กรกฏาคม 2552

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
ท้องนอกมดลูก (ECTOPIC PREGNANCY)
ท้องนอกมดลูก (ECTOPIC PREGNANCY)

คือการตั้งครรภ์ที่เกิดขึ้นภายนอกโพรงมดลูก มักพบว่าเกิดขึ้นได้บ่อยที่บริเวณท่อนำไข่ข้างใดข้างหนึ่ง อาจพบได้ใน บริเวณอื่นๆ ที่พบรองลงมา คือ ที่รังไข่ หรือที่อยู่นอกระบบสืบพันธุ์ เช่นในช่องท้องหรือ ที่บริเวณปากมดลูกเป็นต้น

สาเหตุ

ไข่ที่ตกจากรังไข่ได้รับการปฏิสนธิและเกิดการฝังตัวขึ้นภายนอกโพรงมดลูก โดยส่วนมากพบที่ท่อนำไข่ เมื่อตัวอ่อนมีการเจริญเติบโตและมีขนาดใหญ่ขึ้น ท่อนำไข่ไม่สามารถขยายตามได้ จึงทำให้ท่อนำไข่แตกออก มีการตกเลือดในช่องท้อง ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิตได้

ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นเมื่อ

1มีการใช้ห่วงอนามัยเพื่อคุมกำเนิด ซึ่งเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน
2เคยมีการติดเชื้อในช่องท้องหรือในอุ้งเชิงกรานมาก่อน
3มีพังผืดเกิดขึ้นจากการที่เคยได้รับการผ่าตัดในอดีต
4เคยท้องนอกมดลูกมาก่อน
5เคยได้รับการผ่าตัดเกี่ยวกับท่อนำไข่หรือมดลูก
6มีประวัติว่าเป็น endometriosis
7มีความผิดปกติของมดลูก

การวิจฉัยอาการและอาการแสดงที่พบบ่อยในระยะเริ่มแรก

ประจำเดือนขาดหาย มีเลือดออกกะปริดกะปรอย หรือมีเลือดออกทางช่องคลอดที่หาสาเหตุไม่ได้
มีอาการปวดบริเวณท้องน้อย ในระยะที่มีภาวะแทรกซ้อน

ปวดท้องรุนแรงอย่างฉับพลัน ที่มีสาเหตุมาจากมีการแตกออกของท่อนำไข่
เวียนศีรษะ เป็นลมหมดสติ และ ช็อค ( ซีด หัวใจเต้นเร็ว ความดันเลือดตก เหงื่อออก ตัวเย็น ) ซึ่งอาจเกิดขึ้นก่อนหรือเกิดตามหลังอาการปวดก็ได้
การคาดหวังผลการรักษา

การตั้งครรภ์นอกมดลูกไม่สามารถดำเนินไปได้จนกระทั่งครบกำหนด หรือได้ทารกที่มีชีวิตรอด การแตกออกของท่อนำไข่เป็นกรณีฉุกเฉิน ที่จะต้องได้รับการรักษาจากแพทย์โดยเร่งด่วน การช่วยเหลือจะได้ผลดีเพียงใดขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยได้ตั้งแต่เริ่มแรก และการผ่าตัด การตั้งครรภ์ภายหลังจากนั้นสามารถเกิดขึ้นเป็นปกติได้ ประมาณ 50-85%

การรักษา

ในการรักษาภายหลังการวินิจฉัยอาจเป็นโดยการผ่าตัดผ่านกล้อง laparoscopy หรือ การผ่าตัดเปิดหน้าท้อง exploratory laparotomy
การผ่าตัดจะนำส่วนของตัวอ่อนที่กำลังเจริญเติบโต รก และเนื้อเยื่ออื่นๆและบริเวณที่ได้รับความเสียหาย ส่วนท่อนำไข่นั้นหากไม่สามารถต่อหรือซ่อมแซมได้ก็จะถูกตัดออกมาด้วย การตั้งครรภ์ในอนาคตจะต้องใช้ท่อนำไข่เพียงข้างเดียว
การใช้ยา

จ่ายยาปฏิชิวนะให้กับผู้ป่วยภายหลังการผ่าตัดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
โดยทั่วไปแพทย์มักจะจ่ายยาระงับอาการปวดให้ในระยะ 7 วันแรกของการผ่าตัด ในบางรายอาจมีการให้ธาตุเหล็กเสริมเพื่อป้องกันภาวะโลหิตจาง

การทำกิจกรรมต่างๆ

ผู้ป่วยสามารถกลับมาทำกิจวัตรประจำวันต่างๆได้เร็วเท่าที่ร่างกายจะสามารถทำได้ ความรวดเร็วของการฟื้นตัวขึ้นอยู่กับชนิดของการผ่าตัดด้วยว่าเป็น การผ่าตัดผ่านกล้อง laparoscopy หรือ ผ่าตัดเปิดหน้าท้อง exploratory laparotomy

การมีเพศสัมพันธ์สามารถทำได้หลังจากที่แพทย์ได้ทำการตรวจว่าเป็นปกติดีแล้ว

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นภายหลังการผ่าตัด

เลือดออกมากผิดปกติจนชุ่มผ้าอนามัย ต้องเปลี่ยนทุกชั่วโมง
มีอาการแสดงว่าติดเชื้อเช่น รู้สึกไม่สบาย มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ หรือเวียนศีรษะ ปวดปัสสาวะบ่อยขึ้น เป็นเวลานานกว่า 1 เดือน อาจแสดงถึงกระเพาะปัสสาวะมีการระคายเคืองหรือติดเชื้อซึ่งเป็นผลจากการผ่าตัด

ขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลปิยะเวช ค่ะ



Create Date : 14 กรกฎาคม 2552
Last Update : 14 กรกฎาคม 2552 14:25:11 น.
Counter : 1563 Pageviews.

2 comments
  
อันตรายและน่ากลัวจริง ๆ ค่ะ
โดย: jenniepoko วันที่: 14 กรกฎาคม 2552 เวลา:15:34:16 น.
  
ไม่สบายจังนั่ง up blog ให้ความรู้กันอีก ขอบคุณมากเลยน่ะค่ะ

หายไวๆๆแข็งแรงเร็วๆๆน่ะค่ะ
โดย: kizz_j วันที่: 15 กรกฎาคม 2552 เวลา:2:01:19 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

callmehenry
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



ก่อนหน้านี้ ก็เป็นเพียงผู้หญิงทำงานนอกบ้าน บ้างานธรรมดาคนหนึ่ง ที่หลายครั้งคนถามว่าชีวิตนี้ต้องการอะไร ทำงานไปเพื่ออะไร คำตอบมีมากมาย แต่มาวันนี้ ขณะนี้ละทิ้งทุกอย่างมาเป็น Full time mommy ดูแลลูกลิงน้อยทั้ง 2 และ มีคำตอบให้คำถามเดิมได้ว่า ชีวิตนี้ต้องการให้ลูกมีความสุข มากกว่าที่มี๊เคยมี เคยเป็น รักลูกมาก และ มากขึ้นทุกวัน ขอบคุณลูกที่มอบ ความเป็นแม่ให้มี๊ มี๊จะทำให้ดีที่สุด มี๊สัญญา...