<<
กุมภาพันธ์ 2559
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
2829 
 
19 กุมภาพันธ์ 2559
 

คลี่ข้อมูลอุณหภูมิน้ำทะเล วิเคราะห์ "เอลนีโญ-ลานีญา" คาดหลัง มิ.ย.น้ำมา

คลี่ข้อมูลอุณหภูมิน้ำทะเล วิเคราะห์ "เอลนีโญ-ลานีญา" คาดหลัง มิ.ย.น้ำมา

ขอนำเนื้อหาความรู้เรื่องนี้จาก MGR Online มารวบรวมไว้

คลี่ข้อมูลอุณหภูมิน้ำทะเล เผชิญ "ซูเปอร์เอลนีโญ" มาตั้งแต่ปลาย '58 แต่ข้อมูลชี้หลัง มิ.ย.น้ำมา แต่จะท่วมหรือไม่ ต้องลุ้นกันอีกที
คลี่ข้อมูลอุณหภูมิน้ำทะเล วิเคราะห์ เอลนีโญ-ลานีญา คาดหลัง มิ.ย.น้ำมา

ภาพคลองส่งน้ำ 1 ขวา จ.ราชบุรี มีน้ำเหลือเพียงระดับตาตุ่ม (ภาพจากจิราพร คำภาพันธ์)

"เห็นตัวเลข 2.3 นี้ไหม นี่เป็นค่าของอุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงกว่าค่ามาตรฐานที่แทบจะสูงสุดในสถิติที่มีการบันทึกมา มันกำลังบอกเราว่าปีนี้เป็นปีซูเปอร์เอลนีโญ ไม่ใช่สิ .. เราอยู่กับซูเปอร์เอลนีโญมาตั้งแต่ปี '58 แล้ว" ประโยคยืนยันแรกจาก ดร.ปัทมา สิงหรักษ์ ที่กล่าวแก่ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์ ขณะชี้ชวนให้เรามองตารางตัวเลขแสนยุ่งเหยิงบนจอคอมพิวเตอร์ในห้องทำงาน ที่วันนี้เปิดโอกาสให้ทีมข่าวฯ ได้สัมภาษณ์พิเศษ

คลี่ข้อมูลอุณหภูมิน้ำทะเล วิเคราะห์ เอลนีโญ-ลานีญา คาดหลัง มิ.ย.น้ำมา
ค่าเฉลี่ยอุณหภูมิน้ำทะเลช่วง ธ.ค.'58 มีค่าสูงกว่าอุณหภูมิน้ำทะเลมาตรฐาน +2.3 จัดเป็นเอลนีโญรุนแรง
        ดร.ปัทมา สิงหรักษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการผันแปรสภาวะภูมิอากาศและสมุทรศาสตร์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า สถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศแบบ "เอลนีโญ" ทำให้ประเทศไทยและอีกหลายประเทศทั่วโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นและมีปริมาณน้ำฝนลดลงกว่าปกติ และอีกส่วนหนึ่งเกิดจากการจัดการน้ำที่ผิดพลาดซึ่งยังคงเป็นปัญหาใหญ่สำหรับประเทศไทย

คลี่ข้อมูลอุณหภูมิน้ำทะเล วิเคราะห์ เอลนีโญ-ลานีญา คาดหลัง มิ.ย.น้ำมา
ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากสภาวะเอลนีโญ ทำให้อากาศอุ่นและมีฝนตกน้อย
        ดร.ปัทมา อธิบายว่า "ปรากฏการณ์เอลนีโญ" (Elnino) คือการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นกว่าปกติ ซึ่งอุณหภูมิที่เปลี่ยนไปจะส่งผลให้ตำแหน่งการเกิดฝนเปลี่ยนไปจากเดิม ฝนที่เคยตกต้องตามฤดูกาลจึงล่าช้า หรือมีปริมาณน้ำฝนน้อยลงกว่าเดิม ส่วนปรากฏการณ์ตรงข้ามที่มักเกิดขึ้นติดต่อกันอย่าง "ปรากฏการณ์ลานีญา" (Lanina) คือ การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติ ทำให้ฝนตกมาก โดยการเปลี่ยนแปลงของบริเวณการเกิดฝนจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ อย่างไรก็ดีทั้งเอลนีโญและลานีญาเป็นลักษณะปกติของมหาสมุทรแปซิฟิกที่จะมีการเปลี่ยนแปลงทุกๆ 2-7 ปี

คลี่ข้อมูลอุณหภูมิน้ำทะเล วิเคราะห์ เอลนีโญ-ลานีญา คาดหลัง มิ.ย.น้ำมา
การวัดค่าอุณหภูมิน้ำทะเลสำหรับใช้เป็นดัชนีชี้วัดจะทำที่บริเวณกลางมหาสมุทรแปซิฟิก
        การทำนายความรุนแรงของปรากฏการณ์เอลนีโญและลานีญา ดร.ปัทมา ระบุว่าสามารถทำได้โดยการใช้แบบจำลองของมหาสมุทร-อากาศ โดยแบบจำลองจะเกิดจากการรวบรวมข้อมูลน้ำทะเลบริเวณกลางมหาสมุทรแปซิฟิก ทั้งอุณหภูมิที่ผิวน้ำและใต้น้ำที่เก็บได้จากสถานีหรือทุ่นตรวจวัดของหน่วยงานด้านอุตุนิยมวิทยาของหลายๆ ประเทศซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วเช่น สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ประเทศแถบยุโรปที่แต่ละแบบจำลองจะมีฟังก์ชันที่แตกต่างกันออกไป แต่ดัชนีที่ใช้แพร่หลายที่สุด คืออุณหภูมิของน้ำทะเล โดยมีเกณฑ์กำหนดว่าถ้าอุณหภูมิของน้ำทะเลที่วัดได้มีค่าสูงกว่าปกติ 0.5 องศาเซลเซียสต่อเนื่องกัน 5 เดือนถึงจะนับเป็นปรากฏการณ์เอลนีโญ แต่ถ้าเป็นลานีญาก็จะวัดจากอุณหภูมิน้ำทะเลที่ต่ำกว่าค่าปกติ 0.5 องศาเป็นเวลาติดต่อกัน 5 เดือน

คลี่ข้อมูลอุณหภูมิน้ำทะเล วิเคราะห์ เอลนีโญ-ลานีญา คาดหลัง มิ.ย.น้ำมา
ในช่วงต้นปีปรากฏการณ์เอลนีโญยังรุนแรง และมีแนวโน้มที่จะเข้าสู่ภาวะปกติในเดือน พ.ค.'59
        สำหรับข้อมูลอุณหภูมิน้ำทะเลเฉลี่ยล่าสุด (เฉลี่ยจากเดือน ต.ค. ถึง ธ.ค. 58)โดยศูนย์ทะเลและบรรยากาศแห่งสหรัฐฯ (National Oceanic amd Atmospheric Administration: NOAA) ระบุตัวเลขอยู่ที่ +2.3 หรืออุณหภูมิน้ำทะเลสูงกว่าค่าปกติ 2.3 องศาเซลเซียส ทำให้ปี 2558 ที่คาบเกี่ยวมาถึงปี 2559 ถูกจัดให้เป็น "ปีซูเปอร์เอลนีโญ" เพราะเป็นปีที่มีปรากฏการณ์เอลนีโญรุนแรงแทบจะที่สุดในประวัติศาสตร์ ตั้งแต่มีการบันทึกข้อมูลมาประมาณ 60 ปี โดยเป็นรองแค่เอลนีโญที่เกิดขึ้นในปี 2540-2541 โดยเอลนีโญระลอกนี้เริ่มก่อตัวมาตั้งแต่เดือน มี.ค.58 ทำให้หน้าฝนของปี'58 เกิดฝนตกช้าและมีปริมาณน้อยทำให้ปริมาณน้ำในเขื่อนทั่วประเทศอยู่ในระดับวิกฤต โดยแบบจำลองส่วนใหญ่คาดว่าเอลนีโญระลอกนี้จะอ่อนกำลังลงในช่วง เม.ย ถึง พ.ค. 59

คลี่ข้อมูลอุณหภูมิน้ำทะเล วิเคราะห์ เอลนีโญ-ลานีญา คาดหลัง มิ.ย.น้ำมา
ดร.ปัทมา สิงหรักษ์
        "หลังเดือน มิ.ย. 59 แบบจำลองบอกว่าเอลนีโญจะอ่อนกำลังลงไปแน่ๆ เราจึงมั่นใจได้ว่าฝนจะตก จะไม่แล้งต่อ แต่ปัญหาคือเราไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าอากาศจะเข้าสู่ภาวะปกติ (neutral) หรือจะเปลี่ยนแปลงไปสู่ปรากฏการณ์ลานีญาตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์ เพราะไทยตั้งอยู่ในภูมิประเทศที่สภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงแบบไม่ชัดเจน คือจะได้รับอิทธิพลเอลนีโญมากสุดก็ไม่ แค่อยู่ในโซนที่ได้รับผลกระทบ เราจึงไม่สามารถฟันธงได้ว่าข้างหน้าเราจะต้องเจอกับสภาพอากาศแบบไหนซึ่งมันก็เป็นความโชคร้ายในความโชคดี จะบอกผลได้ชัดๆอีกทีก็ประมาณเดือนพ.ค."ดร.ปัทมา กล่าว

       นอกจากนี้ทีมข่าวฯ ยังถามถึงความเป็นไปได้ ถึงการเกิดมหาอุทกภัยที่ชาวโซเชียลเคยหวั่นวิตกกันว่าจะเกิดซ้ำขึ้นอีกในช่วงปลายปี'59 ซึ่งดร.ปัทมาให้ความเห็นว่า จากปริมาณน้ำที่มีอยู่น้อยมากในแต่ละเขื่อนน่าจะเป็นไปได้ยาก แต่ถ้าหากเกิดลานีญา มีฝนตกมากหลัง มิ.ย. และเกิดการบริหารผิดพลาดอีกก็อาจเกิดน้ำท่วมได้

คลี่ข้อมูลอุณหภูมิน้ำทะเล วิเคราะห์ เอลนีโญ-ลานีญา คาดหลัง มิ.ย.น้ำมา
รศ.ดร.อำนาจ ชิดไธสง
        เช่นเดียวกับ รศ.ดร.อำนาจ ชิดไธสง นักวิจัยบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) กล่าวว่า โลกเผชิญกับภาวะเอลนีโญระลอกปัจจุบันมาตั้งแต่ต้นปี 2558 ซึ่งสังเกตได้จากสภาพอากาศที่ร้อนกว่าปกติและปริมาณน้ำฝนที่ตกค่อนข้างน้อย ซึ่งผลพวงจากปริมาณน้ำที่มีน้อยและมีการใช้สอยสำหรับทำการเกษตรในปีที่ผ่านมา ทำให้มีแนวโน้มว่าปีนี้ประเทศไทยจะประสบวิกฤติภัยแล้งมากขึ้นกว่าเก่า

       อย่างไรก็ดี รศ.ดร.อำนาจ เผยว่าปรากฏการณ์เอลนีโญที่ทำให้เกิดความแห้งแล้งเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นบ่อยและคนไทยควรเตรียมพร้อมรับมือ เพราะในอนาคตสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงสุดขั้ว เช่น ร้อนจัด หนาวจัด น้ำแล้งหรือน้ำท่วมจะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอีกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และหน้าที่ที่สำคัญของคนไทยทุกคนขณะนี้ คือการประหยัดน้ำ ใช้น้ำอย่างมีสติ

คลี่ข้อมูลอุณหภูมิน้ำทะเล วิเคราะห์ เอลนีโญ-ลานีญา คาดหลัง มิ.ย.น้ำมา
        ทำนองเดียวกันกับ ศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล อาจารย์ประจำภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่กล่าวว่า ปรากฏการณ์เอลนีโญรุนแรงไม่ได้เพิ่งเริ่มในปีนี้แต่เริ่มมาเรื่อยๆ ตั้งแต่เดือน มี.ค.58 จนเมื่อเดือน ธ.ค. ที่ผ่านมาได้ทวีกำลังเป็นเอลนีโญที่สูงที่สุด โดยมีค่าอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเล (Sea Surface Temperature: SST) อยู่ที่ระดับ +2.3 ซึ่งถือว่าเป็นเอลนีโญรุนแรง โดย ศ.ดร.ธนวัฒน์คาดว่าค่า SST ของเดือน ม.ค.59 ซึ่งยังไม่มีประกาศอย่างเป็นทางการน่าจะมีแนวโน้มลดลงแต่จะยังคงอยู่ในระดับรุนแรงเพราะนักวิจัยในแวดวงคาดการณ์ว่า น่าจะพ้นวิกฤติเอลนีโญช่วงประมาณกลางเดือน พ.ค.59 เป็นต้นไป

คลี่ข้อมูลอุณหภูมิน้ำทะเล วิเคราะห์ เอลนีโญ-ลานีญา คาดหลัง มิ.ย.น้ำมา
ในช่วงต้นปีปรากฏการณ์เอลนีโญยังรุนแรง และมีแนวโน้มที่จะเข้าสู่ภาวะปกติในเดือน พ.ค.'59
        "นอกจากเอลนีโญรุนแรงจะทำให้ฝนตกน้อยกว่าปกติจนแห้งแล้งแล้ว ยังทำให้ปีนี้ร้อนหนัก ซึ่งอาจเป็นตัวชักนำพายุฤดูร้อนและลมกรรโชกแรง แต่ถ้าผ่านพ้นไปได้ช่วง พ.ค. ถึง ก.ย. น่าจะเข้าสู่ภาวะนิวทรอล คือฝนปกติ ภูมิอากาศปกติ แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องถอดบทเรียนคือเหตุการณ์แบบนี้มันจะคล้ายคลึงกับปี 53 ซึ่งตอนนั้นแล้งจัดสืบเนื่องจากปี 52 ทำให้เมื่อพ้นวิกฤติแล้ง ฝนตกปกติทุกคนต่างกลัวแล้งอีกจึงรีบเก็บน้ำกัน พอฝนตกเข้ามากระบายน้ำไม่ทันจึงเกิดเป็นมหาอุทกภัยปี 54 ปี ผมจึงอยากเตือนว่าพอหมดแล้ง ฝนกลับมาตกปกติ "อย่าเก็บน้ำเพลิน" มิเช่นนั้นหน้าฝนปี 60 จะเกิดมหาอุทกภัยซ้ำรอยปี 54 แน่นอน "ถ้า" บริหารจัดการไม่ดีไม่ใช่จากธรรมชาติ"ศ.ดร.ธนวัฒน์ กล่าว

คลี่ข้อมูลอุณหภูมิน้ำทะเล วิเคราะห์ เอลนีโญ-ลานีญา คาดหลัง มิ.ย.น้ำมา
แบบจำลองและดัชนีชี้วัดต่างๆ สำหรับการพยากรณ์ปรากฏการณ์เอลนีโญ ลานีญา
        ศ.ดร.ธนวัฒน์กล่าวว่า ถ้าย้อนกลับไปเปรียบเทียบกับเหตุการณ์เอลนีโญในปีก่อนๆ จะพบว่าไทยเผชิญหน้ากับภาวะแล้งมาตั้งแต่ปี '58 ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการบริหารจัดการน้ำที่ผิดพลาด เนื่องจากคาดการณ์ว่าน้ำจะมาตามนัดแต่ไม่มาตามนัด อาจเป็นเพราะผู้บริหารไม่ทราบข้อมูลว่าเอลนีโญจะมาตั้งแต่เดือน มี.ค. จึงปล่อยให้ชาวนาทำนาปรังในพื้นที่ชลประทานในช่วงหน้าแล้งปี '58 เพราะคาดว่าเมื่อถึงช่วงหน้าฝนหรือประมาณเดือน พ.ค. ฝนจะตกลงมา

       "แต่ในความจริงฝนได้ตกในช่วง ก.ค. จึงเกิดเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของไทยที่รัฐบาลต้องประกาศเชิญชวนให้ชาวนาชะลอการปลูกข้าวนาปี ซึ่งในปีนี้ก็ไม่แตกต่างไปจากเดิมและวิกฤติภัยแล้งยังจะเลวร้ายขึ้นอีกเพราะวันนี้น้ำในเขื่อนหลักๆ มีน้อยกว่าปีที่แล้วอีก 50% หรือประมาณ 3,000 ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น จึงน่าจะถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลจะต้องออกมาตรการประหยัดน้ำให้คนทั้งประเทศได้ตระหนัก"

คลี่ข้อมูลอุณหภูมิน้ำทะเล วิเคราะห์ เอลนีโญ-ลานีญา คาดหลัง มิ.ย.น้ำมา
ศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล
        "ถ้ารณรงค์ไม่ให้ชาวนาปลูกข้าว แต่ชาวเมืองใช้น้ำกันอย่างสิ้นเปลืองนี่ก็หายนะอยู่ดี เราต้องเริ่มประหยัดกันได้แล้ว น้ำต้นทุนมีน้อยมาก ผมจึงค่อนข้างมั่นใจว่าปลายปีนี้จะไม่มีน้ำท่วม แต่แล้งแน่ๆ 100% แต่ถ้าพูดถึงหน้าฝนปี '60 ก็ไม่แน่น้ำท่วมใหญ่อาจจะมาอีกรอบก็ได้ เพราะหลัง พ.ค. 59 ฝนจะเริ่มตกปกติถ้าคราวนี้ยังบริหารจัดการกันไม่ดีก็เตรียมตัวไว้ได้เลย เรื่องแล้งๆท่วมๆ มันต้องมองอย่างเป็นระบบ ต้องแก้ที่ต้นเหตุ ผมจึงอยากฝากไปถึงผู้นำประเทศ เพราะที่ผ่านมาเรามุ่งแต่การหาปริมาณน้ำ ซึ่งมันเป็นแนวคิดของประเทศที่ด้อยพัฒนา" ศ.ดร.ธนวัฒน์กล่าว

       ถ้าอยากจะพัฒนา ศ.ดร.ธนวัฒน์กล่าวว่าเราต้องดูไปถึงประสิทธิผลของการใช้น้ำ น้ำลิตรหนึ่งของเรากับของอิสราเอลสร้างมูลค่าเพิ่มได้ต่างกันมหาศาล ทั้งที่อิสราเอลเป็นทะเลทราย เทียบกับคนทั่วโลกไทยจึงมีอัตราการใช้น้ำสิ้นเปลืองที่สุด มีหลักการบริหารน้ำไม่ต่างไปจากประเทศด้อยพัฒนา

       "ถ้าเป็นไปได้เราต้องวางระบบใหม่ตั้งแต่กรอบแนวคิด ต้องใช้วิทยาศาสตร์มองไปถึงอนาคต ไม่ใช่แก้ปัญหาแบบขายผ้าเอาหน้ารอดไปวันๆ แบบที่เป็นอยู่" ศ.ดร.ธนวัฒน์ กล่าวทิ้งท้าย





Create Date : 19 กุมภาพันธ์ 2559
Last Update : 19 กุมภาพันธ์ 2559 21:39:19 น. 0 comments
Counter : 1661 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

justice0009
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




[Add justice0009's blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com