การคำนวณ water footprint
วิธีการคำนวณ water footprint ของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรมีแนวทางคร่าวๆดังนี้ค่ะ



















Create Date : 15 เมษายน 2555
Last Update : 26 เมษายน 2555 21:55:28 น.
Counter : 6816 Pageviews.

46 comment
บริษัทที่มีการคำนวณ water footprint
"ยกตัวอย่างว่าการผลิตชากล่องนั้น คิดตรงที่ปลูกชา และได้ใบชามาเท่านั้นหรือเปล่า
ได้นำการใช้น้ำแฝงในกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรมมาคิดด้วยหรือไม่
เพราะในกระบวนการผลิตนั้น เครื่องจักรที่ผลิตชาก็ต้องใช้น้ำหล่อเลี้ยงให้เย็น
ต้องใช้พลังงานไฟฟ้าที่อาจจะมาจากพลังน้ำ พนักงานในโรงงานก็ใช้น้ำและใช้ไฟฟ้า
กล่าวคือ ในกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรมนั้น จะมีการใช้น้ำแฝงอีกมาก
เช่น ข้าวสารก็ต้องใช้เครื่องสีข้าว ชากล่องก็ต้องต้มและผลิตกล่องมาใส่
แต่วัวนั้น ใช้เครื่องฆ่าสัตว์และชำแหละ อาจจะใช้น้ำแฝงน้อยกว่า

ก็จะต้องไปตามดูสิ่งห่อหุ้มด้วยไหมว่าใช้น้ำแฝงเท่าไร
สมมุติว่าสินค้าเกษตรชิ้นหนึ่งนั้นใช้น้ำน้อย แต่วัสดุห่อหุ้มใช้น้ำเยอะในการผลิต
กับสินค้าเกษตรอีกชิ้นหนึ่งใช้น้ำเยอะ แต่วัสดุห่อหุ้มใช้น้ำน้อยในการผลิต
อาจจะต้องมีข้อสันนิษฐานในส่วนนี้ไว้ด้วยไหม"

ณ ปัจจุบันมีสองบริษัทที่ทำการคำนวณ water footprint แล้วออกเป็นรายงาน Sustainability คือ Coca-Cola และ Nestle ของเนเธอร์แลนด์ แนวคิดการพัฒนาต่อเป็นฉลาก Water footprint ไม่ใช่เรื่องเกินจริงแต่อย่างใด



ภาพนี้แสดงการคำนวณ






Free TextEditor

จะเห็นได้ว่า น้ำที่นำมาคำนวณนั้น มาจากสองส่วนคือ
ทางตรง = จากการผลิตในโรงงาน เกิดจากการผสมสูตรต่างๆ รวมไปถึงการล้างขวด บรรจุขวด
ทางอ้อม = เกิดจากห่วงโซ่การผลิต อันมาจาก (1) หีบห่อ ได้แก่ เม็ดพลาสติก (2) วัตถุดิบ คือ น้ำตาล

ภาพนี้แสดงการแยกส่วนว่าน้ำที่นำมาผลิตมาจากแหล่งใดบ้าง






Free TextEditor

1. green คือ น้ำฝน
2. blue คือ น้ำผิวดิน
3. grey คือ ปริมาณน้ำดี ที่ต้องนำมาใช้เพื่อบำบัดน้ำเสียที่เกิดจากการผลิต


[quote]หากคิดตามนี้แล้ว ใบชาอบแห้ง กับน้ำชากล่อง
ก็ย่อมจะมีค่าเฉลี่ยที่ไม่เท่ากัน แม้จะเป็นใบชาที่จำนวนเท่ากันมาจากไร่เดียวกันก็ตาม
แต่ด้วยกระบวนการผลิตแตกต่าง ย่อมทำให้ Final Product นั้นมีการใช้น้ำแฝงที่เฉลี่ยไม่เท่ากัน[/quote]

ถูกต้องค่ะ
[/quote]



Create Date : 13 กุมภาพันธ์ 2554
Last Update : 23 พฤษภาคม 2554 14:59:28 น.
Counter : 1510 Pageviews.

4 comment
Water Footprint คืออะไร?
มาทำความรู้จัก Water Footprint กันเถอะ






Free TextEditor

"Water footprint (WF: รอยเท้าน้ำ)" คือ ปริมาณน้ำที่ใช้ทั้งทางตรงและทางอ้อมในการผลิตสินค้าต่อหน่วย (กิโลกรัม/ลิตร/ชิ้น)

ยกตัวอย่างเช่น
1. เนื้อไก่ 1 กก. ใช้น้ำในการผลิต 3,900 ลิตร
2. มะพร้าว 1 กก. ใช้น้ำในการผลิต 2,500 ลิตร
3. กาแฟ 1 ถ้วย (125 มิลลิลิตร) ใช้น้ำในการผลิต 140 ลิตร
4. ไข่ 1 ฟอง ใช้น้ำในการผลิต 200 ลิตร
5. นม 1 ลิตร ใช้น้ำในการผลิต 1,000 ลิตร
6. เนื้อหมู 1 กก. ใช้น้ำในการผลิต 4,800 ลิตร
7. ข้าว 1 กก. ใช้น้ำในการผลิต 3,400 ลิตร
8. ชา 1 ถ้วย (250 มิลลิลิตร) ใช้น้ำในการผลิต 30 ลิตร
(ที่มา: //www.waterfootprint.org/?page=files/productgallery)


Water footprint ประกอบด้วย blue water footprint, green water footprint และ grey water footprint

1. Blue Water Footprint คือ ปริมาณน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติทั้งแหล่งน้ำผิวดิน เช่น น้ำในแม่น้ำ ทะเลสาบ รวมทั้งน้ำในอ่างเก็บกักน้ำในอ่างเก็บน้ำต่างๆ และแหล่งน้ำใต้ดิน อันได้แก่น้ำบาดาลที่ใช้ในการผลิตสินค้า
2. Green Water Footprint คือ ปริมาณน้ำฝนและน้ำที่อยู่ในรูปของความชื้นในดินที่ถูกนำไปฃชใช้ในการผลิตสินค้า
3. Grey Water Footprint คือ ปริมาณน้ำเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตสินค้า ซึ่งคำนวณจากปริมาณน้ำที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีตามค่ามาตรฐาน
(ที่มา: //www.waterfootprint.org)





Create Date : 27 มกราคม 2554
Last Update : 7 กรกฎาคม 2554 18:26:38 น.
Counter : 3551 Pageviews.

0 comment

pHaiyLueNa
Location :
Lüneburg  Germany

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]



New Comments