Virtual Water Trade

รบกวนอธิบายเกี่ยวกับ Virtual water trade ได้มั้ยคะ แล้วคิดว่า
Virtual water trade กับ water footprint จะมีผลกระทบต่อประเทศไทยในอนาคตอย่างไรบ้างคะ ขอบคุณค่ะ



virtual water trade เกิดจากการ import/export สินค้าระหว่างประเทศ ซึ่งการกระทำนี้ สามารถมองในมุมของทรัพยากรน้ำ และ วิเคราะห์ได้ว่าการ import/export นั้นก่อให้เกิดประโยชน์ต่อทรัพยากรธรรมชาติหรือไม่ในมุมมองของทรัพยากรโลก


ยกตัวอย่างเช่น


1. ไทยส่งออกข้าวให้กับอินโดนีเซีย 100 ตัน/ปี โดยที่ไทยใช้น้ำในการผลิตข้าว 1 ตัน 5,455 ลบ.ม. ขณะที่ถ้าอินโดนีเซียผลิตเอง จะใช้น้ำ 3,103 ลบ.ม./ตัน เมื่อคำนวณ virtual water trade ก็จะได้ว่า เกิดการ “ขาดทุน” (Global water loss) เป็นจำนวน 100*(3,103-5,455) = -235,200 ลบ.ม./ปี เนื่องจากข้าวที่อินโดฯนำเข้านั้น หากผลิตเองใช้น้ำน้อยกว่านั่นเอง


2. USA ส่งออกข้าวให้กับเม็กซิโก 100 ตัน/ปี โดยที่ USA ใช้น้ำในการผลิตข้าว 1 ตัน 1,275 ลบ.ม. ขณะที่ถ้าเม็กซิโกผลิตเอง จะใช้น้ำ 2,182 ลบ.ม./ตัน


เมื่อคำนวณ virtual water trade ก็จะได้ว่า เกิดการ “ประหยัด” (Global water saving) เป็นจำนวน 100*(2,182-1,275) = 90,700 ลบ.ม./ปี เนื่องจากข้าวที่เม็กซิโกนำเข้านั้น หากผลิตเองใช้น้ำมากกว่านั่นเอง



ผลกระทบเนื่องจาก virtual water trade และ water footprint ต่อประเทศไทยในขณะนี้และในอนาคตอันใกล้ คงยังไม่มีผลอย่างมากเท่าใด แต่ภาคส่งออกสินค้าเกษตร ควรศึกษาเกี่ยวกับ water footprint และการใช้ทรัพยากรน้ำในการผลิต เนื่องจากสินค้าของเรา โดยเฉพาะข้าว มีคุณภาพสูงก็จริง แต่ว่าก็มีการใช้น้ำอย่างสิ้นเปลืองมากกว่าประเทศผู้ผลิตอื่นๆ ซึ่งหากประเทศคู่ค้าใส่ใจจะเลือกซื้อจากผู้ส่งออกที่มีการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเรา ก็จะทำให้ไทยเสียรายได้จากจุดนี้ค่ะ







Free TextEditor



Create Date : 08 กุมภาพันธ์ 2555
Last Update : 8 กุมภาพันธ์ 2555 19:13:42 น.
Counter : 781 Pageviews.

0 comment
water footprint ของผลิตภัณฑ์
"กรณีนี้พิจารณาเฉพาะสินค้าเกษตร แต่จริง ๆ แล้วสินค้าอุตสาหกรรมนั้น
ก็ใช้น้ำไม่น้อยเลยในกระบวนการผลิต และควรตั้งข้อสังเกตไว้เสนอให้ทำวิจัยเปรียบเทียบด้วยว่า
สินค้าอุตสาหกรรมนั้นใช้น้ำมากน้อยแค่ไหน และน่าจะมี water footprint เหมือนกัน
ภาคบริการอื่น ๆ อีกล่ะ สนามกอล์ฟใช้น้ำมากน้อยแค่ไหน ห้างสรรพสินค้า สถานบริการล่ะ
แทนที่จะไปคิดประหยัดแต่ภาคเกษตร ควรจะนำภาคอื่น ๆ มาเทียบกันด้วย
และภาครัฐและภาคประชาชนจะได้พิจารณาว่าตรงไหนกันแน่ที่ควรจะประหยัด"

มีการคำนวณ water footprint สำหรับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ อีกทั้งรองเท้าหนัง เสื้อยืด




รวมไปถึง water footprint ของแต่ละบุคคล ขององค์กร ระดับประเทศ แต่ที่ภาคการเกษตรเป็นจุดสนใจ เพราะมีศักยภาพในการพัฒนาได้สูง เนื่องจากโดยทั่วไป ไม่ค่อยมีใครคำนึงถึง อีกทั้งการถ่ายโอนเทคโนโลยีเป็นไปได้สูงกว่าภาคอุตฯ ที่การผลิตค่อนข้างเป็นความลับ เท่าที่ตามดู ตอนนี้ที่จีน มีการพัฒนาการปลูกข้าวโดยไม่ใช้น้ำคอยหล่อเลี้ยง (waterless rice growing) ทำให้เกษตรกรสามารถนำน้ำส่วนนี้ไปใช้ประโยชน์ด้านอื่นได้







Create Date : 11 กุมภาพันธ์ 2554
Last Update : 11 กุมภาพันธ์ 2554 21:13:02 น.
Counter : 1859 Pageviews.

11 comment
water footprint ประโยชน์หรือโทษกับประเทศไทย
ข้อสังเกตให้พิจารณาเพิ่มเติม

"ฝากข้อสังเกตไว้ด้วยว่าการมี water footprint
จะเป็นประโยชน์หรือจะเป็นโทษกับประเทศไทยกันแน่
ด้วยความที่เทคโนโลยีการผลิตบ้านเราล้าหลังกว่าประเทศอื่น ๆ
สังเกตว่าผลผลิตข้าวต่อไร่เรายังต่ำกว่าเวียดนามเลย
โอกาสที่เกษตรกรบ้านเราจะได้ประโยชน์จากตรงนี้
โดยทำได้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนั้น น่าจะมีมากน้อยแค่ไหน"

อาจจะฟังดูใจร้ายไปหน่อย แต่คงต้องบอกว่าตอนที่คิดจะทำวิจัยชุดนี้ เป้าหมายคือทำเพื่อ “โลก” ใบนี้ค่ะ นั่นคือ การรักษ์ทรัพยากรนำ้ ไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์ของใครเป็นเฉพาะ หากบางภาคส่วนของไทยจะเสียประโยชน์ไปบ้าง แต่ "นำ้" ในองค์รวม ได้รับการปฏิบัติที่ดีขึ้น ให้คุณค่ามากขึ้น ก็คิดว่าพอใจค่ะ

ประกอบกับประสบการณ์ที่พบจาก Carbon footprint ค่ะ (กว่าจะมาถึงจุดนี้ ใช้เวลากว่า 20 ปี ส่วน water footprint เพิ่งมีอายุ 7-8 ปี) ซึ่งเริ่มที่ EU เมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว จนตอนนี้ไทยก็เริ่มตื่นตัวเรื่องนี้กันมาก

อีกทั้งหาก EU มีการรณรงค์ใช้ ฉลากนี้ โดยมีจุดประสงค์เพื่อควบคุมการใช้นำ้ในการผลิต ไม่ช้าก็เร็ว ไทยก็ต้องตอบสนอง ดังนั้น หากเรามีการเตรียมพร้อมไว้ก่อน ก็จะเป็นการดี ซึ่งหากจะเริ่มใช้ เท่าที่มอง บริษัทส่งออกอาหารขนาดใหญ่ ต้องริเริ่มเป็นกลุ่มแรก ที่มีเงินทุนรองรับ เตรียมพร้อมในการปรับปรุงการผลิต รวมถึงเทคโนโลยีที่จำเป็น

เท่าที่เห็น CPF มีศักยภาพที่จะสามารถทำได้ เพราะมีการผลิตเป็นองค์รวม สายการผลิตของเค้ามีตั้งแต่เริ่มผลิตอาหารสำหรับสัตว์ จนไปถึงส่งออกเป็นอาหาร อีกทั้ง ยังมีการทำ carbon footprint บนเนื้อไก่
บริษัทขายอาหารแช่แข็งที่เยอรมนีเป็นลูกค้าเนื้อไก่ของ CP ค่ะ (เคยได้เข้าไปดูการผลิตของเค้ามา เค้าบอกว่าไก่มาจากไทย และขายในตลาดระดับสูง เพราะราคาแพงกว่าปกติ)

ประเด็นต่อมาคือ แล้ว SMEsกับเกษตรกรรายย่อยล่ะ?
ขอตอบว่า เท่าที่มีข้อมูลตอนนี้นั้น กลุ่มนี้คงมีจำนวนไม่มากที่กลุ่มลูกค้าคือ EU ส่วนใหญ่จะเป็นการผลิตเพื่อบริโภคในประเทศ ซึ่งผู้บริโภคทั่วไปคงไม่ค่อยใส่ใจหรือเจาะจงที่จะซื้อสินค้าที่ "ดีต่อสิ่งแวดล้อม" เพียงอย่างเดียว โดยไม่ได้มีมูลค่าเพิ่มเพื่อสุขภาพ (เช่น organic) หรือ เพื่อลดต้นทุนในการใช้งาน (ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5)

หากจะเทียบสามารถเทียบได้กับฉลาก Fair Trade ที่คนยินดีจ่ายเงิน เพื่อสวัสดิการที่ดีขึ้นของผู้ผลิตในแอฟริกา หรือสนับสนุนให้ไม่มีการใช้แรงงานเด็กในการผลิต เปรียบเสมือน หากเทียบ Water Footprint กับ Fair trade ก็เหมือนการทำบุญค่ะ แบบแรกคือทำให้กับธรรมชาติ อย่างที่สองให้กับมนุษย์ที่ด้อยโอกาสค่ะ



Create Date : 11 กุมภาพันธ์ 2554
Last Update : 11 กุมภาพันธ์ 2554 20:59:22 น.
Counter : 1013 Pageviews.

3 comment

pHaiyLueNa
Location :
Lüneburg  Germany

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]



New Comments