เนื้อหา การเรียน และข่าวสารคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน เอกวารสารศาสตร์สื่อประสม มหาวิทยาลัยรามคำแหง
 
สิงหาคม 2551
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
20 สิงหาคม 2551

หลักเบื้องต้นในการเขียนบทความ

โครงสร้างของบทความ

โครงสร้างของบทความโดยทั่วงไปซึ่งหากจำแนกตามลำดับการเสนอเนื้อหา สามแบ่งได้เป็น ชื่อเรื่อง ความนำ เนื้อเรื่อง และความสรุป

1. ชื่อเรื่อง ชื่อเป็ฯสิ่งที่ผู้อ่านจะเห็นก่อนส่วนอื่น ๆ ผู้เขียนจะต้องมีความมั่นในว่าชื่อเรื่องนั้นกะทัดรัด ชัดเจน และน่าสนใจหรือไม่ ชื่อเรื่องจะเป็นสิ่งบ่งบอกว่าผู้เขียนจะให้ผู้อ่านทราบว่าได้เขียนอะไรไว้

2. ความนำ ความนำมีวิธีการเขียนหลายแบบ แต่โดยทั่วไปเป็ฯการสรุปประเด็ฯสำคัญของเหตุการ์ หรือสาระสำคัญให้ได้ในความกะทัดรัด ชัดเจน โดยครอบคลุมเนื้อหาเหตุการณ์หรือประเด็ฯสำคัญทั้งหมด

3. เนื้อเรื่อง เนื้อเรื่องถ้าเป็ฯบทความเพื่อให้ข่าวสารจะเป็ฯไปในลักษณะข้อเท็จจริงและข้อมมูลอย่างกว้าง ๆ ถ้าเนื้อเรื่องที่เป็นบทความเชิงอธิบายความจะเสนอทั้งข้อมูลและการอธิบายขยายต่อให้สมบูรณ์ เป็นต้น อย่างหรก็ดี เนื้อเรื่องส่วนนี้เป็ฯส่วนที่ต่อเนื่องกับความในส่วนนี้จะเริ่มด้วยข้อเท็จจริง หรือความคิดเห็นอย่างมีเหตุมีผล มีข้อมูลสถิติ

4. ความสรุป เป็ฯส่วนท้ายของการเขียนบทความ สามารถเขียนได้หลายประเภทความจบนี้จะทำให้ผู้อ่านมีความรู้สึกว่าได้มีส่วนร่าวมในการประสบการณ์ที่สมบูรณ์ ซึ่งอาจย้ำประเด็นปัญหาที่กล่าวมาหรือเสนอแนะประเด็ฯต่าง ๆ ก็ได้

รายละเอียด นักศึกษษสามารถศึกษาการเขียน ชื่อเรื่อ ความนำ เนื้อเรื่อง และความสรุปต่อไป

การหาแนวคิดสำหรับเขียนบทความ

แนวคิดเป็นสิ่งสำคัญของการเขียนบทความเป็ฯอย่างมาก เปรียบเสมือนเป็นหัวในของเรื่อง แหล่งของแนวคิดสามารถหาได้จาก

1. ประสบการณ์และการสังเกต นักเขียนอิสระหรือนักเขียนสมัครเล่นมักจะเริ่มต้นการเขียนมาจากประสบการณ์ส่วนตัว เนื่องจากประสบการณ์และการสังเกตส่วนบุคคลนี้ จะทำให้ได้บทความที่ดีเพราะว่าผู้เขียนเองจะมีความเข้าใจในข้อเท็จจริงอย่าลึกซึ้ง

2.แปล่งข้อมูลด้านวิทยาการ ข้อมูลด้านวิทยาการที่กล่าวถึงนี้ ได้แก่ รายงานทางด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้มีการค้นพบในเรื่อต่าง ๆ และมีการประกาศเป็นครั้งแรก รวมทั้งเอกสารรายงานประจำ ได้แก่ วารสารทางด้านวิทยาศาสตร์ เอสาร เผยแพร่ของทางราชการ วารสารทางการค้า และหนังสือตำราต่าง ๆ

3. ผู้เชี่วยวชาญ ผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาก็เป็ฯแหล่งข้อมูลให้แนวคิดการกำหนดเรื่องที่สำคัญ เช่น ผู้เชี่ยวชาญด้านเภศัช ด้านกุมาร ด้านเครื่อยนต์กลไก ด้านการเกษตร ในการเข้าพบผู้เชี่วยชาญเพื่อศึกษาข้อมูลอาจทำได้หลายวิธี เช่น การสัมภษษณ์ ซึ่งนับว่าเป็ฯสิ่งจำเป็ฯที่สุด เพราะว่าการสอบถามผู้เชี่ยชาญจะทำให้ได้วัตถุดิบสนับสนุนการกำหนดเรื่อที่จะเขียน

4. การอ่านหนังสือพิมพ์และนิตยสารและเอกสารทางวิชาการ การอ่านหนังสือพิมพ์รายวันจะทำให้ได้แนวคิดเพื่อากรเขียนบทคามได้มากมาย โดยเฉพาะเรื่อรามข่าวสารหน้าแรกหน้าบทบรรณาธิการ คอลัมน์ต่าง ๆ สารคดี แม้กระทั่งโฆษณา รวมทั้งแปนกข่าวกีฬา

การอ่านนิตยสารก็เช่นเดียวกัน อาจให้แนวคิดที่แตกต่างไปจากหนังสือพิมพ์เนื่องจากข่าวสารในนิตยสารนั้นให้รายละเอียดและลึกซึ้งกว่าที่จัดพิมพ์ในหนังสือพิมพ์

นอกจากนั้นการอ่านเอกสารทางวิชาการ ได้แก่ หนังสือตำราทั้งหลาย และวิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัย ย่อมจะให้แนวคิดต่อการกำหนดแก่น (Theme) ที่จะเขียนบทความได้

การกำหนดแนวคิดให้ชัดเจน

โดยมากผู้เขียนที่เริ่มต้นเขียนบทความมักจะมีความกังวลหรือมีข้อมมูลมากจนหาแก่นของแนวคิดไม่ได้ ฉะนั้นการตีกรอบแห่งแนวคิดให้แคบลง มีส่วนสำคัญที่จะทำให้การเขียนบทความนั้นมีจุดมุ่งหมายอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในหนังสือพิมพ์จะตอบจากคำถามต่อไปนี้ ใคร อะไร เมื่อไร ทำไม ที่ไหน และอย่างไร ดังนั้น การตีกรอบแก่นของแนวคิดให้แคบนั้นก็คือเลือกตอบคำถามจาก 5 คำถาม ให้เหลือเพียง 1 คำถาม นั่นเอง




 

Create Date : 20 สิงหาคม 2551
4 comments
Last Update : 20 สิงหาคม 2551 18:15:52 น.
Counter : 5238 Pageviews.

 

มาเยี่ยมน้อง

Photobucket

 

โดย: Cheria (SwantiJareeCheri ) 21 สิงหาคม 2551 0:43:25 น.  

 

ขอบคุณค่ะที่มาเยี่ยมนะคะ

 

โดย: Tassanee 24 สิงหาคม 2551 12:43:09 น.  

 

การประเมินแนวคิดก่อนการเขียนบทความ

เมื่อผู้เขียนบทความดำเนิการหาแนวคิดสำหรับการเขียนและสามารถกำหนดประเด็ที่เขียนเป็นเรื่องได้ ต่อไปก็ดำเนิการเขียนตามขั้นตอนของการเขียน แต่การที่จะเขียนเสนอในหน้าหนังสือพิมพ์นั้น จำเป็นต้องมีการพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ ประกอบด้วย บางครั้งก็มีความจำเป็นต้องนำมาประเมินก่อนการลงมือเขียน ซึ่งมีหลายแนวทางในการพิจารณา แต่ในที่นี้จะจำเป็นต้องจำมาประเมินก่อนการลงมือเขียน ซึ่งมีหลายแนวทางในการพิจารณา แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงแนวทางทั่วไปที่ทำให้ ไม่สามารถนำแนวคิดมาเขียนบทความ ซึ่งได้แก่

1. ได้แนวคิดมาสายเกินไป
2. ได้แนวคิดมา แต่อาจเขียนและส่งพิมพ์ไม่ทันตามกำหนดการตีพิมพ์
3. แนวคิดยากเกินไป
4. แนวคิดที่จะเขียนขาดหลักคุณธรรม
5. แนวคิดที่จะเขียนไม่มีข้อมูลเพียงพอ
6. แนวคิดที่จะเขียนขาดภาพประกอบที่จำเป็น
7. แนวคิดที่จะเขียนขัดต่อนโยบายของหนังสือพิมพ์หรือนโยบายของรัฐ

ขั้นตอนการเขียนบทความ

การเขียนบทความโดยทั่วไป ประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญ ๆ ดังนี้

1. การคัดเลือกเรื่อง โดยพิจารณาหลักความสนใจ ข้อมูล และผู้อ่าน โดยพิจารณาตามหลักการ หาแนวคิด และการกำหนดประเด็นดังกล่าวแล้วข้างต้น

2. การวางแผนก่อนการเขียน ได้แก่ การกำหนดวัตถุประสงค์ และการกำหนดกลุ่มเป้าหมายผู้อ่านว่าเป็นใคร ต้องการให้ผลอะไร

3. การจัดเนื้อหา โดยเนื้อหาจะมีองค์ประกอบสำคัญ คือ ข้อเท็จจริงที่น่าเชื่อถือมีหลักฐานอ้างอิงได้ มีความสมเปตุสมผลในเชิงความคิดเห็น มีข้อยุติ หรือผลสรุป หรือเสนอแนะที่เป็นไปได้

4. การเรียบเรียงเนื้อหา ได้แก่ การสร้างลีลาเฉพาะตนเพื่อให้มีความหลากจากนักเขียนคนอื่นเท่าที่ทำได้ ซึ่งมีวิธีการต่าง ๆ เช่น การเขียนย่อหน้า การใช้คำให้เห็นภาพจ การสร้างเอกภาพโดยมุ่งสู่ประเด็นเดียตั้งแต่จ้นจนจบ การสร้างสัมพันธภาพโดยผูกร้อยข้อมควมต่าง ๆ ให้กลมกลืนกัน การสร้าความเด่นหรือเน้นประเด็นหลักที่สำคัญให้ชัดเจนแก่ผู้อ่าน รวมทั้ืงการสร้าความเชื่อมระหว่างย่อหน้าไปสู่อีกย่อหน้า และการใช้คำหรือวลีที่เหมาะสม ประการสุดท้ายการสรุปนั้นอาจใช้เป็นความย่อของเรื่องทั้งหมด หรือเป็นจุดเน้นความสนใจซึ่งเป็นจุดสุดยอดของเรื่อง หรืออาจเป็นความย้อนหลังไปสู่ต้นเรื่อง ได้แก่ การจำความนำมากล่าวอีกก็ได้ จากนั้นก็ทบทวนการเขียนจากร่างที่เขียนแล้วเพปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น

โดยสรุปแล้วในการเขียนบทความนี้จะต้องดำเนินการเขียนตามโครงสร้างของการเขียนบทความตั้งแต่ ชื่อเรื่อง ความนำ เนื้อเรื่อง และความสรุป

 

โดย: Tassanee 24 สิงหาคม 2551 14:42:34 น.  

 

เป็นข้อมูลสำหรับคนหัดเขียนบทความมือใหม่มากครับ.
ขอบคุณครับ.

 

โดย: กฤศ IP: 49.231.113.230 20 สิงหาคม 2556 23:09:05 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Tassanee
Location :
ปทุมธานี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]




เนื้อหา การเรียน และข่าวสารคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน เอกวารสารศาสตร์สื่อประสม มหาวิทยาลัยรามคำแหง
[Add Tassanee's blog to your web]