It's All I Have to Bring Today !
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2554
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
12 กรกฏาคม 2554
 
All Blogs
 
◐◑ อังกฤษอเมริกัน ๒.๑.๖

▲▼ ผู้แพ้ (1)

“ไปทำอะไรมาเธอ หน้ามุ่ยมาเชียว”

“ก็ฉันโกรธนี่ มีอย่างเหรอ มารศรี ฉันอุตส่าห์ทุ่มเททั้งเวลา ทั้งแรงงาน เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้ามาตั้งหลายวัน เพียงแค่หวังให้ศิษย์เก่าโรงเรียนเราเห็นว่าฉันพร้อมที่จะเข้ามารับใช้พวกเขาในฐานะนายกสมาคมศิษย์เก่า แต่ที่ไหนได้ ฉันแพ้เลือกตั้งหลุดลุ่ยเลย เธอเชื่อมั้ย ฉันว่าต้องมีการซื้อเสียงแน่นอน”

“ถึงมีฉันก็ไม่แปลกใจ ขนาดเลือกตั้งที่อเมริกายังมีการ rig the elections เลย ดังนั้นคงจะไม่ใช่เรื่องแปลกหากการเลือกตั้งนายกสมาคมกระจอก ๆ ของเราจะมี irregularities (เอียเหร็กกิ่วแล้หระถีส) = ความไม่ชอบมาพากล”

“rig the elections แปลว่า โกงเลือกตั้ง เหรอ”

“ก็ทำนองนั้น แต่จริง ๆ แล้วมันแปลว่าจัดการให้การเลือกตั้งเป็นไปตามที่ต้องการ rig เป็นกริยาแปลว่า ปรับ จัด แต่ง วาง เวลาเราพูดถึงกลไกที่ต้องการให้มีผลออกมาอย่างที่เราต้องการ เช่น The car was rigged to explode when the police came to investigate the first explosion nearby. = รถถูกวางกลไกให้ระเบิดเมื่อตำรวจมาสอบสวนการระเบิดครั้งแรกที่อยู่ใกล้ ๆ นั้น”

“ฉันไม่ได้พูดถึงการวางระเบิดแสวงเครื่องนะ มารศรี ฉันพูดถึงการเลือกตั้งที่ฉันแพ้”

“ก็นี่อย่างไรล่ะ เวลาเราพูดถึงการเลือกตั้งที่มีการจัดการโดย ผิดกฎหมายให้ผลออกมาเป็นไปตามที่เราต้องการ ก็เรียกว่าเป็น rigged election การเมืองชิคาโก้สมัยก่อนขึ้นชื่อมากในเรื่องแบบนี้ จนมีคำกล่าว ว่า Vote early and vote often. = จงมาลงคะแนนแต่เช้าและลงคะแนนบ่อย ๆ สมัยนี้ไม่ว่าจะที่ไหนจึงต้องมีผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้งเพื่อให้มั่นใจว่าเป็นไปอย่าง free = เสรี (คือทุกคนที่มีสิทธิได้ออกมาลงคะแนนโดยไม่โดนข่มขู่หรือขัดขวาง) fair = เป็นธรรม (คือไม่มีการโกง) และ transparent = โปร่งใส (คือตรวจสอบได้ ไม่มีอะไรปิดบัง)”

“มันถึงน่าเจ็บใจไง โอเค ฉันบอกเธอก็ได้ แต่ห้ามพูดต่อนะ คือฉันเองก็ซื้อเสียง หมดเงินไปเยอะเลย แต่ได้คะแนนมานิดเดียว ฉันถึงสงสัยว่าฝ่ายนั้นต้องโกงแน่ ๆ ฉันนึกว่าฉันเป็นคน rig the election แต่หนอยแน่ พวกนั้นมันกลับ rig เก่งกว่า ฉันต้องเอาเรื่องมันให้ถึงที่สุด”

“Don’t be a sore loser. They beat you fair and square. ถ้าคนที่แพ้ทุกคนไม่ยอมรับผลการตัดสินของกรรมการ กีฬาแพ้แต่คนไม่แพ้ ลองคิดดูสิว่าทุกอย่างมันจะโกลาหลวุ่นวายขนาดไหน”

“เธอบอกฉันว่าอย่าเป็นอะไร sore loser น่ะ ฉันเป็น loser = ผู้แพ้ แต่ฉันไม่ได้ปวดระบมอะไรนะ”.

***
▼▲ ผู้แพ้ (2)

“ฉันยอมรับว่าฉันเป็น loser (ลู้สเส่อร์) เพราะฉันแพ้ แต่ฉันไม่ได้ปวดระบมอะไรนี่ ทำไมเธอถึงบอกว่าฉันไม่ควรเป็น sore loser ฉันเปล่า sore ซะหน่อย”

“sore ไม่ได้แปลว่าแค่ ปวดระบม แน่นอนถ้าเธอเจ็บคอก็อาจบอกหมอว่า I have a sore throat. = ฉันเจ็บคอ หรือถ้าเธอขี่ม้านาน ๆ ก็อาจบอกว่า I’m saddle sore. = ฉันก้นระบมจากที่นั่งอานม้าเป็นเวลานาน แต่ sore ยังหมายความว่า เจ็บใจ ได้ด้วย และ sore loser ก็หมายถึงคนที่แพ้ แต่เจ็บเคือง ไม่ยอมรับความพ่ายแพ้ with good grace = อย่างสุภาพสง่างาม”

“หมายถึงขี้แพ้ชวนตีล่ะสิ”

“ก็ไม่ถึงกับชวนตี แต่แค่ยอมรับไม่ได้ ยังโกรธแค้นอยู่ โกรธกรรมการ โกรธคนดู โกรธเครื่องมือ ถ้าแพ้แล้วไปเที่ยวตีคนอื่นก็เป็นอย่างพวก hooligans (ฮู้หลิกั่นส) ที่เราเห็นบ่อย ๆ ในฟุตบอลอังกฤษหรือแม้แต่ในฮอกกี้แคนาดาเมื่อเร็ว ๆ นี้” “อ้าว แล้วถ้าอีกฝ่ายโกงจริง ๆ จะไม่ให้ฉันโกรธเหรอ”

“โกรธไปก็มีแต่จะบั่นทอนสุขภาพจิตของเธอเปล่า ๆ เธออาจจะแพ้กีฬา แพ้การแข่งขันได้ นั่นเป็นเรื่องธรรมดา แต่อย่าเป็นคนประเภทที่เขาเรียกรวม ๆ ว่า loser”

“อ้าว ก็ฉันเป็นฝ่ายแพ้จะไม่ให้ฉันเป็น loser ได้ไง ประหลาดคน” “คือว่ามีคนประเภทหนึ่งที่เรียกว่า loser เป็นคนที่ไม่มีวันจะได้ดี มีแต่จมปลักในความน่าทุเรศของตัวเองไปตลอด เป็นคำที่ใช้ด่าได้โดยไม่หยาบคาย”
“ฉันถึงไม่อยากเป็น loser ไง ไม่ว่าจะ sore หรือไม่ ฉันอยากเป็น winner อยากร้องเพลง We Are the Champions อยากมีกล้องมารุมแชะ ๆๆ ใส่หน้า”

“ถ้าอย่างนั้นเธอต้องหัดแพ้อย่างสง่างามเสียก่อน ใคร ๆ ก็ดูออกว่า Your opponent beat you fair and square. = คู่ต่อสู้ของเธอเอาชนะเธออย่างตรงไปตรงมา ไม่มีตุกติก”“ทำไมถึงพูดว่า fair and square สี่เหลี่ยมจัตุรัสมันเกี่ยวอะไรกันด้วย”

“คำว่า square นอกจากจะแปลว่า สี่เหลี่ยมจัตุรัส แล้ว ยังมักจะใช้ในความหมายเชิงซื่อสัตย์ เป็นธรรม ตรงไปตรงมา ด้วย เช่น square deal ก็หมายถึงผลการเจรจาต่อรองที่เป็นธรรมกับทั้งสองฝ่าย ส่วน fair and square ความจริงมี fair คำเดียวก็พอแล้ว แต่นี่เป็น clich = สำนวนน้ำเน่าที่นิยมใช้กัน แค่นั้นเอง”.

***
▼▲ ผู้แพ้ (3)

“มารศรี เธอได้ดู YouTube ที่ฉันส่ง link ให้หรือเปล่า นั่นแหละคู่แข่งฉันที่ชนะการเลือกตั้งได้เป็นนายกสมาคมเรา พูดภาษาอังกฤษห่วยแตกขนาดนั้นไม่รู้พวกเราชาวศิษย์เก่าจะเอาหน้าไปไว้ไหน”

“อายแทนจริง ๆ แล้วทำไมถึงหน้ารื่นนักล่ะ สะใจหรือ แต่ความจริงฉันว่าเขาก็พูดภาษาอังกฤษเหมือนกับเธอตอนที่ฉันรู้จักเธอใหม่ ๆจำได้ไหม ก่อนที่เธอจะเข้าใจว่าภาษาอังกฤษไม่มีวรรณยุกต์ มีแต่การเน้นเสียงเป็นพยางค์ ๆ สรุปง่าย ๆ คือว่าเขาพูดได้ดีและเลวพอ ๆ กับ 98 เปอร์เซ็นต์ของสมาชิกสมาคม นั่นอาจจะเป็นเหตุผลที่เขาชนะเธอก็ได้”

“แต่เขาห่วยแตกจริง ๆ นะ ภาษาอังกฤษเละตุ้มเป๊ะขนาดนั้นจบนอกมาได้ยังไงก็ไม่รู้”

“แต่มันก็ไม่ได้บ่งว่าเขาจะเป็นนายกสมาคมที่ทำงานไม่เป็น คนที่เขาต้องรับใช้คือสมาชิกสมาคม ซึ่งเป็นคนไทย ดังนั้นภาษาอังกฤษที่กระท่อนกระแท่นของเขาอาจจะบ่งถึง common touch ก็ได้”

“อะไรเหรอ common touch แตะต้องร่วมกันเหรอ หมายความว่าไง”

“บางที common จะใช้ในความหมายว่า ร่วมกัน เช่น common room = ห้องที่ใช้ร่วมกัน ห้องส่วนกลาง พื้นที่หรือสมบัติสาธารณะก็เรียกได้ว่า commons แต่อีกความหมายของ common คือ ธรรมดา ทั่วไป ที่มีอยู่ดาษดื่น เช่นChildren selling garlands on the street are a common sight in Bangkok. = เด็กขายพวงมาลัยตามท้องถนนเป็นสิ่งที่เห็นธรรมดาทั่วไปในกรุงเทพฯ หรือจะแปลว่า กระจอก ก็ยังได้ เช่น He’s a common thief. = เขาเป็นโจรกระจอกธรรมดา”

“นี่มารศรี เธอเคยตอบคำถามอะไรตรง ๆ สั้น ๆ โดยไม่ต้องร่ายแม่น้ำทั้งห้ามาปูพื้นมั่งมั้ย”

“I’m getting to that. ใจเย็น ๆ สิ ความจริงเธอน่าจะขอบใจฉันนะที่ไม่ได้แปลสั้น ๆ ให้จบ ๆ ไป เพราะถ้าเป็นอย่างนั้นเธอก็อาจจะไม่พัฒนาภาษาอังกฤษเร็วจนถึงขนาดที่ดูถูกคนอื่นที่เก่งน้อยกว่าเธอได้”

“ฉันเปล่าดูถูกนะ แค่คิดว่านายกสมาคมเราควรเป็นคนที่อินเตอร์หน่อย จะได้ไม่อายฝรั่ง”
“ถ้าจะคิดอายฝรั่งก็ไม่ควรมองตรงที่ความเก่งภาษาอังกฤษ เพราะฝรั่งเขาไม่ได้วัดคนกันตรงนั้น แต่ต้องดูที่นโยบายและความสามารถในการ deliver สิ่งที่คนต้องการได้”

“อ๋อ ยังงี้ฝรั่งก็ชอบคนส่งพิซซ่าสิ เพราะ deliver ได้ ฟรีด้วย”

“อย่าพาฉันนอกเรื่องสิ กำลังจะอธิบายเรื่อง common touch อยู่ดี ๆ สำนวนนี้หมายถึงการที่สามารถสัมผัสความต้องการ ความรู้สึกของคนธรรมดาทั่วไปได้ ถ้าเธอคิดจะสมัครสมัยหน้าก็ต้องฝึกตรงนี้ให้มาก ๆ สมาคมเราต้องการคนอย่างเธอ แม้ว่าภาษาอังกฤษของเธอไม่ได้เปรี๊ยะอย่างที่เธอคิดเอาเองก็เถอะ”.

****

▼▲ คืนดี (1)

“วันนี้ทำไมออกงานเดี่ยวล่ะเธอ เงาประจำตัวหายไปไหน”

“เรื่องมันยาวจ้ะ มารศรี แต่สรุปก็คือฉันกำลังโกรธกับเขา ไม่พูดกันเป็นอาทิตย์แล้ว เขาก็พยายามโทรฯ มาหา แต่ฉันไม่รับสายซะอย่าง”

“So you’re giving him the cold shoulder? เขาทำอะไรผิดล่ะ”

“เดี๋ยวก่อน ทำไมเธอถึงว่าฉันให้ไหล่เย็นกับเขา ไหล่ของฉันทั้งสองข้างยังอุณหภูมิปกตินะ”

“อ๋อ มันเป็นสำนวนจ้ะ to give (someone) the cold shoulder หมายความว่า เมินเฉยหรือหันหลังให้ (ใครบางคน) คือไม่แยแส ไม่ต้องการสุงสิงด้วย แต่อย่าถามว่าทำไมสำนวนนี้ถึงเรียกแบบนี้ เพราะแม้แต่ฝรั่งเองก็ตกลงกันไม่ได้ว่ามันมีต้นตอมาจากไหน มาจากการหันไหล่ให้คนที่เราไม่พอใจ หรือว่าการหั่นเนื้อแกะส่วนไหล่ที่เย็นชืดให้กับคนที่เราไม่พอใจ”

“สรุปว่าเป็นสำนวนโบราณที่ใช้กันมาแบบนี้ โอเค เล่าต่อ คือฉันไปพบหลักฐานว่าแฟนฉันแอบไปกุ๊กกิ๊กกับเพื่อนฉันคนนึง ฉันก็เลยถอยห่างออกมา ทีนี้เขาก็พยายามอ้อนวอนผ่านคนกลางขอให้ฉันให้อภัยเขา ขอคืนดีด้วย แต่ฉันบอกว่าเขาต้องบอกความจริงกับฉันซะก่อน เธอว่าฉันทำถูกไหม”

“ก็ไม่รู้สิ ฉันสนับสนุนให้เธอกับเขา reconcile (เร็คขั่นส่ายล) = คืนดี กันอยู่แล้ว แต่ขึ้นอยู่กับว่าเธอรักเขามากแค่ไหน พร้อมที่ให้อภัยโดยไม่มีเงื่อนไขหรือเปล่า”

“ก็ฟังดีอยู่นะ มารศรี ให้อภัยโดยไม่มีเงื่อนไขเพื่อที่จะได้คืนดีกัน แต่เมื่อกี้เธอใช้คำที่แปลว่า สมานฉันท์ หรือเปล่า ฟังคุ้น ๆ หู”

“reconcile เป็นกริยาจ้ะ ถ้าเป็นนามก็คือ reconciliation (เหร็คคันซิลหลิเย้ฉึ่น) ที่เราเห็นคนแปลเป็น สมานฉันท์ แต่ฉันก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าสมานฉันท์คืออะไร นึกว่าหมายถึงทำนอง unity = ความเป็นเอกภาพหรือความสามัคคีเสียอีก แต่ที่แน่ ๆ คือ reconciliation แปลว่า การคืนดีกันหลังจากที่มีการแตกร้าว คือต้องเกิดการแตกร้าวเป็นเงื่อนไขเสียก่อนจึงจะเกิด reconciliation ได้”

“ก็นั่นไง ฉันก็เคยให้อภัยเขาโดยไม่มีเงื่อนไขมาหลายรอบแล้ว นึกว่าเขาจะปรับตัว ทำตัวเป็นคนดี แต่ที่ไหนได้ ทำผิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า มิหนำซ้ำหนักกว่าเดิมอีก สมัยก่อนชอบไปกุ๊กกิ๊กกับเพื่อนผู้หญิงของฉัน แต่ล่าสุดนี้ไปแอบกุ๊กกิ๊กกับเพื่อนผู้ชายของฉัน พอฉันถามก็อ้างโน่นอ้างนี่ เฉไฉไปต่าง ๆ นานา ฉันก็เลยต้องการให้เขาบอกความจริง เพราะถ้าความจริงไม่ปรากฏ เขาก็จะยังทำตัวเหมือนเดิมอีก ฉันก็คงไม่สามารถให้อภัยเขาได้อีก และการแตกร้าวระหว่างเราก็คงจะกลายเป็นสิ่งถาวรไป”.

หนังสือ “ฟอไฟฟุดฟิดอังกฤษอเมริกัน” เล่ม 1-6 รวมซีดี ลดจาก 600 เหลือ 550 บาท หรือถ้าไม่เอาซีดีก็เพียง 480 บาท ส่ง EMS ฟรี ส่งธนาณัติสั่งจ่ายนายเสาวพจน์ ศรีวลี 20/1 ซอยอินทามระ 7 ป.ณ.สามเสนใน กท. 10400 หรือเข้าบัญชี ธ.กรุงเทพ หมายเลข 111-4-02764-0 แฟกซ์ใบสั่งจ่ายไปที่ 0-2616-8215 อย่าลืมเขียนชื่อ-ที่อยู่นะครับ เว็บไซต์ผม //boonhod.com อีเมลผม boonhod@hotmail.com

บ๊อบ บุญหด
▼▲ //www.dailynews.co.th/


Create Date : 12 กรกฎาคม 2554
Last Update : 12 กรกฎาคม 2554 21:44:06 น. 5 comments
Counter : 3521 Pageviews.

 
▼▲ คืนดี (2)

“เธอรู้ไหมว่าฝรั่งเขามีภาษิตว่า Forgive and forget. = จงให้อภัยและลืมไปเสีย”

“กับแฟนฉันเนี่ยนะ มารศรี ตอนแรกฉันก็พยายามทำยังงั้นเหมือนกัน แต่พอเขาทำตัวแบบนั้นซ้ำ ๆ หลายที มันก็ยากนะที่จะ forgive and forget อย่างที่เธอว่า ฉันให้อภัยไปไม่รู้กี่ครั้งแล้ว แต่แทนที่เขาจะได้คิดแล้วกลับเนื้อกลับตัว กลับได้ใจใหญ่ นี่ฉันก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเขาไปแอบกุ๊กกิ๊กกับใครโดยที่ฉันไม่รู้อีกเท่าไหร่ พอฉันจับได้ทีก็มาทำหน้าเศร้าให้ฉันใจอ่อน”

“ถ้าเป็นอย่างนั้นนะ เธอห้ามใจอ่อน You can’t let him get away with it. มิฉะนั้นเขาก็จะไม่เปลี่ยนพฤติกรรมแล้วเธอก็จะต้องกินน้ำจั๊กกะแร้เขาตลอด”

“น้ำใต้ศอกจ้ะ มารศรี แต่ฉันไม่ได้ปล่อยเขาไปไหนกับอะไรหรอก แค่ทำมึนชาให้เขารู้สึกมั่ง”

“ที่ฉันบอกว่า You can’t let him get away with it. ไม่ได้หมายความว่าไม่ให้เธอปล่อยเขาไปไหนกับอะไร to get away with (something) แปลว่า ลอยนวล ทำความผิดแต่ไม่ถูกลงโทษ ฉันไม่สนว่าแฟนเธอจะใหญ่โตมาจากไหน แต่ถ้าเขาทำตัวแบบนี้แล้วเธอยังปล่อยเขาลอยนวลซ้ำแล้วซ้ำเล่า มันก็จะเกิด culture of impunity ขึ้นระหว่างเธอกับเขา”

“วัฒนธรรมแห่งอะไรนะ คำหลังน่ะ”

“impunity (อิมพยู้นหนะถี่) แปลว่า การอยู่เหนือการถูกลงโทษ culture of impunity หมายถึง วัฒนธรรมที่คนบางคนหรือบางกลุ่มในสังคมทำอะไรก็ได้โดยไม่โดนกฎหมายลงโทษ อาจเพราะมีเส้นสายหรือผู้มีอำนาจคุ้มครอง ความจริงฉันอาจจะใช้ไม่ถูก เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องระหว่างเธอกับเขา คงจะเรียกว่าเป็นวัฒนธรรมไม่ได้ แต่อย่างน้อยก็จะเป็นการสร้าง habit = นิสัย และ habit ใดที่เผยแพร่กว้างขวางก็อาจจะกลายเป็น culture ได้ เช่นนิสัยการให้สินบน ถ้าทำกันไม่กี่คนก็อาจไม่เป็นไรมาก แต่ถ้าทุกคนทำกันหมดก็กลายเป็น culture of corruption = วัฒนธรรมแห่งการคอร์รัปชั่น ซึ่งทุกคนเห็นเป็นเรื่องปกติธรรมดา ไม่มีใครเขินอายที่จะเรียกค่าน้ำร้อนน้ำชา คนที่ถูกเรียกก็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ลุกขึ้นมาโวยวายเอาเรื่อง”

“นี่ มารศรี ฉันพูดเรื่องแฟนฉันอยู่นะ ไม่ได้ไปไกลถึงสังคมวัฒนธรรมอะไรของเธอ”

“ก็นั่นแหละ ความสัมพันธ์ระหว่างเธอกับแฟนก็สะท้อนวัฒนธรรมที่เธอทั้งสองอยู่เหมือนกันแหละ ถ้าเป็นฉันนะ I’m not going to stand for it.”

“ฉันก็ไม่ได้ยืนนี่เวลาทะเลาะกับเขา ส่วนมากเวลาทะเลาะกันก็เป็นตอนที่นั่งรถ”

“ไม่ใช่ I’m not going to stand for it. แปลว่า ฉันจะไม่ทนรับสภาพเช่นนั้น เธอก็ไม่ควรเหมือนกัน”.


โดย: แม่มดน้อยจอมยุ่งโดเรมี (เตยจ๋า ) วันที่: 16 กรกฎาคม 2554 เวลา:21:36:00 น.  

 
คืนดี (3)


“ก็ใครจะไปรู้ล่ะว่า stand for it ไม่ได้แปลว่า ยืนสำหรับมัน แต่หมายถึง ทนรับสภาพ”

“ฉันก็ไม่ได้ว่าอะไร แค่ฉันอยากบอกเธอว่าอย่าไปทนสภาพ ไม่อย่างนั้นแล้วแฟนเธอก็จะคิดว่าเธอเป็นคนที่หลอกได้ตลอดเวลา”

“เหรอ ฉันนึกว่า stand แปลว่า ยืน ซะอีก”

“ปกติก็ใช่ แต่อย่างที่ฉันบอกเธออย่างไรล่ะ คำพื้น ๆ ในภาษาอังกฤษส่วนมากมีความหมายมากกว่าหนึ่งอย่าง stand ถ้าใช้คำเดียวนอกจากแปลว่า ยืน แล้วยังอาจแปลว่า ทน ได้ด้วย เช่น I can’t stand him. = ฉันทนเขาไม่ได้ แล้วพอเติม for เข้าไป เป็น stand for ก็แปลว่า เป็นตัวแทนของ หรือ เป็นสัญลักษณ์ของ เช่น The fifty stars in the American flag stand for the fifty states. = ดาวห้าสิบดวงในธงอเมริกันเป็นสัญลักษณ์ของรัฐทั้งห้าสิบ”

“อ้าว แล้วไหง stand for it ถึงแปลว่า ทนรับสภาพ ล่ะ ทำไมไม่แปลว่า เป็นตัวแทนของมัน ล่ะ”

“ก็ฉันบอกแล้วว่ามันเป็นสำนวน เวลาคำศัพท์ถูกจับมาเรียงใหม่กลายเป็นสำนวน ความหมายเดิมของมันอาจจะไม่เหลือก็ได้ ถ้าเธอต้องการตัวอย่างมากกว่านี้ก็ลองไปฟังเพลงของ Stevie Wonder สิ ที่ชื่อ I Ain’t Gonna Stand for It”

“แต่ความจริงเธอไม่บอกฉัน ฉันก็ไม่รับสภาพอยู่แล้วนะ มารศรี เดี๋ยวนี้เขาโทรฯ มาฉันก็ไม่รับสาย ส่งอีเมลมาฉันก็ไม่ตอบ แต่โอเค ฉันก็ใจอ่อนอดอ่านไม่ได้”

“อย่าใจอ่อน You have to put your foot down. เธอต้องยื่นเงื่อนไขว่าถ้าเขาอยากจะคืนดีด้วยก็ต้องบอกความจริงมา ถ้าจะขอสมานฉันท์ต้องทำความจริงให้ปรากฏก่อน เธอถึงจะให้อภัยได้ ดูตัวอย่างแอฟริกาใต้สิ หรือแม้แต่เกาหลีใต้ ต้องมี truth จึงจะมี reconciliation ได้”

“ทำไมฉันจะต้องวางเท้าลงด้วย ฉันยังไม่ได้ยกเท้าซะหน่อย หรือว่านี่เป็นสำนวนอีกแล้ว”

“ใช่ put (one’s) foot down หมายความว่า แสดงความเด็ดขาดชัดเจนว่าอะไรรับได้หรือรับไม่ได้ ไม่ใช่กล้าๆ กลัวๆ ไม่มีท่าที ไม่รู้ว่าจะเอาอย่างไรดี”

“แต่ฉันก็กลัวนะ มารศรี ว่าถ้าฉัน put my foot down อย่างที่เธอว่าแล้ว ปรากฏว่าความจริงมันเลวร้ายกว่าที่ฉันจะรับได้ ถ้าเป็นยังงั้นฉันจะทำยังไงดีล่ะ“ก็เลิกกับเขาสิ คนแต่งงานแล้วเขาก็ยังหย่าได้โดยอ้าง irrecon-cilable differences (เอียเร็คคันซายลาบึล ดิ๊ฟฝรั่สสิส) = ความแตกต่างที่ไม่สามารถทำให้เข้ากันได้ พูดง่าย ๆ ก็คือคืนดีด้วยไม่ได้”.

●●●หนังสือ “ฟอไฟฟุดฟิดอังกฤษอเมริกัน” เล่ม 1-6 รวมซีดี ลดจาก 600 เหลือ 550 บาท หรือถ้าไม่เอาซีดีก็เพียง 480 บาท ส่ง EMS ฟรี ส่งธนาณัติสั่งจ่ายนายเสาวพจน์ ศรีวลี 20/1 ซอยอินทามระ 7 ป.ณ.สามเสนใน กท. 10400 หรือเข้าบัญชี ธ.กรุงเทพ หมายเลข 111-4-02764-0 แฟกซ์ใบสั่งจ่ายไปที่ 0-2616-8215 อย่าลืมเขียนชื่อ-ที่อยู่นะครับ เว็บไซต์ผม //boonhod.com อีเมลผม boonhod@hotmail.com

บ๊อบ บุญหด


โดย: เตยจ๋า วันที่: 16 กรกฎาคม 2554 เวลา:21:39:02 น.  

 
ฉี่ (1) ▼

“Boy, am I pissed!”

“นี่ มารศรี เธอดูซะก่อนว่าเธอพูดกับใคร ฉันไม่ใช่เด็กผู้ชายนะ มาเรียกฉันว่า boy ได้ยังไงแล้วมาถามฉันทำไมว่าเธอปวดฉี่รึเปล่า ถ้าเธอปวดก็ไปเข้าห้องน้ำซะ อยู่ทางโน้น”

“โธ่เอ๊ย ฉันไม่ได้หมายความว่าเธอเป็นเด็กผู้ชายเสียหน่อย boy ในที่นี้ใช้เป็นคำอุทาน ไม่เกี่ยวอะไรกับการเป็นเด็กผู้ชายหรือเด็กผู้หญิงของเธอ เป็น intensifier = คำที่ทำให้เนื้อหาเข้มข้นขึ้น พอใช้ในประโยคนี้ก็หมายความว่า...”

“เธอปวดฉี่จริง ๆ เออ ฉันรู้ ก็รีบ ๆ ไปสิ มามัวอธิบายภาษาอังกฤษอยู่ได้ เดี๋ยวเรียบร้อยแล้วค่อยกลับมาอธิบายก็ยังไม่สาย”

“นี่ ฉันไม่ได้ปวดฉี่ piss เป็นภาษาชาวบ้านแปลว่า ฉี่ ก็จริง แต่ to be pissed ไม่ได้แปลว่า ปวดฉี่”

“อ้าวเหรอ ถ้างั้นค่อยอธิบายทีละตัวก็ได้ เอา boy ก่อนแล้วกัน แล้วค่อยไป to be pissed ต่อ”

“ก็ได้ boy เวลาใช้เป็นคำอุทานก็เป็น intensifier อย่างที่ฉันว่า เช่น Boy, these eggs are expensive! ถ้าภาษาไทยก็อาจแปลทำนองว่า แม่เจ้าโว้ย ไข่พวกนี้แพงชะมัดเลย แต่ในภาษาอังกฤษอาจใช้คำอุทานว่า boy หรือ man ก็ได้ เช่น Man, these eggs are expensive! ทั้งสองเป็นคำอุทานที่สุภาพ โดย boy อาจจะสุภาพกว่า man นิดหน่อย”

“เออ ทำให้ฉันสงสัยว่าทุกสมัยที่เรามีนายกฯผู้ชายจะต้องวัดค่าครองชีพโดยดูจากราคาไข่ของท่านเหล่านั้น ทีนี้ถ้ามีนายกฯหญิงแล้วยังจะทำต่อหรือเปล่า”

“เธอนี่เพี้ยนแล้ว มาฟังฉันเล่าต่อดีกว่า ยังอธิบายไม่เสร็จว่า to be pissed แปลว่าอะไร”

“เออ แล้วอย่าลืมเล่าด้วยล่ะ ว่าถ้า to be pissed ไม่ได้แปลว่าปวดฉี่แล้ว ถ้าฉันจะบอกว่าปวดฉี่จะต้องพูดว่ายังไง แบบว่าถ้าอั้นจะไม่ไหวอยู่แล้ว จะพูดว่า full of piss ได้หรือเปล่า”

“pissed ในประโยคที่ฉันพูดนั้นแปลว่า โมโห ยัวะ ฉุน และอีกอย่าง เธออาจจะคิดว่าการเรียงลำดับคำของฉันเป็นรูปแบบคำถาม แต่จริง ๆ แล้วมันเป็นการอุทาน ซึ่งเธอต้องฟังจากน้ำเสียงของฉัน ฉันพูดว่า Boy, am I pissed! (บ้อย แอ่มไอ่ผิสท) ไม่ใช่ Boy, am I pissed? (บ้อย แอ่มไอ่พิสท) ฟังออกไหม แบบแรกเป็นการอุทาน แบบหลังถึงเป็นการตั้งคำถาม ซึ่งแน่นอน ฉันไม่มีวันถามเธออย่างนั้น เพราะตัวฉันเองย่อมรู้ดีกว่าเธอว่าฉันโมโหหรือเปล่า”.

หนังสือ “ฟอไฟฟุดฟิดอังกฤษอเมริกัน” เล่ม 1-6 รวมซีดี ลดจาก 600 เหลือ 550 บาท หรือถ้าไม่เอาซีดีก็เพียง 480 บาท ส่ง EMS ฟรี ส่งธนาณัติสั่งจ่ายนายเสาวพจน์ ศรีวลี 20/1 ซอยอินทามระ 7 ป.ณ. สามเสนใน กท. 10400 หรือเข้าบัญชี ธ.กรุงเทพ หมายเลข111-4-02764-0 แฟกซ์ใบสั่งจ่ายไปที่ 02-616-8215 อย่าลืมเขียนชื่อ-ที่อยู่นะครับ เว็บไซต์ผม //boonhod.com อีเมลผม boonhod@hotmail.com.
**
▼//www.dailynews.co.th/


โดย: abc-xyz (เตยจ๋า ) วันที่: 19 กรกฎาคม 2554 เวลา:3:03:50 น.  

 
▼ ฉี่ (2)

“นี่นะ แล้วฉันจะบอกให้อีกอย่าง สุภาพสตรีจะไม่พูดคำว่า piss ในความหมายฉี่ เพราะมันไม่ค่อยสุภาพ ถ้าจะพูดให้น่ารักหน่อยก็ใช้คำว่า pee (พี) ซึ่งใช้พูดกับเด็กๆ หรือกับเพื่อนสนิทได้”

“อ้าวเหรอ แล้วยังงี้เพื่อนฉันที่ชื่อพีถ้าไปอเมริกาก็ต้องเปลี่ยนชื่อสิ มารศรี ไม่งั้นสงสัยโดนล้อแย่เลย”

“อืมม์ ชื่อคนไทยที่มีความหมายไม่ค่อยดีในภาษาอังกฤษก็มีเยอะเหมือนกัน แล้วคนอเมริกันยิ่งเป็นพวกที่โลกทัศน์ค่อนข้างแคบเสียด้วย อย่างคนชื่อพร เวลาสะกดเป็น Porn ฝรั่งก็จะขำหรือแปลกใจ เพราะติดอยู่กับคำว่า porn ซึ่งแปลว่า สิ่งอุจาดลามก แต่ถ้าสะกดเป็น pawn ซึ่งออกเสียงตรงกับคำว่า พร ก็จะแปลว่า ตัวเบี้ย แบบในหมากรุก ซึ่งก็ไม่เป็นมงคลอยู่ดี บางคนถึงสะกดว่า Pon ซึ่งออกเสียงสั้น ๆ เป็น พ็อน อาจจะไม่ตรงนัก แต่เขาคิดว่าก็ดีกว่าที่จะโดนฝรั่งล้อว่าชื่อ Porn”

“ก็น่าสนใจดีหรอก มารศรี แต่เธอยังไม่ได้ตอบฉันเลยว่าถ้าฉันปวดฉี่แทบจะอั้นไม่อยู่ ฉันจะพูดว่ายังไงดี I’m full of piss. ได้หรือเปล่า”

“ไม่ได้เด็ดขาด เธอต้องพูดว่า I’ve got to go. = ฉันต้องไป โดยละไว้ในฐานเข้าใจว่าจะไปไหน แต่ถ้าคนฟังยังไม่เก๊ตอีก เธอก็อาจพูดว่า I’ve got to go real bad. = ฉันต้องไปจริง ๆ ซึ่งหมายความว่าเธอปวดมาก ๆ ความหมายอันนี้ชัดเจนว่าเธอต้องไปเข้าห้องน้ำและห้ามไม่ได้ เพราะฝรั่งมีภาษิตว่า When you gotta go, you gotta go. ความหมายก็คล้าย ๆ ภาษิตของไทยเราที่ว่าอะไร ๆ ห้ามไม่ได้นั่นแหละ”

“คือถ้าพูดแบบนี้ถือว่าสุภาพใช่มั้ย I’ve got to go. เนี่ย”

“ความจริงถ้าจะสุภาพมากกว่านี้ก็ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาเธอไปงานเลี้ยงอย่างเป็นทางการ เธอไม่จำเป็นต้องประกาศว่า ทานโทษค่ะ เดี๊ยน ขอไปเข้าห้องน้ำหน่อย ถ้าเธอเป็นสุภาพสตรี (ซึ่งฉันก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน แต่ยกประโยชน์ให้ผู้ต้องสงสัย) เธอก็แค่พูดว่า Would you please excuse me? ก่อนที่จะลุกจากโต๊ะ สุภาพบุรุษในโต๊ะก็จะลุกขึ้นพรึ่บพรั่บตาม แต่ไม่ถามว่าเธอไปไหน และเธอจะไปทำ number one หรือ number two ก็เรื่องของเธอ”

“อ๋อ ไม่ต้องประกาศ ก็ดีเหมือนกัน”

“ทีนี้ที่เธอถามว่าจะพูดว่า full of piss ได้หรือเปล่า ฉันก็บอกได้เลยว่าไม่ได้ถ้าเธอจะบอกว่าเธอปวดฉี่ แต่ก็มีสำนวนหนึ่งที่คล้าย ๆ กันแต่ไม่มีความหมายเกี่ยวกับฉี่ นั่นคือ full of piss and vinegar (ฟุลหลัฟพิสแซ็นด์ฟิ้นหนะเก่อร์)”

“เต็มไปด้วยฉี่และน้ำส้มสายชูเหรอ อี๋ แล้วความหมายมันคืออะไรอ้ะ”.

*****

▼ ฉี่ (3)

“แล้วสำนวนนี้ทำไมถึงประหลาดจังอ้ะ มารศรี full of piss and vinegar สงสัยความหมายไม่ดีแน่เลย แค่ piss ก็แย่แล้ว แถมยังมีน้ำส้มสายชูมาผสมอีก”

“สำนวนภาษาอังกฤษบางทีเราก็เดาความหมายได้ แต่ฉันว่านี่เป็นกรณีหนึ่งที่เดายาก และเราไม่ค่อยเจอชาวบ้านฝรั่งใช้สำนวนนี้บ่อยนัก คนที่จะใช้มักจะต้องมีการศึกษาหน่อย”

“ใช้คำว่า piss เนี่ยนะ มีการศึกษา ไหนเธอว่าเป็นคำหยาบไง”

“คำว่า piss โดด ๆ ที่ใช้ในความหมาย ฉี่ สิไม่ค่อยสุภาพ แต่สำนวน to be full of piss and vinegar หมายความว่า เต็มไปด้วยชีวิตชีวาความกระตือรือร้น แบบคนหนุ่มคนสาวที่กำลังมีไฟ”

“ความจริงความหมายก็ดีนะ แต่ทำไมตัวสำนวนเองถึงต้องเอาฉี่กับน้ำส้มสายชูมารวมกันล่ะ หรือว่าสองอย่างนี้เอามาผสมกันแล้วดื่มจะทำให้เรามีชีวิตชีวากระตือรือร้น”

“แหวะ อย่าทำให้ฉันนึกภาพสิ แต่วงการแพทย์เขาพบนะ ว่าถ้าเรากินน้ำส้มสายชูที่ทำจากแอปเปิ้ลหรือที่เรียกว่า apple cider vinegar (แอ๊พพึล ซายเดอร์ ฟิ้นหนะเก่อร์) วันละหนึ่งช้อนโต๊ะจะช่วยลดความเสี่ยงการเป็นเบาหวาน ส่วนที่ว่าทำไมสำนวนนี้ถึงมีความหมายอย่างนี้ก็ไม่มีใครรู้เหมือนกัน อาจจะเพราะเหตุนี้กระมังที่ทำให้มันไม่ติดตลาดมาก”

“ประหลาดจริง ๆ คิดได้ยังไง เอาน้ำสองอย่างนี้มาผสมกันแล้วออกมาเป็นสิ่งที่ดี”

“แล้วก็มีอีกสำนวนนะ ที่เอาฉี่ไปผสมกับอีกอย่าง แต่คราวนี้สิ่งที่ออกมาไม่ใช่สิ่งที่ดี”

“จะบอกก็บอกมาสิ มารศรี ไม่ต้องทิ้งช่วงให้ฉันลุ้น จะให้รัวกลองแถวนี้ก็ไม่มีกลองซะด้วย”

“ก็ทิ้งช่วงเผื่อเธอจะรู้คำตอบอยู่แล้ว ไม่อยาก sell coal to Newcastle = เอามะพร้าวห้าวมาขายสวน (เพราะสมัยก่อน Newcastle เป็นเมืองที่ผลิตถ่านหินได้มาก) สำนวนอีกรายที่ฉันว่าคือ full of piss and wind ซึ่งถ้าแปลตรงตัวก็คือ เต็มไปด้วยฉี่และลม”

“โอ้โห ฉันว่าสำนวนนี้ต้องไม่สุภาพแน่นอน ขนาดปล่อยทั้งสองอย่างพร้อม ๆ กันแบบนี้ หรือถึงแม้จะไม่ได้เอามาผสมกัน แค่ฉี่ทวนลมก็แย่แล้ว”

“นั่นก็เป็นอีกสำนวนหนึ่ง piss in the wind หมายถึงทำอะไรที่เสียเวลาเสียกำลังไปเปล่า ๆ แถมดีไม่ดีอาจจะย้อนกลับมาทำให้ตัวเองเปียก เอ๊ย เสียหายได้อีก แต่สำนวน full of piss and wind หมายถึง พูดเก่ง แต่ทำอะไรไม่เป็นหรือไม่ทำ ทำนองเดียวกันกับ full of bluster (ฟุลหลัฟบลัสเต่อร์) = เต็มไปด้วยสำนวนโวหารการคุยโว แต่ไม่ทำอะไร”.

หนังสือ “ฟอไฟฟุดฟิดอังกฤษอเมริกัน” เล่ม 1-6 รวมซีดี ลดจาก 600 เหลือ 550 บาท หรือถ้าไม่เอาซีดีก็เพียง 480 บาท ส่ง EMS ฟรี ส่งธนาณัติสั่งจ่ายนายเสาวพจน์ ศรีวลี 20/1 ซอยอินทามระ 7 ป.ณ. สามเสนใน กท. 10400 หรือเข้าบัญชี ธ. กรุงเทพ หมายเลข 111-4-02764-0 แฟกซ์ใบสั่งจ่ายไปที่ 02-616-8215 อย่าลืมเขียนชื่อ-ที่อยู่นะครับ เว็บไซต์ผม //boonhod.com อีเมลผม boonhod@hotmail.com

บ๊อบ บุญหด

***
Credit : //www.dailynews.co.th


โดย: เตยจ๋า วันที่: 21 กรกฎาคม 2554 เวลา:6:41:11 น.  

 
▼▲ ฉี่ (4)
“มารศรี เราเปลี่ยนไปคุยเรื่องอื่นได้มั้ย คุยเรื่องสำนวนเกี่ยวกับฉี่แล้วทำให้ฉันอยากเข้าห้องน้ำตงิด ๆ ขึ้นมา”

“เดี๋ยวสิ ยังมีอีกสำนวนที่เธอน่ารู้จัก อันนี้ใช้แพร่หลายด้วย กลัวเดี๋ยวเธอไปห้องน้ำแล้วหายไปเลย”

“โธ่ มารศรี เธอคิดว่าฉันไม่อยากเรียนรู้สำนวนพวกนี้จากเธอเหรอ ถ้าเธอไม่เล่าให้ฉันฟัง ฉันก็ไม่รู้จะไปเรียนจากใครที่ไหน”

“เห็นเธอทำหน้าเบื่อ แต่เอาล่ะ ฉันจะเล่าเร็ว ๆ เธอจะได้รีบไป สำนวนที่ฉันว่าคือ pissing contest (พิสซิง ค้อนเถ็สท) แปลตรงตัวว่าการแข่งขันกันฉี่”

“โธ่ ฉันจะเล็ดอยู่แล้ว ยังมาพูดเรื่องการแข่งขันกันฉี่อีก ถ้าจะให้ฉันลงแข่งตอนนี้รับรองชนะแน่ ว่าแต่ว่าจะเอาความไกลหรือปริมาณ ส่วนความแม่นยำนั้นขอผ่าน คงสู้ผู้ชายไม่ได้อยู่แล้ว”

“นั่นความหมายตรงตัวของมัน แต่ความหมายเชิงสำนวนคือการแข่งขันที่เอาเป็นเอาตายแต่ไร้สาระ เช่นแข่งกันพิสูจน์ว่าใครแน่กว่ากัน ใครใหญ่กว่ากัน ถึงชนะไปแล้วก็ไม่ได้อะไรขึ้นมา”

“โอเค ตกลงเธออธิบายจบแล้วใช่มั้ย หรือว่าจะเติมเกร็ดทางประวัติศาสตร์อะไรอีก”

“เอ้อ จริงด้วย เธอเตือนก็ดีแล้ว คือว่าการแข่งขันฉี่โดยทั่วไปเป็นสิ่งที่ผู้ชายทำ แต่ไม่ได้หมายความว่าผู้ชายส่วนใหญ่ทำกันนะ พวกที่แข่งกันว่าใครฉี่ได้ไกลหรือสูงกว่าเพื่อนก็คงต้องเมาหรือไม่ก็มีวุฒิภาวะไม่สูงมาก แต่ในประวัติศาสตร์ก็มีบันทึกว่าผู้หญิงก็แข่งกันฉี่เหมือนกัน ที่ไอร์แลนด์มีตำนานปรำปราว่าหญิงคนหนึ่งที่ชนะการแข่งขันฉี่ถูกผู้แพ้กลุ้มรุมทำร้ายจนตาย”

“โอ้โห แสดงว่าเขาเอาจริงเอาจังกับการฉี่มากนะเนี่ย ถ้าเป็นสมัยนี้คงออกรายการ Ireland’s Got Talent แล้ว”

“สมัยนี้ความสามารถอย่างนั้นคงออกทีวีไม่ได้หรอก แต่คนโบราณชอบมีเรื่องแปลก ๆ เช่นมีนักแสดงคนหนึ่งสมญานามว่า Le Petomane มีความสามารถพิเศษในการผายลม สามารถเล่นเครื่องเป่าเป็นเพลงได้โดยไม่ต้องใช้ปาก สามารถใช้ลมจากบั้นท้ายดับเทียนจากระยะห่างหลายหลา แถมยังสามารถทำเสียง sound effects ได้อีกเพียบ คนที่แห่ไปชมการแสดงของเขาที่ Moulin Rouge ที่ปารีสก็มีทั้งราชวงศ์และชาวไฮโซในสมัยนั้น”

“น่าสนใจมาก มารศรี แต่ฉันคงต้องขอตัวก่อนนะ หรือถ้าเธอมีสำนวนจะเล่าให้ฉันฟังอีกก็ตามฉันไปที่ห้องน้ำตอนนี้เลย”.
................

▼▲ผิดตามฝรั่ง (1)
ขึ้นชื่อว่าเป็นเจ้าของภาษาจะต้องใช้ภาษาถูกต้องใช่หรือไม่

ไม่ใช่เลยครับ คนไทยจำนวนมากใช้ภาษาไทยไม่ถูกต้องฉันใด คนอังกฤษและอเมริกันจำนวนมากก็ใช้ภาษาอังกฤษไม่ถูกต้องฉันนั้น

แถมที่ยิ่งร้ายก็คือการที่ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลทำให้ชาติที่นำมันไปใช้ (เช่นอินเดีย) พากันเพิ่มเติมความผิดเพี้ยนอีกจนเจ้าของภาษาดั้งเดิมก็ตีความหมายไม่ออก

แต่แค่ความผิดเพี้ยนที่ฝรั่งก่อกันประจำวันก็แย่แล้วครับ คุณผู้อ่านคงเคยเห็นฝรั่งพูดทำนอง I don’t know the reason why. หรือ The reason why it’s so expensive is because there are so few of them. ซึ่งฟังดูเผิน ๆ ก็น่าจะไม่เป็นไร

แต่ถ้าดูดี ๆ ก็จะเห็นว่าประโยคทำนองนี้มีการซ้ำซ้อน ประโยคแรกควรจะพูดใหม่เป็น I don’t know the reason. = ฉันไม่ทราบเหตุผล หรือไม่ก็ I don’t know why. = ฉันไม่ทราบว่าทำไม

ส่วนประโยคที่สองก็ควรเป็น The reason it’s so expensive is that there are so few of them. = เหตุผลที่มันแพงนักก็เพราะว่ามันมีอยู่น้อยเหลือเกิน หรือ It’s so expensive because there are so few of them. = มันแพงนักก็เพราะว่ามันมีอยู่น้อยเหลือเกิน

ความหมาย “มีน้อยลง” หรือ “มีน้อยกว่า” ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่สร้างปัญหาให้กับเจ้าของภาษา

ถ้าคุณผู้อ่านชอบเพลงของวง Air Supply ก็คงรู้จักเพลง Two Less Lonely People ซึ่งคนรักภาษาที่ทำตัวน่ารำคาญบางคนบอกว่าควรเป็น Two Fewer Lonely People ถ้าตั้งใจจะให้มีความหมายว่า มีคนเหงาน้อยลงสองคน โดยสิ่งที่น้อยลงคือจำนวนคนที่เหงา

ถ้าดูในเนื้อเพลงก็จะเห็นว่านั่นคือความหมายที่เพลงนี้ตั้งใจจะสื่อ แต่ถ้าจะบอกว่า Two Less Lonely People ผิด ก็คงไม่ได้ เพราะถ้าเราไม่สนใจความหมายที่เพลงตั้งใจสื่อ ดูเฉพาะวลีนี้ ก็จะได้ความหมายว่า มีคนสองคนที่เหงาน้อยลง ซึ่งถ้าจะเขียนให้ถูกจริง ๆ ก็ควรเป็น Two Less-Lonely People

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าตรงไหนควรใช้ less (เล็ส) ตรงไหนควรใช้ fewer (ฟิ้วเหว่อร์)

ก็ต้องดูว่าเป็นนามที่นับได้หรือไม่ ถ้าเป็นนามที่นับได้ เช่นจำนวนคน ก็ใช้ fewer แต่ถ้านับจำนวนไม่ได้ แต่มีความมากความน้อย เช่นความเหงา ก็ใช้ less เช่น less lonely เพื่อบ่งบอกว่าเหงาน้อยลง.


▼▲//www.dailynews.co.th/


โดย: เตยจ๋า วันที่: 27 กรกฎาคม 2554 เวลา:17:29:31 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Turtle Came to See Me
Location :
พัทลุง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 42 คน [?]





★ที่มา ล็อกอิน ★Turtle Came to See Me ★( บทกวี Poem )
เป็นหนังสือ สำหรับเยาวชน
★Turtle Came to See Me
แต่งโดย :Margrita Engle
★★★★



BlogGang Popular Award #11

BlogGang Popular Award #12
Friends' blogs
[Add Turtle Came to See Me's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.