It's All I Have to Bring Today !
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2554
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
6 มิถุนายน 2554
 
All Blogs
 
อังกฤษอเมริกัน ๒.๑.๓

۩۞۩ Stoned''



เมื่อเร็ว ๆ นี้เห็นข่าวพาดหัวว่า Beauty Queen Stoned to Death ก็เกิดความสงสัยขึ้นมาทันทีว่าเขาใช้คำว่า stoned ในความหมายปกติหรือในเชิงสแลง

แต่แทบจะทันทีที่เกิดคำถามก็คิดได้ว่าต้องเป็นความหมายปกติแน่นอน เพราะการพาดหัวข่าวหรือบรรยายข่าวย่อมไม่มีการใช้ภาษาสแลง และไม่มี editorializing (เอ็ดดิท้อเหรี่ยลหล่ายสิ่ง) = การสอดแทรกความคิดเห็นต่อเนื้อข่าว

คำว่า stoned ถ้าเป็นวิเศษณ์ภาษาสแลง แปลว่า เมายา (เสพติด) เช่น He was stoned out of his mind when we found him. = เขา
เมายาไม่รู้เรื่องเลยตอนที่เราไปพบเขา

สังคมอเมริกันบางส่วน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนรุ่นที่เคยเป็นฮิปปี้) จะมองพวกสิงห์ขี้ยาด้วยความเอ็นดูว่าเวลาเมายาแล้วตลก ภาพยนตร์ประเภท stoner comedies = หนังตลกที่มีตัวเอกเป็นพวกขี้ยา จึงเป็นที่นิยมในระดับหนึ่ง เช่น Bill and Ted’s Excellent Adventure (ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ Keanu Reeves ก่อนที่มาเป็น Hollywood A-lister = คนที่อยู่ในบัญชี ก. ของฮอลลีหวุด) และการผจญภัยของ Harold and Kumar (ซึ่งผู้แสดงเป็น Kumar ในชีวิตจริงได้ย้ายเข้าไปทำงานในทำเนียบขาวของโอบามาแล้ว)

แต่สำหรับสังคมกระแสหลักที่รับไม่ได้กับยาเสพติด ความเมาที่ยังใช้ทดแทนกันได้ก็คือความเมาเหล้า เช่นในเรื่อง Arthur และที่ดังในระยะหลังคือ The Hangover เพราะจริง ๆ แล้วจุดตลกไม่ได้อยู่ที่ความเมา แต่เป็นความไร้สติที่เกิดจากความเมา (เช่นในเรื่อง City Lights ของชาร์ลี แชปลิน)

นั่นคือเรื่องของ stoned เมื่อใช้ในเชิงสแลง แต่เมื่อใช้เป็นภาษาปกติ stone ที่เป็นกริยาแปลว่า ขว้างหินใส่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทำพิธีลงโทษในบางศาสนา เช่น She was raped by a married man, convicted of adultery and stoned to death. = เธอถูกข่มขืนโดยผู้ชายที่แต่งงานแล้ว ถูกตัดสินว่ามีความผิดข้อหาเป็นชู้ และถูกขว้างด้วยหินจนตาย

ในพาดหัวข่าวที่ผมกล่าวถึงข้างต้น ตอนแรกข่าวออกมาว่าเด็กสาวชาวยูเครนที่ไปประกวดนางงามถูกหนุ่มศาสนาเดียวกันจับมาขว้างด้วยหินจนตายเป็นการลงโทษ

แต่เอาไปเอามาปรากฏว่าฆาตกรรมรายนี้ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับศาสนาเลย เด็กสาวคนนั้นเป็นชาวคริสต์ และหนุ่มที่ใช้ก้อนหินทุบเธอจนตาย
ก็เป็นคนที่มีปัญหาทางจิต

บทเรียนเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า Don’t believe everything you read in the news. = อย่าเชื่อทุกอย่างที่คุณอ่านในข่าว.หนังสือ “ฟอไฟฟุดฟิดอังกฤษอเมริกัน” เล่ม 1-6 รวมซีดี ลดจาก 600 เหลือ 550 บาท หรือถ้าไม่เอาซีดีก็เพียง 480 บาท ส่ง EMS ฟรี ส่งธนาณัติสั่งจ่ายนายเสาวพจน์ ศรีวลี 20/1 ซอยอินทามระ 7 ป.ณ. สามเสนใน กท. 10400 หรือเข้าบัญชี ธ.กรุงเทพ หมายเลข 111-4-02764-0 แฟกซ์ใบสั่งจ่ายไปที่ 0-2616-8215 อย่าลืมเขียนชื่อ-ที่อยู่นะครับ เว็บไซต์ผม //boonhod.com อีเมลผม boonhod@hotmail.com

***
Credit : //www.dailynews.co.th/


Create Date : 06 มิถุนายน 2554
Last Update : 7 มิถุนายน 2554 3:05:44 น. 2 comments
Counter : 2766 Pageviews.

 

◐◑....เลือกใครดี (1).....◐◑

“มารศรี เธอจะลงคะแนนให้พรรคไหนในวันเลือกตั้ง”

“อืมม์ เธอเป็นเพื่อนที่ฉันรักก็จริงอยู่นะ แต่ฉันต้องขอบอกตรง ๆ ว่า That’s none of your business. เขาว่าอย่างไรนะ ไม่ใช่โกงกางอะไรของเธอ ใช่ไหม”

“ไม่ใช่ กงการจ้ะ แต่ฉันอยากให้เธอเลือกพรรคที่ฉันชอบน่ะ บอกหน่อยไม่ได้เหรอ”

“Don’t be nosy. การเลือกตั้งเป็นการตัดสินใจส่วนตัวของแต่ละคน นั่นคือเหตุผลที่มี voting booth = คูหาเลือกตั้ง เพื่อที่เวลาเราลงคะแนน คนอื่นจะได้ไม่เห็นว่าเราลงให้ใคร”

“เธอบอกให้ฉันอย่าเป็นอะไรนะ nosy น่ะ ฟังยังกะว่าเกี่ยวกับจมูก แต่มันเกี่ยวตรงไหนฉันนึกไม่ออก”

“nosy (โน้สสี่) แปลว่า ชอบอยากรู้อยากเห็นเรื่องของคนอื่นไปทั่ว”

“ว้าย ยัยมารศรี เธอหาว่าฉันชอบแส่เหรอ ฉันไม่ได้แส่นะยะ แม่นักเรียนนอก ฉันแค่หวังดี อยากให้เพื่อนเลือกพรรคที่จะทำประโยชน์ให้ประเทศชาติมากที่สุด ไม่อยากให้ไปเลือกพรรคที่จะทำลายชาติ”

“อะไรมันจะ black and white ปานนั้น เธอคิดจริง ๆ หรือว่าพรรคหนึ่งเป็น knight in shining armor ในขณะที่อีกพรรคเป็น the devil’s own spawn”

“มารศรี ฉันบอกเธอกี่ทีแล้วว่าอย่าพูดไทยปนอังกฤษ มันไม่น่ารัก รู้มั้ย”

“โทษที บางทีพูดเร็ว ๆ นึกภาษาไทยไม่ทัน ก็เลยพูดสำนวนภาษาอังกฤษออกไป ที่ฉันพูดเมื่อกี้ black and white ไม่ต้องบอกเธอก็คงรู้อยู่แล้วว่าแปลว่า ขาวดำ ฉันไม่อยากให้เธอมองว่าอะไร ๆ ในโลกนี้เป็นเรื่องขาวดำ ฝ่ายธรรมะจะต้องบริสุทธิ์ผุดผ่องไม่มีที่ติ ฝ่ายอธรรมจะต้องเลวร้ายสิ้นดีไม่มีอะไรปาน เพราะจริง ๆ แล้วแต่ละฝ่ายก็มีความเป็น shades of gray = สีเทาที่ความอ่อนความเข้มแตกต่างกันไป และดีไม่ดีอาจจะมีอะไรคล้าย ๆ กันมากกว่าที่เธอคิด”

“ฉันไม่เชื่อหรอก ฉันดูละครทีวีไทยมานานแล้วนะ นานพอที่จะรู้ว่าโลกเป็นยังไง”

“นั่นเป็นโลกในความฝัน ในโลกแห่งความจริงเราทุกคนก็อยากให้มี knight in shining armor (ไนทินชายนิงง้าร์เหม่อร์) มาช่วยเราให้รอดพ้นจากอันตรายทั้งปวง”

“สำนวนนี้อีกแล้ว แปลว่าอัศวินขี่ม้าขาวรึเปล่า ทำไมถึงไม่เรียกว่า knight on a white horse ล่ะ”

“เพราะในภาษาอังกฤษเขาไม่สนใจสีของม้า แต่สนใจที่อัศวินใส่ชุดเกราะงามวาววับมาช่วยเรา เพราะจริง ๆ แล้วความงามวาววับของชุดเกราะนั้นอาจเป็นเพียงภาพภายนอกเท่านั้น ไม่ได้บ่งบอกถึงฝีมือจริง ๆ ของอัศวิน สำนวนนี้จึงมักใช้ในเชิง




******

เลือกใครดี (2)

“แล้วเธอไม่อยากให้มีอัศวินขี่ม้าขาวหรือสวมชุดเกราะเป็นเงาวาววับมาช่วยบ้านเมืองเหรอ มารศรี”

“ทำไมจะไม่อยากล่ะ แต่ฉันเป็น realist (เรี้ยลหลิสท) ฉันมองโลกตามความเป็นจริง ไม่ใช่มองโลกอย่างที่มันน่าจะเป็น ฉันมัน cynical (ซิ้นหนิเขิ่ล) เกินกว่าที่จะคิดว่ามีนักการเมืองที่ไหนสักคนจะมาช่วยแก้ปัญหาทุกอย่างให้เราได้”

“อะไรอีกแล้ว ซินนิเขิ่ลอะไรของเธอ แปลเป็นไทยด้วยจ้ะ”

“ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะแปลอย่างไร คนที่ cynical เป็นคนที่ไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ เวลามีข่าวดีก็จะต้องสงสัยว่ามีอะไรอยู่เบื้องหลัง คงไม่ดีจริง ไม่ค่อยเชื่อว่าพฤติกรรมมนุษย์มาจากความดีที่แฝงอยู่ในกมลสันดานแต่ถูกขับเคลื่อนโดยผลประโยชน์และความเห็นแก่ตัวมากกว่า คนที่เป็น cynic จะไม่เชื่อในอัศวินม้าขาว และถ้ามีอัศวินโผล่มาจริง ๆ ก็ยังไม่เชื่ออยู่ดีจนได้เห็นกับตาว่าอัศวินผู้นั้นเก่งกล้าจริง”

“อ้าว มารศรี ให้ฉันมีความหวังหน่อยไม่ได้เหรอ จะลม ๆ แล้ง ๆ แค่ไหนก็เถอะ ว่าสักวันเราจะมีคนดีมาอาสาเปลี่ยนแปลงประเทศให้ดีขึ้น”

“เธอจะ hope against hope ไปทำไมในสิ่งที่เธอควบคุมไม่ได้
ในเมื่อเธอรู้ว่าสิ่งนั้นยากที่จะเป็นความจริง คนที่จะประสบความสำเร็จในอาชีพนักการเมืองได้โดยมากต้องเป็นคนที่มีอัตตาสูง มักใหญ่ใฝ่สูง กลับกลอกปลิ้นปล้อน เพราะถ้าไม่เป็นอย่างนั้นก็จะถึงดวงดาวได้ยาก”

“hope against hope เหรอที่แปลว่า มีความหวังลม ๆ แล้ง ๆ ทำไมเรียกยังงั้นล่ะ ฟังเหมือนความหวังต่อต้านความหวัง”

“ก็เขาใช้กันอย่างนั้นมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว นักการเมืองที่ดีไม่จำเป็นต้องเป็นคนดี เพราะนักการเมืองทำทุกอย่างที่เขาคิดว่าจะทำให้เขาได้รับเสียงสนับสนุน ซึ่งอาจจะไม่ถูกต้องตามหลักการที่คนดีพึงกระทำก็ได้ อย่างนี้เขาเรียกว่าเป็น political pandering (พัลลิทถิคคัล แพ้นดะหริ่ง)”

“เกี่ยวอะไรกับแพนด้าหรือเปล่า”

“ไม่เกี่ยว pandering โดด ๆ แปลว่า การตอบสนองความต้องการที่หยาบช้าต่ำทรามของอีกฝ่าย”

“ไม่ให้ฉันมีความหวังลม ๆ แล้ง ๆ แล้วจะให้ฉันทำไงล่ะ ไม่เลือกใครเลยเหรอ”

“จะเลือกใครหรือไม่เลือกใครก็แล้วแต่เธอ แต่จงจำที่มหาตมะ คานธี กล่าวไว้ว่า Be the change you want to see in the world. เธออยากให้โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรก็จงทำตัวเองให้เป็นเช่นนั้น อย่าไปตั้งความหวังไว้กับคนอื่น แต่จงเริ่มที่ตัวเธอเอง เพราะนั่นคือสิ่งเดียวที่เธอพอจะควบคุมได้บ้าง”.

หนังสือ “ฟอไฟฟุดฟิดอังกฤษอเมริกัน” เล่ม 1-6 รวมซีดี ลดจาก 600 เหลือ 550 บาท หรือถ้าไม่เอาซีดีก็เพียง 480 บาท ส่ง EMS ฟรี ส่งธนาณัติสั่งจ่ายนายเสาวพจน์ ศรีวลี 20/1 ซอยอินทามระ 7 ป.ณ. สามเสนใน กท. 10400 หรือเข้าบัญชี ธ.กรุงเทพ หมายเลข 111-4-02764-0 แฟกซ์ใบสั่งจ่ายไปที่ 0-2616-8215 อย่าลืมเขียนชื่อ-ที่อยู่นะครับ เว็บไซต์ผม //boonhod.com อีเมลผม boonhod@hotmail.com


******

Credit : //www.dailynews.co.th/


โดย: แม่มดน้อยจอมยุ่งโดเรมี (เตยจ๋า ) วันที่: 9 มิถุนายน 2554 เวลา:4:44:10 น.  

 
ชื่อตลก (1)

คนเราบางคนเกิดมามีชื่อที่พ่อแม่ตั้งให้แต่ตนเองไม่ชอบใจ พอโตขึ้นก็เปลี่ยน ไม่ว่าจะให้ไพเราะเสนาะหูขึ้น ฟังง่ายขึ้น หรือน่าจดจำมากขึ้น

สำหรับคนไทย การเปลี่ยนชื่อเป็นเรื่องค่อนข้างธรรมดา เพราะเรามีความเชื่อว่ามีความเกี่ยวพันกับโชคลาภดวงชะตา ถ้าโชคไม่ดีก็ลองเปลี่ยนชื่อดู ถ้าเปลี่ยนแล้วโชคก็ยังไม่ดี ก็ลองอีกจนกว่าจะได้ผลที่ต้องการ (ถ้าเปลี่ยนหลายครั้งจนแก่แล้วโชคก็ยังไม่ดีสักทีก็ถือว่าเป็นเรื่องของดวงก็แล้วกัน)

สำหรับฝรั่ง การเปลี่ยนชื่อเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยทำกันแพร่หลาย แต่ก็พอมีบ้าง อย่างนาย Reginald Dwight โตขึ้นมาก็เปลี่ยนชื่อตัวเอง
เป็น Elton John หรือนาย Arnold George Dorsey พอยึดอาชีพนักร้องก็เปลี่ยนชื่อเป็น Engelbert Humperdinck (โดยยืมจากชื่อของคีตกวีชาวเยอรมันผู้แต่งโอเปร่าเรื่อง Hansel and Gretel)

แน่นอนครับ น้อยคนจะเปลี่ยนชื่อจากที่พ่อแม่ตั้งให้ดี ๆ มาเป็นชื่อตลก (เช่นนายบ๊อบ บุญหด ผู้โชคดีตรงที่ยังมีชื่อจริงที่พ่อแม่ตั้งให้อยู่)

แต่บางคนก็มีชื่อตลกที่พ่อแม่ใจร้ายตั้งให้ หรือได้นามสกุลเป็นมรดกตกทอดหรือโดยวิธีอื่นที่ไม่ได้ตั้งใจ และแทนที่จะเปลี่ยนมันเสีย กลับมีความมั่นใจในตัวเองพอ (หรือมีอารมณ์ขันพอ) ที่จะไม่เปลี่ยนและใช้มันตลอดชีวิต

เช่น Urinal McZeal แห่ง Washington County, Florida ผู้มีชื่อแปลว่า โถฉี่ผู้ชาย

หรือ Mary Louise Pantzaroff แห่ง Huron County, Ohio ผู้มีนามสกุลที่ดูเหมือนไม่มีอะไรแปลกประหลาดจนกระทั่งคุณพยายามออกเสียงนามสกุลของเธอ ก็จะตระหนักว่าถ้าอ่านตามที่สะกดก็จะออกเสียงเหมือน pants are off = กางเกงถอดไว้แล้ว

หรือ Positive Wasserman Johnson ผู้มีชื่อที่ฟังแปลก แต่ยังไม่ฮาจนกระทั่งคุณทราบว่าหลังจากที่สงครามโลกครั้งที่สองจบใหม่ ๆ การตรวจโรคซิฟิลิสกระทำโดยวิธีที่เรียกว่า Wasserman test และถ้าพบว่าคนไข้เป็นซิฟิลิสจริง แพทย์ก็จะเขียนบันทึกว่า positive Wasserman

บางทีชื่อตลกก็เกิดจากสถานการณ์ชีวิต เช่น นางสาว Belcher ผู้แต่งงานกับหนุ่มนามสกุล Wack แล้วก็แต่งงานกับพี่ชายของเขาอีกที ทำให้เธอลงเอยด้วยชื่อ Mrs. Belcher Wack Wack (ความจริงนามสกุล Belcher ก็น่าจะตลกอยู่ เพราะแปลว่า ผู้เรอ แต่ความที่เป็นนามสกุลที่แพร่หลายพอสมควรจึงทำให้มันลดความตลกลงไปเยอะ).

หนังสือ “ฟอไฟฟุดฟิดอังกฤษอเมริกัน” เล่ม 1-6 รวมซีดี ลดจาก 600 เหลือ 550 บาท หรือถ้าไม่เอาซีดีก็เพียง 480 บาท ส่ง EMS ฟรี
ส่งธนาณัติสั่งจ่ายนายเสาวพจน์ ศรีวลี 20/1 ซอยอินทามระ 7 ป.ณ. สามเสนใน กท. 10400 หรือเข้าบัญชี ธ.กรุงเทพ หมายเลข 111-4-02764-0 แฟกซ์ใบสั่งจ่ายไปที่ 02-616-8215 อย่าลืมเขียนชื่อ-ที่อยู่นะครับ เว็บไซต์ผม //boonhod.com อีเมลผม boonhod@hotmail.com


Credit : //www.dailynews.co.th/


โดย: เตยจ๋า วันที่: 14 มิถุนายน 2554 เวลา:3:52:30 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Turtle Came to See Me
Location :
พัทลุง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 42 คน [?]





★ที่มา ล็อกอิน ★Turtle Came to See Me ★( บทกวี Poem )
เป็นหนังสือ สำหรับเยาวชน
★Turtle Came to See Me
แต่งโดย :Margrita Engle
★★★★



BlogGang Popular Award #11

BlogGang Popular Award #12
Friends' blogs
[Add Turtle Came to See Me's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.