สิงหาคม 2555

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
11
12
14
15
16
17
18
19
20
22
24
26
27
28
29
30
 
 
All Blog
การป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช
การป้องกันสัตรูพืชนั้นสำคัญมากเพราะถ้าไม่มีการดูแล ต้นไม้ก็ไม่สวยงามขายไม่ได้ การป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช: หากไม้พุ่มที่ปลูกมีอาการผิดปกติควรพิจารณาถึงสภาพแวดล้อมที่ส่งผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็นดินฟ้าอากาศ และปัจจัยอื่นๆ อย่างโรคแมลงศัตรูพืช ธรรมชาติของพืชมักมีโรคและแมลงศัตรูพืชต่างๆ รบกวน ทั้งโรคที่เกิดจากเชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส และใส้เดือนฝอย ส่วนแมลงศัตรูพืชได้แก่ แมลงปากกัด เช่น ด้วง หนอนต่างๆ หรือแมลงปากดูดอย่างเพลี้ยไฟ เพลี้ยแป้ง เพลี้ยอ่อน เพลี้ยหอย และไรแดง รวมทั้งวัชพืชต่างๆ ดังนั้น หากต้องกำจัดโดยการฉีดพ่นสารเคมี ควรเลือกใช้สารเคมีที่มีอันตรายน้อย และศึกษารายละเอียดให้ถูกต้องก่อนการใช้งาน ควรสวมชุดและอุปกรณ์ป้องกัน และฉีดพ่นด้วยความระมัดระวัง เพราะอาจส่งผลกระทบต่อผู้เข้าใช้ประโยชน์บริเวณนั้น สำหรับโรคแมลงศัตรูพืชที่สำคัญมีดังนี้



โรคราดำ (Sooty Mold)
เกิอจากมูลของเพลี้ยต่างๆ ที่ขับถ่ายออกมาบนพืช
ลักษณะเป็นน้ำหวาน ซึ่งเหมาะกับการเจริญของ
เชื้อราดำที่อยู่ในอากาศ ทำให้บริเวณที่มีมูลเพลี้ย
กลายเป็นฝุ่นเปื้อนสีดำ
วิธีแก้: ฉีดล้างมูลเพลี้ยและราดำออก แล้วเช็ดทำความ
สะอาดด้วยน้ำสบู่ หรือตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคออกก็ได้


โรคราสีเทา(Grey Mold)
พบกลุ่มเชื้อราสีเทาฟูกระจายบนใบ ดอก และผล
ส่วนของพืชที่ถูกทำลายจะค่อยๆ ยุบตัวและเน่า
วิธีแก้: เผาทำลายพืชที่เป็นโรคและดูแลความสะอาด
รอบต้น หรืออาจฉีดพ่นด้วยแมนโคเซบ
หรือคลอโรทานิล(Chlorothalonil)


ไวรัส(Virus)
ทำให้ใบพืชมีรูปร่างผิดปกติ หงิกงอ มีลายด่างเหลือง หรือด่างประ
วิธีแก้: ขุดเผาทำลายต้นที่เกิดอาการและควนทำความสะอาดเครื่องมือหลังการใช้งานทุกครั้ง
เพื่อป้องกันการแพร่กระจายไปยังพืชอื่น


โรครากเน่า(Root Rot)
โคนลำต้นเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เกิดจากเชื้อรา
ไฟทอฟทอร่า(Phytophthora) เข้าทำลาย จากนั้น
จึงเริ่มเน่าเละ มีปุยสีขาวปกคลุม ต้นเหี่ยว
และตายในที่สุด
วิธีแก้: ถอนต้นที่เป็นโรคและเผาทำลาย ใช้วัสดุปลูกที่
ฆ่าเชื้อแล้ว หากย้ายปลูกควรรดหลุมปลูกด้วย
คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ และรดน้ำพืชสัปดาห์เว้นสัปดาห์


อาการกิ่งไหม้(Spur Blight)
มีแผลสีม่วง เกิดจากเชื้อรา Phomopsis ambigua
ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน จุดสีดำ และกิ่งตายในที่สุด
วิธีแก้: ตัดส่วนที่เป็นโรคทิ้งหลังจาดพืชให้ผลแล้ว
และตัดกิ่งส่วนที่ไม่ต้องการออก แล้วฉีดพ่นด้วยคอปเปอร์
แแกซีคลอไรด์หรือยาฆ่าเชื้อราพวกคอปเปอร์อื่นๆ
ตอนที่ตาเริ่มผลิ และฉีดพ่นอีกครั้งเมื่อปลายดอกเริ่มเป็นสีขาว


ด้วงดอกชบา(Hibiscus Flower Beetle)
ทำลายกลีบดอกทำให้มีอาการผิดรูปร่าง
เนื่องจากกัดกินส่วนเกษรของดอก
วิธีแก้: จับแมลงออกด้วยมือหรือฉีดพ่นด้วยสารป้องกัน
กำจัดแมลงประเภทดูดซึมหรือสัมผัสตายหรือเลือกใช้
สารไพรีทรัม (Phyrethrum) หรือคาร์บาริล (Carbaryl)


เพลี้ยอ่อน(Aphid)
พบตัวเพลี้ยทั้งชนิดสีดำ เขียว เหลือง ชมพู น้ำตาล และ เทา
บนใบอ่อนและยอดดูดน้ำเลี้ยงพืชเป็นอาหารทำให้ต้นอ่อนเจริญผิดรูป
วิธีแก้: ฉีดพ่นน้ำแรงๆ หรือเช็ดออก หรือตัดยอดที่เพลี้ยอ่อนดูดกินทิ้งอาจใช้แมลงเบียนและห้ำ


เพลี้ยแป้ง(Mealybug)
แมลงตัวเล็กๆ สีชมพู มีปุยหรือผงสีขาวปกคลุม บริเวณที่ถูกเพลี้ยแป้งปกคลุมจะเหี่ยว
วิธแก้: เขี่ยออกหรือบี้ทิ้งถ้าระบาดน้อย แล้วหมั่นฉีดน้ำตามยอดใบอยู่เสมอ จะช่วยป้องกันได้
ถ้าระบาดมากอาจฉีดพ่นสารป้องกันกประเภทดูดซึม สิ่งที่สำคัญควรกำจัดมดซึ่งเป็นพาหนะของเพลี้ยชนิดนี้

เพลี้ยหอย(Scale Insect)
ดูดน้ำเลี้ยงจากต้นพืช พบทั้งชนิดสีชมพู น้ำตาล แดง และขาว อยู่บนลำต้น กิ่ง หรือใต้ใบพืช
วิธีแก้: เขี่ยออกหรือบี้ทิ้งถ้าระบาดน้อย ควบคุมและกำจัดมดซึ่งเป็นพาหนะของเพลี้ยชนิดนี้



Create Date : 25 สิงหาคม 2555
Last Update : 25 สิงหาคม 2555 6:13:58 น.
Counter : 1515 Pageviews.

0 comments

blogwhite
Location :
พระนครศรีอยุธยา  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



ชีวิตไม่แน่นอน รีบทำซ่ะ ดนตรี กีตาร์ ถ่ายรูป เที่ยวป่า ทำอาหารบ้าง นิดหน่อย