มกราคม 2557

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
15
16
17
18
19
21
22
23
24
25
26
28
29
30
 
 
All Blog
พลังงานทางเลือกใหม่
พลังงานทางเลือกใหม่

นานนับศตวรรษที่น้ำมันดิบเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์และนับวันยิ่งมีความต้องการใช้เพิ่มมากขึ้นทว่าปัญหาวิกฤติราคาน้ำมันตลอดจนสถานะการเป็นพลังงานที่ใช้แล้วหมดไปรวมทั้งเป็นสาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อม ทำให้หลายประเทศทั่วโลกคิดค้นพลังงานทางเลือกใหม่ๆโดยเฉพาะพลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นพลังงานทางเลือกขึ้นมาทดแทนและหนึ่งในนั้นคือ พลังงานจากพืช หรือพลังงานสะอาด
ปตท.ในฐานะบริษัทพลังงานแห่งชาติซึ่งมีภาระหน้าที่หลักโดยตรงในการแสวงหาพลังงานทางเลือกใหม่เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้งานในอนาคตจึงมุ่งมั่น คิดค้นและวิจัยเรื่องพลังงานทดแทนอย่างต่อเนื่องโดยเน้นไปที่ผลิตผลทางการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อศึกษาตั้งแต่สายพันธุ์กระบวนการผลิต และเทคโนโลยีในการผลิตพัฒนาจนเกิดเป็น พลังงานทางเลือกใหม่ เช่น น้ำมันแก๊สโซฮอล์ น้ำมันดีเซลปาล์ม(บริสุทธิ์)น้ำมันจากผลสบู่ดำ (กำลังอยู่ในขั้นตอนการวิจัย) เป็นต้นและปัจจุบันพลังงานทางเลือกใหม่ของคนไทยทั้งประเทศที่นักวิทยาศาสตร์ต่างให้ความสนใจคือ“สาหร่าย” สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่มีคุณค่าอเนกอนันต์

สาหร่ายจัดเป็นพืชชั้นต่ำที่มีคลอโรฟิลล์สูงจึงใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณมากเพื่อสังเคราะห์แสงทั้งยังอุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหารไม่ว่าจะเป็นคาร์โบไฮเดรต โปรตีน แร่ธาตุและวิตามินหลายชนิด ที่สำคัญคือมีน้ำมันในปริมาณมากพอที่จะสกัดออกมาใช้หากมีการปลูกและการควบคุมตัวแปร รวมถึงสภาพแวดล้อมเป็นอย่างดีจะมีส่วนช่วยทำให้สาหร่ายมีอัตราการเจริญเติบโตเร็วกว่าพืชชนิดอื่นๆทำให้เห็นถึงความเป็นไปได้หากนำมาศึกษาเพื่อพัฒนาเป็น “พืชพลังงานทางเลือก” ต่อไปจากการที่คณะนักวิจัยจากสถาบันวิจัยและเทคโนโลยีปตท.ได้เดินทางไปดูงานที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศนำร่องการผลิตน้ำมันจากสาหร่ายในฐานะพลังงานทางเลือกใหม่เพื่อมาใช้กับรถยนต์จึงได้นำองค์ความรู้มาใช้ในการพัฒนาไบโอดีเซลในประเทศไทย โดย ปตท.ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี และ BIOTEC ทำการศึกษาวิจัยและพัฒนาการผลิตพลังงานทางเลือกจากสาหร่ายน้ำมันตั้งแต่การคัดเลือกสายพันธุ์การออกแบบระบบเพาะเลี้ยง และการสกัดน้ำมันรศ. ดร.ประหยัด โภคฐิติยุกต์ อาจารย์และนักวิจัย ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ได้รับทุนจาก ปตท.เพื่อวิจัยพลังงานทางเลือกผลิตน้ำมันไบโอดีเซลจากสาหร่ายได้กล่าวถึงการวิจัยในช่วงเริ่มต้นว่า สาหร่ายสีเขียว3 ชนิดที่นำมาทดสอบจะให้น้ำมันประมาณร้อยละ 20 – 30ขณะที่สาหร่ายทั่วไปจะให้น้ำมันเฉลี่ยราวร้อยละ 7 – 14 และสาหร่ายที่โตเร็วก็มักจะให้น้ำมันน้อยกว่าสาหร่ายที่โตช้าคณะวิจัยได้เพาะเลี้ยงสาหร่ายในห้องทดลองเพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วพร้อมทั้งให้น้ำมันมากแล้วจึงขยายลงสู่บ่อเพาะเลี้ยงต่อไปนอกจากนี้ยังพบด้วยว่าสภาพแวดล้อมในประเทศไทยเหมาะแก่การเพาะเลี้ยงสาหร่ายอย่างยิ่งเพราะภายใน 24 ชั่วโมงสาหร่ายก็เติบโตได้อย่างสมบูรณ์ขณะที่พืชพลังงานทางเลือกอื่นๆต้องใช้เวลาเพาะปลูกนานกว่า 6 – 7 ปีจึงจะสกัดน้ำมันได้ รศ.ดร.ประหยัดได้เปรียบเทียบว่าหากเลี้ยงสาหร่ายในบ่อพื้นที่ขนาดเท่ากับพื้นที่ปลูกสบู่ดำ1 ต้น เป็นเวลา 7 ปีสบู่ดำจะให้น้ำมันร้อยละ 25 ในขณะที่สาหร่ายให้น้ำมันมากถึงร้อยละ1,000 ปริมาณน้ำมันนี้อาจเพียงพอกระทั่งผลิตเพื่อส่งออกต่างประเทศได้ในส่วนของกรรมวิธีในการสกัดน้ำมันจากสาหร่ายนั้นคณะวิจัยได้นำองค์ความรู้ที่สืบเนื่องมาจากการวิจัยพืชพลังงานรุ่นก่อนโดยวางแนวทางไว้ 5 วิธี ได้แก่การใช้แรงเหวี่ยงแยกเอาน้ำมันออก การตกตะกอนแยกเอาตัวสาหร่ายออกการใชสารละลายทางเคมีละลายเอาน้ำมันออกการใช้กระแสไฟฟ้ากระตุ้นให้สาหร่ายคลายน้ำมันและการบีบอัดเพื่อให้คลายน้ำมันอย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้ยังเป็นแนวทางที่ต้องศึกษากันต่อไปว่าวิธีใดจะเหมาะสมกับเครื่องยนต์และความต้องการใช้งานของคนไทยมากที่สุดในทางอ้อม ผลพลอยได้จากการสกัดน้ำมันจากสาหร่าย คือการนำกากสาหร่ายที่ตกตะกอนไปใช้เป็นวัตถุดิบของผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น อาหารสัตว์ปุ๋ย ยา เป็นต้น นอกจากนี้สาหร่ายยังเอื้อประโยชน์ในด้านอื่นๆทั้งการสร้างงานของเกษตรกรสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน สังคม และประเทศชาติลดการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศบรรเทาผลกระทบจากวิกฤติราคาน้ำมันที่มีต่อทุกภาคส่วนของสังคมก่อเกิดการขยายตัวของธุรกิจปิโตรเลียมและธุรกิจอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง

ดร.ส่งเกียรติ ทานสัมฤทธิ์ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท.ได้เคยให้ทัศนะต่อการนำสาหร่ายมาเป็นพืชพลังงานทางเลือกว่าไม่เพียงยังประโยชน์ในการเป็นพลังงานทดแทนการเพาะเลี้ยงสาหร่ายเป็นจำนวนมากยังช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาไหม้ต่างๆซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีในการช่วยบรรเทาปัญหาโลกร้อนได้ และคาดว่าในอีก 2 – 3 ปีข้างหน้าแวดวงพลังงานของไทยอาจค้นพบพลังงานทางเลือกรูปแบบใหม่ๆที่เอื้อประโยชน์ต่อการใช้น้ำมันของคนไทยทั้งประเทศย่างไรก็ตามปตท. ยังคงมุ่งหวังให้พลังงานน้ำมันจากสาหร่ายเป็นพลังงานทางเลือกใหม่ เตรียมพร้อมไว้ใช้ในอนาคตเพื่อให้ประเทศสามารถใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนเกิดการคิดค้นพลังงานทดแทนเป็นทางออกให้กับวิกฤติทางด้านพลังงานในครั้งนี้จิตสำนึกในการใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่าก็เช่นกัน หากโลกต้องประสบภาวะขาดแคลนจนถึงจุดที่มีมนุษย์ทุกคนไม่มีน้ำมันดิบใช้ พลังงานทางเลือกหรือพลังงานสะอาดจาก“สาหร่าย” อาจเป็นหนึ่งทางรอดที่ช่วยเยียวยาเรื่องวิกฤติพลังงานน้ำมันของมนุษยชาติในอนาคต




Create Date : 14 มกราคม 2557
Last Update : 14 มกราคม 2557 10:28:10 น.
Counter : 993 Pageviews.

0 comments

สมาชิกหมายเลข 713615
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



เราเป็นคนง่ายๆ ใช้ชีวิตไม่มีแบบแผนอะไรมาก คิดอะไรได้ก็เขียนก็ระบาย ขอบคุณที่แวะมา และขอบคุณที่เข้ามารับฟัง