มีสารต้านอนุมูลอิสระ มีฤทธิ์กล่อมประสาท เป็นยานอนหลับอ่อนๆ บำรุงสมอง บำรุงการไหลเวียนของเส้นเลือดในสมอง

ในผลยอมีสารสำคัญคือแอสปรูโลไซต์ (Asperuloside) ซึ่งสารนี้จะออกฤทธิ์แก้คลื่นไส้อาเจียนได้เป็นอย่างดี ส่วนสารโปรซีโรนีน (Proxeronine) ที่มีอยู่มากในผลยอนั้น จะช่วยปรับสภาพเซลล์ให้มีความสมดุลแข็งแรง และมีภูมิต้านทานที่ดีอีกทั้งยังช่วยซ่อมแซมและยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติและกระตุ้นให้เซลล์ใหม่เติบโตและทำหน้าที่ได้เป็นปกติ

ในผลยอยังประกอบ ด้วยสารสำคัญอีกมากมายเช่น สารแอนทรา ควิโนน (Antraquinones) ที่ช่วยควบคุมการติดเชื้อแบคทีเรีย ลดอาการอักเสบและฆ่าเชื้อโรคต่างๆ สารสโคโปเลติน (Scopoletin) มีคุณสมบัติช่วยให้เส้นเลือดขยายตัวจึงสามารถช่วยลดความดันโลหิตสูงกลับเป็นปกติได้ และสารเซโรโทนิน(Serotonin) ที่ช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหารให้ทำงานได้ดีและสมบูรณ์มากขึ้นทำให้ลำไส้ดูดซึมได้ง่าย จึงช่วยลดอาการท้องผูกจุกเสียด ช่วยระบายท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ และยังช่วยขับพยาธิตัวกลมโดยเฉพาะพยาธิเส้นด้ายและพยาธิไส้เดือนได้เป็นอย่างดี

ปัจจุบันนิยมนำมาแปรรูปเป็นชนิดแคปซูลโดยการบดลูกยอเป็นผงแล้วนำมาบรรจุแคปซูล หรือนำไปไปสกัดเป็นน้ำลูกยอ

หรือหากว่าจะทำกินเองแบบง่ายๆ เพียงแค่นำลูกยอมาฝานเป็นแว่นๆ ตากแดดให้แห้ง เมื่อจะกินก็นำแว่นลูกยอที่ตากแห้งดีแล้วใส่แก้ว แล้วเทน้ำร้อนลงไป ทิ้งไว้สักครู่ และดื่ม ลักษณะคล้ายกับการดื่มชา
นอกจากลูกยอแล้ว “ยอ” ก็ยังสามารถนำส่วนอื่นมาใช้ได้ด้วย อาทิ ใบยอ มีวิตามินเอมาก มีคุณสมบัติในการบำรุงสายตา บำรุงหัวใจ หรือนำใบไปคั้นน้ำนำมาสระผมฆ่าเหา หรือนำใบยอไปปรุงอาหาร สามารถแก้ท้องร่วงได้

รากของต้นยอ สามารถใช้เป็นยาระบาย แก้กระษัย และยังสามารถนำมาสกัดเป็นสีย้อมผ้าได้ โดยสีเดิมจะมีสีเหลือง หรือเหลืองปนแดง หากผสมเกลือตามสัดส่วนต่างๆ จะได้สีที่ต่างกัน เช่น ชมพู น้ำตาลอ่อน สีม่วงแดง หรือสีดำ เป็นต้น

ที่มา //www.manager.co.th




 

Create Date : 17 กรกฎาคม 2554
0 comments
Last Update : 21 กรกฎาคม 2554 22:02:57 น.
Counter : 2228 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


MR.ITANRICH
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




ผมเป็นคนไทยที่รักประเทศไทย
Friends' blogs
[Add MR.ITANRICH's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.