เนื้อหา การเรียน และข่าวสารคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน เอกวารสารศาสตร์สื่อประสม มหาวิทยาลัยรามคำแหง
 
สิงหาคม 2551
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
14 สิงหาคม 2551

ประเภทของบทความ

ประเภทของบทความjavascript:edittext(document.newform.detail.value,0)

ดังได้กล่าวแล้ว บทความนั้นมีลักษณะหลากหลายในการเขียน ดังนั้นในการระบุประเภทของบทความย่อมสามารถพิจารณาได้หลายลักษณะ แต่ในที่นี้จะจำแนกเป็น 10 ประเภทดังนี้

1. บทความเชิงบรรยาย (Narrative Article) เป็นบทความที่บรรยายประสบการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในลักษณะแปลกใหม่ ต้องบอกแก่ผู้อ่านเท่าที่ตนทราบ โดยบอกได้อย่างถูกต้อง ไม่น่าเบื่อ กล่าวคือการบรรยายให้ผู้อ่านสนใจ ประทับใจ เขียนให้เห็นจริงเห็นจัง โดยละเอียด ใช้ภาษาเรียบ ง่าย ไม่กำกวม ไม่วกวน

ในการเขียนโดยมากจะกล่าวถึงการใช้สรรพนามบุรุษที่หนึ่งหรือบุรุษที่สาม กล่าวคือถ้าเป็นการใช้สรรพนามบุรุษที่หนึ่ง จะเป็นการบรรยายประสบการณ์ในเหตุการณ์หนึ่งเหตุการณ์ใดของผู้เขียนที่บรรยายเป็นงานเขียนออกมา ถ้าเป็ฯการใช้สรรพนามบุรุษที่สาม จะเป็ฯการบรรยายถึงประสบการณ์ของบุคคลอื่นซึ่งเป็นใครก็ได้ที่ไม่ใช่ผู้เขียน

2. บทความเชิงแสดงบุคลิกภาพ (Personality Sketch Article) เป็นบทความที่มุ่งให้ผู้อ่านทราบคุณลักษณะบุลิกภาพของบุคคลที่ทำให้บุคคลนั้นมีชื่อเสียง สิ่งซึ่งทำให้บุคคลมีจุดเด่น น่าสนใจ การเขียนจะยึดหลักข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง และใช้ความคิดเห็นจากบุคคลอื่นประกอบ ทั้งต้องระลึกเสมอว่าไม่ใช่เป็นการเขียนชีวประวัติบุคคล

3. บทความเชิงสัมภาษณ์ (Interview Article)เป็นบทความแสดงความคิดเห็นของบุคคลต่อปรากฏการณ์ใด โดยปกติบทความประเภทนี้มักจะมีคำถาม คำตอบสลักกับแกนรูปแบบการเขียนลักษษณะร้อยแก้ว เหมือนกับบทความประเภทอื่น ๆ อย่างก็ดีในการเขียนผู้เขียนควรแทรกเกร็ดของเรื่องหรือแต่ละประเด็ในบางตอนเพื่อขจัดความน่าเบื่อ

4. บทความเชิงสาธิตวิธีการ (How-to-do-it Article) เป็นบทความที่เขียนเพื่ออธิบายการกระทำตามขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยเริ่มตั้งแต่ต้นจนสิ้นสุดขั้นตอน หรือครบกระบวนการ เพื่ผู้อ่านอ่านจนสามารถนำไปปฏิบัติได้ การเขียนบทความประเภทนี้จะต้องเขียนให้รายละเอียดมากกว่าการเสนอเพียงข้อมูลเท่านั้น

5. บทความความเรียง (Easay Article) เป็นบทความที่ค่อนข้างสั้น จะต้องจัดการลำดับข้อเท็จจริง การเสนอประเด็นที่จัดกุม เพราะมีประเด็นในการเขียนเพียงประเด็นเดียว การเขียนบทความความเรียงนี้ จะแตกต่างกับการเขียนเรียงความธรรมดำมาก ดังนั้น ผลงานเขียนบทความประเภทนี้จะสะท้อนให้เห็นสมรรถนะหรือบุคลิกลักษณะการเขียนของผู้เขียนแต่ละคน เพราะว่าบทความเชิงความเรียงนี้ยังแยกตามวัตถุประสงค์การเขียนได้อีก 5 ลักษณะ คือ

5.1 บทควาเพื่อให้ข่าวสาร (Information Article) เป็นบทความที่มุ่งให้ข้อมูลเพิ่มเติมจากข่าว แต่การเขียนรูปแบบต่างกับการเขียนข่าว กล่าคือ เขียนตามเนื้อหาสาระตามลำดับที่ผู้เขียนต้องการให้ผู้อ่านได้ทราบ ดังนั้นบรรณาธิการ ไม่สามารถตัดข้อความในตอนท้ายของบทความออกได้

5.2 บทความเพื่อแสดงความเห็น (Opinion Article) เป็นบทความที่เสนอควาคิดเห็นของผู้เขียนในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ด้วยเหตุผล และข้อเท็จจริงแก่ผู้อ่าน ความคิดเห็นดังกล่าวจะต้องแปลกกว่าที่เคยมีมา และเป็ฯในทางสร้างสรรค์มีความเป็นไปได้ น่าสนใน แต่ต้องไม่ใช่ความคิดเห็นเป็นลักษณะโฆษณาชวนเชื่อ (propaganda) ประการสำคัญความคิดเห็นนั้นจะต้องมากจากการบูรณการของข้อเท็จจริง

5.3 บทความเพื่อการอธิบาย (Interprete Article) เป็นบทความที่มีลักษณะที่ใกล้เคียงกับบทความเพื่อการให้ข่าวสาร และบทความเพื่อแสดงควาเห็น แต่มีวามแตกต่างกันตรงที่ ทความเพื่อการอธิบายจะให้แง่มุมที่ลึกซึ้งกว่า โดยเฉพาะจะเป็ฯการตอบคำถามของคำถามเหล่านี้ คือ ใคร อะไร เมื่อไหร่ ที่ไหน ทำไม และอย่างไร ซึ่งจะเน้นตอบคำถามอย่างไรมากกว่า

5.4 บทความชวนขัน (Humorous Article) เป็นบทความที่ค่อนข้างเขียนยากเพราะว่า การเขียนบทความชวนขัน ในที่นี้ไม่ใช่เป็นการเขียนมุขตลกขบขัน แต่เป็นการเขียนจากข้อเท็จจริง โดยใช้ข้อมูลในบางเรื่อง อตจเป็นข้อเท็จจริงที่หนักสมองแต่นำมาเขียนให้ชวนขัน ซึ่งในขณะขบขันนั้นจะมีความรู้สึกบางอย่างขึ้นพร้อมกัน เช่น ขบขันทั้งน้ำตา การเขียนบทความลักษณะนี้ จะเริ่มต้นจากการเขียนที่มีลีลาที่สุภาพเรื่อยไปจนกระทั่งมีบางตอนบางแห่งหรือหลายแห่งจะมีถ้อยคำหรือข้อความเป็นลักษณะหยิกแกมหยอก ยั่วยุ เสียดสี ฯลฯ โดยใช้คภชวนขัน

5.5 บทความกระตุ้นจิตสำนึก (Inspirational Article) เป็นบทความที่ผู้เขียนมุ่เสนอประสบการณ์ของตนเองหรือผู้อื่นเกี่ยวกับความเชื่อ ศาสนา การตัดสินใน ความมานะ พยายาม ความอดทน ความเจ็บป่วย ฯลฯ เพื่อกระตุ้นหรือปลุกระดมให้ผู้อ่านมีความสำนึกในบางเรื่องบางสถานการณ์

6. บทความเชิงโต้แย้ง (Controyersial Article) เป็นบทความที่มีประเด็นปัญหาที่แตกต่างกันในเชิงความคิด ผู้เขียนเสนอข้อเท็จจริงและเหตุผลให้มีความสมดุลระหว่างประเด็นที่แตกต่างกัน แล้วปล่อยให้ผู้อ่านได้พิจารณาตัดสินเอง

7. บทความเชิงวิจารณ์ (Critical Article) เป็นบทความที่เกี่ยวกับวรรณกรรมหรือศิลปกรรม บทความประเภทนี้มี 2 ลักษณะ ลักษณะแรก เป็นการเขียนแนะนำให้ทราบแม้จะมีการวิจารณ์ก็ไม่ค่อยจะรุนแรงมาก ส่วนอีกลักษณะเป็นการเขียนวิจารณ์ที่รุแรงเพื่อวินิจแัยคุณค่าของผลงานนั้น ๆ การวิจารณ์อาศัยหลักแลกฎเกณฑ์ทั้งทางฟฤษฎีและเหตุผลข้อเท็จจริงเป็นหลัก เพื่อการประเมินคุณค่าอย่างเป็นธรรม

8. บทความเชิงวิเคราะห์ (Analytical Article) เป็นบทความที่มุ่งเสนอการวิเคราะห์เหตุการณ์ใด ๆ โดยเน้นประเด็นสำคัญของเรื่อง ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีการประเมินคุณค่าเสมอไป แต่ควรมีข้อเสนอที่ว่าสิ่งที่เกิดขณะนั้นจะนำไปสู่เหตุการณ์อะไรในอนาคตได้บ้าง ซึ่งการวิเคราะห์จะต้องมีความสมเหตุสมผลในการเขียน นอกจากนั้นอาจสรุปเป็นแนวคิดแก่ผู้อ่านก็ได้

9. บทความเชิงสารคดี (Feature Article) เป็นบทความที่เขียนแบบสารคดีมีการวิเคราะห์วิจารณ์ควบคู่กันไป ทำให้มีสาระมากกว่าบันเทิง กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การเอาข้อเท็จจริงที่มีสารมาเขียนในรูปแบบของสารคดีนั่นเอง

10. บทความเชิงวิชาการ (Academic Article) เป็นบทความที่มุ่งเสนอความรู้เรื่องใด เรื่องหนึ่งโดยตรง ได้ แก่ รายงานทางวิชาการ รายผลการวิจัย รายงานการประชุมเชิงวิชาการเป็นต้น บทความประเภทนี้มีการเสนอสาระอย่างตรงไปตรงมา แต่บางครั้งอาจมีการอธิบายเพิ่มเติมเพื่อความกระจ่างแก่ผู้อ่านในบางส่วนเท่าที่จำเป็นก็ได้

จากที่กล่าวมาข้างต้นเป็นการจำแนกประเภทของบทความในแนวหนึ่ง ซึ่งตำราบางเล่มอาจแบ่งประเภทของบทความที่แตกต่างไปจากนี้ เช่น เจือ สตะเวทิน แบ่งไว้ 2 ประเภท คือบทความทางการเมืองและบทความเชิงความรู้ นอกจากนั้น วาสนา เกตุภาค ได้แบ่งเป็น 2 ประเภท เช่นกัน คือ บทความทางวิชาการ และบทความทั่วไป เป็นต้น





Create Date : 14 สิงหาคม 2551
Last Update : 14 สิงหาคม 2551 18:54:25 น. 18 comments
Counter : 88806 Pageviews.  

 
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ

^^


โดย: BenzKun !! IP: 124.157.149.190 วันที่: 8 กันยายน 2552 เวลา:9:16:48 น.  

 
#BenzKun
หากมันเป็นประโยชน์ก็ยินดีเป็นอย่างยิ่งค่ะ


โดย: Tassanee วันที่: 3 ตุลาคม 2552 เวลา:23:06:34 น.  

 
ขอบคุณมากค่ะ มีประโยน์มากเลย


โดย: aura IP: 118.173.11.58 วันที่: 27 ตุลาคม 2552 เวลา:18:09:58 น.  

 
ขอบคุณมากนะคะ กำลังหาเรื่องนี้อยู่พอดีเลย จะเอาไปทำรายงานอ่าคะ ได้ไปเต็มๆเลยนะคะ ครบถ้วนจริงๆคะ ขอบคุณนะคะ


โดย: ฟ้าจัง IP: 222.123.238.240 วันที่: 5 มกราคม 2553 เวลา:19:40:08 น.  

 
ขอบคุงสำหรับข้อมูลมากนะ


โดย: น้องผึ้ง IP: 192.168.212.2, 112.142.150.136 วันที่: 19 มกราคม 2553 เวลา:14:39:59 น.  

 
โคตะระยาวเยย

ขี้เกลียดจด

ทีหลังเอาหั้ยสั้นๆหน่อยนะค่ะ


โดย: อะรัยมั้ยรู้ บอกหน่อยดิ IP: 192.168.212.2, 112.142.150.136 วันที่: 19 มกราคม 2553 เวลา:14:40:17 น.  

 
น่ารักจัง


โดย: น้องออย IP: 192.168.212.2, 112.142.150.136 วันที่: 19 มกราคม 2553 เวลา:14:40:42 น.  

 



โดย: ดเด IP: 203.172.201.183 วันที่: 28 มิถุนายน 2553 เวลา:13:45:59 น.  

 
ทำไมมันไม่มีหว่ะ



โดย: พะเเพง IP: 203.172.201.198 วันที่: 28 มิถุนายน 2553 เวลา:13:51:24 น.  

 
ไอ้ฟันเหยิน


โดย: บักนัท IP: 203.172.201.234 วันที่: 28 มิถุนายน 2553 เวลา:13:52:59 น.  

 
ขอบคณจร้า


โดย: รรรรรรร IP: 202.28.201.62 วันที่: 15 สิงหาคม 2554 เวลา:1:11:56 น.  

 
ขอบคุนครับ


โดย: - IP: 110.49.225.241 วันที่: 22 สิงหาคม 2554 เวลา:21:13:50 น.  

 
กุตอบคำถามไม่ได้แล้วโดนจิก


โดย: ชิมิ IP: 61.7.229.99 วันที่: 18 กรกฎาคม 2555 เวลา:14:41:49 น.  

 
งงเจ้า


โดย: งุงิ ตับๆ IP: 61.7.229.99 วันที่: 18 กรกฎาคม 2555 เวลา:14:42:35 น.  

 
ขอบคุนมากน๊าค๊า
มีงานไปส่งอาจายร์พูกนี้แล้ว
เปนพระคุณอย่างยิ่งค๊า


โดย: ฝ้าย IP: 119.42.109.182 วันที่: 19 ธันวาคม 2555 เวลา:20:15:29 น.  

 
ขอบคุณมากๆครับ เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง


โดย: RoBin Si IP: 223.204.177.2 วันที่: 11 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา:7:02:41 น.  

 
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ ข้างต้นด้วยนะครับเสาะหามานานมากกำลังทำบทความเพื่อนำไปส่งอาจารย์ (อยู่ๆก็เร่งมากระทันหัน)


โดย: Mr.Athipat IP: 119.76.99.26 วันที่: 14 พฤศจิกายน 2559 เวลา:12:48:09 น.  

 
มีประโยน์มากคะ ได้ความลู้ซุดๆเลย 🥰😍😘🤩😡😠😈🤬👻💀👺🤖


โดย: พูดไทยไม่ซัด IP: 182.232.187.45 วันที่: 3 สิงหาคม 2566 เวลา:10:04:34 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Tassanee
Location :
ปทุมธานี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]




เนื้อหา การเรียน และข่าวสารคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน เอกวารสารศาสตร์สื่อประสม มหาวิทยาลัยรามคำแหง
[Add Tassanee's blog to your web]