Group Blog
 
 
ตุลาคม 2556
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
27 ตุลาคม 2556
 
All Blogs
 
ท่าทุ่มยูโด ogoshi

โอโกชิเป็นท่าทุ่มพื้นฐานของหลายๆท่าโดยเฉพาะท่าทุ่มด้วยสะโพกท่าอื่นๆรวมไปถึงท่าเซโอนาเกะสมควรที่จะเรียนเป็นท่าแรกๆ เพราะสามารถใช้ในการเรียนรู้ทั้งคนทุ่มและคนตบเบาะ รวมถึงพื้นฐานแรกเริ่มของคุมิเทะหรือการชิงจับในลักษณะเก็งกังโยตสึ(คนนึงจับซ้ายอีกคนจับขวา)และรวมไปถึงการสวนกลับท่าอื่นๆที่คู่ต่อสู้หมุนตัวใช้เข้ามาได้อีกด้วยพื้นฐานของโอโกชิคือการทำคุสุชิมาทางด้านหน้าหรือว่าเฉียงขวาหน้า แล้วคนทุ่มเอามือขวาสอดไปโอบเอวด้านหลังก่อนที่จะทุ่มลงพื้น

รูปแบบที่1 การทุ่มในจังหวะปกติ

ท่านี้เป็นการเรียนรู้หลักในการดึงการเข้าท่าต่างๆด้วยหลักในการดึงทำคุสุชิพื้นฐานคือดึงในจังหวะที่อุเกะเดินถอยหลังด้วยขาขวา ขณะท่าขาขวาของอุเกถอยผ่านขาซ้ายไปแล้วแต่ยังไม่ลงพื้นให้ทำคุสุชิในจังหวะนั้นโดยการดึงอุเกมาทางด้านหน้าถ้าขาขวาอุเกะยกลอยยังไม่ลงพื้นดีจะทำให้เสียสมดุลย์อย่างมากอันเป็นพื้นฐานทั่วๆไปของการเข้าท่าจังหวะเดียวกันที่อุเกะก้าวขาขวาถอยหลังให้โทริก้าวขาขวาไปด้านหน้าเช่นกัน จากนั้นคนทุ่มหันลำตัวออกไปด้านซ้ายในลักษณะฮันมินต่อจากนี้คือการโอบเอว จุดสำคัญของท่านี้คือการเอามือขวาล้วงไปโอบเอวด้านหลังบริเวณสายรัดให้ทำการโอบเอวก่อนที่จะหมุนตัว180องศาเพราะมันจะโอบได้เยอะและแน่นกว่าการหมุนตัวไปก่อนตอนที่หมุนตัวไปแล้วให้ย่อเข่าเล็กน้อย ใช้มือซ้ายดึงตัวอุเกะเข้ามาสะโพกของคนทุ่มยัดเข้าไปที่จุดกึ่งกลางของตัวอุเกะลำตัวด้านบนขวาของเราติดชิดกับลำตัวด้านหน้าของคู่ต่อสู้(ใกล้เคียงกับพื้นฐานของท่าเซโอนาเกะที่งอเข่าหลังตรง) จังหวะทุ่มให้ดันเข่าขึ้นยกสะโพกและทุ่มเป็นวงกลมหล่นมาที่ด้านหน้า

รูปแบบที่2 การทุ่มในการจับแบบท่าป้องกัน defensive posture

ปัญหาใหญ่ของโอโกชิคือการจะเอามือล้วงเข้าไปโอบเอวนั้นทำได้ยากรูปแบบที่จะทำให้โอโกชิใช้ได้ง่ายขึ้นนั้นทำได้โดยการจับแบบในท่าป้องกันคือการจับโดยการโอบไปใต้รักแร้ของอุเกแทนที่จะเป็นการจับที่คอเสื้อปกติ การจับในรูปแบบนี้มักจะเห็นใช้กันตอนที่เป็นการจับแบบเก็งกังโยตสึ(คนนึงจับซ้าย คนนึงจับขวา)หลังจากที่ทำคุสุชิได้แล้วการโอบจะง่ายขึ้นเพราะเป็นการเอามือที่จับอยู่ใต้รักแร้เลื่อนต่ำลงไปเป็นโอบเอว

รูปแบบที่3การทุ่มในจังหวะสวนกลับท่าอุจิมาตะ

จังหวะที่อุเกะใช้อุจิมาตะเข้ามาโทริย่อตัวลงเล็กน้อยพร้อมกับโอบเอวด้วยมือซ้ายอุเกะใช้อุจิมาตะไม่สำเร็จเตรียมตัวถอยขาขวากลับจังหวะที่อุเกะถอยขาขวากลับนั้นโทริขยับขาขวาก้าวขึ้นหน้าพร้อมกับทำคุสุชิมาด้านหน้ามือซ้ายโอบเอวไว้เรียบร้อยอยู่ก่อนหน้านั้นแล้วสามารถเอาสะโพกยัดเข้าไปและทุ่มได้เลยท่านี้ใกล้เคียงกับท่าutsurigoshiที่เป็นท่าทุ่มในลักษณะเดียวกันข้อแตกต่างระหว่างอุทรึริโกชิกับโอโกชินั้นคือถ้าเป็นอุทรึริโกชิตอนที่คู่ต่อสู้ใส่อุจิมาตะเข้ามาโทริย่อตัวลงโอบเอวด้วยมือซ้ายเหมือนกันแล้วทำการยกอุเกะลอยขึ้นมาก่อนที่จะสลับมาอยู่ด้านหน้าในการทุ่มอุทรึริโกชิเป็นการใช้แรงที่ต่อเนื่องตั้งแต่ที่อุเกะใส่ท่าเข้ามาตลอดจนการยกและการสลับตัวมาด้านหน้าในการทุ่มจะขาดช่วงไม่ได้แต่โอโกชิเป็นจังหวะที่คู่ต่อสู้หยุดและถอยกลับไปจากนั้นโทริค่อยตามเข้าไปใช้โอโกชิการเคลื่อนที่หยุดไปบางส่วนก็ยังทุ่มได้สำเร็จทั้งสองท่านี้สามารถใช้สวนกลับท่าอื่นๆที่เป็นการหมุนตัวเข้าทำได้ทั้งหมดเช่นฮาไรโกชิ ฮาเนโกชิ ทรึริโกมิโกชิ โทบิโกชิ

เกร็ดเล็กน้อยของท่าโอโกชิ

ปรมาจารย์ที่คิดค้นยูโดอาจารย์คาโน่จิโกโร่ได้เรียนรู้ท่านี้มาตั้งแต่สมัยที่เรียนยูยิตสูในหนังสือยูยิตสูสำนักเทนจิน ชินโยริวมีชื่อเรียกของท่านี้ว่าkoshi nage และท่า iri koshi toriทั้งสองท่านี้น่าจะเป็นต้นแบบของโอโกชิในปัจจุบัน

ในเดือนกันยายนปี1889 ราชสำนักอิมพีเรียลได้ให้ชาวญี่ปุ่นคนนึงออกเดินทางไปเรียนรู้ระบบการศึกษาที่ยุโรป ต้นเดือนมกราคมปี1890ระหว่างที่เดินทางกลับโดยใช้เรือข้ามมหาสมุทรอินเดียอยู่นั้นชาวญี่ปุ่นคนนี้ได้เกิดการต่อสู้กับชาวรัสเซียร่างยักษ์ ชาวญี่ปุ่นโดนคนรัสเซียจับคอและกำลังจะถูกโยนเหวี่ยงลงพื้นในจังหวะที่กำลังจะถูกโยนนั้นชาวญี่ปุ่นได้เห็นช่องว่าง +สามารถใช้ความเร็วสลับตัวมาอยู่ด้านหน้าและได้ทุ่มชาวรัสเซียลงไปที่พื้นได้ แต่เนื่องจากพื้นเรือเป็นพื้นแข็งคนญี่ปุ่นได้เซฟชาวรัสเซียโดยการทุ่มที่ให้ขาของชาวรัสเซียลงพื้นก่อนที่จะเซฟช่วงคอให้ไม่กระทบกระเทือนคนรอบข้างที่อยู่ในเหตุการณ์ครั้งนี้ได้เห็นสิ่งที่เรียกว่าคนตัวเล็กสามารถจัดการคนตัวใหญ่ได้อีกทั้งคนตัวเล็กยังได้ช่วยป้องกันไม่เกิดอาการบาดเจ็บใดๆทั้งสิ้นจากการต่อสู้ เหตุการณ์นี้ได้แปรเปลี่ยนเป็นมิตรภาพที่ดีงามระหว่างคนญี่ปุ่นและคนรัสเซียตลอดการเดินทางในทริปนี้และเป็นที่เล่าขานสืบต่อกันมาชาวญี่ปุ่นคนนั้นมีชื่อว่า “คาโน่ จิโกโร่” และท่าที่ใช้ในการทุ่มนี้เรียกว่า “โอโกชิ” 




Create Date : 27 ตุลาคม 2556
Last Update : 27 ตุลาคม 2556 11:24:23 น. 0 comments
Counter : 6665 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ablaze357
Location :
Chiba Japan

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




「精力善用」「自他共栄」
Maximum efficient use of energy and mutual prosperity for self and others
New Comments
Friends' blogs
[Add ablaze357's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.